การใช้บัตรบันทึกเหตุการณ์ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานโรงพยาบาล ตอนที่ III


การใช้บัตรบันทึกเหตุการณ์ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยสะท้อนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยของเรา เห็นโอกาสที่เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยของเรา และสุดท้ายเชื่อว่าเมื่อทำแบบนี้จะสามารถตอบแบบประเมินตนเองตอนที่ III ตามมาตรฐานโรงพยาบาล(HA)

จะใช้บัตรบันทึกเหตุการณ์ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยมาตรฐานตอนที่ III อย่างไร 

 

วิธีการเขียนบัตรบันทึกเหตุการณ์ที่ทีม concern  ติดไว้บนแผนภูมิกระบวนการดูแลผู้ป่วย  โดยการเขียนอาจทำได้ขณะส่งเวร/ระหว่างการปฏิบัติงาน  โดยนำประเด็นที่สนใจหรือจากการพูดคุยกันสั้นๆ มาเขียนบัตรบันทึก วิเคราะห์ว่าสิ่งที่พูดคุยกันคือกระบวนการดูแลผู้ป่วยกระบวนการใด แล้วลงมือเขียน  หรือเขียนหลังการทำ bedside review ซึ่งที่ IPD ต้องทำอยู่แล้ว  แต่ใช้ 3P ในการทำ bedside review ไปด้วย หลัง bedside review วิเคราะห์ดูว่าสิ่งที่ทำดีอยู่แล้วในผู้ป่วยโรคนี้คืออะไร ควรเพิ่มเติมอะไรได้อีก ในแต่ละกระบวนการ  เลือกเขียนเพียงบางกระบวนการที่สนใจ  เขียนสั้นๆ ไม่เกิน 3 บรรทัด  ช่วยกันทำทุกคน  ก็ได้หลายโรคหลายกระบวนการ ที่เราดูแล  เมื่อนำมาติดลงในแผนภูมิกระบวนการดูแลผู้ป่วยสุดท้ายก็เห็นภาพว่ามีกระบวนการใดที่เราดูแลได้ดีอยู่แล้วบ้าง  โดยมีโรคอะไรเป็นตัวแทนบอกว่าเราทำกระบวนการนี้ดี  โดยเราเรียกโรคที่เป็นตัวแทนการดูแลที่ดีในแต่ละกระบวนการนี้ว่า Proxy Disease  หรือในหน่วยงานมีการทบทวนรายงานอุบัติการณ์ ทบทวนเวชระเบียนแล้วพบ AE ก็ให้วิเคราะห์/ประเมินว่า AE เกิดในกระบวนการใดของการดูแลผู้ป่วย  เราควรจะเพิ่มเติมอะไรเพื่อให้ปลอดภัย ก็เขียนบัตรบันทึกไปติดไว้บนแผนภูมิกระบวนการดูแลผู้ป่วยเช่นกัน ทำได้ทุกจุดที่ให้บริการ หรือเราจะใช้ SIMPLE   มาทำใน

Gap Analysis แล้วดูว่าเป็นโอกาสพัฒนาของกระบวนการดูแลผู้ป่วยกระบวนการใด  ดูให้ครอบคลุมประเด็นที่ตรงกับบริบทของโรงพยาบาล  ก็จะเห็นเลยว่าทุกประเด็นใน SIMPLE เป็นโอกาสพัฒนาเราเพียงดูให้เป็นว่าอยู่ในกระบวนการใดเท่านั้น  จะได้ใส่บัตรบันทึกได้ถูกกล่อง  หรือนำเวชระเบียนมาทบทวนตามประเด็นสำคัญในมาตรฐาน สนใจกระบวนการใดในโรคใดก็เขียนบัตรบันทึก  ทำอย่างนี้ประมาณ 40 โรคที่มารับบริการในโรงพยาบาล  คงเห็นการปฏิบัติที่ดีและโอกาสพัฒนาหลากหลาย  นำสิ่งที่บันทึกมาติดไว้บนแผนภูมิกระบวนการดูแลผู้ป่วย  หรือใช้การตามรอยโรคที่สนใจวิเคราะห์ว่าโรคนั้นมีการพัฒนาอะไรไปบ้างแล้วจากเดิมในกระบวนการดูแลผู้ป่วยกระบวนการใด  ต้องสนใจหลายๆโรค  จะได้เห็นการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายกระบวนการ เห็นแล้วเขียนบัตรบันทึกสั้นๆ ติดไว้บนแผนภูมิกระบวนการดูแลผู้ป่วย  อย่าลืมว่าต้องนึกถึงทุกโรคที่เราให้การดูแล  เพราะอาจมีบางโรคที่เราดูแลได้ดีอยู่แล้วแต่ลืมนึกถึง

                ให้เขียนเครื่องหมาย + เป็นตัวแทนวางไว้หน้าการปฏิบัติที่ดี

                ให้เขียนเครื่องหมาย – เป็นตัวแทนวางไว้หน้าโอกาสพัฒนา

                เขียนสั้นๆ ไม่เกิน 3 บรรทัด

เมื่อทำอย่างนี้สักพัก ลองทำกันดูสัก 1 เดือนก็น่าจะพอ(ไหว?) แต่ทุกคนต้องทำ จะได้มีปริมาณเพียงพอในการวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอน  เชื่อว่าจะเห็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยของเรา  เห็นโอกาสที่เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยของเรา  และสุดท้ายเชื่อว่าเมื่อทำแบบนี้จะสามารถตอบแบบประเมินตนเองตอนที่ III ได้นี่คือหน้าตาของบัตรบันทึกเหตุการณ์ในกระบวนการดูแลผู้ป่วย ออกแบบใหม่ให้ใช้ง่ายกว่าที่ สรพ. เสนอมา  เพราะเรายังไม่คล่องกับความหมายต่างๆในมาตรฐาน  น่าจะทำให้การเขียนบัตรบันทึกง่ายขึ้น

 

กระบวนการดูแลผู้ป่วย

1.การเข้าถึงและเข้ารับบริการ(Access&Entry) 1.1การเข้าถึง ลดอุปสรรค 1.2 ประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น ดูแลฉุกเฉินเร่งด่วน 3. ส่งต่อ 4. รับไว้ใน รพ. ให้ข้อมูล

2. การประเมินผู้ป่วย(Assessment) ก.ประเมินปัญหา/ความต้องการเร่งด่วน, ประเมินแรกรับ ข.การตรวจประกอบการวินิจฉัยโรค ค. การวินิจฉัยโรค

3.1 การวางแผนการดูแลผู้ป่วย(Plan of care) เชื่อมโยง ประสานงาน มีแผนการดูแลผู้ป่วยใช้หลักฐานวิชาการ ผป./ครอบครัวมีส่วนร่วม มีเป้าหมาย มีการสื่อสาร มีการปรับแผน

3.2.การวางแผนจำหน่าย(Discharge Planning) กำหนดแนวทาง ประเมินความจำเป็น   สหวิชาชีพ/ผป./ครอบครัว มีส่วนร่วม  ประเมินปัญหา/ความต้องการที่จะเกิดหลังจำหน่าย  มีแผนจำหน่าย  ปฏิบัติตามแผน ประเมิน ปรับปรุง

4.1. การดูแลผู้ป่วยทั่วไป (care of patient) ผู้ดูแลมีคุณสมบัติเหมาะสม สิ่งแวดล้อมเอื้อ คำนึงถึงปลอดภัย พร้อมรับมือกับภาวะแทรกซ้อน วิกฤต  ดูแลแบบองค์รวม สื่อสารในทีม ดูแลต่อเนื่อง

4.2. การดูแลผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง ระบุผู้ป่วยและบริการเสี่ยงสูง ฝึกอบรมจนท. สถานที่ เครื่องมือ คนพร้อม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง  การตอบสนองกรณีอาการทรุด  วิเคราะห์อาการแทรกซ้อน

5. การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว(Informat & Empowerment) ประเมินความต้องการ ความพร้อม ศักยภาพ ผป./ครอบครัว  วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้  ช่วยเหลือการเรียนรู้  ประเมินการรับรู้  ให้คำปรึกษาด้านอารมณ์/จิตใจ  กำหนดกลยุทธ์ดูแล  เสริมทักษะ  ประเมิน

6. การดูแลต่อเนื่อง (Continuity  of Care)  ระบบนัดหมาย ระบบช่วยเหลือให้คำปรึกษา   การติดตามดูแลและบูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ  สื่อสาร ทบทวนเวชระเบียน  ติดตามผล

 

Source เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ได้แก่

การทบทวนเวชระเบียน(Med Rec Review) ตั้งแต่การรับเข้า การประเมินผู้ป่วย การวางแผน การดูแลตามแผน การประเมินผล และการจำหน่าย (ตามประเด็นสำคัญในมาตรฐาน)

Bedside Review ทำได้ทุกวัน ง่าย  ผู้ป่วย/ครอบครัวมีส่วนร่วม empower สอดแทรกการสร้างเสริมสุขภาพได้

AE เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการดูแลรักษา  หาได้จาก Trigger tool การทบทวน รายงานอุบัติการณ์

SIMPLE ชุดของความรู้ใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบงานให้มีความปลอดภัย ใช้ Gap Analysis เขียนสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่ต้องการและแผนพัฒนา

Clinical Tracer ตัวตามรอยทางคลินิกใช้ตามรอยกระบวนการพัฒนา การดูแลผู้ป่วย ระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีการระบุความเสี่ยงในแต่ละกระบวนการดูแลผู้ป่วย

Proxy Disease โรคที่เป็นต้นแบบคุณภาพในแต่ละกระบวนการ

 

ตัวอย่างการเขียน

 

Process(กระบวนการ) Informat & Empowerment

 

 

Source (ที่มา/โรค) Bedside Review ; Placenta previa

 

 

Quality & Safety Practice

{การปฏิบัติที่ดี(+)/โอกาสพัฒนา(-)}

 

- ให้ข้อมูลกับครอบครัวและสามีว่าต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยไม่ให้ทำงานบ้าน

+ให้ข้อมูลภาวะเสี่ยงเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการมีเลือดออกซ้ำ

-ให้กำลังใจและแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

 

 

บัตรบันทึกเหตุการณ์ในกระบวนการดูแลผู้ป่วย

 

 

Process(กระบวนการ)………………..................................

 

Source (ที่มา/โรค)…..............................................

………………………………………………….

 

 

Quality & Safety Practice

{การปฏิบัติที่ดี(+)/โอกาสพัฒนา(-)}

 

………………………………………………...

 

………………………………………………..

 

………………………………………………..

 

 

 

 

 นี่ถือเป็นการโยนหินถามทาง  อยากรับทราบความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติ  เพราะนี่คือสิ่งที่ ได้มาจากเวที Ac to Acc เมื่อ 6-8 ตค. 52 และกลับมาศึกษาจนตกตะกอนระดับหนึ่ง  หากมีที่ปรึกษา สรพ. ท่านใด ได้เห็นบทความนี้  กรุณาชี้แนะเพิ่มเติมหรือแก้ไขหากมีเนื้อหาที่ตีความแล้วยังไม่ถูกต้อง 

 

อังค์ริสา  พินิจจันทร์

หมายเลขบันทึก: 317784เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 02:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้ามาอ่านทำความเข้าใจ คิดว่าเป็นขนวนการที่ทำจริงเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มาเขียนวิเคราะห์ว่าใช้กระบวนการอะไร อะไรเป็นการปฏิบัติที่ดี อะไรเป็นโอกาสพัฒนา ถ้าจะนำมาใช้ก็คงไม่ยาก

BAU

ถ้าลงมือทำแล้วจะเข้าใจ+ง่ายไปเองและอาจมีแนวคิดใหม่ๆ ต่อยอดขึ้นมาอีก แต่ถ้าไม่ทำมันจะรู้สึกยากจริงไหมพวกเรา/By Jan

เครื่องมือนี้น่าสนใจดีค่ะ น่าจะได้ลองทำดูสักพัก คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย

แต่ก็ยังสงสัยว่า เครื่องมืออื่นๆที่เคยทำ ยังต้องมั๊ยคะ รู้สึกว่ามันจะมีเยอะแยะ

และมีวิธีเลือกใช้เครื่องมือใดให้เหมาะสมคะ

(หน่วยงานใดเริ่มทำแล้ว ขอตูตัวอย่างหน่อยเร้ว)

morn

ขอดูตัวอย่างหน่วยงานที่ทำแล้วก่อนนะครับ ยังงงง

อนุเทพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท