ยุทธศาสตร์การพัฒนา


ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาการจัดการความรู้ 

(Knowledge  Management)

 

1.  การวางแผนยุทศาสตร์และการวางแผนกลยุทธ์  มีความสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จในการบริหารและ

     การจัดการของหน่วยงานต่างๆมากน้อยเพียงใด? 

          แนวตอบ  การวางแผนยุทศาสตร์และการวางแผนกลยุทธ์  มีความสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จในการบริหารและการจัดการของหน่วยงานต่างๆ   ดังนี้
              1. เป็นกรอบในการทำงานเพื่อการตัดสินใจ หรือ เพื่อการให้การอนุมัติ หรือการสนับสนุนที่ดี
              2. ช่วยในการทำ benchmarking และการควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน
              3.  การวางแผนยุทศาสตร์และการวางแผนกลยุทธ์  เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความสำเร็จในการบริหารและการจัดการของทุกองค์กร   
              4. ให้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการวางแผนโดยละเอียด
              5.  ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆจำนวนมากยืนยันว่า  กิจการประเภทต่างๆ  เช่น บรรษัทข้ามชาติ  กิจการของภาคเอกชน  และหน่วยงานของภาครัฐ  ประสบความสำเร็จ

เนื่องจากมีการวางแผนที่ดี        

             6. อธิบายถึงธุรกิจขององค์การเพื่อสามารถสื่อสาร โน้มน้าว หรือชักนำให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วม

             7.  การวางแผนเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำต่อเนื่อง ไม่มีกิจการใดใดที่วางแผนเพียงครั้งเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จตลอดไป        

             8. กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นแนวทางสำหรับการสร้างแผนธุรกิจ (business plan) และ แผนปฏิบัติการ (operational plan) ต่อไป
             9.  กลยุทธ์และการวางแผนยุทธศาสตร์เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างนักบริหารและ

นักวางแผน

             10.  นักบริหารและนักวางแผนมีบทบาทในการเสนอจุดมุ่งหมายและวิธีการ  โดยที่นักบริหารและนักวางแผนเป็นผู้มีบทบาทในการตัดสินใจ

             11.  เป็นการกำหนดผลลัพธ์ (Outcomes)  ผลงานหรือผลผลิตที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมภายนอก  ซึ่งการกำหนดผลลัพธ์และผลงานที่ชัดเจน  จะนำไปสู่การกำหนดกระบวนการและการจัดสรรทรัพยากร

ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

 

 

 

 

 

2.  เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงของหน่วยงานของท่าน  หรือกรณีศึกษาที่ท่านสนใจ  การกำหนดกลยุทธ์ที่ 

      ดีน่าจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อกิจการอย่างไรบ้าง?  อธิบาย

          แนวตอบ    การกำหนดกลยุทธ์ที่ดีน่าจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อกิจการขององค์กรดังนี้

               1.  การวางแผนกลยุทธ์เป็นการกำหนดผลลัพธ์ (Outcomes) และผลงาน (Outputs) ที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ

               2.  การกำหนดผลลัพธ์และผลงานที่ชัดเจนนำไปสู่การกำหนดกระบวนการ (Processes) ใน

การดำเนินงานและลู่ทางในการจัดสรรทรัพยากรด้านต่างๆ(Inputs)ที่สอดคล้องต้องกัน

 

3.  ในการวางแผนกลยุทธ์  นักบริหารและนักวางแผนต้องใช้ทักษะที่สำคัญอะไรบ้าง?  อธิบาย

            แนวตอบ     ทักษะที่สำคัญที่นักบริหารและนักวางแผนต้องใช้ในการวางแผนกลยุทธ์  คือ

               1.  ทักษะทางด้านการเก่งงาน   นักบริหารจะต้องรอบรู้เชิงเทคนิคของงานทุกด้าน  มีความรอบคอบในขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (standard operating procedure=SOP)    และรอบรู้อย่างรอบด้านในการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติงาน

                2.  ทักษะทางด้านการเก่งคน (Human Skill)   นอกจากนักบริหารและนักวางแผนต้องมีพรหมวิหารธรรมกับผู้ปฏิบัติงานแล้ว  จะต้องสามารถอ่านคนออกดูคนเป็น  ใช้คนให้เหมาะสมกับงานและสามารถผูกใจผู้ปฏิบัติงานได้   มีการให้รางวัลมีการลงโทษในบางสถานการณ์    แล้วจะได้รับความนับถือและการยอมรับจากผู้ร่วมงานอย่างดี

                3.  ทักษะทางด้านการเก่งคิด(Conceptual skill)   มีเทคนิคการคิดงานให้คนทำให้เหมาะสมปรับปรุงงานหรือพัฒนางานเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่   คิดงานใหม่  ปรับปรุง  พัฒนาศักยภาพของคน  และสรรหาคนรุ่นใหม่ให้สอดรับกับกลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปเพื่อกำหนดเจตนารมณ์

เชิงกลยุทธ์ (Strategic intent)  ของกิจการ

 

4.  เจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์  (Strategic  intent)  คืออะไร  มีความสำคัญต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์อย่างไร?

                แนวตอบ    เจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์  คือ จุดมุ่งหมายสูงสุดขององค์การหรือจุดมุ่งหมายปลายทาง

ที่องค์การต้องการบรรลุ  ซึ่งนักบริหารและนักวางแผนต้องใช้ทักษะ “เก่งคิด ( Conceptual skill )” 

มีความสำคัญต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์คือ  เพื่อกำหนดเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ของกิจการ  ซึ่งการวางแผนยุทธศาสตร์และการวางกลยุทธ์  ก็คือการกำหนดแนวทางหรือวิธีการดำเนินงานด้านต่างๆ  อันจะนำไปสู่การบรรลุเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์การอย่างยั่งยืน

                         

5.  จงเปรียบเทียบองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์  ขององค์กรภาครัฐกับองค์กรภาคเอกชน

     มาให้เห็นอย่างชัดเจน

                แนวตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์  ขององค์กรภาครัฐกับองค์กรภาคเอกชน

     สามารถเปรียบเทียบให้เห็นดังตาราง

 

องค์ประกอบการวางแผนขององค์การภาครัฐ

องค์ประกอบการวางแผนขององค์กรภาคเอกชน

1.เป้าหมายเพื่อความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน

และความผาสุกของประชาชน

2. มีอยู่เจ้าเดียว (ผูกขาด)

3. เป้าหมายคือ ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน

4. ผลิตผลผลิต และบริการที่หลากหลาย มักประสบ

ปัญหา บางครั้งไม่สามารถควบคุมได้เพราะเหตุ

ปัจจัยทางการเมืองแทรกแซง

5. ผลผลิต/บริการมักมีลักษณะ “One size fits

all” หรือ เสื้อ Free size ใส่ได้ทั้งประเทศ

6. สามารถจำแนกกลุ่มผู้รับบริการได้ แต่ไม่สามารถ

เลือกเฉพาะเจาะจงกลุ่มที่จะให้บริการได้ เพราะ

อาจเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน

(Unfairness)

7. ค่าตอบแทนไม่จูงใจเมื่อเทียบกับภาคเอกชน ไม่

สามารถให้คุณ/ให้โทษได้

8. การวางแผนมักถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมือง

1. เป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุด สร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น

2. มีผู้ผลิต/ให้บริการจำนวนมาก (การแข่งขันสูง)

3. เป้าหมายคือ ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด (Market

Orientation)

4. ผลิตสินค้า/บริการไม่กี่ประเภท ไม่หลากหลาย

และผู้บริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

5.มุ่งเน้นการตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างรายบุคคล

เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด(Customization)

6.จำแนกกลุ่มลูกค้า/ผู้รับบริการ เพื่อเลือกกลุ่มที่จะ

สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวด้วย โดยใช้กฎของ

พาเรโต (Pareto Rule) หรือกฎ 20/80

7.ให้คุณ/ให้โทษพนักงาน หรือเอาออกได้ หากผล

การปฏิบัติงานต่ำกว่าเป้าหมาย

8.การวางแผนมีเอกภาพ มีความอิสระในการ

กำหนดทิศทาง

 

6.  นักวางแผนพิจารณาองค์ประกอบในการวางแผนกลยุทธ์อย่างไร?  และควรแสดงบทบาทในการทำงาน

     อย่างไร?

           แนวตอบ   1) เป็นกระบวนการ(การวางแผนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการหมายถึงการวางขั้นตอนและกิจกรรมตั้งแต่เริ่มจนถึงขั้นตอนสุดท้าย)

                                2) มีการเตรียมการล่วงหน้า(ขั้นตอนต่างๆที่กำหนดไว้จึงถือเป็นการเตรียมสิ่งต่างๆที่จะใช้ประกอบการพิจารณาของนักบริหาร ว่าควรทำอะไร  หรือไม่  อย่างไร)

                                3) มีข้อมูลข่าวสาร(นักวางแผนต้องมีการสืบค้น รวบรวม คัดแยก วิเคราะห์  กลั่นกรองและสรุปจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ)

                                4) มีการตัดสินใจเพื่อดำเนินการ(นักวางแผนต้องทำข้อเสนอให้ชัดเจน เพราะการตัดสินใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการวางแผน)

                                5) มีการคาดการณ์ในอนาคต(นักวางแผนต้องใช้ความรู้ในการเสนอแนวทางที่เป็นไปได้)

 

                                6) มุ่งสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด(ต้องนำเสนอจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ต่อผู้บริหาร  เพื่อตัดสินใจว่าปลายทางที่องค์การต้องการอยู่ที่ได ลักษณะอย่างไร)

                                7) มีการเลือกวิธีที่เหมาะสม(ต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบความเป็นไปได้ของแต่ละทางเลือก แล้วจึงเสนอต่อผู้บริหารเพื่อเลือกทางที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการต่อไป)

 

7.  ในทัศนะของท่านการวางแผนคืออะไร

                แนวตอบ              

                1) การคิดเรื่องอนาคต(การกำหนดสภาพที่ควรจะเป็นขององค์การในอนาคต อาจกำหนดกรอบเวลาเป็นการวางแผนระยะสั้น  กลางและยาว)

                2 ) การควบคุมอนาคต (ความพยายามที่จะทำให้อนาคตที่ต้องการเกิดขึ้นตามต้องการ) 

                3 ) การตัดสินใจ(ว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ใครทำ)

                4 ) การตัดสินใจในเชิงบูรณาการ

                5 ) กระบวนการจำแนก แจกแจงเหตุผลและเชื่อมโยง

 

8.  ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า  กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์  กันมากในกิจการทั่วไป  จะมีวิธีการให้คำอธิบาย

     ความหมายของคำว่า  กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์  ที่สมบูรณ์ที่สุดได้อย่างไร?

แนวตอบ    ยุทธศาสตร์ (Strategy) หมายถึง  การวางแผนงานสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย  ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ SWOT Analysis กล่าวคือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม (อุปสรรค) ในกรอบระยะเวลาที่ต้องการ  ทั้งนี้เพื่อประกอบการวางแผนการในการใช้วิธีการและทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด     
               ความหมายที่ง่ายที่สุดของคำว่า  ยุทธศาสตร์ ก็คือ  แผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้ จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่า หากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
               ยุทธศาสตร์ในระดับสูงสุดของประเทศ  ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ หรือ Grand National Strategy เป็นขบวนการซึ่งวัตถุประสงค์หลักของชาติได้รับการยอมรับ จุดมุ่งประสงค์สุดท้ายของ Grand Strategy มักจะถูกกล่าวถึงในรูปของผลประโยชน์แห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง บทบาทของขบวนการ Strategy ก็คือ แปลผลประโยชน์ของชาติเหล่านั้นให้เป็นวิธีการ หรือเครื่องมือที่จะทำให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์เหล่านั้น นั่นเอง ส่วนเครื่องมือ หรือวิธีการต่าง ๆ ก็จะถูกกล่าวถึงในรูปของเครื่องมือพลังอำนาจแห่งชาติ National Powers ซึ่งก็คือ การเมือง (หรือการทูต) การทหาร เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา รวมทั้ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น Grand National Strategy จึงเป็นขบวนการซึ่งมีการจัดและใช้เครื่องมือที่เป็นพลังอำนาจแห่งชาติทุก ๆ ด้าน เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ของชาติ นั่นเอง


               ยุทธศาสตร์ทหาร หรือ Strategy ทางทหารประกอบไปด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่ : การเตรียมกำลัง การวางกำลัง การใช้กำลัง และการประสานการปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติตามที่ได้รับการชี้แนะจาก Grand Strategy ในกรณีนี้ การกำหนดยุทธศาสตร์ทหาร จะกล่าวถึงทั้ง 4 ตัวนี้อย่างกว้าง ๆ การถกเถียงใด ๆ เกี่ยวกับ Strategy ทางทหารควรจะเริ่มต้นจากแนวความคิดด้านการใช้กำลัง เพราะแผนการที่เราวางไว้ว่าจะใช้กำลังทหารอย่างไรนั้น ควรเป็นตัวพิจารณาว่าเราจะเตรียมกำลังทหารขนาดไหน จะวางกำลังที่ไหน และการประสานการปฏิบัติที่ต้องการนั้น ควรเป็นอย่างไร

ความหมายของกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์

กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ และบทบาทหน้าที่องค์กร โดยมีความหมายทั่ว ๆ ไป ดังนี้

                  ยุทธศาสตร์  หมายถึง  การมองไปสู่อนาคต ภายใต้การพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ความสามารถขององค์การเพื่อระดมทรัพยากรมาใช้ และการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และชัดเจนว่าจะสามารถนำองค์การไปสู้ภารกิจ และเป้าหมายที่วางไว้

                  ยุทธศาสตร์  หมายถึง  การวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ที่วิเคราะห์ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อองค์กรทั้งในแง่โอกาสและอุปสรรค

                  ยุทธศาสตร์  หมายถึง  ทิศทางที่ชัดเจนขององค์กรกำหนดขึ้นเพื่อชี้นำการปฏิบัติในอนาคต

 

9.  เพื่อให้การวิเคราะห์สถานการณ์เชิงกลยุทธ์มีความชัดเจน  นักบริหารและนักวางแผนควรที่จะใช้ตัวแบบ

    พื้นฐานของการวางแผนกลยุทธ์อะไรบ้าง?  ใช้อย่างไร?  อธิบาย

                แนวตอบ   ตัวแบบพื้นฐานของการวางแผนกลยุทธ์ที่นักบริหารและนักวางแผนประยุกต์ใช้แนวคิดในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมี    2 ตัวแบบ  คือ

                    1. การวิเคราะห์สถานการณ์เชิงยุทธ์ของซุนวู (SUN TZU)   วิธีการประยุกต์ใช้แนวคิดของ  SUN TZU  คือ  
                          1.1  การวางแผนคือการสร้างชัยชนะยิ่งวางแผนมากก็ย่อมมีโอกาสชนะมากถ้าวางน้อยก็มีโอกาสชนะน้อย   การต่อสู้ที่ปราศจาการวางแผน คือความพ่ายแพ้หรือหายนะ   
                          1.2  ผู้บริหารคือผู้นำเชิงกลยุทธ์   ดังคำกล่าวที่ว่า   “ผู้นำที่ชาญฉลาดจะวางแผนอย่างแยบยลและขุนพลที่สามารถจะนำแผนไปปฏิบัติอย่างสุดฝีมือ”

                          1.3   ปัจจัยพื้นฐานของการต่อสู้    ประกอบด้วย

                                     ก.  ต้องต่อสู้เพื่อคุณธรรม

                                     ข.  ต้องรู้สภาพแวดล้อม

                                     ค.  ต้องรู้สรรพกำลัง

                                     ง.  ต้องรู้จักการนำ

                                     จ.  ต้องมีการสร้างระบบการจัดการที่ดี

                      1.4  การวิเคราะห์สถานการณ์  “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”

                    2.  SWOT ANALYSIS  ของ   Harvard Business School  วิธีการประยุกต์ใช้แนวคิดของ   SWOT ANALYSIS  ในการวางแผนกลยุทธ์  คือมุ่งเน้นการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมภายนอกกับองค์การ

  

10.  เพื่อนำผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์สถานการณ์  ไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์  นักวางแผนควร

       มีวิธีการในเชิงบูรณาการอย่างไร?

                แนวตอบ           

การบริหารเชิงบูรณาการ (CEO)

 

                เนื่องจากสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และ   อิทธิพลทางการค้าเสรี ทำให้เกิดภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมรวมทั้งวัฒนธรรม  โลกจึงเข้าสู่ยุคใหม่ของการแข่งขัน การบริหารจัดการในองค์การจึงก้าวเข้าสู่ยุคใหม่       ที่เรียกว่า รูปแบบการบริหารจัดการยุคศตวรรษที่ ๒๑ (twenty first century management model) คือ         การบริหารจัดการที่ปรับตัวเองได้ตลอดเวลา (adaptive) และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจึงต้องมีการกระจายอำนาจ (decentralize) และมีระบบการติดตามผลและตรวจสอบได้

                รูปแบบของการบริหารในยุคใหม่จึงต้องการผู้นำที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีความมุ่งมั่น สามารถตัดสินใจได้ทุกสถานการณ์ มีอุดมการณ์ที่เข้มแข็ง มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน สามารถทำงานได้เบ็ดเสร็จ รวดเร็ว อย่างกลมกลืน ที่เรียกว่าการบริหารเชิงบูรณาการแบบมีทิศทางอย่างเบ็ดเสร็จ (Automation of Public Expenditure Management Process-APEMP) เรียกง่ายๆ ว่ารูปแบบการบริหารแบบ CEO หรือ CEO style

CEO Style เป็นอย่างไร

                CEO Style เป็นรูปแบบการบริหารที่เน้นการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถเป็นผู้นำได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์ ซึ่งเป็นผู้นำที่เก่งรอบด้าน มีวิธีการทำงานอย่างบูรณาการและเบ็ดเสร็จในตัวคนเดียวกัน

                ลักษณะการเป็นผู้นำแบบนี้เป็นการผสมผสานความเป็นผู้นำของผู้นำในรูปแบบต่างๆ คือ ผู้นำแบบ  ผู้บังคับบัญชา ผู้นำแบบผู้จัดการ ผู้นำแบบผู้บัญชาการ ผู้นำแบบนำและผู้นำแบบเป็นเจ้าภาพ

                ผู้ที่จะเป็นผู้นำแบบนี้ได้จะต้องเป็นนักคิด นักอ่าน กล้าเสี่ยงและคิดบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงไม่นิยมที่จะเป็นผู้ตามหรือผู้บริหารตามรูปแบบของคนอื่น จะนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ทางการบริหาร  อยู่เสมอ จะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

                ด้วยความที่เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นตนเองสูง บางครั้งจึงดูเหมือนว่าเป็นผู้ที่ค่อนข้างเผด็จการ แต่แท้จริงแล้วเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในความสำเร็จ จึงแสดงความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่นทำงานรุกไปข้างหน้า และเมื่อมี    ผู้ทำงานไม่ประสบผลสำเร็จจะหาทางให้ไปทำงานอื่นทันทีโดยหาคนใหม่มาแทน

                       

กรอบความคิดในการบริหารแบบ CEO Style จึงมีดังนี้

บูรณาการทำงานเพื่อก้าวทันโลก

(Local link Global Reach)

กล้าคิดนอกกรอบ

(Think out of the box)

การบริหารงานเชิงบูรณาการ

การมีส่วนร่วม

ของทุกส่วนทุกภาค

(Participation)

ระบบข้อมูลข่าวสารทันสมัย

(Information System)

คำนึงถึงปัจจัยภายนอก

ที่มีผลต่อองค์กรและสื่อข้อมูลภายในให้

ภายนอกองค์กร

(inside out/outside in)

 

CEO

  • Boss/ผู้บังคับบัญชา
  • Manager/ผู้จัดการ
  • Commander/ผู้บัญชาการ
  • Leader/ผู้นำ
  • Owner/เจ้าภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะเด่นของผู้บริหารแบบ CEO คือ

 ๑.  เป็นผู้นำเชิงบริหาร (Manager Leadership) คือ จะพัฒนาริเริ่มวิธีการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (innovate) และมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ (develop) โดยรู้จักใช้วิธีการ   จูงใจ กระตุ้นให้คนทำงานด้วยความตั้งใจของตนเอง (inspire) มีวิสัยทัศน์ไกล (Long-term view) และ     หาแนวทางใหม่ๆ อยู่เสมอ (challenge)

๒.  บริหารงานมากกว่าระเบียบ ถ้าระเบียบไม่ถูกต้องไม่ชัดเจนให้ปรับแก้ไข จะไม่นำระเบียบมา    ข้อจำกัดกรอบการทำงาน

๓.  สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงาน (Strategy Driven) และใช้ยุทธศาสตร์ในการทำงาน เริ่มตั้งแต่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และนำไปสู่โครงการหรือการปฏิบัติงานในเชิงบูรณาการ

๔.  มีเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถติดตามวัดผลงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะต้องมีระบบข้อมูลข่าวสารทันสมัยและวิธีการติดตามความก้าวหน้าของงานที่ดี

๕.     ต้องทำงานในเชิงรุกไม่ใช่ตั้งรับ เป็นการทำงานที่มุ่งไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

 

ลักษณะของการทำงาน CEO Style จะมีลักษณะสำคัญดังนี้

๑.       ต้องกล้าคิดนอกกรอบ

๒.     พิจารณาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อองค์กร และการสื่อข้อมูลภายในองค์กรที่ดี

๓.  สามารถทำงานร่วมกันกับทุกฝ่าย โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันมุ่งไปสู่ผลสำเร็จและเป้าหมาย รวมทั้งสร้างเสริมความสัมพันธ์และขวัญกำลังใจ

ลักษณะเด่นและลักษณะการทำงานแบบ CEO จึงเป็นลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มุ่งเอาผลประโยชน์ขององค์กรหรือประชาชนเป็นหลัก โดยการประมวลความคิด     ศักยภาพของทีมงานขับเคลื่อนการทำงาน ผู้นำการบริหารจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ทำหน้าที่ชี้นำความคิด     จุดประกายความคิด โดยหากลยุทธ์ให้ทุกฝ่ายคิดร่วมกัน และรับผิดชอบงานร่วมกัน

ในการบริหารงานจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานยุทธศาสตร์ (Strategies Unit) ในระดับงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ

๑.  บูรณาการจากกระบวนการสร้างความเห็นพ้องต้องกัน เพื่อสร้างวาระงานระดับพื้นที่         (Area Agenda)

๒.  มีการริเริ่มในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานในระดับหน่วยงานที่จะพัฒนางานได้ด้วยหน่วยงานเอง ไม่ต้องรอรับคำสั่งจากหน่วยงานอื่น

๓.  กำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงาน เลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

๔.  ลดภาระการทำงานหรือการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานระดับเหนือขึ้นไป

 

 

หัวใจสำคัญของการบริหารแบบบูรณาการ

                หัวใจสำคัญของการบริหารแบบบูรณาการ คือ มุ่งเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก กำหนด  บทบาทของผู้นำเป็นแบบเจ้าภาพ คือ รับผิดชอบงานทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนงานสำเร็จ ในการทำงานจึงอาศัยความเป็นผู้นำที่เป็นฝ่ายกระทำ คือ ทำงานรวดเร็ว แต่ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลที่ดี มีความคิดเป็นของ   ตนเอง อาศัยการทำงานเป็นทีม มีการใช้ทีมงานในลักษณะทีมนำคิด ทีมกำกับการทำงานและทีมติดตามและประเมินผล โดยอาศัยวิธีการทำงานโดยใช้วิธีบริหารที่เป็นยุทธศาสตร์

                ดังนั้น เมื่อพิจารณาหัวใจของการบริหารแบบบูรณาการแล้วการที่จะบริหารแบบนี้ให้สำเร็จผล        ผู้บริหารจะต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ

                ๑.  มีข้อมูลทันสมัยเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

                ๒.  มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์หลักและแผนยุทธศาสตร์ย่อย

                ๓.  มีการจัดระบบบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้

๔.     มีการติดตามและประเมินผลการบริหารอยู่ตลอดเวลา

 

ผลการบริหารแบบบูรณาการก่อให้เกิดผลอย่างไร

                ผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์จากการบริหารแบบบูรณาการ สรุปได้ดังนี้

                ๑.  ได้รับรู้ปัญหา เพื่อสามารถตรวจสอบว่าถูกต้องตามความต้องการหรือเป็นปัญหาจริงหรือไม่

                ๒.  ได้รับรู้เป้าหมายของการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญของปัญหา

                ๓.  การมีส่วนร่วมในการบริหารและการแก้ไขปัญหา

                ๔.  ตรวจการทำงานของคณะผู้บริหารได้

                ๕.  มีโอกาสรู้ล่วงหน้าของการทำงานของคณะผู้บริหาร

                ๖.  มีโอกาสเรียนรู้กับการบริหารงานแบบใหม่

 

แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงบูรณาการ

                ในแนวทางการบริหารเชิงบูรณาการจะประสบความสำเร็จได้  จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เริ่มจากแนวความคิดของแต่ละคนที่จะเปลี่ยนแนวคิดทีละแนว  ทิ้งแนวคิดแบบเดิมๆ ที่อยู่ในกรอบ มาแสวงหาวิธีการใหม่ๆ คิดออกนอกกรอบ นำกฎ ระเบียบมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหาร ไม่ใช่มาเป็นข้อจำกัดทางการบริหาร

                ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ แสวงหาประสบการณ์ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง กล้าได้กล้าเสีย และตัดสินใจเร็ว บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้บริหารลักษณะนี้จะต้องเป็นผู้ตื่นตัวเสมอ และที่สำคัญที่สุดผู้บริหารจะต้องมีทีมงานที่ดี ทั้งทีมนโยบาย ทีมยุทธศาสตร์การทำงาน ทีมประเมินติดตามผล ทำงานร่วมกันโดยการรวมพลัง โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานทั้งปริมาณ คุณภาพ และเวลาเป็นเกณฑ์การทำงาน การบริหารแบบนี้จึงเป็นแนวการบริหารยุคใหม่ที่ท้าทาย

คำสำคัญ (Tags): #ยุทธศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 321801เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เนื้อหาแน่นปีกครับ ไม่กล้าอ่านรวดเดียวจบ ตาลาย แต่คร่าวๆ แล้ว ได้แนวคิด แนวตอบได้แจ่มครับ

อาจารย์ต้อม ท่านเสริม JJ วานก่อนว่า ก่อนจะเก่ง คน ต้อง เก่ง ตน ก่อน ครับ ขอบพระคุณครับ

มีในแบบฝึกหัด ตั้งหลายข้อแน่ะ อิอิ ขอบคุณมากนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท