ก้าวย่างการพัฒนาระบบราชการไทย


การจะตัดสินใจให้ได้ประสิทธิผลที่ดีขึ้น จะต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ถี่ถ้วน เพื่อให้เป็นการตัดสินใจที่มีคุณภาพที่ดี ประกอบกับจะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจนั้นด้วย

ทศพนธ์  นรทัศน์
ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน

 

หลายคนคงสงสัยว่าทำไม ในเมื่อหน่วยงานภาครัฐต่างพากันจัดจ้างที่ปรึกษามาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและพัฒนาองค์กรด้วยเงินจากภาษีประชาชนมูลค่าหลายล้านบาท แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือประสิทธิผลอะไรมากมายนัก หลายโครงการจบลงเพียงแค่การส่งรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ แล้วก็ถูกส่งไปเก็บไว้ในห้องสมุด 


จากสมการการตัดสินใจให้ได้ประสิทธิผล ในหนังสือ Scenario Thinking ของ Michinari  Nishimura แปลเป็นไทยโดย จักรกฤษณ์  พุ่มไพศาลชัย (2552:47-49) สมการดังกล่าวบอกไว้ว่า สูตรการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล


E = Q x A
E: Effectiveness (ประสิทธิผล) หรือผลลัพธ์
Q: Quality (คุณภาพ)
A: Acceptance (การเป็นที่ยอมรับ)

 กล่าวคือ “การจะตัดสินใจให้ได้ประสิทธิผลที่ดีขึ้น จะต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ถี่ถ้วน เพื่อให้เป็นการตัดสินใจที่มีคุณภาพที่ดี ประกอบกับจะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจนั้นด้วย”

การที่ E จะเป็นศูนย์ หรือมีค่าน้อยมากนั้นเป็นไปได้ 2 กรณี (ไม่รวมกรณีที่ทั้ง Q และ A ต่างก็น้อยทั้งคู่) คือ (1) Q มีค่ามาก A มีค่าน้อย  (2) Q มีค่าน้อย A มีค่ามาก หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่จะอยู่ในกรณีแรก คือ Q มีค่ามาก A มีค่าน้อย กล่าวคือ หน่วยงานมีการจ้างที่ปรึกษาข้างนอกมาช่วยแนะนำในการวางกลยุทธ์ หรือวิเคราะห์การดำเนินงานขององค์กร เนื้อหาในการวิเคราะห์มีคุณภาพดี แต่การสื่อสารผลของการวิเคราะห์นั้น กับคนในองค์กร หรือการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรมีไม่มากพอ ทำให้ในที่สุดแล้วไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นลงมือปฏิบัติ

 

ดังนั้น องค์กรภาครัฐ จึงควรพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากเงินภาษีประชาชนในการจ้างที่ปรึกษาภายนอกมาเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาองค์กรให้เป็นมากกว่าการใช้จ่ายงบประมาณให้หมดไปตามที่ได้รับจัดสรร แต่ควรสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง มิใช่เพียงจัดการสัมมนา หรือประชุมพอเป็นพิธีกรรม เพราะสุดท้ายก็จะกลายเป็นความสูญเปล่าของการใช้จ่ายงบประมาณ และแผนงานที่ได้จากโครงการศึกษาที่ได้มาก็เป็นเพียงกระดาษที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 319500เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณความรู้ดีๆขอรับ

ผมก็อ่นเล่มนี้พึ่งจบครับ ดึมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท