เรื่องน่ารู้เกี่ยวกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานในมหาวิทยาลัย


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานในมหาวิทยาลัย

                                    กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

         กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  เป็นการระดมเงินจากทั้งลูกจ้างและนายจ้างเข้าเก็บไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และจะจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานโดยปกติและไม่กระทำผิดต่อนายจ้าง  โดยยึดหลักลูกจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนฯเท่าไร  นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบให้ไม่น้อยกว่าที่ลูกจ้างจ่าย  เงินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ระดมได้จะต้องให้ บลจ. บริหารงาน  หากเกิดดอกออกผลจะต้องนำผลนั้นคืนสู่กองทุนและกองทุนนำจ่ายคืนสมาชิกเมื่อสมาชิกออกจากงาน

         การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ   ต้องจัดตั้งตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และต้องจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะสามารถตั้งได้ โดยในกฎหมายการก่อตั้งกองทุนถ้ามีวงเงินในกองทุนต่ำกว่า 100 ล้านบาท  จะต้องตั้งเป็นกองทุนรวมที่มีอยู่แล้วและมีคณะกรรมการกองทุนบริหารจัดการอยู่แล้ว  คณะกรรมการกองทุนฯเพียงแต่ตัดสินใจว่าจะไว้ใจเลือกลงทุนและให้กองทุนใดเป็นผู้บริหารจัดการ   แต่ถ้าหากวันหนึ่งมีวงเงินในกองทุนสูงกว่า 100 ล้านบาท จึงจะสามารถตั้งเป็นกองทุนที่ใช้ชื่อของตนเอง บริหารจัดการเองได้

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทแรกเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบเต็มตัว คือต้องมีเงินหมุนเวียนในกองทุนนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท  และอีกประเภทคือกองทุนแบบรวมกลุ่ม  คือกองทุนฯนั้นมีเงินหมุนเวียนไม่ถึง 100 ล้านบาท  โดยหลักการก็คือ  เมื่อจดทะเบียนกองทุนแล้วก็มอบหมายให้บริษัทจัดการหลักทรัพย์ (บลจ.) นำเงินจากองทุนไปบริหารจัดการให้เกิดผลตอบแทน  นำผลตอบแทนนั้นกลับมาแบ่งปันให้สมาชิก

ข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มีข้อดีเกี่ยวกับการออมหลายประการ กล่าวคือ

  1. 1.        เป็นนิติบุคคลแยกจากมหาวิทยาลัย

           เป็นการจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ที่มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในฐานะนายทะเบียนกองทุนเป็นผู้กำกับดูแล

  1. 2.       สมัครใจและมีตัวแทน

           พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ จะต้อง เป็นการสมัครใจ และมีตัวแทนจากการเลือกตั้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกับผู้ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งในการกำหนดนโยบายและบริหารกองทุนฯ

  1. 3.       มีมืออาชีพจัดการ

           ในการบริหารจัดการกองทุนจะมีการแต่งตั้งบริษัทจัดการที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจาก ก.ล.ต. ทำหน้าที่ เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการเงินทุนตามสัญญาที่มีการแต่งตั้งเป็นคราว ๆ ไป

4.  ลงทุนหลากรูปแบบ ผลประโยชน์หลายทาง

           ผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับ จะเกิดจากการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนร่วมกับผู้จัดการกองทุนตกลงกัน ซึ่งจะมีผลตอบแทนหลากหลายมากกว่าที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว

5. มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี

           สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี กล่าวคือ มีสิทธิ์ นำยอดเงินสะสมที่ถูกหักมาลดหย่อนภาษีเงินได้ปลายปีได้ และในกรณีที่ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี

6.  เปลี่ยนงานย้ายกองทุนได้

           สมาชิกกองทุนฯ สามารถโอนย้ายกองทุนในกรณีที่ย้ายงานได้ หรืออยู่ระหว่าง
รองานใหม่ โดยสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้ 1 ปี

7.  สมาชิกเลือกนโยบายการลงทุนเองได้

           คณะกรรมการกองทุนฯ อาจกำหนดนโยบายลงทุนมากกว่า 1 นโยบายที่ให้พนักงานที่เป็นสมาชิกเลือกได้เองตามความสมัครใจและความต้องการได้

8.  มีความมั่นคงปลอดภัย

           นอกจากมีการกำกับดูแลโดย ก.ล.ต. และการบริหารจัดการโดยบริษัทจัดการมืออาชีพแล้วการรับฝากทรัพย์สินของกองทุนฯ ยังต้องดำเนินการโดยอีกบริษัทหนึ่ง จึงมีการตรวจสอบซึ่งกันและกันตลอดเวลา

                                      ****************

หมายเลขบันทึก: 314042เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท