หลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (๑) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา


          วันที่ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ เป็นวันแรกของหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา รุ่น ๐   โดยตอนเช้าผม facilitate การ ลปรร. เรื่องบทบาทหน้าที่    และตอนบ่าย ศ. ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ facilitate การ ลปรร. เพื่อทำหน้าที่กรรมการสภาอย่างมีประสิทธิภาพ

          Ppt ช่วย facilitate การ ลปรร. ของผม ซึ่งมีเสียงของการ ลปรร. ด้วย ดูและฟังได้ที่นี่

          สาระสำคัญที่สุดของการ ลปรร. คือ สถาบันอุดมศึกษาไทยมีความแตกต่างกันมากในระดับความเข้มแข็งของการบริหารและของการกำกับดูแล   หลักการและหลักปฏิบัติที่ใช้ไม่ควรเหมือนกันทั้งหมด   สำหรับกลุ่มสถาบันที่ยังไม่ค่อยเข้มแข็งก็จะต้องเน้นหลักการเคร่งครัดมากหน่อย   หรือใช้หลักการต่างชุดกันกับสถาบันที่เก่าและมีวัฒนธรรมการจัดการและการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง 

          อ. ไกรฤทธิ์ ชวนคุยใน ๑๐ ประเด็น คือ


๑. ขนาดของคณะกรรมการ   สรุปหลักการได้ว่า บอร์ด ที่ประสิทธิผลสูง มีจำนวนสมาชิกไม่มาก   อยู่แถวๆ ๑๐ คน


๒. องค์ประกอบของคณะกรรมการ   สรุปหลักการได้ว่าควรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด   มีคนในคนเดียวคืออธิการบดี


๓. กระบวนการสรรหาและตอบรับ   สรุปหลักการได้ว่าควรระบุหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน   เพื่อให้ผู้ได้รับทาบทามตัดสินใจได้ว่ามีเวลาให้หรือไม่    และควรมีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ด้วย   มีผู้แนะนำให้มีเอกสารหน้าที่และความรับผิดชอบให้กรรมการอ่านและลงนามรับทราบทุกปี


๔. วัฒนธรรมและสไตล์การประชุม   สรุปหลักการได้ว่า ต้องมีวิธีให้กรรมการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ไม่เกรงใจกัน


๕. วาระเชิงธุรการและยุทธศาสตร์    สรุปหลักการได้ว่า ต้องมีเวลาให้ก่วาระเชิงยุทธศาสตร์มากๆ    โดยต้องมีสารสนเทศที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย


๖. บทบาทของคณะกรรมการ   สรุปหลักการได้ว่า คณะกรรมการต้องทำงานเป็นองค์คณะ   และเสริมพลัง (synergy) ซึ่งกันและกัน


๗. คณะอนุกรรมการที่จำเป็น   นอกจากที่ระบุไว้ในกฎหมายแล้ว ควรมีคณะอนุกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์  คณะกรรมการการเงินและงบประมาณ  คณะกรรมการตรวจสอบ   คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง


๘. ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการต่ออธิการบดี   ต้องการความพอดี  มีการให้เกียรติและสนับสนุนซึ่งกันและกัน   ยามวิกฤติ บอร์ด โดยเฉพาะประธานจะต้องเป็นที่พึ่งได้


๙. ความเชื่อมโยงของสภาฯ กับภายนอก   กรรมการสภาฯ จะช่วยเชื่อมโยงสถาบันกับ real sector  และสังคมวงกว้าง


๑๐. หน้าที่ของเลขานุการสภา   คือจัดวาระการประชุมที่มีความหมายต่อการทำหน้าที่ strategic governance และ generative governance   โดยร่วมกับนายกสภาฯ

          เนื่องจากรุ่น ๐ นี้เป็นรุ่นเชิญมาร่วม เพื่อเตรียมวิทยากรสำหรับรุ่นต่อไป   ผู้เข้าร่วมจึงมีประสบการณ์เพียบ   การ ลปรร. ประสบการณ์ตรงจึงมีคุณค่ามาก   ประเด็นสำคัญๆ ที่หยิบยกกันขึ้นมาได้แก่

 บอร์ด ไม่เข้าไปทำหน้าที่บริหาร


 ใช้หลักการกำกับดูแลอย่างมีทั้งศาสตร์และศิลป์   ไม่ยึดทฤษฎีอย่างแข็งทื่อตายตัว


 มีวิธีทำให้ บอร์ด ทำงานเป็นองค์คณะ อย่างมีพลัง


 การสรรหาและตอบรับของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ต้องสื่อสารภารกิจความรับผิดชอบและภาระงาน ให้ชัดเจน  


          มีการ ลปรร. ประเด็นเชิงปฏิบัติมากมาย   และได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงเอกสาร และจัดทำ case study ไว้ใช้ประกอบการ ลปรร. อีกมากมาย   เป็นความหวังว่าหลักสูตรนี้จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทยในอนาคต

 

วิจารณ์ พานิช
๑๑ ธ.ค. ๕๒

บรรยากาศในห้องประชุมช่วงเช้า

 

อีกมุมหนึ่งของห้องประชุมช่วงเช้า

 

ช่วงบ่าย

อีกมุมหนึ่งของช่วงบ่าย

หมายเลขบันทึก: 320971เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต มาเรียนรู้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท