จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ให้งานเดิน จะใช้คนหรือใช่หน่วยงาน


คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการประชุมพิจารณาตำแหน่งวิชาการที่ผ่านมาคือ "ทำไมปล่อยเรื่องให้ยาวนานมาได้ถึงห้าหกปี?" คำถามนี้ความจริงมันตอบไม่ยากครับ ถ้าแค่เพียงการหาเหตุผลเพื่อให้ผ่านๆ ไป แต่มันเป็นคำถามที่หลายๆ คนในมหาวิทยาลัย ไม่ต้องการตอบ แต่ต้องการขับเคลื่อนและขจัดมันออกไปให้ได้สักที แต่พยายามนั้นไม่เคยเกิดผลมาเป็นเวลาหลายปี ความจริงก็คือ เราแก้ไขมันมาไม่ได้หลายปี

ผมคุึยกับหลายๆ คนว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่บวกคนเข้าไป ปัญหาของเราคือ หน่วยงานหลายหน่วยมีขอบข่ายงานที่ไม่ชัด บางที (เมื่อหลายปีก่อน) ปัดกันพันละวันเลยครับ ในขณะเดียวกันบางครั้ง งานชัดครับว่าเป็นของใคร แต่บังเอิญคนในหน่วยงานไม่สามารถทำงานได้ เพราะขาดทักษะเฉพาะในงานนั้นๆ อย่างหลังจากก็เนื่องจากระบบงานอีกที่ขาดการพัฒนาคนในระหว่างการปฏิบัติงาน เมื่อวานซืนคุยกับผู้บริหารท่านหนึ่ง ประเด็นคือว่า ในหน่วยงานท่านมีปัญหาว่า บุคลากรขาดทักษะๆ หนึ่ง ท่านต้องการให้มีการพัฒนาคนในหน่วยงาน เลยโยนลูกไปที่คนที่รับผิดชอบงาน แต่สุดท้ายก็โดนปฏิเสธครับ บอกว่าเรื่องนี้ต้องเป็นหน่วยงานระดับสูงขึ้นไปอีกที่จะต้องรับผิดชอบในการพัฒนา ฮือ ลำบากครับ ในหน่วยงานตัวเองแท้ๆ ทำไมไม่คิดจะพัฒนาคนภายในกันเอง วิธีการก็ตั้่งเยอะตั้งแยะ ชอบจริงๆ กับการโยนลูก (ปวดหัว)

สภาพปัจจุบัน คือ รับคนมาอย่างงัย ตอนนี้ทำงานไปกี่ปี เขาก็มีทักษะเท่ากับตอนที่เขามา พอมีงานใหม่ๆ เข้ามา ตอบได้อย่างเดียวว่า ทำไม่ได้ครับ ทำไม่เป็น และวิธีการแก้ปัญหาของหัวหน้าหน่วยงานคือ รับคนเพิ่ม ฮาฮาฮา พูดถึงประเด็นนี้แล้วอายจริงๆ ครับ ผมชอบยกตัวอย่างสมัยเรียน ป.โท ที่ มอ.ปัตตานี มาเป็นกรณีให้ผู้บริหารฟังว่า ตอนนั้น มอ.จะใช้ระบบ e-Document ปรากฏในสาขาวิชาที่ผมเรียน เจ้าหน้าที่ธุรการวัยห้าสิบกว่าครับ ต้องไปตัดแว่นตาใหม่ เพื่อให้อ่านจากหน้าจอสะดวกขึ้น เสร็จจากอบรมมาก็งงๆ ครับ มันทำกันยังงัยหว่า? สุดท้ายก็เลือกวิธีการที่ง่ายที่สุดคือ ขอความช่วยเหลือจากพวกผมนี้แหละครับ แต่สุดท้ายทุกอย่างทำเองได้หมด ฮือ ต่างกับเราครับ เจ้าหน้าที่เราเข้ามาพร้อมทุกอย่าง ไฟแรงทั้งนั้น แต่อยู่ๆ ไปความรู้ยิ่งลด ไฟก็พลอยดับไปด้วย (อายมัยละ) มันแย่ตรงที่หน่วยงานต้นสังกัดไม่รู้จักกับกระบวนการพัฒนาบุคลากร ฮือ Learning Organization คงอีกไกล เพราะรู้จักการพัฒนาบุคลากรด้วยคำว่า อบรม ดูงาน เท่านั้น 

กรณีที่ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาฯ ซึ่งเพิ่งไปประุชุมมานี่แหละครับ อันนี้ก็อีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นชัดๆ ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบงานในมหาวิทยาลัย งานนี้เป็นงานที่ไม่สามารถปล่อยแบบให้คนๆ หนึ่งทำงานลอยๆ ได้ครับ มันต้องมีหน่วยงาน มีคนที่ทำงาน ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า ผู้บริหารหน่วยงานท่านทราบหรือเปล่าว่า อันนี้ความจริงเป็นงานของท่าน ฮาฮา ท่านเลขาฯ กรรมการชุดนี้ เป็นรองคณบดีบัณฑิตครับ ท่านก็เลยต้องรับเอางานนี้ไปทำเอง โดยขอช่วยทีมงานในบัณฑิตทำในบางเรื่อง ที่เหลือผมกับท่านเองช่วยกันทำ ดีนะครับที่ทีมงานท่านก็ไม่เกี่ยงว่างานใคร เห็นหัวหน้าไม่ไหวก็ยื่นมือมาช่วยอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเวลางานหรือไม่

นั่งทำงานในตำแหน่งลอยๆ นี้มาหลายวันครับ แล้วก็รู้เลยครับว่า งานนี้มันว่างเปล่า จนต้องทำใหม่หมดทุกอย่างเลย มันทำแค่ให้เกิดการประชุมไม่ได้ มันต้องเดินงานหลังประชุมอีกเยอะเลย และการเดินงานดังกล่าวมันควรจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ฮือ แต่ช่างเถอะครับ เอาเป็นว่า ทำภาระกิจนี้ให้เสร็จ เพื่อว่า มอย.จะได้อาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการกับเขาตัวเป็นๆ บ้าง

ดังนั้นข้อสรุปผมคือ การที่เลือกคนมาหนึ่งคนเพื่อทำงาน เพราะคิดว่า เขาเหมาะสม เขาทำได้ โดยไม่สนใจว่างานนี้มันควรอยู่ในหน่วยงานไหนนั้น โดยให้เหตุผลว่า คนในหน่วยงานที่รับผิดชอบทำไม่ได้หรอก เป็นความคิดที่ผิดแน่นอนครับ การสั่งงานต้องสั่งลงไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ แล้วเขาจะต้องแก้ไขและขับเคลื่อนให้เป็นระบบ จะดึงใครมาช่วยทำก็ได้ แต่ทำภายใต้ชื่อของหน่วยงานนี้ และนี้คือคำตอบว่า ทำไมปัญหานี้มันค้างมาตั้งแต่ปี 46 

ในระหว่างเตรียมงานประชุมที่ผ่านมา ผมทบทวนมติการประชุมทุกครั้งที่ผ่าน พบว่า มีคนที่เข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้ สองรุ่นครับ ซึ่งทั้งสองรุ่น ไม่ได้เลือกจากหน่วยงานที่สังกัด แต่เลือกจากคนที่คิดว่าน่าจะทำงานนี้ได้ แต่อยู่นอกหน่วยงานที่ควรจะรับผิดชอบ ผลก็คือ มันเดินงานแบบเทศกาล ไม่สามารถทำให้เป็นงานที่เดินอย่างต่อเนื่องและราบรื่นได้

พูดมากกว่านี้ลำบากนิดหนึ่งครับ แต่คิดว่า คำตอบของเราคือ เราต้องช่วยกันทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา เหมือนดั่งที่เราเฝ้าขอดุอาอยู่ตลอดว่า "โอ้พระเจ้าของฉัน ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนความรู้แก่ฉัน" และความจริงเครื่องมือในเรื่องนี้ก็มีอยู่แล้วครับ แต่เราไม่หยิบไม่ใช้งาน

หมายเลขบันทึก: 319871เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เห็นด้วยครับ ที่ว่า "เราต้องช่วยกันทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้"

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้แวะมารับความรู้นานแล้ว

วันนี้มาได้ยินเสียงฮือๆ ด้วย

สู้ๆค่ะ แล้วทุกอย่างก็ผ่านไปหากได้รับการแก้ไข

และหรือผ่านไปแบบผ่านไปเลย

แอบๆเชียร์แบบแลกนะคะ

  • รูปที่ อ. นำขึ้นว่างดี เหมือนกับตำแหน่งอาจารย์ใน มอย.เลย
  • หน่วยงานที่ อ.หมายถึง เข้าใจว่าเป็นหน่วยงานที่ผมเคยเป็น ผอ.มาก่อน เมื่อ อ.พูดว่าควรจะเป็นหน่วยงานนี้ที่รับผิดชอบ บอกตรงๆเลยไม่เคยมีใครพูดถึง และผมก็ไม่เคยสะกิดใจว่าต้องเป็นผมรับผิดชอบ ตอนนั้นเขาให้ผมรับผิดชอบเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือว่าเขาเห็นว่าความสามารถไม่พอเลยไม่ได้กล่าวถึง แล้วมอบหมายตัวบุคคลให้ทำงาน แต่ผมว่าเรื่องจัดการเอกสาน ประสานงาน บุคลากรในหน่วยงานยังไงก็ทำได้
  • ก่อนหน้านี้เราทำงานแบบเครือญาติ พูดคุยกันก็ทำกันได้ แต่เมื่อผมโดนเรื่องการโอนย้ายห้องสมุดสาขา ทั้งๆที่เป็นมติกรรมการบริหารแล้ว ยังไปตีความหมายคนละเรื่อง เลยทำให้เข้าของเสียหายน่าเสียดาย
  • เมื่อวานผมคุยกับรองบริหาร ผมอยากทำงาน แต่ผมไม่อยากให้เขาเห็นว่าผมขอทำงาน(เป็นทางการ) ผมอยากให้ฝ่ายบริหารมอบหมายให้ผมรับผิดชอบ(ในบางเรื่อง)อย่างเป็นลายลักษณอักษร ตอนนี้ผมให้เด็กๆไปช่วยทำงาน แต่อย่าคิดว่าเป็นหน้าที่ที่ผมต้องรับผิดชอบ
  • หลายหน่วยงานผมคิดว่าพร้อมที่จะทำงาน แต่คงกลัวเหมือนผม ไปแย่งชิงอะไรกับหน่วยงานของคนอื่น เพราะบางครั้งการแย่งชิงเกิดฟิฏนะฮฺ (อย่างกรณีของผมเกิดการใส่ร้ายและคนใส่ร้ายทุกวันนี้ยังไม่มาขอมะอัฟเลย คิดว่าเขาเชื่อว่าเด็กของผมทำผิดอย่างที่เขาว่า)
  • ยังไงผมว่า อ.ลาได้แค่ทางการนะครับ แต่ใจและแรงอย่างอยู่กับเรา

ขอบคุณครับ atozorama 

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งเลยครับ

ขอบคุณครับkrutoiting 

วันนี้อารมณ์นั้นจริงๆ เลยครับ

ขอบคุณครับ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

- ถ้าดูบันทึกการประชุมปี 47 จะพบว่าตอนนั้นมีหน่วยงานๆ หนึ่งรับทำครับ ไม่ใช่หน่วยงานอาจารย์ในขณะนั้น และมี ผช.อธิการท่านหนึ่งเป็นคนเดินเรื่อง ซึ่งตอนนั้นก็ถูกประเด็นนิดหน่อย แต่เชื่อมัยครับ ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งเดียวแล้วก็เลิก ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น

- เรื่องขอบข่ายงานของแต่ละหน่วยงานตอนนี้ แสดงถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนมากครับ หากไม่รีบแก้ไข เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้นก็ยิ่งฝอกปัญหาให้โตขึ้นด้วย แล้วฟิฎนะฮ์ก็จะเยอะขึ้นตามด้วย (นาอูซูบิลลาหิมินซาลิก)

-แรงกายแรงใจมีให้เต็มที่ครับ กลัวแต่ลงไปแล้วเหมือนไปละลายแม่น้ำ ฮาฮาฮา

สลามครับอาจารย์ จารุวัจน์อย่างนี้พัฒนาลงครับ

ตามมาให้กำลังใจ...เื่ชื่อครับว่าหลายคนพร้อมที่จะทำงาน แต่เป็นอย่างที่ อาจารย์และอาจารย์

P ว่านั่นแหละกลัวจะไปขัดขากัน...งานนี้คงต้องรีบช่วยกันครับ
สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง พร้อมยอมรับความเป็นจริงด้วย ผลักดัน ร่วมกัน พัฒนา สร้างคุณค่าของเวลาอย่างที่ควรจะเป็น มิใ่ช่ปล่อยให้มันผ่านพ้นโดยหาคำตอบให้ปัญหานั้นๆเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้
  ขอเอาใจช่วยครับด้วยความหวังและดุอาอฺ

อ.อีย์ 

ผมคิดแบบนี้นะครับ เท่าที่สัมผัสกับหลายท่าน ที่ มอย. ต่างก็เป็นบุคคลเรียนรู้ เรื่องการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น ไม่ยากเเน่นอนครับ อาศัยช่วงเวลาที่ดีๆ กระบวนการเหมาะๆก็เคลื่อนไปได้แบบสบาย

ผมนึกไม่ออกว่า บรรยากาศที่เหมาะสมตรงนั้น น่าจะเป็นไร อ.อีย์ เป็นคนในก็คงทราบดี

ให้กำลังใจในการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ มอย.ครับ

-------------------

วันนี้ผมจะไปทำ workshop ให้กับ พอช.เช่นกันครับ ประเด็นเดียวกันนี้

ขอบคุณครับวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

การพัฒนาต้องมีรอบด้านครับ ขึ้น ลง ซ้าย ขวา ฮิฮิ

ขอบคุณครับอาจารย์เสียงเล็กๆ فؤاد 

ผมเชื่อว่า คนพร้อม แต่ตัวสนับสนุนต้องขับเคลื่อนครับ

ขอบคุณครับอ.เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 

รอบนี้ผมหวังจะเรียนรู้กระบวนการของเอก เพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมกับ มอย.ครับ

 

สลามครับ มาเยี่ยมส่งข่าวครับ

-สลามครับอาจารย์

-ผมว่าถึงยุคสมัยแล้วที่เราจะปรับปรุงเราเอง

-มีเรื่องเล่าว่า เพื่อนยากรู้ว่าเรียนที่ไหน เลยให้ดูเวป เขาตกใจมาก ซึ่งเป็นก้าวแรกของเรา เขาเลิกดูเลย

-ต่างกับสโลแกน ของมหาลัยที่ขึ้นมาครับ เลยมาเล่าต่อ ให้อาจารย์

-ขอให้มีความสุขในการทำงานครับ

ขอบคุณครับ daros  แล้วจะแวะไปเยี่ยมครับ

ขอบคุณครับ ฮาลีม

เว็บเป็นหน้าตาสำคัญขององค์กรในปัจจุบันครับ คนรับผิดชอบก็ต้องรับไปพิจารณาดูแล้วกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท