ยุทธศาสตร์การทำงานพัฒนาที่ “ทรงพลัง” จริงๆ


“จุดสำคัญ เราต้องก้าวข้ามลัทธิและแนวคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสถาบัน ระบบอาชีพ และระบบราชการ” ไปสู่ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน โดยอาศัยจิตวิญญาณของผู้ให้ “หัวใจโพธิสัตว์”

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ผมได้เข้าร่วมฟังการประชุมที่ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา “กำลังคนด้านสุขภาพ” ที่นำทีมโดยท่านราษฎรอาวุโส ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี และทีมงานของกระทรวงสาธารณะสุขอีกเป็นร้อย

ตอนแรกคิดว่าจะแค่ไปฟังอาจารย์หมอประเวศ ว่าท่านจะมีประเด็นชี้นำอย่างไรบ้าง ตามความคาดหวังที่เคยเป็นมา

แต่เมื่อเข้าร่วมประชุม ก็ได้เห็นอะไรมากกว่าที่คาดไว้มาก

นอกจากการชี้นำตามปกติแล้ว ยังได้เห็น “ลีลา” การทำงานของท่านอีกแบบเต็มๆ ว่า ฝีมือชั้น “ปรมาจารย์” นั้น เขาทำงานกันอย่างไร

ท่านเปิดประเด็นให้เห็นแนวทางการทำงานว่า

  • “เราจะต้องไม่ยึดติดอำนาจ เงิน และรูปแบบ แต่ควรทำตามความจริงของชีวิต ความต้องการของประชาชน และสังคม”
  • “การรักษาพยาบาลนั้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ การนวด การประคบ การใช้สมุนไพร ก็สามารถแก้ปัญหาการเจ็บป่วยได้มากมาย”
  • “การรักษามีทั้งทำด้วยตัวเอง โดยครอบครัว และชุมชน”
  • “จุดสำคัญ เราต้องก้าวข้ามลัทธิและแนวคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสถาบัน ระบบอาชีพ และระบบราชการ” ไปสู่ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน โดยอาศัยจิตวิญญาณของผู้ให้ “หัวใจโพธิสัตว์”
  • “เลิกอยู่กับความรู้แบบ “หมิ่นๆ” จากการเรียนแบบท่องไปสอบ แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักกล้ามเนื้อทุกชิ้นก่อนการเดิน”
  • ควรพยายามสื่อสารกันมากขึ้น
  • ไม่นั่งด่าความมืด แต่ควรมาช่วยกันจุดไฟให้แสงสว่าง
  • ให้ระวัง “มาตรฐาน” ที่ต้องอยู่กับ “ความเป็นจริง”
  • การจัดการที่แท้จริงคือ “การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้”

แล้วท่านก็นั่งเป็นกำลังใจให้ “ศิษย์” ของท่านนำเสนอตัวอย่างและแนวทางการทำงานที่ได้ผลจริงๆ ให้ “ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณะสุข” ได้รับทราบ เพื่อหาทาง “ก้าวข้าม” ขีดจำกัดต่างๆ อย่าง “จริงใจ” และ “จริงจัง”

ทำให้ผมได้เห็นภาพการทำงานที่คล้ายคลึงกับ ยุทธศาสตร์ของ มหาชีวาลัย ที่เราเคยร่วมกำหนดแนวทางกันเมื่อ ๒-๓ ปีก่อน ใน ๓ ประเด็นคือ

  1. การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ (KM ธรรมชาติ)
  2. การทำงานแบบ “พันธมิตรอิงระบบ”
  3. การทำงานแบบบูรณาการ

ทั้งสามประเด็นนี้ คล้ายคลึงกับที่ท่านอาจารย์หมอประเวศได้ใช้เมื่อวันก่อน

ที่ท่านได้แนะให้ “ศิษย์” ของท่านได้ทำงานอยู่กับความเป็นจริง ซึ่งก็เป็น KM ธรรมชาตินั่นเอง

ท่านได้แนะให้ศิษย์ของท่านข้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ ก็คือการ อิงระบบ

และการเชื่อมโยงการทำงานเข้ากับเป้าหมายของงาน นั่นก็คือการบูรณาการ

ซึ่งครบทั้งสามประเด็นที่เราเคยคุยกันไว้ก่อนหน้านี้

ทำให้ผมเห็นตัวอย่างการทำงานที่เป็นรูปธรรมทั้งสามด้านในคราวเดียวกัน

ที่ท่านอาจารย์หมอประเวศได้ดำเนินการอย่าง “เนียน” เป็นเนื้อเดียวกัน

ทำให้ผมไม่สามารถ “ออกจากที่ประชุม” ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิม

และรับฟัง เรียนรู้ ตั้งแต่ต้น จนปิดการประชุม

ทำให้ผมมี “ตัวอย่าง” ที่เป็นจริงไปเล่าให้ใครต่อใครฟังได้อีกหลายวาระทีเดียว

และหวังว่าหน่วยงานอื่นๆ และสาขาการทำงานอื่นๆ น่าจะนำยุทธศาสตร์นี้ไปใช้ในการทำงานได้ “อย่างมีพลัง” สมความตั้งใจในการทำงานของทุกท่านครับ

วันนี้ผม “โง่” น้อยลงอีกนิดหนึ่งแล้วครับ

จึงใคร่ขอขอบพระคุณท่านครูบาสุทธินันท์ ที่ได้ชวนผมเข้าร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 314998เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 05:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  

ขอบคุณที่นำมาเล่าต่อค่ะ ทำให้ได้คิดและได้ประเด็นไปทำงานให้เป็นธรรมชาติ

ไม่นั่งด่าความมืด แต่ควรมาช่วยกันจุดไฟให้แสงสว่าง

 

ชอบคำนี้มาก ถ้าราชการไม่ทำแบบนี้ คงเจริญเร็วกว่านี้ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ครับ

ขอบคุณมากครับที่อาจารย์ได้สรุปให้อ่านอีกครั้ง การทำงานความจริงที่พบช่วงหลังๆคือ ความทะเยอทะยานแบบบ้าๆ(แบบที่ผมเคยมีความคิดนี้) แต่มาคิดหาเหตุผลที่เป็นจริงมากขึ้น ลดความสุดโต่งลง เหลือความธรรมดาที่เป็นธรรมชาติ(ที่ควรจะเป็น)

 

ผมเห็นเขาทำตัวเป็น "ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ" ครับ

โดยใช้ หัวใจ "โพธิสัตว์" เป็นแสงส่องนำทาง

ยอดเยี่ยมจริงๆ

ขอคารวะสักพันครั้ง

โชคดี ได้เจอปราชญ์ ครูบาอาจารย์ที่คอยชี้เเนะ

ผมก็มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น การมั่นใจในตัวเองแบบนี้ไม่ใช่ "อัตตา"นะครับ เเต่หมายถึงพลังใจ ปัญญาที่เอื้อให้ผมจุดเทียนเล็กๆท่ามกลางความมืดมิดได้

แม้เเสงน้อยๆ แต่ในความมืดที่กว้างใหญ่ ผมคิดว่า เออ... ก็ไม่ธรรมดา นะครับ ;)

ขอบคุณครับอาจารย์

เรียนท่านอาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

แนวทางการทำงาน 9 ข้อ และยุทธศาสตร์ 3 ข้อ จะเป็นไกด์ไลน์ในการทำงานค่ะ

ขอบพระคุณค่ะที่ติดอาวุธทางปัญญา เพราะเชื่อว่า...

การจัดการที่แท้จริงคือ “การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้”

จะพยายามค่ะ

ขอบคุณค่ะ..^_^

อาจารย์ค่ะ หนูโง่มากค่ะอาจารย์ช่วยอธิบายหัวใจโพธิ์สัตว์ให้หนูเข้าใจหน่อยค่ะ ว่าเป็นอย่างไรจึงจะเรียกว่าหัวใจโพธิ์สัตว์และในสังคมไทยมีคนแบบนี้มากไหมค่ะ

ก็คือผู้ให้ ไม่หวังผลตอบแทน

มีมากในสังคมครับ

แต่ยังไม่พอครับ

คนส่วนใหญ่เป็นผู้ให้ ที่ยังหวังผลตอบแทน

เราจึงต้องการมากกว่านี้อีกครับ

และเราไม่ต้องการ "ผู้ไม่ให้ มีแต่หวังผลตอบแทน"

ที่มีมากกว่ากลุ่มแรกเสียอีกครับ

“มาตรฐาน” ที่ต้องอยู่กับ “ความเป็นจริง"

....

ชอบมากครับอาจารย์

สวัสดีครับท่านอาจารย์

 

นำข้อมูลเกี่ยวกับ "พระโพธิสัตว์" มาฝากขอรับที่

http://soraj.wordpress.com/2008/07/25/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1/

 

และที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C

 

สำหรับคนยุคใหม่สมัยนี้อยากเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ให้ลองอ่านหนังสือ "5 วันที่ฉันตื่น..." ขอรับ

 

 

 

 

เรียนท่านอ. แวะมารับความรู้ และข้อคิดค่ะ

กำลังฝึกฝนอยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท