ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการ (5)


ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์

ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ผู้วิจัย : สมชาย  พัทธเสน

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

ตุลาคม  2543

 

ความสำคัญของปัญหา

                ปัจจุบันคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) ได้จัดระบบบริหารงานข้าราชการพลเรือน  โดยจำแนกออกเป็น 3 สายงาน ได้แก่ข้าราชการสาย ก. (สายอาจารย์หรือสายผู้สอน)  ข้าราชการสาย ข. (สายบริการวิชาการ)  และข้าราชการสาย ค.  (สายบริหารและธุรการ)  ซึ่งต่างก็มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่สายงานของตนตามลักษณะของตนอีกทั้งบางตำแหน่งยังมีโอกาสได้ค่าตอบแทนจากการมีตำแหน่งทางวิชาการนอกเหนือไปจากเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 

                คณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะหนึ่งที่สังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา  มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตออกรับใช้สังคม  มีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการได้แก่ ตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 1  คน ตำแหน่งรองศาสตราจารย์  จำนวน  17  คน ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน  15  คน และตำแหน่งอาจารย์ จำนวน  30  คน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อาจารย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ ยังสามารถขอเสนอผลงานทางวิชาการต่อไปได้อีกหากพิจารณาข้อมูลของคณะศึกษาศาสตร์พบว่าคณาจารย์มีโอกาสที่จะเสนอผลงานทางวิชาการที่สูงขึ้นอีกในระดับหนึ่ง  ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์เขียนตำราและเอกสารทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพทางด้านวิชาการของอาจารย์ผู้สอนสูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับกันว่าหากมหาวิทยาลัยได้มีอาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจำนวนมากย่อมแสดงถึงความเข้มแข็งทางวิชาการสมกับเป็นสถาบันอุดมศึกษา  ทำให้สังคมยอมรับและศัทธามหาวิทยาลัยมากขึ้น

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                1. เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการ ของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

                2.  เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการขงคณาจารย์  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  โดยจำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ในการทำงาน

 

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

                1.  ทำให้ทราบถึงความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

                2.เพื่อเป็นข้อมูลสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือสนับสนุนและพัฒนาคณาจารย์ให้สามารถจัดทำผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะส่งผลความก้าวหน้าทางตำแหน่งวิชาการ

                3.  เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนคณาจารย์ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านประสบการณ์ทำงาน  ส่งผลให้สนองความต้องการจัดทำผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คำถามในการวิจัย  

                1.  ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  อยู่ในระดับใด

                2.  ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า

ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการ  ของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา  จำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน

 

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                1.  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  คณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  ที่ทำหน้าที่ทำการสอน  จำนวน  63  คน 

                2.  กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างเลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย  (simple random sampling)  และใช้เกณฎ์การเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie  &  Morgan,1970,p608)  ได้กลุ่มตัวอย่าง  52  คน 

 

เครื่องมือการวิจัย

                แบบสอบถาม

 

วิธีสร้างเครื่องมือ

  1. ศึกษาเอกสาร  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

  2.  ศึกษาเอกสารและคู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคำถาม

  3. นำร่างแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้ว นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาควบคุมงานวิจัยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่ง

  4.  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้ว  ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความสมบูรณ์ของเนื้อหา  ความเหมาะสม และความสอดคล้องของข้อคำถาม      

 5.  นำแบบสอบถามที่แก้ไขแล้วตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ  เสนออาจารย์ที่ปรึกษา

 6.  นำแบบสอบถามที่แก้ไขปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับอาจารย์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างคือ  อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน  31  คน  แล้วนำมาหาอำนาจจำแนกรายข้อ  (Discrimination)  โดยใช้วิธีสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (peason product  moment correlation )  ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item  Total Correlation)    หลังจากที่นำแบบสอบถามไปทดลองใช้แล้วปรากฏว่า  แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .40 ถึง .80 

 7.  นำแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อยอมรับได้จากข้อ 6  มาหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า  (  coefficient alpha)  ของคอนบาค  (Cronbach, 1990,pp.202-204)  ผลการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นที่ .97  ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามฉบับนี้มีค่าความเชื่อมั่นสูงสามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้

 8.  นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองใช้มาแล้วมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ เสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบครั้งสุดท้าย  ก่อนนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างต่อไป  

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                1.  วิเคราะห์ระดับความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  หาค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                2.  เปรียบเทียบความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  โดยจำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกันโดยใช้  t-test 

สรุปผลการวิจัย

                1.  ความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ  ด้านการนำเสนอผลงานทางวิชาการ  ด้านการจัดทำผลงานทางวิชาการ  ด้านการนำผลงานทางวิชาการไปใช้ และด้านการเตรียมการและวางแผน

                2.  ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ระหว่างคณาจารย์ที่มีเพศต่างกัน พบว่า ความต้องการทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                3.  ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างคณาจารย์ในการการทำงานมากและมีประสบการณ์ในการทำงานน้อย  พบว่า ความต้องการทุก้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

หมายเลขบันทึก: 320058เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นแบบอย่างงานวิจัยที่ครบสมบูรณ์ครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาอ่านรายงานวิจัย ดีมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท