พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการอนุรักษ์พันธุกรรมหวาย


ทรงมีพระราช ดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ
  • ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราช ดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมายคือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวาย โป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์หวายข้อดำและหวายตะค้าทองได้ต้นที่ สมบูรณ์แล้ว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ทำการทดลองปลูกต้นหวายเหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ทดลองปลูก ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร อีกด้วย
  • การดำเนินการเกี่ยวกับหวาย ได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และจัดทำโครงการปลูกหวายเศรษฐกิจในสวนยางพารา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ฑัณฑสถานเหรียงห้อง ตำบลลำภูรา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2535 ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิดต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์หวายเศรษฐกิจ เพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32249เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท