การบริหาร (1) : การบริหารจัดการตนเอง


เพราะองค์กรนั้นเป็นที่ๆ ทำงานระหว่าง "คน" กับ "คน" ดังนั้น "ความไว้วางใจ" ซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หมดยุค "การขู่เข็ญบังคับ" ไปแล้ว.

หนังสือบางเล่มต้องรอผ่านประสบการณ์บางอย่าง และบางครั้งก็ต้องได้รับแรงบันดาลใจที่ดีเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าถึงสาระที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวหน้าที่ฉาบด้วยตัวอักษรได้

หนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน CLASSIC DRUCKER by Perter F. Drucker ตีพิมพ์โดย Harvard Business School Press มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "Classic Drucker สุดยอดปรมาจารย์ด้านบริหารจัดการ" โดยบริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด

 

 

 

เหมือนหนังสือหลายๆ เล่มที่ซื้อมาเก็บไว้แต่ยังไม่ได้ ก่อนจะได้มีโอกาสอ่านเล่มนี้อย่างจริงจังได้ผ่านประสบการณ์หลายชุดต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาส "ดูแล" บริษัทขนาดเล็ก (มากๆ) ที่ก่อตั้งขึ้นเองกับเพื่อนๆ และได้ประสบกับปัญหาการบริหารจัดการบางอย่าง และการได้มีโอกาสไปเข้าอบรมหลักสูตร New Public Management ที่เยอรมนีเมื่อเร็วๆ นี้ รวมไปถึงการได้รู้สิ่งที่อยากรู้ไปหมด (แต่อยู่นอกบริบทที่จำเป็นต้องใช้ -- แต่ก็ต้องรู้เพื่อทำความเข้าใจ) และกลับมาพิจารณาถึงสิ่งที่เคยคิดว่ารู้ดีแล้วในอดีต เช่นเรื่อง "กลยุทธ์" เป็นต้น

แต่นั่นก็ยังไม่พอ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ ผมได้มีโอกาสอ่านบทความ Guru สายพันธุ์ใหม่ (1) จากบล็อกของคุณ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย   ผมชื่นชมงานเขียนของพี่ธันยวัชร์มานานแล้วในไทคูน และอีกหลายๆเล่ม แต่ภายหลังได้พูดคุยกับพี่ธันยวัชร์โดยตรงมากขึ้น (ผ่านการจัดงานเสวนา iZen ที่เราเชิญนักคิดหลายๆ ท่านมาพบปะเสวนากัน -- หัวข้อล่าสุดที่พึ่งคุยกันไปคือเรื่อง "ว่าด้วยกลยุทธ์") จึงได้ทราบว่าพี่ธันยวัชร์มีความรู้ลึกซึ้งกว่าเฉพาะ ที่คนทั่วไปเห็นกันว่าพี่เขามีความถนัดในเรื่อง "การตลาด" เท่านั้น....

 

รวมทั้งผมไปค้นหาข้อมูลเรื่องของดรักเกอร์เพิ่มใน wikipedia เลยได้ทราบสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นด้วย :

The chapter "The Sickness of Government" in his book The Age of Discontinuity formed the basis of the New Public Management, a theory of public administration that dominated the discipline in the 1980s and 1990s.

อ้าวเราค้นหามานานว่า NPM ที่เราสนใจอยู่นั้นที่แท้ก็ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของดรักเกอร์นั่นเอง แบบนี้ยิ่งต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ทีเดียว เมื่อตั้งใจว่าจะอ่านแล้ว ด้วยความยากของหนังสือ จึงคิดว่าจะมา shortnote ไว้ในบล็อกนี้เมื่ออ่านแต่ละบทเสร็จ

บทแรกมีชื่อว่า "การบริหารจัดการตนเอง"

ดรักเกอร์พูดว่าผู้บริหารจะต้อง "รู้จักตนเอง" คือ เน้นจุดแข็งของตนเอง, ปรับปรุงจุดแข็ง, และตรวจสอบสิ่งที่เรามองข้ามไป (แต่จำเป็นต้องใช้มัน) รวมถึงการแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง

ต่อมาคือนักบริหารจะต้องรู้ว่า "เราทำงานอย่างไร" คือ 1. วิธีการรับข่าวสาร เราถนัดจะเป็น "นักอ่าน" หรือ "นักฟัง" 2. เราเรียนรู้อย่างไร เช่นโดยการจดบันทึก หรือ หาคนมาเล่าให้ฟัง และ 3 เราจะสร้างผลงานได้ดีที่สุดในฐานะใด ผู้ตัดสินใจ หรือ ผู้ให้คำแนะนำ/ปรึกษา

คำถามอื่นๆ เช่น เราทำงานได้ดีในภาวะแบบใด? เช่น ภาวะกดดัน หรือภาวะที่สมบูรณ์และคาดการณ์ได้? ทำงานองค์การใหญ่ หรือองค์การเล็ก? ตลอดไปจนถึง เรามีค่านิยมอย่างไร? (เราสบายใจที่จะทำงานในองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบไหน)

ต่อมาคือ เราเหมาะกับที่ไหน? ควรจะมุ่งมั่นทุ่มเทอะไรบ้าง? รู้จักการตั้งเป้าหมายซึ่ง มันจะต้องท้าทายต่อการบรรลุถึง, เปี่ยมไปด้วยความหมาย และ ผลลัพธ์นั้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ด้วย

อย่าลืมว่า การสื่อสาร สอบถามและหมั่นแบ่งปันข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งานในองค์กรไหลรื่นไปได้ และที่สำคัญ "น้ำใจ" เล็กๆน้อยๆ เปรียบเสมือนดั่งน้ำมันหล่อลื่นในการทำงานที่ดี

เพราะองค์กรนั้นเป็นที่ๆ ทำงานระหว่าง "คน" กับ "คน" ดังนั้น "ความไว้วางใจ" ซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หมดยุค "การขู่เข็ญบังคับ" ไปแล้ว

 

จดท้ายบันทึกไว้ว่า รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง เลือกองค์กร และบทบาทที่เหมาะกับความถนัดของตัวเรา  อย่าลืมเรื่องการสื่อสาร และความมีน้ำใจ

หมายเลขบันทึก: 314370เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นหนังสือเล่มโปรดของ ผมเลย


อ่านบ่อย ขีด จน ยับ ยู่ยี่


ดีมากๆ ถึงมากที่สุดครับเล่มนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท