อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ทำอย่างไรจึงจะเขียนเป็น


จงบอกตัวเองว่า ฉันคือฉัน เราเป็นเราจะเขียนจากความรรู้และประสบการณ์ของเราถ้าเราขาดความมั่นใจเราจะเขียนไม่เป็น

เราไม่ปฏิเสธว่าการเขียนเป็นทักษะที่ยากยิ่งกว่าทักษะการพูด การฟังและการอ่าน  แม้จะมีโอกาสได้ทบทวนแก้ไขข้อเขียนหรือบทความที่เราเขียน แต่ความยากของข้อเขียนนั้น เพราะมีองค์ประกอบสำคัญ 2  ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความคิดและส่วนที่เป็นการเขียน

การพูดแม้จะยาก แต่...คิดแล้วเราก็พูด เป็นภาษาพูดง่ายกว่าภาษาเขียน

ต่างจากการเขียน   คิดแล้วเขียน  แต่ภาษาเขียนต้องไม่ใช้ภาษาพูด ต้องแปลงภาษาพูดเป็นภาษาเขียนและลำดับความคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่ายทำอย่างไร...จึงจะสื่อความคิด ถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกให้คนอ่านรู้ รู้สึกและเข้าใจเหมือนที่เราคิด

มีผู้รู้หลายท่านเริ่มต้นงานเขียนที่มีกลุ่มเป้าหมายที่จะส่งสาร

แต่..ข้าพเจ้าเริ่มเขียนเมื่อใจอยากจะเขียนและเขียนในสิ่งที่ข้าพเจ้ามีความรู้ มีประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด

ด้วยเหตุนี้กระมังที่เราบังคับเด็กให้เขียนเรียงความ บทความ เขาจะเขียน

ไม่ออก เพราะใจเขายังไม่พร้อม ใจเขายังไม่อยากเขียนหรืออาจจะไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขียน

แต่..ถามว่า แล้วเมื่อไหร่ใจจึงจะอยากเขียน ตอบได้ว่า   แรงดลใจหรือแรงบันดาลใจมีความสำคัญยิ่ง เพราะเรามองสิ่งที่ล้อมรอบตัวเรา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราแตกต่างกัน 

นักเขียนหรือกวีจะมองเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปมองข้าม

นักเขียนหรือกวี จะมองลึกลงไปในองค์ประกอบ ในส่วนที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยและส่วนที่เป็นผลอันเนื่องมาจากเหตุ  ที่คนทั่วไปไม่คิด

ดังนั้น  การเขียนจึงสัมพันธ์กับการคิด

ข้าพเจ้าเริ่มการเขียน ที่ใจคิดอยากจะเขียนและคิดอย่างไรจะเขียนออกมาก่อน เพราะตอนนั้นความคิดกำลังแล่น  เมื่อเขียนจบแล้วค่อยมาจัดระบบงานเขียนให้เข้าหลักเข้าเกณฑ์ของหลักการเขียนที่ดี  เพราะถ้าคำนึงถึงหลักเกณฑ์ หลักการเขียนก่อนจะทำให้เราติดกรอบ หรือคิดไม่ออกใจจะกังวลหรือคอยระมัดระวัง กลัวผิดกลัวถูก

ในที่สุด..ก็เขียนไม่ออก

อันที่จริง  ต้องขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ลัดดา  รุ่งวิสัย(ปัจจุบันท่านอาจมีวิทยฐานะเป็นผศ. หรือ รศ. แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เป็นได้ )ท่านเป็นอาจารย์คนแรกของข้าพเจ้าที่สอนให้เขียนบทความทางวิชาการในระดับปริญญาตรี

เมื่อครั้งเรียนวิชา การใช้ห้องสมุด และท่านมอบหมายให้ทุกคนเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้ามาคนละ  1  เรื่อง  

เพื่อนๆหลายคนไปคว้างานเขียนของคนอื่นมาส่ง เพื่อให้ได้คะแนนและเกรด

แต่....ข้าพเจ้าลองทำตามที่อาจารย์แนะนำ โดยเขียนเรื่อง "เชียงรายเหนือ

สุดยอดแดนสยาม" เป็นบทความทางวิชาการชิ้นแรกและได้รับคำแนะนำ

จากอาจารย์ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า การเขียนบทความทางวิชาการที่แท้จริง

ต้องเริ่มจาก

1. มีเรื่องที่อยากจะเขียน

2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มีข้อมูลสารสนเทศให้มากที่สุด

3. วางโครงเรื่องที่จะเขียน ลำดับความคิดว่าจะกล่าวถึงเรื่องใดก่อนหลังอย่างไร

    ยึดหลักการเขียน ความนำ เนื้อหาสาระและปิดท้ายการเขียนอย่างไร

4. ลงมือเขียนตามโครงเรื่อง ที่สำคัญการเขียนข้อความแต่ละข้อความมักจะไม่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าเราพิงบทความของคนอื่น หรือคัดลอกสำนวนของคนอื่น

    จงบอกตัวเองว่า  ฉันคือฉัน  เราเป็นเรา  จะเขียนจากความรู้และประสบการณ์ของเรา  ถ้าเราขาดความมั่นใจ จะทำให้เราเขียนไม่เป็น

    เขียนจบแล้วอ่านทบทวน  มีหลายครั้งที่ไม่ถูกใจ ต้องขยำทิ้งลงตระกร้า

    แล้วกลับนำมาอ่านใหม่อีกที  เป็นอย่างนี้หลายครั้งหลายครา  เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่คิดจะเขียนแล้วคิดว่าใช้ได้ไม่อยากให้ใครติชม  ต้องหัดติชมตัวเองก่อน

5.  ลองประเมินผลงานเขียนของตัวเอง โดยการให้คนอื่นอ่าน 

เปิดใจรับฟังคำชี้แนะ

     ข้าพเจ้าใช้การลองส่งบทความหรืองานเขียนไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ

     วันที่พบผลงานของตัวเองปรากฏในวารสาร นิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราส่งไป  ใช่เลย... เป็นวันที่  "ฉันเขียนเป็นแล้ว" ความรู้สึกดีใจ เป็นความภูมิใจและกลายเป็นความเชื่อมั่น ในที่สุด 

6.  การเขียนเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนสม่ำเสมอ  ไม่มีใครที่เขียนได้เองโดยไม่ต้องฝึกหัดฉะนั้น จึงต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ประสบการณ์ทำให้เกิดทักษะ

7.  ข้าพเจ้าจะเขียนไม่เป็น  ถ้าไม่อ่านผลงานของผู้อื่นมามากพอ  เพราะฉะนั้น การอ่าน การฟัง เป็นต้นทุนที่สั่งสมของการเขียนและการพูด

8.  จงเริ่มต้นที่จะเขียนตั้งแต่วันนี้  อย่างน้อยก็เขียนความในใจ เขียนเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในบันทึกประจำวันของตนเอง  แล้วท่านจะเขียนเก่งอย่างไม่น่าเชื่อ 

หากจะทดแทนคุณแผ่นดิน  จงสร้างอักขระไว้เถิด

อ่านบทความนี้จบ  ท่านจะรีบเขียนแล้ว ใช่หรือไม่

อย่างน้อยก็เขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้างล่าง

 

ขอบคุณที่ท่านเองก็รักการเขียน 

หมายเลขบันทึก: 317213เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อาจารย์ครับ ขอเอาบันทึกนี้ไปใช้ต่อนะครับ...

ในฐานะศิษย์เก่าสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ครับ....

เรียนรู้สู่แนวทางการปฏิบัติครับ...ขอบคุณข้อคิดดีๆครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ที่มาบอกแนวทางการเขียนบทความครับ

เอา ศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน มาฝากครับอาจารย์

http://gotoknow.org/blog/phapun6327/303693

ขอบคุณ "ท่านหนานเกียรติ"

ที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจนะคะ

ขอบคุณ"ท่านเสียงเล็กๆ"

ที่ยังยืนยันว่าทฤษฎีหรือจะสู้การนำสู่ปฏิบัติ

ขอบคุณจริงๆค่ะ

ขอบคุณ "ท่านผอ.พรชัย"

ขอบคุณที่ท่านติดตามอย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารสนใจงานวิชาการ

ในชีวิตของดิฉันเจอไม่กี่คน

 

สวัสดีครับอาจารย์ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่มีทักษะในการเขียนอ่อนมากครับเวลาเขียนอะไรแล้วมักวกไปวนมาเรียบเรียงไม่ค่อยได้น่ะ

เห็นบทความที่อาจารย์เขียนนี่น่าสนใจมากครับ น่าจะนำมาปฏิบัติจริงได้ดีเลย ยังไงผมก็ขอนำไปฝึกใช้ดูนะครับจะได้เขียนได้ดีขึ้นครับ..สวัสดีครับ ว่าที่ ร.ต.บวร จันทร์ธีระโรจน์

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันนางสาวนริศรา อินต๊ะนำ รหัส 50221146 หมู่เรียน กป50.ค5.01 ภาคพิเศษเสาร์-อาทิตย์

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะว่า ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยากมาก การที่จะเขียนเราต้องนำมาเรียบเรียงไม่ให้เป็นภาษาพูด

และจากการอ่านบทความนี้แล้วทำให้รู้วิธีการเขียนบทความมากขึ้น

ดิฉันจะนำวิธีการเขียนบทความทางวิชาการของอาจารย์นำไปฝึกปฏิบัติค่ะ

ขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับบทความดีๆ

ศุภชัย ปานเกษม 50221143 กป50.ค5.01

สวัสดีครับอาจารย์

ผม นายศุภชัย ปานเกษม การประถมศึกษา 50221143 ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ผมได้อ่านบทความข้างต้นนี้แล้ว

ผมมีความคิดเห็น ดังนี้

การเขียนแต่ละครั้งหรือแต่ละเรื่องผู้เขียนต้องมีความสนใจ และตั้งใจที่จะเขียนเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ออกมา

ให้ผู้อ่านได้รับรู้ การเขียนที่ดี จะต้องไม่ใช้ภาษาพูด แต่การเขียนลงกระดาษครั้งแรกอาจจะต้องเป็นภาษาพูดก่อนเขียนไปเล่าไปโดยไม่คำนึงหลักการเขียนที่ถูกต้อง แต่เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้กลับมาอ่านแล้วดัดแปลงภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียนให้ได้และได้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย ผลงานเขียนถึงจะออกมาอย่างสวยงาม ราบรื่นและผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย มีลำดับเหตุการณ์ ลำดับเรื่องที่สอดคล้องกัน

จากความคิดเห็นข้างต้นอาจเป็นวิธีเขียนของผมเอง โดยไม่รู้ว่าวิธีเขียนของคนอื่นๆ จะเป็นอย่างไร หรืออาจจะคล้ายคลึงกัน แต่จะให้ผลงานเขียนที่ดี ก็คงต้องปฏิบัติตามหลักกระบวนการเขียนของอาจารย์ตามบทความข้างต้นนี้ดีที่สุด และละเอียดที่สุดสำหรับนักเขียนมือใหม่

สุดท้าย ผมขอขอบคุณอาจารย์ความรู้ในบทความต่างๆ หลายๆ เรื่อง รวมทั้งเรื่องนี้ ซึ่งเป็นวิทยาทานที่ดีกับเหล่านักศึกษา นักเขียนตลอดจนผู้ที่สนใจได้นำไปฝึก ปฏิบัติ จนเกิดเป็นนิสัยรักการเขียน และจะเป็นนักเขียนที่ดีในอนาคต.. ขอบคุณครับ

ตอบ บวร จันทร์ธีระโรจน์ นริศรา อินต๊ะนำ ศุภชัย ปานเกษม ขอบใจนะคะที่แวะมาเยี่ยมบล็อก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หวังว่าคงฝึกอ่าน ฝึกเขียนกันให้คล่อง เพื่อจะได้เตรียมตัวเป็นครูที่ดีต่อไปนะคะ

สวัดดีค่ะอาจารย์

ดิฉันนางสาวเบญจวรรณ ชาญเดชศิริ รหัส 50221114 หมู่เรียน กป50.ค5.01 ภาคพิเศษเสาร์-อาทิตย์

หนูไม่เคยเขียนบทความด้วยตัวเองเลยค่ะ หนูได้เรียนกับอาจารย์และหนูเข้าใจมากเลยค่ะว่าการเขียนต้องเขียนด้วยใจ

สื่อถึงผู้อ่านที่ดี และมุ่งมั่น ตั้งใจให้ผลงานออกมาดีที่สุด หนูขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้กับหนูค่ะ

หนูจะตั้งใจเขียนบทความให้ดีที่สุดค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

อุรุชา กันทะวงค์ (การประถมศึกษา 50)ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์

กราบสวัสดีอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

ผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทำอย่างไรถึงจะเขียนเป็น " ในความคิดของผมเองคิดว่าการเขียนเป้นเรื่องที่สำคัญ ทุกวงการจะต้องเขียน โดยเฉพาะวงการการศึกษาที่ผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา ในสายของครูผู้สอน จะต้องใช้การเขียนเป้นอย่างมาก เชื่อไหมครับว่า คนที่เป็นครูที่สอนอยู่เป็นประจำอยู่แล้วก็ยังเขียนผิดอยู่ ผมเองก็ยังเขียนคำที่ยาก ๆ ยังผิดอยู่เลย หลังจากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วให้มีความรู้เรื่องของการเขียนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย การเขียนมีความสำคัญ ก่อนที่จะมีการเขียน ผู้เขียนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้เรื่องของการเขียน นอกจากใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้ว การเขียนยังจะมีองค์ประกอบของการเขียนที่หลากหลาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้เขารับรู้ และสามารถนำไปขยายผลต่อไปในการทำงานได้ นอกความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความในครั้งนี้จะเป้นประโยชน์ต่อตัวกระผมเอง และจะขอนำความรู้ที่จากการอ่านบทความครั้งนี้ไปขยายผลให้กับผู้รู้ และผู้ที่อยากรู้ ต่อไปและนำข้อผิดพลาดต่างที่เกิดขึ้นพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ และน่าอ่านครับ

เรืองเดช สมบูรณ์พูลเพิ่ม

สวัสดีครับอาจารย์

ผมนายเรืองเดช สมบูรณ์พูลเพิ่ม รหัส 50221141 หมู่เรียน กป.50.ค5.01

ผมได้อ่านบทความ เรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะเขียนเป็น" ผมมีความเห็นว่า ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยากการเขียนแต่ละเรื่องเราจะต้องมีความรู้และข้อมลูที่จะเขียนถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็นลงไปภาษาพูดกับภาษาเขียนไม่เหมือนกัน การเขียนที่ดีจะต้องฝึกฝนบ่อยๆ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

น.ส.ธัญปัถย์ เป็งป้อ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อนงค์ศิริ

ดิฉัน นางสาว ธัญปัถย์ เป็งป้อ 50221106 หมู่เรียน กป.50.ค5.01

ดิฉันได้อ่าน บทความเรื่องนี้ แล้วรู้สึกว่า ทำให้เข้าใจมากขึ้น จากที่ไม่ค่อบเข้าใจเลย

เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่อนทางการเขียน ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดี ค่ะ

นางสาวทิพวรรณ กาญจนาปกรณ์

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันนางสาวทิพวรรณ กาญจนาปกรณ์ กป50.ค5 50221110 (ภาค เสาร์-อาทิตย์)

ดิฉันประทับใจบทความนี้มาก เพราะหนูก็มีปัญหาเรื่องการเขียนมากเหมือนกันขณะหนูเรียน

ในห้องเรียนจะมีบ้างวิชาที่ไม่มีหนังสือเรียนเพื่อนๆต่างเขียนที่อาจารย์สอนแต่หนูกลับไม่ชอบ

เขียนเลยแถมเขียนบางคำยังไม่ถูกเลยแต่เมื่อมาเรียนกับอาจารย์แล้วเริ่มเป็นคนชอบเขียนมากขึ้น

เพราะอาจารย์ให้เขียนและส่งสมุดด้วย และรู้แนวทางการเขียนบทความวิชาการด้วยขอบคุณมากๆคะ

อารยา กิตติยะวรางกูร

สวัสดีค่ะ อารยา กิตติยะวรางกูร ค่ะ หนูได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่ามีกำลังใจที่จะเขียนมากแต่ก็คงต้องใช้ความพยายามสุดๆเลยมั้งคะ หนูมีความฝันอยากที่จะเป็นนักเขียนเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะการเป็นนักเขียนนิยายหนูชื่นชอบมากเป็นพิเศษค่ะ เคยลองเขียนแล้วเหมือนกันค่ะก็คิดไปเรื่อยๆ อ่านแล้วอ่านอีกแต่ก็เขียนไม่เคยจบเล่มสักที แต่วันนี้หนูจะพยายามสู้กับใจตนเองให้จงได้

เพราะการเขียนที่ดีคือการเขียนจากใจ "ถ้าใจเราสู้เราก็ต้องทำสำเร็จ" หนูขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่เขียนบทความที่ดีๆแบบนี้ขึ้นมา...สวัสดีค่ะ

พิชชาญานนท์ รักประหยัด

สวัสดีค่ะ พิชชาญานันท์ รักประหยัด ค่ะ บทความของอาจารย์เขียนได้น่าอ่านและได้รู้ถึงวิธีการเขียนมากขึ้น และที่เราก็ต้องอ่านให้มากเพราะการเขียนจะสื่อให้คนอื่นเข้าใจยากกว่าการพูดมาก แต่อาจารย์บทความนี้ทำให้หนูเข้าใจการเขียนมากขึ้น

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ ขอให้โชคดี ขอให้มีสุข ขอให้ไร้ทุกข์ และสุขภาพแข็งแรงค่ะ
  • พรรณิภา เด่นทองแท่ง

    เรียน อาจารย์อนงค์ศิริที่เคารพรัก

    สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์จำหนูได้ใช่ไหมค่ะ อิอิ อาจารย์ค่ะก็เป็นเวลานานเหมือนกันนะค่ะที่หนูไม่ได้เข้ามาเยี่ยมบล็อกของอาจารย์ อาจารย์สบายดีนะค่ะ วันนี้หนูดีใจมากค่ะที่ได้เข้ามาอีกครั้ง และที่หนูยิ่งดีใจมากที่สุดก็คือ ดีใจที่อาจารย์ได้เขียนบทความเกี่ยวกับอ่านเรื่อง ทำอย่างไรจึงจะเขียนเป็น

    หนูดีใจนะค่ะที่อาจารย์ได้มาให้ข้อคิดดีๆๆเกี่ยวกับการเขียน หนูคิดว่า อาจารย์รู้อยู่เสมอว่า ที่อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง "การนิเทศการศึกษาช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างไร" มันยากเลยสำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความอย่างนักศึกษาหลายๆคน และหนูเองเช่นกันค่ะหนูฝึกเขียนแล้วเขียนอีก แต่ก็เหมือนกับยังไม่ถูก เขียนๆลบๆ จนเกือบหมดกำลังใจในการเขียนแล้วนะค่ะ หนูดีใจที่ได้เข้ามาและมีโอกาสได้อ่าน ทำให้หนูมีกำลังใจในการที่จะเขียนบทความออกมาอีกให้บทความออกมาจากใจจริงๆของหนู ไม่ใช่มาจากคัดลอกของคนอื่น

    อาจารย์รู้ว่า การเขียนยากสำหรับพวกเรานักศึกษา อาจารย์เลยให้ข้อคิดดีๆๆมา หนูเชื่อว่า ถ้าเพื่อนๆนักศึกษาได้เข้ามาอ่านบทความนี้ก็จะคิดเช่นเดียวกับหนูเหมือนกันค่ะที่สำคัญอาจารย์อยากให้เรานักศึกษาได้ฝึกเขียนบทความขึ้นมาเพื่ออนาคต

    หนูขอบคุณอาจารย์มากๆๆๆๆนะค่ะ สำหรับกำลังใจและข้อคิดดีๆๆ หนูจะพยายามเขียนให้ดีที่สุด เท่าทีจะเขียนได้ อาจจะถูกหรือผิดบ้าง ก็ขออภัยด้วยนะค่ะ แต่ถึงผิด แต่หนูเชื่อว่า อาจารย์ต้องอ่านแน่ๆๆเลย 55555 แล้วอาจารย์อย่าลืม คอมเมนต์ของหนูด้วยนะค่ะ เพื่อที่หนุจะได้ปรับปรุงให้เก่งเหมือนอาจารย์ของหนุไงค่ะ 5555

    อาจารย์ค่ะ หนูไม่กวนหล่ะ อาจารย์อย่าลืมพักผ่อนให้มากๆๆนะค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมดื่มนมก่อนนอนนะค่ะ อาจารย์ของหนูดีที่1 เยย อาจารย์หากมีโอกาสหนูจะเข้ามาใหม่นะค่ะ ฝันดีค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    เรียน อาจารย์อนงค์ศิริ ที่เคารพ

    ดิฉันเป็นครูประถมฯ สอนอยู่ในสพท.เชียงใหม่เขต 1 ไม่รู้จักอาจารย์เป็นการส่วนตัว รู้จักอาจารย์ตอนที่อาจารย์ไปบรรยายให้กับคณะครูที่เข้ารับการอบรมอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ที่โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ ประทับใจอาจารย์มาก ยิ่งได้เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์แล้วได้รับความรู้มากมาย โดยเฉพาะในหัวข้อนี้ เพราะเมื่อก่อนดิฉันเป็นคนชอบเขียนมาก แต่จากหน้าที่การงานในปัจจุบัน ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลาย ๆ อย่างทำให้ไม่มีเวลา จนเวลาผ่านไปกลายเป็นขี้เกียจเขียน จนในที่สุดกลายเป็นเขียนไม่เป็น คือพอจะเขียนจะคิดไม่ออก ไม่รู้จะเขียนอะไร แต่พอมาได้อ่านบทความของอาจารย์ทำให้กลับได้คิดว่าควรจะเริ่มย้อนกลับไปเริ่มต้นอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้ ได้ผลอย่างไรดิฉันจะกลับมาเล่าให้อาจารย์ฟังอีกค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากที่ช่วยชี้แนะสิ่งดี ๆ ให้ค่ะ

    เรียน อาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย ที่เคารพ

    อรพรรณ โสภาวรรณ์ รหัส 52741757_ Sec 07 คะ

    หนูเป็นคนหนึ่งคะอาจารย์ที่อยากจะเขียนบทความอะไรที่เราสนใจอยากเขียนซักอย่างหนึ่ง หนูเคยเขียนนะคะ

    แต่หนูใช้คำที่เขียนไม่สวยเลยคะ พอเขียนแล้วอ่านก็ต้องลบหรือเขียนใหม่ทุกทีเลยคะ อยากเขียนให้ได้อย่างอาจารย์คะ

    คือ หนูอ่านบทควาของอาจารย์แล้วเข้าใจง่าย และอ่านแล้วรู้สึกว่าจะเป็นจริงอย่างที่เราเป็นเลยคะ...

    ต่อไปนี้หนูก็จะสามารถเขียนบทความหรืออะไรที่สนใจได้อย่างถูกต้อง และรู้แนวทางในการจัดทำที่ดีได้

    ขอบคุณสำหรับโอกาสดีดี และบทความดีดีของอาจารย์มากนะคะ

    บทความของอาจารย์เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหนูและอีกหลายๆคนคะ หนูได้สมัครสมาชิกแล้ว หนูจะลองเขียนบทความ

    และอยากให้อาจารย์เข้าไปติชม-แนะนำ บทความของหนูด้วยนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง ขอบคุณคะอาจารย์อนงค์ศิริ วิชาลัย

    สายสมร จันทร์โพธิ์

    หนูได้เรียนกับอาจารย์อาจารย์เป็นครูที่หนูชอบมาก สอนอะไรหลายๆอย่างที่ไม่รู้ ทำให้หนูมีความมั่นใจในการเรียนร่วมกับเพื่อนหม่ ไม่เกรงไม่เครียด หนูขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ต่อไปนี้หนูจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต

    จีราภรณ์ ปินตาปวง

    จากที่ได้อ่าน ได้ความรู้เทคนิกเพิ่มเติมมากเลยค่ะ แต่ก่อนหนูก็ชอบเขียนนะค่ะ ส่วนมากจะเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ ความประทับใจ ประมาณนี้ ตอนนี้ไม่ค่อยได้เขียนละเพราะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน อิอิ เพื่อนหนูเคยถามนะค่ะว่าเขียนไปทำไม หนูก็ตอบว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง เขียนแล้วได้ระบาดความทุกข์ ความสุข เอากลับมาอ่านอีกครั้งมันก็ตลกดี เราเคยทำอย่างนี้ด้วยหรอ อ่านละก็อายตัวเอง แต่ก่อนเขียนแบบไม่มีเทคนิค คิดไร ก็เขียนไป ตอนนี้ได้เทคนิดจากอาจารย์ละหนูจะลองเอาไปใช้บ้างค่ะ เผื่อจะได้เป็นนักเขียนบ้างอิอิ ฝึกบ่อยๆๆเราจะได้เก่งๆๆ ^^

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท