การผลิตพืชแบบGAPมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร


ขั้นตอนการผลิตพืชแบบGAP

        ผู้บริโภคหลายคนที่เคยเห็นข้างถุงบรรจุผลผลิต(ส่วนใหญ่จะเป็นพืชผัก/ผลไม้)ที่ผลิตตามขั้นตอนGAP (แนวทางการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืชหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน) หรือเห็นเครื่องหมายตัวQ จะมีการโฆษณาว่าปลอดภัยจากสารพิษ  ซึ่งผู้บริโภคเองบางท่านก็ยังไม่ทราบว่าสินค้าที่ผลิตตามขั้นตอนGAP ว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างไรก็จะส่งผลให้รับประทานอาหารได้อย่างมีความสุขไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะทานสารเคมี(สารพิษ)เข้าไปสะสมในร่างกาย ผู้เขียนจึงขอสรุปขั้นตอนในการผลิตแบบGAP( Good Agricultural  Practice)  คือเกษตรกรผู้ผลิตพืชต้องยื่นใบสมัครที่สำนักงานเกษตรอำเภอ จากนั้นจะมีการแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติ และผู้ประเมินจากกรมวิชาการเกษตรจะเป็นผู้ประเมินขั้นตอนปฏิบัติทั้ง 8 ข้อ ของเกษตรกรว่าถูกต้องหรือไม่ หากผ่านไม่ครบทุกข้อเกษตรกรต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ให้ผ่านทุกข้อเสียก่อน จึงจะออกใบรับรองแปลง(ใบQ) ให้ ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละประเด็น ดังนี้

         1.ใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษ

         2.ปลูกพืชในพื้นที่ดีไม่มีเชื้อโรคและสารพิษในดิน เช่น ไม่เป็นโรงงานเก่า โรง

            พยาบาล บ่อขยะ ฯลฯ

         3.ใช้และเก็บ ปุ๋ย สารเคมี อย่างถูกต้องตามคำแนะนำที่ปลอดภัย

         4.ผลิตตามแผนควบคุมคุณภาพ คือการวางแผนควบคุมความเสี่ยงที่จะทำให้ผล

            ผลิตมีความปลอดภัยและได้คุณภาพ

         5.มีการสำรวจศัตรูพืชและป้องกันกำจัดอย่างถูกต้อง

         6.เก็บเกี่ยวผลผลิตถูกเวลาและถูกวิธี

         7. ขนย้ายและเก็บรักษาผลผลิตสะอาดและปลอดภัย

         8.มีการจดบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติทุกขั้นตอน เพื่อการตรวจสอบในภายหลัง

หมายเลขบันทึก: 317218เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท