สรุปงานวิจัย เล่ม 2


สรุปงานวิจัย

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา

 

ผู้วิจัย  นายโอภาส เจริญเชื้อ 

 

ปีที่วิจัย  พ.ศ.2546

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพื่อทราบระดับความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน ปีการศึกษา 2546

2) เพื่อทราบระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา ปีการศึกษา2547 และ

3) เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา

 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จำนวนทั้งสิ้น 774 คน ดังต่อไปนี้

จำนวน (คน)

ระดับชั้น                             ชาย                       หญิง                            รวม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1            82                          94                          176

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2            76                          69                          145

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3            64                          77                          141

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4            57                          55                          112

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5            28                          50                          78

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6            55                          67                          122

รวมทั้งสิ้น                           362                          412                           774

 

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3,4, 5, และ 6 ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ เคร็จซี่ มอร์แกน (Krejcie Morgan)39 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 255 คน ซึ่งผู้วิจัยได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามระดับชั้นของนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ โดยมีขั้นตอนการสุ่ม ดังนี้

1. แบ่งกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามระดับชั้นของนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่

2. กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละระดับชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างตามตารางที่ 5 ดังนี้

จำนวน (คน)

ระดับชั้น                                            ประชากร      กลุ่มตัวอย่าง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                        176                       58

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                        145                       48

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3                        141                       46

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4                        112                       37

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                        78                          26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                        122                       40

รวมทั้งสิ้น                                         774                       255

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไป จำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย เพศ วุฒิการศึกษา อายุ อาชีพ รายได้ของผู้ปกครองต่อเดือน ที่อยู่ของผู้ปกครอง ความเกี่ยวพันกับนักเรียน และระดับชั้นที่นักเรียนกำลังเรียนอยู่ โดยมีลักษณะเป็นตัวเลือกที่ผู้วิจัยกำหนดให้

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียนรวม 12 มาตรฐาน38 ตัวบ่งชี้ จำนวนทั้งสิ้น 38 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสร้างจากตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ ของ ไลเคอร์ท (Likert’s rating scale)การให้ระดับคะแนนในแต่ละข้อกระทง กำหนดเป็นค่าคะแนนไว้ดังนี้

ระดับ 5 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ให้มีน้ำหนักเท่ากับ 5 คะแนน

ระดับ 4 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ให้มีน้ำหนักเท่ากับ 4 คะแนน

ระดับ 3 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง ให้มีน้ำหนักเท่ากับ 3 คะแนน

ระดับ 2 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน อยู่ในระดับน้อย ให้มีน้ำหนักเท่ากับ 2 คะแนน

ระดับ 1 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน อยู่ในระดับน้อยที่สุด ให้มีน้ำหนักเท่ากับ 1 คะแนน

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามลักษณะปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา

 

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. จัดประชุมคณะครูทั้งโรงเรียนในวันที่ 24 มีนาคม 2546 ชี้แจงทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือจากครูที่ปรึกษาทุกระดับชั้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2. ครูที่ปรึกษา นำแบบสอบถามมอบให้ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตอบในการประชุมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน วันที่ 31 มีนาคม 2546

3. ครูที่ปรึกษารวบรวมแบบสอบถามที่ผู้ปกครองนักเรียนกรอกเรียบร้อยแล้ว ส่งคืนผู้วิจัย ในวันที่ 4 เมษายน 2546

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อได้รับข้อมูลกลับคืนมา ผู้วิจัยนำมาพิจารณาตรวจสอบแบบสอบถาม เพื่อคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ นำมาจัดระบบ ลงรหัสและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมเอกเซล (Excel)

 

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

1. เพื่อหาสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ (f) และค่าร้อยละ (%)

2. เพื่อหาค่าความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน

ใช้ค่าเฉลี่ย (X ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตาม

แนวคิดของเบสต์ (Best) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51–5.00 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.51–4.50 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมาก

ค่าเฉลี่ย 2.51–3.50 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.51–2.50 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับน้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00–1.50 หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนมีความคาดหวังต่อมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับน้อยที่สุด

3. สำหรับคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั่วไป เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

 

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผู้ปกครองนักเรียน มีความคาดหวัง ที่ต้องการให้นักเรียนปลอดจากสารเสพติดให้โทษ และสิ่งมอมเมา ให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ และให้นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตอยู่ในระดับมาก

2) ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เกี่ยวกับการที่นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครูที่ปรึกษาอย่างดี การที่ครูมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ “สอนดี มีระเบียบ เพียบคุณธรรม นำสังคม” โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปถึงผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก

3) โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

หมายเลขบันทึก: 314242เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

โห พี่ยุทธ แน่นอนจริง ๆ เล่ม 2 ขึ้นแล้ว ไวไฟจังเลยพี่ ผมกำลังจะตามนะครับ

ขยันจัง.....ทำเล่ม2 แล้ว ไม่รอน้องบ้างเลยนะ....สองสัปดาห์/เล่ม ไม่ใช่เหรอ อย่างนี้ความรู้วิจัยก็แน่นเลยสิ.....อิอิ

ยอดเยี่ยมมากพี่ท่าน สรุปได้ดีมากๆครับ ผมตามท่านมาแล้วนะครับ

พี่ยุทธ ผู้วิจัย นามสกุลเดียวกับผอ. โรงเรียนมัธยมหนูเลยแฮะ

พี่ยุทธทำงานเสร็จก่อนเพื่อนตลอดเลยนะ ขยันจริงๆ นับถือ นับถือ

555 ในที่สุดก็เจอแล้ว ตามมาให้ทันนะค่ะ เล่ม 3

ผมตอบคำถามพี่ยุทธให้แล้วนะครับ อิ อิ

งานวิจัยเรื่องที่ 3 เมื่อไรจะคลอดจ๊ะ นุสรุปเรื่องที่ 4 แล้วนะ

น้อง ๆ ครับ พี่แก่แล้ว หูตาไม่ค่อยดี ไม่ได้ง่วงนอน...ทำอะไรก็ช้าไปหมด ยังไงก็รอพี่บ้างนะครับ

พี่เรื่องที่ 3 แล้วนะ คืนนี้กะว่าจะลงเรื่องที่ 4 ตามพี่ให้ทันก็แล้วกัน

แล้วทำไมคนแก่ เวลาเรียน และทำข้อสอบได้คะแนนมากกว่าเด็กๆละคะ

คนเก่งส่วนมากจะละเอียด รอบคอบเสมอ อ่านแล้วเข้าใจจริง ๆ งานก็เลยช้า

ใช่ไหมพี่ยุทธ

สงสารพี่ยุทธจัง มีแต่คนชม อิอิ ผมไม่ชมนะพี่ เพราะ คงได้เยอะแล้ว เล่ม 3 คลอดเมื่อไรพี่ รออ่านอยุ่ครับ

ขอบคุณครับทุก ๆ คน...กำลังหัดพิมพ์ดีดอยู่..รอ ๆ กันบ้างนะครับ

ส่งงานวิจัยครบแล้วรึคะ รอๆกันหน่อยนะ

ผลการวิจัยพบว่า

  • ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เกี่ยวกับการที่นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครูที่ปรึกษาอย่างดี การที่ครูมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ “สอนดี มีระเบียบ เพียบคุณธรรม นำสังคม” โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปถึงผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก

มีเรื่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ด้วย...ผมสนใจเรื่องนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท