เรื่องเล่าโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข


ผ้าปิดจมูกทำเองได้ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009

เรื่องเล่าที่ได้จากการจัดแสดงผลงาน  “ผ้าปิดจมูกทำเองได้  ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009”

                กิจกรรมนี้เริ่มจากที่คณะทันตแพทยศาสตร์ของเราได้มีโครงการ  “สุขภาพดี  ชีวีมีสุข”  ร่วมกับโครงการรณรงค์เกี่ยงกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  จึงได้มีการมอบหมายให้แต่ละหน่วยงาน  แต่ละภาควิชาร่วมกันจัดซุ้มกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ  ในแต่ละซุ้มก็ได้คิดกิจกรรมที่หลากหลายและมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  อาทิเช่น  น้ำดื่มสมุนไพร  เทียนหอม  เกมวัดดวงเกี่ยวกับสุขภาพ  เกมเต้น  เกม Wii  ยำผลไม้  ทำเจลล้างมือ  เป็นต้น  ในซุ้มของภาควิชาทันตกรรมบูรณะของเราจึงได้คิดกิจกรรมที่ผ่อนคลาย  แนวสบายๆ  ก็คือการทำหน้ากากอนายมัยจากผ้านั่นเอง  ซึ่งวิธีการทำก็แสนจะง่าย  และที่สำคัญเป็นการฝึกความพยายามและความอดทนของผู้ทำได้เป็นอย่างดีทีเดียว  และกิจกรรมของเราแฝงไปด้วยการรณรงค์ลดโลกร้อนไปในตัว  เนื่องจากใช้ผ้าทำ  สามารถนำกลับไปซักแล้วใช้ใหม่ได้  อีกทั้งซุ้มของภาควิชาฯ ยังได้จัดทำป้ายผ้าให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง สำหรับผู้เข้าร่วมงานที่เดินผ่านไปมาได้อ่านเก็บเอาความรู้กลับบ้านได้ด้วย

                จากกิจกรรมที่ได้จัดขึ้น  อย่างแรกที่ได้คือตั้งแต่เริ่มจัดเตรียมงานก็ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ในภาควิชาฯ หลายๆท่าน  ตั้งแต่ไปช่วยกันเลือกซื้อผ้า  ช่วยกันตัดผ้าเตรียมเอาไว้สำหรับเย็บผ้าปิดจมูกซึ่งจะจัดเอาไว้เป็นชุดๆ  และในตอนจัดทำซุ้มก็ได้นิสิตและเจ้าหน้าที่ช่วยจัดเตรียมสถานที่  พอมาถึงวันงานทุกคนก็มาช่วยกันเฝ้าซุ้ม  ผลัดเปลี่ยนกันไปเล่นเกม  หรือเดินดูซุ้มอื่นๆ บ้าง  กลับมาซุ้มของภาควิชาฯ ก็จะมีอาหารติดไม้ติดมือมาหลากหลาย  พอถึงตอนเลิกงาน  อาจารย์หลายท่านต้องไปสอนนิสิต  ก็ได้อาจารย์ท่านที่อยู่ในงานช่วยดูแลและเก็บของบริเวณซุ้มให้  การที่เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ก็เป็นเพราะการมีส่วนร่วมของสมาชิกในภาควิชาฯ  การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ความทุ่มเท  ร่วมแรงร่วมใจกัน  ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะ  ส่วนในตัวของกิจกรรมที่ได้ทำ  ก็ทำให้ได้ประสบการณ์และความประทับใจที่ดีอยู่มากมายเหมือนกัน  อย่างแรกเลยคือการเย็บผ้าปิดจมูก  ซึ่งจะต้องใช้ความสามารถในด้านงานฝีมือเล็กน้อย  ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องมีความตั้งใจ  มีมานะอดทนเป็นอย่างสูง  เพราะต้องใช้มือเย็บผ้าเป็นเวลาที่ค่อนข้างนาน  และถ้าไม่มีสมาธิก็จะเย็บผิดแนว ไม่ถูกต้องบ้าง  ก็ต้องเย็บใหม่  กิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิและทักษะได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งต้องมีจิตใจแน่วแน่ที่จะทำจนสำเร็จให้ได้  มีนิสิตหลายคนก็เข้ามาเย็บได้คนละชิ้นสองชิ้น  ส่วนอาจารย์ก็มีหลายๆ ท่านเลยทีเดียวที่ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในกิจกรรมนี้  ทำให้จุดประกายการทำงานด้านฝีมือให้กับหลายๆคนเลยดีเดียว  เพียงกิจกรรมเล็กๆที่มีคนสนใจและชื่นชอบเข้าร่วมกิจกรรม  และมีความตั้งใจ ก็ทำให้ผู้จัดกิจกรรมมีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่งแล้ว  ยิ่งได้เห็นรอยยิ้มและหน้าตาเอาจริงเอาจังของผู้เย็บผ้าปิดจมูกแล้ว  ยิ่งทำให้คนจัดกิจกรรมอิ่มเอมใจมาก

                   

                นอกจากการอยู่ที่ซุ้มกิจกรรมของภาควิชาฯแล้ว  การที่ได้ไปร่วมกิจกรรมในซุ้มอื่นๆ เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  ได้เล่นเกมออกกำลังกายให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ได้ไปซุ้มทำเทียนหอม  มีหลายๆซุ้มที่ให้ความอิ่มอย่างมีสุขภาพดี  เช่น  สลัดเพื่อสุขภาพ  น้ำสมุนไพร  ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายจากวิทยากรพิเศษเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 2009  อีกทั้งยังได้วิธีทำเจลล้างมือด้วยตัวเองอีกด้วย

                ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการจัดซุ้มและดำเนินกิจกรรม  คือปัญหาในการจัดตำแหน่งของซุ้ม  ซึ่งแสงสว่างไม่ค่อยเพียงพอ  เนื่องจากเป็นงานเย็บผ้า  จำเป็นต้องใช้แสงสว่างที่เหมาะสมจึงจะไม่ปวดตา

 

 *****************************************************************

ผู้จัดทำขออธิบายขั้นตอนการทำผ้าปิดจมูกดังนี้

  ผ้าปิดจมูกมีขนาดกว้าง 9 ซม. ยาว 17 ซม. ดังรูป

 

  สายผ้าสำหรับผูกยาวประมาณ 80-90 ซม. (ขึ้นอยู่กับขนาดของศีรษะของแต่ละคน)

 ใช้ผ้าขาวบาง ลักษณะนุ่ม สำหรับเป็นผ้าปิดจมูกด้านใน (ด้านที่ติดกับจมูก)

ใช้ผ้าคอตตอน หรือผ้าที่มีความหนาไม่มากจนเกินไป สำหรับเป็นผ้าปิดจมูกด้านนอก (เลือกใช้ภาพลวดลายต่างๆ ตามชอบ)

ส่วนสายผ้าใช้ผ้ากุ๊นสำเร็จรูป ซึ่งจะทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า หรือจะใช้ผ้าชนิดเดียวกับผ้าปิดจมูกด้านนอกก็ได้ โดยตัดให้มีขนาดกว้าง 3 ซม. ยาวประมาณ 80-90 ซม.

ตัดผ้าขาว และผ้าคอตตอน อย่างละ 1 ชิ้น กว้างประมาณ 16 ซม. (ให้เหลือขอบสำหรับเย็บด้านละ 0.5 ซม.) ยาว 17 ซม. ตามรูป

       

กลับผ้าด้านที่มีลายเข้าด้านใน แล้วเย็บตามแนวยาวของผ้าให้มีขนาดกว้าง 15 ซม.       

                                                                                                                        

จากนั้นกลับด้านผ้าที่มีลายออกมาแนวความกว้างของผ้า) กว้าง 3 ซม. และด้านข้างๆ อีก 1.5 ซม.

 

พับผ้าตามแนวที่วัดไว้

  

 

 

เย็บผ้ากุ๊นติดบริเวณขอบ

 

 

หมายเลขบันทึก: 320837เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท