การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)


เพื่อการบรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ คือ (1) กำหนดความรู้หลักที่มีความสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของสถาบันฯ (2) แสวงหาความรู้ที่ต้องการ (3) ปรับปรุงความรู้ให้เหมาะต่อการใช้ของตน (4) ประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมของตนเอง (5) นำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน (6) จดบันทึกบทเรียนที่เป็นแก่นความรู้ไว้ใช้งาน พร้อมกับปรับปรุงให้เป็นชุดความรู้ของตนเองที่ลุ่มลึก เชื่อมโยง และครบถ้วน ซึ่งเหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

 

การจัดการความรู้สำหรับนักปฏิบัติหรือชุมชนนักปฏิบัติ คือ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ อันได้แก่ (1) การบรรลุเป้าหมายของงาน (2) การพัฒนาคน (3) การพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (4) ความเป็นองค์กรหรือชุมชนวิชาการที่บุคลากรมีความเอื้ออาทรต่อกันในการทำงาน

เพื่อการบรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ คือ (1) กำหนดความรู้หลักที่มีความสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของสถาบันฯ (2) แสวงหาความรู้ที่ต้องการ (3) ปรับปรุงความรู้ให้เหมาะต่อการใช้ของตน (4) ประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมของตนเอง  (5) นำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน (6) จดบันทึกบทเรียนที่เป็นแก่นความรู้ไว้ใช้งาน พร้อมกับปรับปรุงให้เป็นชุดความรู้ของตนเองที่ลุ่มลึก เชื่อมโยง และครบถ้วน ซึ่งเหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

 

บุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ที่สำคัญขององค์กร

(1)  คุณเอื้อ (ระบบ) (Chief Knowledge Officer-CKO) เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร แสดงบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์หรือเป้าหมาย เชื่อมโยง และเสริมพลัง (Empowerment) การจัดการความรู้ขององค์กร

(2)  คุณอำนวย (Knowledge Facilitator or Knowledge Activist or Knowledge Broker) เป็นผู้เสริมพลังความรู้ แสดงบทบาทหลักในการส่งเสริม-อำนวยความสะดวกให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีความรู้กับผู้ต้องการเรียนรู้และนำความรู้นั้นไปใช้

(3)  คุณกิจ (Knowledge Practitioner) เป็นผู้จัดการความรู้ตัวจริง ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90 โดยร่วมกำหนดเป้าหมาย ค้นหา (Capture) ดูดซับ (Absorb) ความรู้จากภายนอกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามที่ร่วมกันกำหนดไว้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อได้ความรู้ใหม่ (Knowledge Assets)

(4) คุณลิขิต (Knowledge Taker) ทำหน้าที่จดบันทึกกิจกรรมจัดการความรู้ ในตลาดนัดความรู้, Workshop, มหกรรมจัดการความรู้ จัดการความรู้ของกลุ่ม หน่วยงาน องค์กร เช่น การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Storytelling) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุม แก่นความรู้ (Core Competence) โดยใช้ทักษะจับใจความบันทึกเรื่องเล่า สกัดประเด็น จัดหมวดหมู่ความรู้โดยใช้ซอฟท์แวร์ Mind Manager สำหรับ Mind Mapping ขึ้นฐานข้อมูลให้คุณกิจเข้าค้นหาได้ง่ายในอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต ติดตามการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณกิจทั้ง Face to Face (F2F) และผ่านไอที Block to Block (B2B) หรือผ่านไอทีรูปแบบอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

(5)  คุณประสาน (Network Manager) ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กร ทำภารกิจจัดให้มีข้อตกลงเป้าหมายร่วม ยุทธศาสตร์ความรู้ (Knowledge Vision-KV) ของเครือข่ายว่าจะทำอะไรร่วมกัน เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เตรียมเครือข่าย จัดหาผู้เชี่ยวชาญ จัดให้มีการติดตามประเมินผลความก้าวหน้า/การดำเนินงานของเครือข่าย จัดทำจดหมายข่าวกระตุ้นกิจกรรมของเครือข่าย เป็นเลขานุการคณะทำงานของเครือข่าย  เป็นต้น

(6)   คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) คือ ผู้ออกแบบและจัดการดำเนินงานระบบ IT 

หมายเลขบันทึก: 316534เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มายินดีต้อนรับ
  • ดีใจได้ทบทวนเรื่องเก่าๆๆ
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ

 ขอขอบคุณ คุณขจิต ฝอยทอง มากๆ นะครับ ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้กระตุ้นให้เขียนบ่อยๆ ก็จะพยายามเขียนตามความรู้ ความเข้าใจ กำลังสติปัญญาและโอกาสครับ

        เอาละครับ วันนี้ขอคุยต่อเรื่อง "การจัดการความรู้สำหรับคนงานยุคใหม่: การคิดใหม่ทำใหม่ด้วยวิธีการที่มีภาวะผู้นำ" อ้างจากคุณ ดาริล กรีน (Knowledge Management for a Postmodern Workforce: Rethinking Leadership Styles in the Public Sector: DARYL GREEN)

        หัวใจ ของการ  จัดการความรู้ ตามทฤษฏีหรือวิธีการของสังคมยุคใหม่ เชื่อกันว่า จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการทำงานหรือนำมาใช้แทนที่แนวคิดการทำงานแบบหมู่คน, หมู่ทหารหรือทฤษฎีเพื่อนร่วมงาน (cohorts) ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างและความตึงเครียดในที่ทำงาน อันเนื่องมาจากคนที่ทำงานมีอายุ ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและความเชื่อต่างหันมาทำงานอยู่ด้วยกัน ความแตกต่างบ่อยครั้งนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย ขัดแย้งกันในที่สุด  แต่ถ้าคิดในเชิงบวก (positive thinking) ความแตกต่าง อาจกลายเป็น กุญแจสู่ความสำเร็จ ถ้าทุกคนเปิดใจทำความรู้จักกับคนทุกรุ่นให้ลึกซึ้ง ก็จะได้พบที่ทำงานใหม่ที่งดงาม หลากหลาย ก็จะเห็นความแตกต่างที่ไม่จำเป็นต้องแตกแยก และเลือกสื่อสารกับแต่ละกลุ่มได้เหมาะๆ ก็จะได้สิ่งใหม่ ๆ ที่คาดไม่ถึง

รุ่นลายคราม : คือ คนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2498

        คนรุ่นลายคราม ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ผู้บริหารหรือเป็นเจ้าหน้าที่วัยใกล้เกษียณ คนรุ่นนี้จะมีผู้คนนับถือ อันเนื่องมาจากประสบการณ์การทำงานยาวนาน คนรุ่นนี้เกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ จึงเติบโตมาท่ามกลางสภาพบ้านเมืองที่มีทรัพยากรจำกัด ทำให้รู้จักคุณค่าของเงิน มักมีคุณลักษณะที่มั่นคงเชื่อใจได้ สู้งานหนัก ใช้จ่ายอย่างประหยัด และมีความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงานหรือองค์กรสูง 
  
 รุ่นเพิ่มจำนวนประชากร
 (Baby Boom) คือ คนที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2499 – 2507

        คนที่เกิดหลังสงคราม บ้านเมืองย่างเข้าสู่ความสงบ การคุมกำเนิดยังไม่แพร่หลาย จึงมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก (Baby Boom) ที่เกิดและเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และแข่งขันกับคนวัยเดียวกันเพื่อให้มีงานทำ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่ยุคความเป็นอุตสาหกรรม คนรุ่นนี้ก็ต้องทำงานหนักมากขึ้น เป็นวันละ 8 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์
        คนที่เป็นลูกจ้าง จะเคยชินกับการพิสูจน์ตัวเอง ให้ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างยอมรับศักยภาพ การก้าวสู่ตำแหน่งสูงนั้นต้องใช้เวลาและแรงผลักดันอย่างสูง

 

 

รุ่นที่ทรัพย์สมบัติจากบิดามารดาจัดไว้ให้ บริโภคนิยมเต็มตัวและไม่ใส่ใจใคร มีแนวทางเป็นของตนเอง เชื่อมั่นในตนเองสูง สภาพของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองอย่างเต็มตัว
(Generation–X) คนที่เกิดช่วงปี พ.ศ.2508 – 2523

        คนรุ่นนี้  ลืมตาดูโลกในช่วงที่มนุษยชาติส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้สำเร็จ ของเล่นสุดฮิตของเด็กรุ่นจึงไม่ใช่ม้าโยกและตุ๊กตาหมีอีกต่อไป แต่เป็นวิดีโอเกม เกมกด และวอคแมน เติบโตมาในยุครอยต่อของ Analog กับ Digital อยู่กับเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ   แต่บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทางวัตถุ ทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน ความซื่อสัตย์ต่อองค์กรของคนรุ่นนี้จางหายไปมาก มีการลาออกและเปลี่ยนงานง่ายๆ คนรู่นเพิ่มประชากรไม่ค่อยเกี่ยงทำโอทีจนดึกดื่น และแปลกใจที่คนรุ่นสังคมเมืองปฏิเสธทำงานล่วงเวลา หรือลาออกไปหางานใหม่ง่ายๆ ถ้าไม่พอใจ เพราะคนรุ่นนี้เชื่อว่า งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต

 

 

รุ่นบริโภคแห่งความหวัง คือ (Gen M or Generation of Hope) ผู้ใหญ่หวังว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่ตนทำในอดีต   บุคคลกลุ่มอายุนี้จะให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ไม่ชอบเป็นลูกจ้าง อยากเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก มีแนวทางและอิสระเป็นของตัวเองชัดเจน ชอบดู Channel V, MTV Millennium: คนที่เกิดปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา

        คนรุ่นนี้ เป็นคนหน้าใหม่ไฟแรง แต่ยังอ่อนประสบการณ์ บางทียังเรียนไม่จบ แต่มีแผนเรียนต่อ คนรุ่นนี้โตมากับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ระบบการศึกษาที่เริ่มให้ความสำคัญกับการคิดมากกว่าการจำ พ่อแม่ที่มีความรู้สูง ให้การสนับสนุนให้เสริมทักษะด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก ชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และชอบทำงานเป็นทีม แต่ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และเงื่อนไข ขณะที่คน Gen-X เปลี่ยนงานหลายครั้งเพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูง รับเงินเดือนเป็นแสน แต่คน Gen-M พอใจที่จะลาออกไปเริ่มธุรกิจใหม่ขนาดเล็กของตัวเองมากกว่า 
  
การปิดช่องว่างระหว่างวัย
         เมื่อเข้าใจ ค่านิยม ในชีวิต ก็สามารถปิดช่องว่างได้


เครื่องมือปิดช่องว่าระหว่างวัย 3 ขั้น
1. เข้าใจความแตกต่าง
ยอมรับว่า คนถูกหล่อหลอม มีความเชื่อ ทัศนคติไม่เหมือนกัน เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป
2. มองส่วนดี มองหาแต่จุดเด่นของคนแต่ละรุ่น แต่ละกลุ่มให้พบ
3. จัดการกับความแตกต่าง
ใช้วิธีการสื่อสารให้เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มที่เราต้องทำงานด้วย

 

วิธีการทำงานกับกลุ่มสหสาขา 

ทำงานกับรุ่นลายคราม
        ให้เกียรติ เคารพ เมื่อให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติตอบ ถ้ามีตำแหน่งสูงกว่าแสดงความชื่นชมการเป็นหลักขององค์การ รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ การต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจน ผ่านพ้นความยากลำบากมาได้ในอดีต เพราะนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มี อย่ามองว่า..กลุ่มลายครามคือ หมาล่าเนื้อ แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณนั้น เป็นเพราะเขา เชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และความซื่อสัตย์สุดๆ ต่อองค์กร

การทำงานกับรุ่น (Gen-B) 
        แสดงความนับถือ รับฟังและเรียนรู้ประสบการณ์ของ (Gen-B) แล้วปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าลืมว่า จะเก่งกาจแค่ไหนหรือประสบความสำเร็จเพียงใด ก็ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะ (Gen-B) ให้ความสำคัญกับการทำงาน ยึดวัฒนธรรมองค์การ และให้คุณค่ากับการทำงานอย่างทุ่มเทเสมอ หากทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ที่บริหารโดย (Gen-B) ควรเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรว่า มีความเป็นมาอย่างไร ก่อนเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

วิธีการทำงานกับ (Gen–X) 
       
พูดให้กระชับ ชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะ Gen–X ตรงไปตรงมา ใช้ Email กับกลุ่มนี้ได้ หากสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย หากเป็นเรื่องใหญ่ควรพูดต่อหน้า เพราะ Gen–X ไม่ชอบถูกบงการ ให้นโยบายกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด 
        Gen-B ควรลดความคาดหวังต่อ Gen–X ในการทำงานหนักโดยไม่มีวันหยุด หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ อย่างรุ่นตน เพราะ Gen–X ต้องการชีวิตที่สมดุล ไม่ชอบการอยู่กับที่

 


วิธีการทำงานกับกลุ่ม Gen-M
         ท้าทายด้วยภารกิจใหม่ ๆ เขาจะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบเหมือนให้คำชม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ให้เป็นส่วนหนึ่งในทีม ยอมรับความคิดเขา ก็จะได้รับการยอมรับเช่นกัน Gen-M ชอบแสดงออกต่อสิ่งที่ทำ ความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อเขามาก 
 
         เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้หรือเปลี่ยนได้ยาก แต่เราสามารถปรับตัวเราและเข้าใจคนอื่นๆ ได้ทุกอย่างก็จะลงตัวและดำเนินการต่อไปได้

 

เชิญฟังการบรรยายธรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวง เรื่อง คนสร้างงาน งานสร้างคน : สุขภาวะปัจเจก องค์กร ชุมชน สู่ปัญญาของแผ่นดิน โดย พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก วัดป่าสุนันทวนาราม จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 และครบปีที่ 29 ของการก่อตั้ง สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล ในวันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล ศาลายา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท