ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

เกณฑ์การแข่งขันคัดลายมือ


กลุ่มสาระวิชาภาษาไทย

1. การแข่งขันคัดลายมือ

1.1 คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

1.1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.1-3

1.1.2 นักเรียนระดับชั้น ป.4-6

1.2 ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                                1.2.1 แข่งขันแบบเดี่ยว

                                1.2.2  จำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                                                1) ระดับชั้น ป.1-3  จำนวน 1 คน 

                                                2) ระดับชั้น ป.4-6  จำนวน 1 คน

1.3 วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                                1.3.1 เนื้อหาที่จะให้ผู้เข้าแข่งขันคัดลายมือ ให้คณะกรรมการเป็นผู้จัดเตรียม

1) ระดับชั้น ป.1-3 ใช้ดินสอดำ คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามข้อความที่กำหนด 1 จบ 

เวลา 1 ชั่วโมง  ถ้าคัดไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดจะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน

2) ระดับชั้น ป.4-6  ใช้ปากกา คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามข้อความที่กำหนด 1 จบ

เวลา 1 ชั่วโมง  ถ้าคัดไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดจะไม่ได้รับการตรวจให้คะแนน

                               1.3.2  รูปแบบตัวอักษร   ใช้รูปของแบบกระทรวงศึกษาธิการ

1.4  เกณฑ์การให้คะแนน  100  คะแนน 

                                1.4.1 คัดได้สวยงาม รูปร่างตัวอักษรสวยงาม สม่ำเสมอ เป็นแบบเดียวกัน (30 คะแนน)

                                              1) รูปร่างตัวอักษร                                                    14           คะแนน

                                              2) ขนาดตัวอักษรทั้งความสูงและความกว้าง                     8           คะแนน

                                                3) คุณภาพของเส้น                                                  8           คะแนน

                                1.4.2 คัดได้ถูกต้อง                                                               (20 คะแนน)

                                              1) สะกดผิด  1 ที่  หัก 2 คะแนน 

                                              2) คัดตก / เกิน  1 ที่  หัก 2 คะแนน 

                                1.4.3 การวางตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ถูกต้อง                              (20 คะแนน)

                                              1) วางสระผิด  1 ที่  หัก  2                คะแนน 

                                              2) วางวรรณยุกต์ไม่ถูกที่    1  ที่ หัก  2  คะแนน 

                                1.4.4 การเว้นช่องไฟและการเว้นวรรคที่เหมาะสม                           (14 คะแนน)

                                              - เว้นวรรคไม่ถูกต้อง  1 ที่   หัก  2  คะแนน 

 

                                1.4.5 สะอาดเรียบร้อย                                                           (16 คะแนน)

                                              - ขูด ลบ ขีด ฆ่า   1 ที่  หัก  2  คะแนน 

1.5 เกณฑ์การตัดสิน

                                                ร้อยละ   80 – 100              ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                                ร้อยละ   70 – 79                 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                                ร้อยละ   60 – 69                 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง
                                ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร  เว้นแต่กรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

                1.6 คณะกรรมการการแข่งขัน  ระดับชั้นละ  3 – 5 คน

                คุณสมบัติของคณะกรรมการ

               -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

                -  เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

               -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านภาษาไทย

                ข้อควรคำนึง 

                -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                -  กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย

                -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

                สถานที่ทำการแข่งขัน

                - ควรใช้ห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้  ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

1.7 การเข้าแข่งขันระดับชาติ

1.7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่  1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

1.7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 คน ให้พิจารณาลำดับที่ตาม   ลำดับข้อของเกณฑ์การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณา 

เห็นควรมีการต่อยอดในระดับชาติ โดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะการคัดลายมือ

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 319591เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เมื่อก่อนผมเคยลายมือสวยนะครับ แข่งขันชนะเลิศทุกรายการเลย แม้แต่พระอินทรืยังเนรมิตสู้ลายมือผมไม่ได้ ท่านอิจฉาเลยสาปผมให้ลายมือห่วยมาจนถึงทุกวันนี้ ฮา

  • การคัดลายมือ  เป็นทักษะที่ต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอ
  • ต่อให้เทวดา+พระอินทร์+นางฟ้า  ก็ช่วยไม่ได้  55555

 

ใช่ เทวดานางฟ้ายังไงก็ช่วยไม่ได้ นอกจาก ลายมือคนนั้นจะห่วยแตกสุดๆ หลงตัวเองไปได้ไม่ส่องกระจกดูลายมือตัวเองเลยเหรอเรื่องอย่างนี้ไม่ควรมาบอกอวดเก่งสุดๆ

แล้วตัวหนังสือแบบกระทรวงศึกษาธิการ หน้าตามันเป็นอย่างไร ทำไมหาดูยากเสียยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร ค้นหายังไงก็ไม่เจอ ใครมียกมือบอกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท