ถนอมสุขภาพเ้น้นเรื่องอะไรดี [EN]


การศึกษาใหม่พบ โรคสมองเสื่อม (dementia) กำลังเป็นภัยคุกคาม (threat) ใหม่ในชาติที่มีฐานะปานกลางและยากจน

ปัจจัยสำคัญของปัญหานี้ คือ สังคมทั่วโลกกำลังก้าวไปสู่สังคมสูงวัย (สัดส่วนคนแก่เพิ่ม-เด็กลด) [ Reuters ]

...

อ.เรนาทา เซาซา หัวหน้าคณะวิจัยจากสถาบันจิตเวช มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน UK ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุ 15,000 คนใน 7 ประเทศที่มีฐานะยากจนและปานกลาง

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสุขภาพใหม่ที่สุดของคนสูงอายุ คือ สมองเสื่อม (dementia), ไม่ใช่ตาบอด (blindness) แบบที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ไว้

...

คนทั่วโลก 6,800 ล้านคนเป็นโรคสมองเสื่อม 35 ล้านคน คิดเป็น 0.51% หรือ 5 ในพัน และกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว [ census ]

โรคสมองเสื่อมชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ อัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ซึ่งเพิ่มเป็น 2 เท่าทุกๆ 20 ปี

...

คนที่เป็นโรคนี้เพิ่มจาก 66 ล้านในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573, เป็นมากกว่า 115 ล้านคนในในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ส่วนใหญ่พบในประเทศยากจน

อาจารย์ซัวซาและคณะศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 65 ปีขึ้นไป 15,000 ในจีน อินเดีย คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน เวเนซูเอลา เม็กซิโก และเปรู

...

ผลการศึกษา พบว่า ทุกๆ พื้นที่ยกเว้นเขตชนบทของอินเดียและเวเนซูเอลา, โรคสมองเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ (disability; dis- = ไม่; ability = ความสามารถ) 25%

สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ สโตรคหรือกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน (stroke), ความพิการของแขนขา, ข้ออักเสบ-ข้อเสื่อม, ซึมเศร้า, สายตาและการมองเห็นอย่างละประมาณ 7%

...

ปัจจัยเสี่ยง โรคเรื้อรังที่พบมากถึง 2/3 คือ ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอด (เช่น สูบบุหรี่ เผาขยะ เผาใบไม้ ใช้ฟืนหรือถ่านหินในบ้าน ฯลฯ) 

ประชากรคนสูงอายุหรือคนแก่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีฐานะปานกลาง และยากจน โดยจะเพิ่มจาก 490 ล้านคนในปี 2010 เป็น 1.6 พันล้านคนในปี 2050

...

ยังไม่มี ใครรู้แน่ว่า ทำไมคนอินเดียสูงอายุไม่ค่อยเป็นโรคสมองเสื่อม ทว่า... มีความเป็นไปได้ว่า แกงที่คนอินเดียกินเป็นประจำมีผงกะหรี่ ซึ่งมีขมิ้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ

การศึกษาจากสิงคโปร์พบว่า การกินขมิ้นอย่างน้อยเดือนละครั้งช่วยลดเสี่ยงสมองเสื่อม 

...

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ ได้แก่ [ helpguide ]

(1). ไม่สูบบุหรี่ > คนที่สูบบุหรี่ไปจนถึงหลังอายุ 65 ปี เพิ่มเสี่ยง 79%

(2). อ้วนขึ้นในวัยกลางคน > เพิ่มเสี่ยง 3.5 เท่า

(3). เบาหวาน > เพิ่มเสี่ยง 2 เท่า

(4). พันธุกรรม (ญาติสายตรง คือ พ่อแม่ พี่น้องเป็น) > มีผล 25% (อีก 75% อยู่ที่ไลฟ์สไตล์ หรือแบบแผนการใช้ชีวิต)

...

(5). หาทางลดเครียด > ความเครียดเรื้อรังอาจเพิ่มเสี่ยง 4 เท่า ควรฝึกคลายเครียด เช่น ออกกำลังแบบตะวันออก (ไทชิ-ไทเกก มวยจีน รำกระบองชีวจิต โยคะ ฯลฯ), ฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจ (ไม่ควรฝึกในสำนักที่เน้นการบริจาค เพราะอาจเพิ่มความเครียด, ฝึกเจริญสติ ฯลฯ

(6). ออกแรง-ออกกำลัง > ออกกำลังหนักปานกลาง เช่น เดินเร็ว ฯลฯ 30 นาที/ครั้ง 5 ครั้ง/สัปดาห์ลดเสี่ยงได้มากจนถึง 35%

(7). ออกกำลังต้านแรง เช่น ขึ้นลงบันได (ดีกับหัวใจ-หลอดเลือดด้วย เพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วย), ยกน้ำหนัก, เล่นเวท ฯลฯ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ > ลดเสี่ยง 1/2

(8). ระวังหัว เช่น สวมหมวกกันน็อคเมื่อใช้มอเตอร์ไซค์-จักรยาน สวมเข็มขัดนิรภัยเมือใช้รถยนต์ เมาไม่ขับ-ง่วงไม่ขับ ฯลฯ

(9). ระวังสารพิษ เช่น สารตะกั่วในหม้อก๋วยเตี๋ยว, หมึกพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือ ฯลฯ ควรล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำเสมอ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Dementia big threat for elderly in poorer nation' = "สมองเสื่อม(เป็น)ภัยคุกคามใหญ่สำหรับชาติยากจน" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@@ [ dementia ] > [ ดี - เม้น - เฉ่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/dementia > noun = สมองเสื่อม

@@ [ threat ] > [ เตร้ท - t ] > http://www.thefreedictionary.com/threat > noun = ภัยคุกคาม การขู่เข็ญ

...

@@ [ elderly ] > [ เอ๊ล - เดอ - ลี] > http://www.thefreedictionary.com/elderly > noun = 

@@ [ nation ] > [ เน้ - เฉิ่น ] > http://www.thefreedictionary.com/nation > noun = ชาติ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Dementia big threat for elderly in poorer nation. November 27, 2009. / Source > Lancet.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 29 พฤศจิกายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 316962เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท