การเปลี่ยนแปลง


จากสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา เป็น กองบริหารการวิจัย

          ตามวิสัยทัศน์คือ “มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย สู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศภายในปี 2560”   มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้จัดตั้งและปรับปรุงโครงสร้างของสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา  เป็น กองบริหารการวิจัย  ตามคำสั่งสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง จัดตั้งและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการและหน่วยงานภายใน สำนักงานอธิการบดี(เพิ่มเติม)  เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และภารกิจของมหาวิทยาลัย  โดยเป้าหมายของกองบริหารการวิจัยเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยของมหาวิทยาลัย

           การปรับบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน  เป็นกองบริหารงานวิจัย  ภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี  ทำให้สมาชิกภายในองค์กรเกิดความหวั่นไหวเล็กน้อย แต่ด้วยความมั่นใจของคณะผู้บริหารชุดใหม่ ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  ทำให้พวกเราได้สร้างกำลังใจให้เพิ่มขึ้นเพื่อพร้อมปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการงานใหม่  ดังที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ วัฒนาธร และอาจารย์เสมอ ถาน้อย ได้กล่าวไว้ใน “คู่มือวิจัยไม่ยาก(มาก) อย่างที่คิด” หนังสือที่ได้ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2550  ในหัวข้อ Chaordic organization  ข้อที่ 4 Organization Concepts  ว่า “หน่วยงานหรือองค์กรที่ดีต้องมีคุณสมบัติเป็น Complex adaptive system (CAS) คือมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับการบริหารงานของ IRDA เน้นให้บุคลากรทำงานบนพื้นฐานของ CAS และต้องมีคุณสมบัติที่ดีในด้านการจัดระบบงานของตนเอง (Self organization) และการควบคุมรับผิดชอบต่อตนเอง (Self governing) เนื่องจากหน่วยงานในลักษณะ Chaordic organization จะลดบทบาทของระบบการควบคุมการสั่งการลง ดังนั้นความรับผิดชอบต่อตนเองของบุคลากรจะเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุด องค์กรจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเหล่านี้ดีเพียงใด นอกจากนี้บุคลากรย่อมมีความสามารถปรับตัวได้ดีกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา (Diversity)”       

            จากคัมภีร์ที่เปรียบเสมือนคำสอนนี้ทำให้บุคลากรของ IRDA ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว  โดยปัจจุบันกองบริหารการวิจัย มีชื่อย่อภาษาอังกฤษเป็น DRA แต่อาจารย์ส่วนใหญ่ยังติดที่ติดที่จะเรียกเราว่า ไอรดา หรือ IRDA  กองบริหาการวิจัย มีโครงสร้างประกอบด้วย 3 งาน ได้แก่ งานธุรการ  งานประสานและส่งเสริมโครงการวิจัย  และงานส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัย  ทั้งนี้  เพื่อที่จะได้สนับสนุนกรอบนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีชื่อเสียงด้านการวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้  ซึ่งแต่ละฝ่ายจะมีหน้าที่หลักที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะฝ่ายงานประสานและส่งเสริมโครงการวิจัย ที่มุ่งพัฒนาให้เกิด Proposal ที่มีคุณภาพและพัฒนาให้เกิดนักวิจัยหน้าใหม่มากขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 คลัสเตอร์หลัก คือ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสังคมศาสตร์ 

             วันนี้ดิฉันคงร่ายยาวไปแล้ว ในบล็อกหน้าดิฉันจะมากล่าวถึงรายละเอียดการทำงานของกองบริหารการวิจัยต่อไปค่ะ พบกันใหม่นะคะ

หมายเลขบันทึก: 319596เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท