งานวิจัย


บทที่ 5 (ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ ขอบคุณครับ)

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมุ่งศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย คณะผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  2. สมมติฐานของการวิจัย
  3. วิธีดำเนินการวิจัย
  4. อภิปรายผล
  5. ข้อเสนอแนะ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

  1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคายตามประสบการณ์สอน
  2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคายตามของสถานศึกษา

 

สมมติฐานของการวิจัย

1. ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคายที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกัน

2.  ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย ที่สอนในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2552 จำนวน 261 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 3ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เพื่อสอบถามบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาทั้ง 7  ด้าน ได้แก่  การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ การดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา การสรุปผลการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารโดยการหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 95 ข้อ เป็นต้น โดยมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  0.85

การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ฉบับสมบูรณ์จำนวน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามด้วยคณะวิจัย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวน 213 ฉบับ ได้รับกลับคืนครบทั้ง 213 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 โดยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 2 โยหาค่าเฉลี่ย (  ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สมมุติฐานของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคายจำแนกตามประสบการณ์และขนาดของสถานศึกษาโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Anova of Variance)   ซึ่งเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)

สรุปผลการวิจัย

 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้ข้อสรุป ดังนี้

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 62 ประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10-20 ปี ร้อยละ 41.2 และขนาดของสถานศึกษาส่วนมากขนาดใหญ่ ร้อยละ 56.40
  2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการสอน พบว่า บทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 10 ปีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการสอนตั้งแต่ 10-20 ปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และครูที่มีประสบการณ์ในการสอนสูงกว่า 20 ปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกลุ่มประสบการณ์ พบว่า ครูที่มีประสบการณ์สอนต่ำกว่า 10 ปี เห็นว่าบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาด้านที่ 5 การการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ส่วนประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10-20 ปีเห็นว่ามีการดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษามากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และประสบการณ์สอนสูงกว่า 20 ปี เห็นว่าการวางแผนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษามากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94

2.1 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาคามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามประสบการณ์สอนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล และด้านที่ 7 การปรับปรุงพัฒนากระบวนการการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.1.1 เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโดยครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาต่อด้านที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กับครูที่มีประสบการณ์ในการสอนสูงกว่า 20 ปี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.1.2 ส่วนการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโดยครูที่มีประสบการณ์ในการสอนสูงกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาต่อด้านที่ 7 การการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกา แตกต่างกับครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 10 ปี และครูที่มีประสบการณ์สอนระหว่าง 10-20 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  1. ผลการศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวม พบว่า บทบาทของผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ได้แก่ สถานศึกษาขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ส่วนสถานศึกษาขนาดกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก เห็นว่า การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษามากที่สุด              มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 ส่วนครูในสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่ เห็นว่ามีการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และ3.95 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารของผู้บริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามขนาดสถานศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

ส่วนการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษา       ด้านที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก และครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษา       ด้านที่ 2 การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก และครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษาด้านที่ 4 ดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษาด้านที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษาด้านที่ 6 การสรุปผลการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารหลักสูตรในสถานศึกษาด้านที่ 7 การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกับครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

อภิปรายผล

ผลการวิจัยครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจและนำมาอภิปราย เพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังต่อไปนี้

คำสำคัญ (Tags): #ทดสอบ
หมายเลขบันทึก: 317687เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2009 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นายอภิสิทธิ์ ต่อศักดิ์

อาจารย์เก่งมากครับ

น่าศึกษามากครับ ท่าน อ.ดร.สุรศักดิ์

บทความนี้ดีจริง ๆ ๆ ๆ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท