โครงการเสวนาจุดประกายความคิดด้าน การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม


โครงการเสวนาจุดประกายความคิดด้าน การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

 

โครงการเสวนาจุดประกายความคิดด้าน การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

 

 

เวทีนี้ มีผู้ทรงความรู้ ทั้งทางด้านกฎหมาย และทางเทคโนโลยีมากมายไม่ว่าจะมาจากสายSocial network    หรือสายโทรคมนาคม มาช่วยกันจุดประกายความรู้ทางด้านโทรคมนาคม ประเด็นในการสนทนาหลักๆทางผู้จัดได้แบ่งประเด็นในการศึกษาคร่าวๆ ตามเอกสารที่ค้นคว้ามาได้แก่

(๑)  ประเด็นที่ ๑ ประเด็นกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการใช้ICT ของมนุษย์ที่ก่อผลกระทบเชิงลบ     โดย     นางสาวภัทราภรณ์ โกมลวัจนะ

(๒)  ประเด็นที่ ๒ ประเด็นกลุ่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ICT ของมนุษย์ที่ก่อผลกระทบเชิงบวก โดย        อาจารย์อิทธิพล  ปรีติประสงค์

(๓)  ประเด็นที่ ๓ ประเด็นกลุ่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ในการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยี โดย  อาจารย์พลอยขวัญ เหล่าอมตะ

(๔)  ประเด็นที่ ๔ ประเด็นกลุ่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางการตลาดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศโดย      อาจารย์อิทธิพล  ปรีติประสงค์

(๕)  ประเด็นที่ ๕  ประเด็นกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดย นายวีระ อยู่รัมย์

(๖)  ประเด็นที่ ๖ ประเด็นกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในกิจการโทรคมนาคม               โดย     นางสาวภัทราภรณ์ โกมลวัจนะ

ดำเนินรายการโดย นางสาวอารยา ชินวรโกมล

   จะเห็นได้ว่าประเด็นในกิจการโทรคมนาคม นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจในหลากหลายมุมมองที่แตกต่างกัน มีทั้งดีและ ไม่ดีแตกต่างกันไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังมีประกายความคิดใหม่ๆ ที่เกิดจากวงเสวนาวงเล็กๆ นี้ได้แก่

การนำเข้าถึงเทคโนโลยีของบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่นระหว่างคนเมืองที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และคนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ อาจเนื่องด้วยความห่างไกลของเทคโนโลยีเองและด้วยปัจจัยทางด้านกายภาพของคนพิการ ที่ยังอาจไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี

การก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่ ในบางส่วนที่กฎหมายตามไม่ทัน เช่นเรื่องการนำ  3Gมาใช้บริการ ในส่วนนี้ กฎหมายยังไม่ล้ำหน้ามากเท่าไร นักยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังคงเป็นห่วง จากผลกระทบที่นำ 3Gมาใช้ รวมทั้งการเยียวยาในกระบวนการยุติธรรมและความเสียหาย 

อีกทั้งการควบคุม Social network ให้เป็นไปในทางบวก มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งต้องเริ่มมาใส่ใจใน ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์ ว่าควรจำกัดขอบเขตความเป็นส่วนตัวไว้ มากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ความเลื่อมล้ำความเป็นส่วนตัว privacy ระหว่างกันและกัน เพราะบางทีบนโลกไซเบอร์ ตัวเราเองไม่สามารถรู้ได้ว่า จะมีใครจะมานำข้อมูลส่วนตัวเราไปเผื่อแพร่ ตอนไหนและตัวเราเองได้รับความยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวนั้นหรือไม่  ได้รับอนุญาตให้เผื่อแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหรือยัง

การจดโดเมนเนม ซึ่งในปัจจุบันมีกระแสมา ว่าจะมีการเปิดตัวโดเมนเนม แบบใหม่ อาจทำให้มีการเกร็งกำไรของนักธุรกิจเกี่ยวชื่อโดเมนเนม และเป็นที่กังวลว่า ถ้าชื่อสงวนของประเทศไทย ไปตกอยู่ในมือของนักธุรกิจต่างชาติแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับชื่อสงวนเหล่านั้น ทั้งในด้านชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่จะไปปรากฏต่อสายตาชาวโลกที่ย่อมมีทั้งดีและเสีย แตกต่างกันไป

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้มีการทำ

 RDM

Research

Develop

Managements

เพื่อให้เกิดสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากกิจการโทรคมนาคมเพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ในอนาคต หาทำได้ก็ย่อมส่งผลดีแก่ประเทศไทยมากทีเดียว ในการแก้ปัญหา ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย  และทำให้ปัญหาถูกแก้ไขได้ถูกทางอันเนื่องมาจาก การที่ได้มีการทั้งวิจัย และพัฒนา รวมถึงกระบวนการจัดการอย่างถูกจุดและตรงเป้าหมายแก่ผู้ประสบปัญหาด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 317782เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

จะตามอ่านรายละเอียด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท