การจัดการความรู้เรื่องน้ำท่วม 1


น้ำก็ท่วมเป็นประจำ เราเรียนรู้อะไรจากน้ำท่วมบ้าง

น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่พระโคหรือพระยาแรกนาจะเสี่ยงทายได้อะไร (จะเกี่ยวกันไหมนี่)

 

คุณสมิธ อดีตอธิบดีกรมไปรษณียโทรเลขบอกว่าน้ำท่วมใหญ่ล่าสุดที่อุตรดิตถ์ผ่านมา เป็นผลพวงมาจากปรากฎการณ์ลาซันย่า (ชื่อเหมือนของกินเลยแฮะ) หรืออะไรทำนองนี้

 

มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ น้ำท่วมนี่เหมือนเป็นปัญหารูทีนไปเสียแล้ว ผมดูข่าวทีไร ก็ได้แต่ถามตัวเองว่า "ทำไม" ทำไม และทำไม

 

น้ำก็ท่วมเป็นประจำ เราเรียนรู้อะไรจากน้ำท่วมบ้าง เราเอาองค์ความรู้ที่ได้มานี้ถ่ายทอดออกไปยังผู้ที่จะต้องโดนน้ำท่วมอย่างเราบ้างหรือไม่

 

ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าฟังการเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำท่วมหาดใหญ่ (2543) จึงพบว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีงานวิจัยมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำท่วม รวมถึงคำแนะนำที่ดีๆ

 

ชาวหาดใหญ่ได้เคยมีการทำ Manual เกี่ยวกับการเตรียมตัว

  • ก่อนน้ำท่วม
  • ขณะน้ำกำลังท่วม
  • หลังน้ำท่วม

แต่ก็ไม่ทราบว่าได้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างกว่าสงขลาหรือไม่

 

ถ้าเรารู้จักบริหารจัดการ Know - How ดีๆ และรู้จักทำตามที่ผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์แนะนำ ก็จะช่วยลดความเสียหายหรือความเดือดร้อนลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย

ตัวอย่างคำแนะนำที่ดีๆ จากคณะแพทย์ม.อ.ครับ

การดูและสุขภาพระยะหลังสถานการณ์น้ำท่วม  http://medinfo.psu.ac.th/pr/pr2005/Pr20051213_Medicine/02_Flood.pdf

คำแนะนำสำหรับแพทย์เรื่องโรคฉี่หนูhttp://medinfo.psu.ac.th/pr/pr2005/Pr20051213_Medicine/01_Intro.pdf

ผลงานวิชาการเกี่ยวกับการจัดการพิบัติภัย                                   http://medipe.psu.ac.th/%7Evorasith/tsunami/disaster_resource.htm

ส่วนงานวิจัยอื่นๆ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสำนักวิจัยม.อ.นะครับ

 

จากประสบการณ์ติดน้ำท่วมอยู่ 1 อาทิตย์ ผู้เขียนพบว่า วิทยุน้อยๆ เพียง 1 เครื่องสามารถช่วยให้เราอุ่นใจได้มาก อย่างน้อยเมื่อฟังข่าวว่ายังมีที่อื่นแย่กว่าบ้านเราก็จะช่วยทำให้คลายทุกข์ได้หน่อยนึง และยังได้ใช้ฟังข่าวคราวความคืบหน้าของการช่วยเหลือต่างๆ

ผู้เขียนวิตกไปถึงว่า ถ้ามีวิทยุแต่ตอนน้ำท่วมไม่มีถ่านล่ะ หรือถ่านที่มีอยู่หมดอายุแล้วล่ะ เคยคิดไปกระทั่งว่า น่าจะมีใครทำวิทยุที่ไม่ต้องใช้ถ่านตัวออกมาขายบ้างนะ คนทำวิทยุขายเคยคิดถึงตรงนี้บ้างไหมนะ

และแล้วฝันของผมก็เป็นจริง และยังมีของแถมด้วยคือมีไฟฉายอยู่ในตัว เรียกว่า "วิทยุ2ประสงค์" เลย ด้วยเจ้านี่ครับ ยังใหม่มาก ณ วันนี้ยังไม่วางตลาดเลยครับ รออีกหน่อยครับอีกไม่กี่วัน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 32243เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บันทึกที่เกี่ยวข้องโดยโดยท่านอาจารย์วิบูลย์ วัฒนาธร

โดนใจมากเลยคะที่...คุณขจิต...เปิดประเด็นว่า

เราเรียนรู้อะไรจากน้ำท่วมบ้าง...

และตอนนี้ภัยในเรื่องนี้...เริ่มจะกลายเป็นเรื่องที่"คุ้นชิน"เสียแล้ว

...

เฉกเช่นเดียวกัน...

เราเรียนรู้...อะไรจากชีวิตบ้าง

...

เป็นคำถามที่...เราต้องแสวงหาคำตอบหรือไม่...

ผมเกรงว่าน้ำท่วมอาจเกิดบ่อยกว่าอดีต คิดว่าน่าจะมีชุมชนรองรับตรงนี้ จึงไปเปิดเป็นชุมชนองค์ความรู้สำหรับการจัดการน้ำท่วม (flood.gotoknow.org) ไว้ ถ้ามีประสบการณ์แบ่งปัน ก็ขอเชิญนะครับ
  • ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ
  • จากประสบการณ์
  • ปี 2543 ทันทีที่น้ำท่วม สถานีวิทยุม.อ.FM 88 MHz. ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสถานการณ์ (incident manager) ได้เป็นอย่างดี
  • โดยระงับรายการภาคปกติทั้งหมดแล้วออกอากาศเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง
  • อีกสถานีคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยสงขลา จากการตัดสินใจอันกล้าหาญของเจ้าหน้าที่ประจำสถานีโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากเบื้องบน
  • หลังจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงหน้าฝนสถานีวิทยุม.อ.FM 88 MHz. แห่งนี้ก็ให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาโทรเข้ามารายงานสภาพอากาศกันทุกชั่วโมง
  • ปี 2548 สถานีวิทยุแห่งนี้ก็ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการสถานการณ์ (incident manager) นี้อีกครั้ง และเช่นกัน เยี่ยมกว่าเดิม เพราะได้มีการส่งนักข่าวลงพื้นที่รายงานกันสดๆ เนื่องจากพบปัญหา (ข้อมูลคลาดเคลื่อน) จากการรายงานของผู้ที่โทรเข้ามายังสถานี
  • ลงพื้นที่ชนิดที่รถส่วนตัวของผู้บริหารสถานีไปติดหล่มอยู่ในที่น้ำท่วม
  • และปี 2548 นี้เองเราก็มีภาพ ที่ทันต่อเหตุการณ์ขึ้นเว็บ (แทบจะ)วันต่อวัน

ดูรายละเอียด และภาพน้ำท่วมหาดใหญ่ 2548 ได้ที่

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

หลังน้ำท่วม 7 วัน โรคฉี่หนูจะตามมา

ดูคำแนะนำได้จาก link ข้างบนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท