การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 4)


การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 4)

จากที่ผู้เขียนได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง "การพัฒนาสมรรถนะการพัฒนาทรัพยากรบุคคล" ตอนที่ 1 - 3 นั้น สำหรับหัวข้อเรื่องนี้ เป็นตอนที่ 4 ทำให้เราทราบถึงการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคลในสมัยก่อน โดยปัจจุบันจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการวางแผน มิใช่วางแผนไว้เพื่อเป็นการวางแผนเสมือนการวาดวิมานในอากาศ เช่น สมัยก่อนไม่ แต่เป็นการวางแผนที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งต้องตั้งเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึงโดยจะต้องมาจากความพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steckholder) ความพึงพอใจของลูกค้า กระบวนการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเตรียมกำลังคนและขวัญกำลังใจของบุคลากรในองค์การเป็นหลัก

ประโยชน์ที่ส่วนราชการจะได้รับ

1. การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ของส่วนราชการและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2. การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการมีความสมดุลทั้งในด้านความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประสิทธิภาพ ความพร้อมรับผิดและคุณภาพชีวิตของข้าราชการ (กรมบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์และพร้อมที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า ข้าราชการมั่นใจในความเป็นธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี)

3. ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เงื่อนไขความสำเร็จ

1. ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญและให้การสนัสนุนอย่างเต็มที่

2. ผู้บริหารของหน่วยงานหลักเข้าใจบทบาทความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและเห็นความสำคัญ

3. ผู้รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่เข้าใจทิศทางควมต้องการของส่วนราชการ

4. ผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารของหน่วยงานและผู้รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ร่วมกันจัดทำแผนกลยุทธ์ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

5. การกำหนดปฏิทินการทำงานในแต่ละขั้นตอนและผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

6. การสรุปประเด็นที่ชัดเจนจากการระดมสมอง

7. การประสานงานที่ดีระหว่างคณะทำงานของส่วนราชการ สำนักงาน ก.พ. และที่ปรึกษาภายนอก

8. การบูรณาการแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ของกรมจะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและวัดได้

9. การสื่อสารให้ข้าราชการเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล

ผลผลิตที่ต้องการ

1. แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ ซึ่งเป็นแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้

2. การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผน ฯ (ผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการสำนัก/กอง หน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล)

3. ความรู้ความเข้าใจของส่วนราชการในการบิหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ และการปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

โปรดติดตาม...การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล...

ในตอนต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 318694เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ P บุษยมาศ

แวะมาเยี่ยมอาจารย์ค่ะ สบายดีนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ...ครูอี๊ด...

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม...สบายดีค่ะ...ครูอี๊ดสบายดีนะค่ะ...

ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์

ติดตามมาเรียนรู้จากอาจารย์ด้วยคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณชาดา...

ขอบคุณค่ะ...ยินดีค่ะ...

สวัสดีค่ะ...คุณ Kamonrat...

ขอบคุณค่ะ...ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท