สรุปงานวิจัยเล่มที่ 4


สุขภาพองค์การ

ชื่องานวิจัย: สุขภาพองค์กรของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี

ผู้วิจัย: นางสาวมนิษา เซ่งเฟ็ด

ปีที่วิจัย: 2548

วัตถุประสงค์ของการวิจัย:

            1. เพื่อศึกษาสุขภาพองค์การโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรในองค์การ

            2. เพื่อเปรียบเทียบสุขภาพองค์การ โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรในองค์การ

ประชากรในการศึกษา:  ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรในโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน  60 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย:

            เป็นแบบสอบถามที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากประชากรในโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี แบ่งออกเป็น 2 ตอน รายละเอียดของแบบสอบถามในแต่ละตอนมีดังนี้

                ตอนที่ 1 แบบสอบถามด้านปัจจัยชีวสังคม เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบมีทั้งหมด 1 ข้อ

                ตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดสุขภาพองค์การ แบบสอบถามนี้มุ่งวัดสุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่พัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแบบวัดสุขภาพองค์การ (Organization Health Inventory หรือ OHI) ของฮอย และซาโบ (Hoy & Sabo, 1997)  เป็นเครื่องมือในการเก็บและรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ซึ่งประกอบด้วย ดรรชนีการชี้วัดสุขภาพองค์การ มาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งประกอบด้วยดรรชนีชี้วัดสุขภาพองค์การ 6 ด้าน จำนวน 45 ข้อ โดยมีข้อความเชิงกระทงนิเสธ จำนวน 11 ข้อ ดังนี้

                มิติเกี่ยวกับเกียรติศักดิ์ศรีของโรงเรียน จำนวน 7 ข้อ โดยมีข้อความกระทงนิเสธ จำนวน 6 ข้อ

                มิติเกี่ยวกับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 9 ข้อ

                มิติเกี่ยวกับอำนาจอิทธิพลของผู้บริหารโรงเรียนมีจำนวน 6 ข้อ โดยมีข้อความเชิงกระทงนิเสธจำนวน 1 ข้อ

                มิติเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากร มีจำนวน 6 ข้อ

                มิติเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของครู มีจำนวน 8 ข้อ โดยมีข้อความเชิงกระทงนิเสธ จำนวน 2 ข้อ

                มิติเกี่ยวกับการมุ่งเน้นวิชาการมีจำนวน 9 ข้อ โดยมีข้อความเชิงกระทงนิเสธ 2 ข้อ

การเก็บรวบรวมข้อมูล:

                1. ขอหนังสือรับรองจากภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อขอเก็บข้อมูลจากโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 โรงเรียน

                2. จัดส่งแบบสอบถามจำนวน 60 ฉบับไปยังผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรที่เป็นประชากรด้วยตนเอง รวมทั้งติดตามจัดเก็บด้วยตนเอง

                3. ในกรณีที่ยังไม่ได้รับแบบสอบถามคืนตามเวลาที่ผู้วิจัยกำหนด ผู้วิจัยได้ติดตามเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการเก็บข้อมูลพบว่า เก็บคืนได้ 60 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

การวิเคราะห์ข้อมูล:

            1. ดำเนินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามซึ่งแบบสอบถามมีความสมบูรณ์ทั้ง 60 ฉบับ

                2. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัส และให้คะแนนตามที่กำหนดไว้

                3. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการต่อไป

                4. แปลความหมายของคะแนน โดยผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์สำหรับวัดระดับ สุขภาพองค์การโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยเอาคะแนนเฉลี่ย (mean) ของคะแนนเป็นตัวชี้วัด โดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว, 2535, หน้า 23 – 24)

                คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00  หมายถึง   สุขภาพองค์การของโรงเรียนแข็งแรงมากที่สุด

                คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50  หมายถึง   สุขภาพองค์การของโรงเรียนแข็งแรงมาก

                คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50  หมายถึง   สุขภาพองค์การของโรงเรียนแข็งแรงปานกลาง

                คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50  หมายถึง   สุขภาพองค์การของโรงเรียนแข็งแรงน้อย

                คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50  หมายถึง   สุขภาพองค์การของโรงเรียนแข็งแรงน้อยที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิจัย:  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS และคำนวณในโปรแกรม MS Excel โดยใช้ค่าสถิติเพื่อการวิเคราะห์ดังนี้

                1. การหาระดับสุขภาพองค์การโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยให้ค่าเฉลี่ย  และความเบี่ยงเบนมาตราฐาน

                2. การทดสอบสมมติฐาน “สุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากร แตกต่างกัน” สถิติที่ใช้คือ การเปรียบเทียบผลกระทบ (Effect Size) โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ (Howell, 1997, pp. 216 – 218)

                   ES น้อยกว่าหรือเท่ากับ .20     หมายถึง ไม่แตกต่างกัน

.20 น้อยกว่า ES น้อยกว่าหรือเท่ากับ .05     หมายถึง  แตกต่างน้อย

.05 น้อยกว่า ES น้อยกว่าหรือเท่ากับ .08     หมายถึง  แตกต่างปานกลาง

                   ES มากกว่า .08                    หมายถึง  แตกต่างมาก

 

สรุปผลการวิจัย:

                1. สุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา  จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับแข็งแรงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สุขภาพองค์ทุกด้านอยู่ในระดับแข็งแรงมาก เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ ด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการมุ่งเน้นงานวิชาการ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ด้านอำนาจอิทธิพลของผู้บริหารโรงเรียน และด้านการอยู่ร่วมกันของครู ยกเว้นด้านเกียรติศักดิ์ศรีของโรงเรียน มีสุขภาพองค์การแข็งแรงระดับปานกลาง

                2. สุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน และผู้บริหารกับบุคลากร โดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการสนับสนุนทรัพยากร และด้านการอยู่ร่วมกันของครู ส่วนด้านที่แตกต่างน้อย ได้แก่ ด้านเกียรติศักดิ์ศรีของโรงเรียน ด้านอำนาจอิทธิพลของผู้บริหารโรงเรียน และด้านการมุ่งเน้นวิชาการ

                3. สุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างความคิดเห็นของผู้สอนและบุคลากร ทั้งโดยรวมและทุกรายด้านแตกต่างน้อย

หมายเลขบันทึก: 318067เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2009 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเข้ามาอ่านงานวิจัยที่ท่านสรุปคนแรกเลยนะครับ ดีครับ

สุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา ด้านศักดิ์ศรี ในความเห็นของผมซึ่งเป็นคนนอกองค์กร เห็นว่าอยู่ในระดับแข็งแรงมากครับ และชื่นชมการทำงานของคณะผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่นั่นมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท