บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๕​ : outcome mapping sharing ๑ - ความเป็นมา


ช่วงวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายนนี้ ผมมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ outcome mapping ( OM sharing) ของ สสส. โดยคณะวิทยากรจาก สคส.(สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) ที่โรงแรม เดอะริช เชิงสะพานพระราม ๕ นนทบุรี


กิจกรรมนี้ ทางสสส.อยากให้แผนงาน/โครงการที่รับทุนสนับสนุนไปและได้นำ OM ไปประยุกต์ใช้แล้ว มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยผู้ที่มาร่วมจะเป็นผู้ที่เคยเข้าอบรม OM ​planning workshop มาแล้ว

ผมยังไม่เคยเข้า OM workshop ที่จัดโดย สสส./สคส ที่ผ่านมาทั้ง ๒ ครั้ง แต่ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากอาจารย์สกลซึ่งเป็นตัวแทนของเครือข่าย MS-PCARE ในการอบรมครั้งนั้น และทางแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพก็ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้ให้กับทุกเครือข่ายฯเป็นระยะในช่วงที่เรากำลังเขียนโครงการเพื่อเสนอต่อ สสส.

ในครั้งนี้มีแผนงาน/โครงการที่รับทุนสนับสนุนจากสสส. ๗ โครงการด้วยกันที่มาร่วม มีทั้งโครงการขนาดเล็กไปจนถึงอภิมหาโครงการ ได้แก่

  • เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพคนน่าน
  • โครงการเครือข่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำปิง
  • โครงการค้นหาคนดีแล้วขยายผล
  • โครงการพัฒนายกระดับร้านอาหารไทยสู่มาตรฐานสากล
  • โครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ Usablelabs
  • โครงการรักษ์สุขภาพในกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • แผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ


ตัวแทนแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้มี พี่แม้ว..อุดมศรี ผู้จัดการตัวจริงของแผนงานฯ พี่กอปรชุษณ์..คณะกรรมการกำกับทิศผู้คัดท้ายเรือ อาจารย์พิกุล..ผู้ตรวจสอบภายใน และผม..จากเครือข่ายของเราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานฯ

งานนี้มีน้องเด่น กับน้องติ๊ก จากสสส.เป็นผู้จัด มีอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด น้องหญิง น้องอ้อม น้องอุไรวรรณ จากสคส. เป็นคณะวิทยากร

 

 

ความรู้ที่อยู่นิ่งๆในหัวของคนๆหนึ่งมีประโยชน์ไม่มาก นักสักพักก็เลือนหาย เหมือนศาสตราที่ไม่ได้ใช้ไม่ได้ลับอย่างโบราณว่าไว้จริงๆ แต่ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากคนสู่คน ทรงพลังเหลือเกิน สามารถขับเคลื่อนเรื่องราว แถมงอกงามต่อยอดได้อย่างมหัศจรรย์

ทุกหน่วยงานบริษัทต่างๆควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ และจะต้องเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากรที่ควรได้รับการพัฒนาและถูกประเมิน ไม่ควรปล่อยให้คนที่เอาแต่ไปฝึกอบรมและเรียนรู้คนเดียวแล้วไม่มา..บอกต่อ ไม่ควรปล่อยให้สมองของคนที่มีความรู้ประสบการณ์มากๆอยู่นิ่งเฉย ต้องดึงต้องขุดออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

อันนี้ไม่รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ซึ่งต้องทำตัวเป็นผู้นำในด้านนี้ ต้องออกแรงและให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดที่เป็น จลน มากกว่าปล่อยให้ความรู้อยู่นิ่งแค่ ศักย เท่านั้น หากไม่ทำ ก็ไม่น่าจะเรียกตนเองว่า สถาบันการศึกษา

ความคิดเรื่อง..หวงวิชา ทำให้สังคมไม่งอกงาม


ทำให้ผมเขียนบันทึกชุดนี้ หวังว่าความรู้ที่ผมได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมและนำมาบันทึกไว้ที่นี่ จะงอกงาม

หมายเลขบันทึก: 314546เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สวัสดีครับคุณหมอ

อยากเข้าอบรมอีกสักคร้ังครับ

เคยอบรมแล้วคร้ังนึง ยังมึนอยู่

อีกสักคราวน่าจะหายมึนครับ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอเต็ม

มาอ่านความรู้ เห็นจริงด้วยค่ะเรื่องการสานต่อ เพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้ สู่สังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต

เมื่ออาทิตย์ก่อนทางหน่วยงานผู้รับทุนก็มีเจตนารมย์ว่า กรณีมีการฝึกอบรมประชุมอะไร จะพิจารณามากขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ความรู้ และถ่ายทอดปฏิบัติจริง

 

ใน workshop fammed ที่ ม.ช. ท่านอาจารย์อนุชาติ เป็นผู้แนะนำการเขียน blog ในนี้คะ

ท่านเปรียบเทียบ เรื่องศาสตร์ตะวันตก ที่ก้าวหน้า ก็เพราะ เมื่อรู้แล้วตีพิมพ์เผยแพร่

ในขณะที่ทางตะวันออกเรามีองค์ความรู้ไม่น้อยหน้า แต่เพราะ เมื่อรู้แล้วเก็บเป็นความลับ

เมื่อวาน ได้เรียนถามท่านอาจารย์สกลเรื่องเคล็ดลับการทำ KM พอสรุปเองได้ว่า

ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเล่าประสบการณ์อย่างอิสระ ไม่เอาตัวเราเข้าไปตัดสิน

มี Theme ในการพูดคุย ชัดเจน

มีการถอดความรู้ออกมาให้เป็น hard copy

ผิดถูกอย่างไร ขออาจารย์แนะนำด้วยคะ

ฟังอาจารย์สกลพูดถึงเรื่องนี้แต่ผมไม่แน่ใจว่าเป็นัยงไงครับ ไอ้ outcome mapping มีความหมายถึงว่ากิจกรรมที่เราสนใจ ไปเชื่อมโยงและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?

อาจารย์อธิบยให้ฟังชัดกว่านี้ได้ไหมครับ

P

  • ผมว่าเรามาถูกทางแล้วครับ ที่สกลเอาเรื่อง outcome mapping มาเผยแพร่และใช้วางแผนงานของเรา

P

  • วิทยากรคราวนี้บอกว่า
  • ถ้าฟังแล้วเข้าใจแต่ต้น แสดงว่า ยังไม่เข้าใจจริง
  • ครั้งแรกจะไม่เข้าใจ พอเริ่มทำแล้วชักมึน พอทำไปอีกนิดแล้วเริ่มเข้าใจ แล้วก็เริ่มมึนอีก อันนี้ของจริงครับ เพราะมันจะเป็นอย่างนี้นะครับ

 

P

  • ภูมิปัญญาตะวันออกหลายอย่าง..ตาย..ไปพร้อมเกจิ เพราะเก็บไว้กับตัวไม่ถ่ายทอด
  • ผมว่าจุดหลักของ KM คือ คนทำต้องเป็นตัวจริง ทำจริง แล้วถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นความรู้ฝังลึก tacit ออกมาเป็นความรู้ที่ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ explicit ในบรรยากาศที่เอื้อทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้้รับ
  • การเขียน blog ผมก็ถือว่าเป็นอย่างนั้นครับ

P

  • มันเป็นเครื่องมือในการเขียนแผนงานอย่างมองรอบด้านตั้งแต่การวางแผน ไปจนถึงการประเมินผล
  • ผมจะพยายามเขียนอธิบายในบันทึกชุดนี้ต่อๆไปนะครับ

P

  • ผมชอบ OM ก็ตรงที่ เราได้เรียนรู้ไปตลอด ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนโครงการ ไปจนกระทั่งประเมินโครงการ
  • ถึงไม่บรรลุเป้า แต่ก็มีจุดที่ได้เรียนรู้ lesson learned ไม่ได้มองว่าเป็นความล้มเหลวครับ

อ.หมอเต็มคะ เกือบได้ไปร่วมด้วยแล้วค่ะ แต่ว่าติดภาระกิจ เลยส่งแนทเป็นตัวแทนทีมไป รอบนี้แนทส่งข่าวว่าสงสัยทาง Lab ต้องมาทบทวน om ที่เคยทำไว้กันอีกรอบ

สำหรับเรื่อง OM เวลานั่งคิดแผนแล้วเหมือนเป็นการกระตุ้นและจุดประกายความคิดและความฝันค่ะ เหมือนกับว่าให้เราได้เห็นว่าหนทางข้างหน้าที่เราอยากจะเห็น อยากจะเป็น จะสามารถบรรลุได้อย่างไรบ้าง 

ทำแล้วสนุก แต่ตอนแรกๆ ตอนที่เริ่มทำใหม่ๆ จะงงค่ะ (ตอนนี้ก็ยัง งงๆ บ้าง) ถ้าแนทกลับมา คิดว่าคงจะ งง น้อยลงค่ะ ^_^ 

P

  • งานนี้ต้องชมแนท มาเดี่ยว แต่ประสบการณ์สู้กับพวกผมที่ยกโขยงไปตั้งสี่คนได้สบาย
  • วิทยากรเขาชม ทีมงาน UsableLabs ด้วยว่า เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ทำงานระดับประเทศได้แบบมืออาชีพ แล้วเวลาเขาชม เขาก็ชมทะลุไปถึง ครูของเรา ด้วย ทั้งอาจารยืธวัชชัยและอาจารย์จัน ครับ
  • แม้เจ๊ ว่ามาซะขนาดนี้ เหมือนโดนมัดยังไงไม่รู้
  • อ.หมอเต็มครับ ครั้งนี้ผมก็ได้เขียนบันทึกไว้เช่นกัีนครับ
  • http://gotoknow.org/blog/projectcoordinator/314501

ผมคิดว่า KM ควรจะใช้ dialogue ให้ถึง level 3 ให้ได้ เพราะถ้าถึง level 2 (I in It) ก็จะเกิดการถ่ายทอดงอกงามเฉพาะ "เนื้อหา contents และ logic" เท่านั้น เป็นเพียงระดับ open mind เท่านั้น

level 3 (I in You) จึงจะเกิดอีกสิ่งที่สำคัญในการสื่อสาร คือการงอกงามของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะเกิดการ open heart เราจะเห็นว่าในห้อง conferences หรือการคุยแบบ academic บางคนจะเน้นไปเลยว่าต้อง emotionless ไร้อารมณ์ อย่าเอาอารมณ์มาใช้ แต่  open heart นั้น เราเกิดอารมณ์เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญจริงๆต่อชีวิต ต่อ livelihood ต่อความสัมพันธ์ ต่อ well-being ของคนพูดและของคนที่เป็นที่รักของคนพูด พื้นที่ปลอดภัยจะเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการทลายสอง barriers คือ voice of judgment และ voice of cynicism

ที่นี้ที่ผมคิดว่าเราจะมี theme ไว้บ้างในการทำ dialogue ก็ไม่เสียหายอะไร (อาจจะไม่สุนทรีย์มากเท่ากับ "ไร้กระบวนท่า ไร้กรอบ") ก็ไม่ถึงกับเป็นกฏระเบียบ เข้มงวด แต่อาจจะทำให้ชีวิตของ "คนถอดความรู้" ง่ายขึ้นเยอะ มากกว่าการพยายามถอดเทป ถอดความรู้จากวง dialogue ชนิด fullblown freestyle (ซึ่งไม่มีใครถอดได้ เนื่องจากแต่ละคนจะได้ไปไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว)

การบันทึกการสนทนา เป็นนิสัยที่ดีที่ผมคิดว่าน่าจะขอแถมให้เป็นอุปนิสัยของคนไทยเรา การจดบันทึกเป็นการ review ประสบการณ์ เป็นการ reflect ความรู้สึกความคิด และเป็นการ "เกลา" ข้อมูล

โรจน์ครับ ผมเขียน OM ไว้ทั้งหมด 22 ตอนใน blog ผมอ่านดูแล้วคิดว่าเขียนไว้ครอบคลุมใช้ได้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีอะไรใหม่ อะไรเพิ่ม (ยกเว้นประสบการณ์ที่เริ่มงอก เร่ิม "มึน" อย่างที่พี่เต็มบอก)

OM ที่ผมเองชอบมากๆมีสามส่วนจากอีกหลายส่วน คือวิถีการตั้งวิสัยทัศน์แบบเน้นผู้รับประโยชน์ ความเป็น​ "อิทัปปัจจยตา" เพราะเชื่อในความซับซ้อนของปัจจัยในการเกิดผลใดๆ (direct partners vs strategic partners) และการเน้นที่พฤติกรรม ความสัมพันธ์ และศักยภาพของมนุษย์เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ มากกว่าตัวเลข มากกว่า output หรือ hardwares, reports, protocols etc ครับ

ตามท่าน Phoenix มาอ่านแบบมึน ๆ ครับ 

 

เคยเข้าที่โรงพยาบาลจัด มึนครับ

แล้วมีแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์อีกที่จะใช้ลงชุมชนอีก มึนไปใหญ่ครับ

OM เอาไปใช้กับชาวบ้านได้ไหมครับ

P

  • แนทไวจริงๆนะครับ
  • ของผมมันเชื่องช้า ตกหล่น
  • การบังคับตนเองให้รีบทบทวนมาเขียนบันทึก เป็นการช่วย สว.แบบผมให้มีอะไรจากการอบรมเหลือติดหัวมากขึ้น

P

  • ขอบคุณสกลมากครับ ที่ทำให้บันทึกนี้สมบูรณ์ขึ้นเยอะ
  • ใช้ DTAC aircard เป็นไงบ้าง ผมรู้สึกว่ามันช้ากว่ามือถือ แล้วก็หลุดเองบ่อยมากนะ ตอนอยู่ที่เมืองนนท์

P

  • วันนี้วิทยากรก็ย้ำอีกแล้วครับ ถ้าเริ่มมึน แสดงว่าใช้ได้แล้ว

P

  • สัมมนาครั้งนี้มีตัวอย่างทั้งโครงการที่ direct partner เป็นคนในหน่วยงานราชการ และ ชาวบ้านในชุมชน และ เราคุยกันว่า ทำงานกับชาวบ้านที่เข้ามามีส่วนร่วมในการนำแผนงานตั้งแต่ต้น จะประสบความสำเร็จและยั่งยืนครับ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพคนน่าน โครงการเครือข่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำปิง

ใช้มาสามที่คือที่สงขลา เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ค่อนข้าง OK ครับ แถวๆกรุงเทพมันขึ้น rate เป็นร้อย up kbps ที่ต่างจังหวัดค่อนข้างช้า แต่พอทนใช้ สำหรับหาดใหญ่มี broadband อยู่แล้ว เลยใช้แก้ขัดตอนฝนตก และ net ล่มตามปกติของมาตรฐาน ISO (ย่อมาจาก I tell you so....)

P

  • มันคงขึ้นกับสถานที่ด้วยนะ
  • ตอนนี้ที่ ดอนเมือง OK มากเลยทั้งความเร็วและความเสถียร แต่ที่เมืองนนท์เมื่อวาน ไม่ไหวเลย

ขอบคุณอาจารย์สกลครับ.....จะรีบไปอ่านด่วน

เอารูปในงาน ซึ่งช่างภาพหลายคนช่วยกันถ่าย เช่น พี่ปุ๋ย..นพ.กอปร์ชุษณ์​ ตยัคคานนท์ น้องโหน่ง..อลงกรณ์ สุวรรณเวช จากโครงการร้านอาหาร คุณวิชัย นิดคง จากเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพคนน่าน เป็นต้น

ภาพที่ก๊อปให้เต็มศักดิ์ มาจากกล้องพี่กับกล้องสคสครับ

ขอบคุณพี่ปุ๋ย..อาจารย์กอปรชุษณ์ครับ

ตกลงภาพทั้งหมดในบันทึกชุดนี้ได้จากกล้องของพี่ปุ๋ยกับทีมงาน สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) นะครับ

สำหรับของท่านอื่น ยังมีอีกมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท