พระพุทธชินสีห์


ประวัติพระพุทธชินสีห์
ระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรมหาวิหาร  
  สถานที่ประดิษฐาน พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
ราชวรมหาวิหาร ถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
พุทธลักษณะ ศิลปสุโขทัยผสมเชียงแสน ปางมารวิชัย
ขนาด หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว วัสดุ สำริด ลง
รักปิดทอง
        ผู้ที่มีโอกาสผ่านไปยังย่านบางลำพูในวันที่ตรงกับ
วันพระ น่าจะหาโอกาสเข้าไปที่พระอุโบสถของวัดบวร
นิเวศวิหารซึ่งจะเปิดเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น พระ
อุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปอันควรแก่
การสักการะถึงสององค์คือพระสุวรรณเขตหรือหลวง
 
  พ่อเพชรพระประธานกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกที
         พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในกระบวนพระพุทธรูปที่อัญเชิญลงมาจากหัวเมืองฝ่าย
เหนือในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่เชื่อกันว่าพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยโปรดให้
สร้างขึ้นที่เมืองพิษณุโลกคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราชแล้วให้ประดิษฐานไว้ที่หน้าพระวิหารทิศเหนือ วัดพระ
ศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกสืบมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
        ครั้นในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้
รักษาดูแล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศที่ทรงปฏิสังขรณ์
        พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือเคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราว
ที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯในปี ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึง ความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า
        ...เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมากเงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระ
พุทธชินสีห์ลงมาถึง กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็เสด็จ
สวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า เพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพรพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา...
        เมื่อแรกที่พระพุทธชินสีห์มาถึงยังวัดบวรนิเวศได้ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลังของพระอุโบสถเดิมซึ่งทำ
เป็นจตุรมุขเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังผนวชเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศจะทรงสร้างพระ
เจดีย์จึงทรงเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานในพระอุโบสถเพื่อรื้อมุขหลังสร้างพระเจดีย์ พระพุทธชินสีห์จึง
ประดิษฐานคู่กับพระสุววณเขต ตราบจนทุกวันนี้
 
     
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32066เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท