ความเหมาะสมในการถอดถอนข้อสงวนข้อ ๗ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC


ความเหมาะสมในการถอดถอนข้อสงวนข้อ ๗ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC

ความเหมาะสมในการถอดถอนข้อสงวนข้อ ๗ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC

 

 

อ วิฑิต มันตาภรณ์     ถ้ามองในแง่ระหว่างประเทศ

 ไทยเป็นอนุสัญญากับสหประชาชาติ รัฐ ก็ต้องปฏิบัติตามเพราะว่าไทยเป็นภาคี ทั้งในเรื่อง

          สิทธิเด็ก เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนที่อยู่ในโลกนี้

          เช่นการที่เด็กได้รับสูติบัตรเป็นการรับรองว่าเค้าเป็นบุคคลและถูกบันทึกไว้ในดาต้าเบส  การจดทะเบียนการเกิดไม่ได้หมายความว่าเค้าจะต้องได้รับสัญชาติเสมอไป

          การได้สัญชาติ ได้มาจาก  การเกิด จากสายเลือด  จากการขอแปลงสัญชาติจากข้อ ๗ CRC มันสามารถมาได้จากหลายทาง

          ในช่วงเวทีในการสนทนามีการเสนอความเห็นจากหลายภาคส่วน สรุปได้ดังนี้

          คุณอภิรักษ์ สะมะแอ   กล่าวว่าเด็กในปัจจุบันควรได้รับสิทธิต่างๆ เช่น การแจ้งเกิด   ก็เป็นสิทธิที่ควรได้รับเช่นกัน  และกลุ่มถูกถอนสัญชาติที่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 23 ก็สามารขอคืนสัญชาติไทยได้ตามมาตรา ๒๓ พรบ.สัญชาติ

          ส่วนในเรื่อง อนุสัญญา CRC ข้อ ๗ ทางกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ปฏิบัติ คนที่ให้คำตอบว่าจะสมควรถอนหรือไม่ ควรเป็น สมช

          อ แหวว            ในเรื่องที่จะถอดถอนหรือไม่ ทางเราไม่สนใจเพราะว่า ตาม ICCPR ซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยมีความพร้อมมานานแล้วตั้งแต่สมัย ร๕ ที่มีการเลิกทาส และมีการจดทะเบียนการเกิด จากทฤษฎีการประสานงานเชิงราบ CRC  ควรถอดเพราะอาจเป็นการสร้างความสับสน

          การจัดการสิทธิในสัญชาติ

๑        ทฤษฎีเยาวราช  ร๕ ทรงพระราชทานสัญชาติให้แก่คนที่ล่องเรือมาเพราะท่านทรงเห็นถึงความกลมกลืน

๒       Territorial state  เยาวราชเป็นไทยโดยหลักสืบสายโลหิต การผลักดันให้ไปพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง

๓       การผลักดันให้มีสัญชาติจากประเทศทีสาม เช่นการรับบุตรบุญธรรม  ใช้กลไกจิตวิญญาณมนุษย์ ผลักดันให้มีสัญชาติกับประเทศที่สาม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาก็อยู่ที่การบริหารทั้งสิ้น

          อ.ศรีประภา  เพชรมีศรี   ได้ให้ความเห็นว่า ในประเทศไทยยังมีคนที่ไม่ใช่คนชาติอีกมากประมาณ ๓ ล้าน คนการสกัดคนเข้ามาประเทศไทยก็เป็นไปได้ยาก เช่นการให้สถานะของคนญี่ปุ่น หลังจากการเป็นภาคีในอนุสัญญา CRC แล้วหากเด็กที่เกิดมาเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ แล้วทางรัฐญี่ปุ่น ก็จะให้สัญชาติแก่เด็กคนนั้น

          ความสมเหตุสมผล ในการตั้งข้อสงวนของไทย ก็เพื่อทำให้กฎหมายไทยสอดคล้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศแล้วไม่รู้ว่าไทยจะต้องตั้งข้อสงวนไว้ทำไม ส่วนการจดทะเบียนการเกิดให้แก่เด็กไม่ใช่การให้สัญชาติแก่เด็กเสมอไปบ้างทีก็จะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ  เพราะว่าไทยอ้างอยู่เสมอว่าไทยเป็นเสรีประชาธิปไตย

          ผู้แทนกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ       ในแง่กฎหมายระหว่างประเทศหากไทยตั้งขอสงวนแล้วทำให้มีคนหลบหนีเข้ามา มันก็ ไม่ Right to Acquire Nationality  บางประเทศไม่ได้รับหลักดินแดน แต่ยังยึดถือหลักสืบสายโลหิต และในการถอดถอนควรมีเอกสารในการถอดถอน ข้อสวงนไปให้ทาง ครม พิจารณา

          กรมองค์การระหว่างประเทศ   กระทรวงต่างประเทศ  อยากเห็นประเทศไทยทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ  ซึงถ้าเราถอดถอนก็แสดงให้เห็นว่า เรามีความมุ่งมั่น  ในการปฏิบัติตามสนธิสัญญา 

          คุณมณเฑียร บุญตัน    กล่าวว่า เด็กทุกคนควรมีสัญชาติ  ในเรื่องการถอนถอดข้อสงวนไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อประเทศไทย ต้องช่วยกันหาทางออกให้แก่เด็ก ควรมีกระบวนการยอมรับ  และ การแก้ปัญหาของทางภาคี    เมืองไทยควรถอดถอนข้อสงวนเพื่อส่งผลต่ออนุสัญญาฉบับอื่น  แม้ว่าจะไม่เป็นปัญหาหนัก แต่ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องเด็กแต่มีปัญหาในเรื่องสัญชาติมากกว่า  ประชาธิปไตยในรูปแบบมากกว่าเนื้อหา   อันใดปลดเปลื้อง  และไม่มีผลกระทบใดๆ ก็ควรทำอีกทั้งเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น  การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับประเทศไทยจะได้มีการยอมรับมากขึ้น

          คุณสุรพล  กองจันทึก  ในส่วนของการปฏิบัติ   ในเรื่องการรักษาพยาบาลของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาตินั้น ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็เท่ากับไม่มีสิทธิในเรื่องหลักประกันสุขภาพ  ส่วนในเชิงของนโยบาย  ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีนโยบายใดขัดแย้งเลย แต่จะมีข้อกังวลทีต้องฝากไว้ ๒ ข้อ ถ้าหากมีการถอดถอน  กล่าวคือ  ๑  ไม่มีความชัดเจนว่าต้องให้สัญชาติ ซึ่งมีการตีความไปในทางเดียวกัน  ๒  การถอนข้อสงวนแล้วจะเป็นการทะลักของแรงงานมากขึ้นกว่าเดิม แต่ในข้อนี่จะเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะว่ายังไงก็มีการทะลักของแรงงานได้อยู่แล้ว  การถอนข้อสงวนหรือไม่ก็ไม่น่าเป็นประเด็น

 

 

หมายเลขบันทึก: 315402เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท