SHA_ภาคกลาง:ปราณีตและยั่งยืน 3


SHA คืออะไรกันแน่

P00001

11 พย 52  :  SHA  Forum ภาคกลาง

     เช้าวันนี้  SHA  ยังหอมกรุ่นน่าสนใจอยู่  วันนี้วันสุดท้ายแล้ว  ที่ฉันต้องนำบ้าน SHA ขึ้นมาโพสต์อีกครั้งก็เพราะ  ฉันแปลและตีความหมายเอาเองว่า บ้านSHAน่าอยู่  บ้านน่าอยู่สีชมพูหลังนี้ถูกสร้างด้วยความรักความเข้าใจ และความตั้งใจที่จะทาสีชมพู  ภายใต้ความฝันและความหวัง (Dream 4S) ใส่รายละเอียดเข้าไป (Content 3H)  ด้วยกรรมวิธีของ (Method 2A)  เพื่อให้บ้านหลังนี้คงทนและอยู่การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป

       4S (Safety,  Spirituality,Sustainable,Suff.Eco) เพิ่มมา 2S = Safety & Suff.Eco

       3H (Humanized Healthcare, HPH, HA)

       2A (Appreciation, Cccreditation)

     เช้าวันนี้พวกเราต้องรวมกันทั้งหมดที่ Grand Hall  เพื่อรับฟังการบรรยายแบบเทพๆ  ภายใต้หัวเรื่อง    นักวิจัยชั้นเทพ  บรรยายโดย ดร.นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  จาก สวสส. (สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ)  อาจารย์ยังเล่าและบรรยายได้สนุกสนานเช่นเดิม  ถึงบทซึ้งก็ทำเอาทั้ง Hall  เงียบกริบได้เช่นกัน ถึงคราวเศร้าและจริงจังในชีวิต ทำเอาฉันน้ำตาซึมได้เช่นกัน  อาจารย์ยังเน้นย้ำอยู่เสมอ ถึงการเหลาประเด็นให้แหลมคม  ได้ฟังการบรรยายของอาจารย์และรู้สึกการทำวิจัยเป็นเรื่องไม่ยาก  และอยากทำจริงๆ  และหลังจากได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ในห้องวิจัย  ความปรารถนาของอาจารย์ยังอยากให้ทุกคนทำงานวิจัยได้  และมองว่าไม่เป็นเรื่องยาก  ใครก็ทำได้   

อ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์

     หลังจากที่อิ่มในอาหารสมองแบบเทพๆ  ของ อ.โกมาตร  แล้วขอเติมคาเฟอีนให้กับกระแสเลือดสักเล็กน้อยก่อน  เพื่อเตรียมตัวเข้าใน Session ต่อไป  ซึ่งแบ่งเป็น 4 Session ด้วยกัน

     Session I : จากสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้...สู่สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา : SPA ENV  โดยเจ้าพ่อ ENV เขาเลยล่ะค่ะ  อ.โกเมธ  นาควรรณกิจ  วิทยากรจาก สรพ. ผู้เคยมาเยี่ยมเยียนที่ รพ.แก่งคอยหลายรอบมากจนอาจารย์บอกว่าหลับตาเดินได้เลย  รู้ความเป็นไปและเป็นมาเกี่ยวกับงาน ENV ของ รพ.แก่งคอยเป็นอย่างดี  และวิทยากรอีกท่านหนึ่ง  อ.โกศล  จึงเสถียรทรัพย์  ท่านนี้ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย  เห็นนามสกุลถึงบางอ้อ(ทราบมาภายหลัง)  น้องชายสุดหล่อของ อ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์นั่นเอง

ซ้ายสุด อ.โกมาตร  ขวาสุด อ.โกศล ติดกับ อ.โกเมธ

     Session II : SPA I  ก็ต่อยอดมาจาก Self Assessment I  หรือในส่วนการนำ  หรือตอนที่ 1  ตามมาตรฐานใหม่นั่นเอง  บรรยายโดย นพ.สมจิตต์  ชี้เจริญ (ENT)  จาก รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  และ  พญ.ปิยวรรณ  ลิ้มปัญญาเลิศ (GYN) จากสถาบันบำราศนราดูร

Book4

     Session III : SPA II  ต่อยอดมาจาก ตอนที่ 2  ของมาตรฐานใหม่  เกี่ยวกับระบบงานที่สำคัญ  นั่นเอง บรรยายโดย อ.ผ่องพรรณ  ธนา จาก สรพ.,  ภก.ผุสดี  บัวทอง จาก สรพ., และ พญ.วรรณา  ศุภศิริลักษณ์

     Session IV : SPA III  มาจาก Self Assessment III  หรือ  ตอนที่ 3  กระบวนการดูแลผู้ป่วยในมาตรฐานใหม่  บรรยายโดย  อ.เรวดี  ศิรินคร จาก สรพ.,  นพ.สุรชัย  ปัญญาพฤทธิ์พงศ์  จาก รพ.มหาราชนครราชสีมา  และ อ.จักษณา  ปัญญาชีวิน  จาก สรพ.

Book5

     เห็นแต่ละ Session แล้วต้องขอบอกว่า  ไม่เพียงแค่ รักพี่เสียดายน้อง  หรอกค่ะ  แต่ฉันรักทั้งหมดและเสียดายทั้งหมดเลยถ้าไม่ได้เข้าฟังห้องไหน  แต่ด้วยระยะที่ถูกกำหนด,  Memory  ในหัวที่มีจำกัด  พวกเราต้องแบ่งแบบ Assign กึ่ง consensus ว่าใครจะเข้าห้องใด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในความรับผิดชอบที่ต้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้  และพวกเราต้องเป็นตัวแทนนำไปสื่อสารและขยายผลให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบ

     ฉันเลือกเข้า Session II  ทั้งที่ฉันไม่ได้อยู่ทีมนำ (Lead team) ของโรงพยาบาล  เพราะไม่มีใครเลือก  ฉันต้องยอมเพราะฉันมันคน “พันธุ์คุณภาพ” ขอให้พี่น้องได้เลือกในหัวข้อที่ชอบและถนัดไปก่อน  เมื่อเดินสำรวจในแต่ละห้องแล้วพบว่า Session IV มีคนมากสุด  ทำให้เดาเอาว่า “กระบวนการดูแลผู้ป่วย” ยังคงที่ที่น่าสนใจใน Forum หนนี้

     ฉันก้าวเข้าห้องประชุมอย่างมาดมั่น  โดยเลือกนั่งแถวหน้าสุด  ด้วยสายตาอำนวยให้ฉันได้แค่นั้น  ที่ฉันจะไม่ต้องทรมานสายตาตัวเอง  อีกอย่างฉันต้องการเก็บทุกรายละเอียดเวลาวิทยากรได้บรรยาย  การจดบันทึกขณะนี้อาจเป็นอุปสรรคสำหรับฉัน  ไหนจะต้องก้มเงยจดบันทึก  ไหนจะต้องดูภาพประกอบการบรรยาย  เดี๋ยวนี้มีเครื่องทุ่นแรงในการจำแล้วนี่  ฉันจึงไม่พลาดในการที่เก็บภาพประกอบการบรรยายของอาจารย์ที่จอ Monitor ด้วยกล้องอัตโนมัติ อัตโนมือตัวโปรดของฉัน,  ฉันจึงเลือกจดแต่ประเด็นที่สำคัญเท่านั้น  แถมยังบันทึกเสียงการบรรยายของอาจารย์  เพราะอาจารย์ไม่ได้บอกข้อห้ามของการเข้ารับฟัง  ถึงห้ามฉันก็คงแอบบันทึกอยู่ดี 555   ซึ่งได้อะไรเยอะมากในห้องนี้  ถ้าอาจารย์ไม่สงวนลิขสิทธิ์ฉันก็อยากนำไฟล์เสียงที่บันทึกไว้ตลอด 2 ชั่วโมงมาแบ่งปันให้พี่น้องและผองเพื่อนได้ฟังกัน  เพื่อจะได้นำความรู้ไปพัฒนางานของพวกเราต่อไป  ซึ่งใน Session นี้ที่เข้าไปฟังพอสรุปได้ดังนี้

  • SPA  ที่ย่อมาจาก StandardPractice  และ  Assessment

     ต้องเข้าใจว่ามาตรฐานมีเป้าหมายอย่างไร  ใช้ให้เหมาะกับบริบท  เน้นความสมดุลและพอเพียง 

     S :  เป็นแค่เพียงกรอบความคิดใช้อย่างพอเพียงและถูกต้อง 

     P : ต้องนำสู่การปฏิบัติจริง  ไม่จำเป็นทำทุกกิจกรรม  เลือกแค่ที่เหมาะสมกับบริบทของเรา

     A :  ประเมินผลการปฏิบัติตามบริบท ต้องตอบผลลัพธ์ของมาตรฐานที่เกิดจริง  บอกการเปลี่ยน  หรือบทเรียนที่เกิดขึ้นจริง  หรืออิงการวิจัย

SHA  ด้านการนำองค์กร  อาจารย์กล่าวว่า  คนอยู่ร่วมกันมี 3 อย่าง คือ  การอยู่ให้รอด  อยู่ร่วม  อยู่อย่างล้ำค่า   นำสู่ความยั่งยืนและงดงาม

     การอยู่รอด  :  ถ้าผู้ป่วยปลอดภัย  เราปลอดภัย  โรงพยาบาลก็ปลอดภัย

     อยู่ร่วม : เรื่องของจิตวิญญาณ  และความงดงาม

     ยั่งยืน : อยู่อย่างมีความหมาย  เรียบง่าย  คุ้มค่า  เห็นประโยชน์ร่วมกัน  ทุกๆตัวของ SPA  จะมี SHA สอดแทรกอยู่ในมาตรฐานแทบจะทุกตัวอยู่แล้ว  ไม่ว่าจะเป็น Safety,  Spirituality,  Sustainable หรือ Appreciate 

 

วานนี้ได้คุยกับน้องนักศึกอยากทำสัมมนา  เรื่อง SHA 

     ปุจฉา ของน้อง นักศึกษา ป.โท (การบริหารการพยาบาลของ จุฬาฯ) : SHA คืออะไรกันแน่  มีแนวคิดทฤษฎีอะไรบ้าง

     วิสัชนา : ได้คุยกับน้องๆบางส่วนแล้ว  และต่อยอดความคิดหรืออาจเป็นคำตอบให้น้องๆไปทำสัมมนาได้ ที่นี่นะคะ คำตอบของ SHA 

พักสายตา มองไปที่...หาดกะรน หลังพักฟื้นจากสึนามิ อีกมุมหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #sha coference and contest
หมายเลขบันทึก: 314020เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 02:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ SHA รพ.แก่งคอย อันดับแรกต้องขอบพระคุณ อย่างสูง ที่ไปรับรู้สิ่งดีๆมาแล้ว นำมาบอกกล่าว เล่าเรื่อง แบ่งปัน แจกจ่าย ขยายผล ทำให้คนทำงานด้านคุณภาพมีความชัดเข้าใจ หัวใจของคุณถาพ ผมมีความคิดอยู่อย่างหนึ่ง คือการทำงานต้องมีความสุข ความจริงเชิงประจักษ์ ผมมีความสุขที่ได้ลุกขึ้นมาเติมอาหารสมองยามดึก กับHSAแก่งคอย(ชาถ้วยนี้ คืนนี้ จิบอย่างละเลียด ได้รับความหวามที่ปลายลิ้นค่อยลื่นไหลลงสู่ลำคอเข้ากระเพาะ ส่งผลไปสู่เส้นเลือดและสมอง ทำเกิดกำลังวังวา และปัญญาในการพัฒนาคุณภาพ) สุขไม่เสแสร้งครับ

สวัสดีค่ะท่านPวอญ่า 

คิดเหมือนกันเลยค่ะ  ชีวิตนี้สั้นนัก  เราต้องมีความสุขกับปัจจุบันและแบ่งปันถึงเพื่อนร่วมโลก

ถ้าเราไม่อยากเหนื่อย เร้าต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ให้ทุกคนรู้เท่าทันกัน  แบ่งปันกัน  แล้วพวกเราก็ทำงานไปพร้อมกันอย่างมีความสุข  ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เพื่อพัฒนางาน  พัฒนาองค์กร  และให้บ้านของเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยที่น่าอยู่  น่ามอง 

เข้าใจว่าท่านวอญ่าคงอยู่บุญดึกเมื่อคืนนี้  ดึกๆเช่นนี้บางทีทำให้เราได้คิดและทบทวนหลายสิ่ง  หลายอย่าง  เหมือนจะมีสมาธิยิ่งนัก

นอกจากนี้ นพ.สมจิตต์  ชี้เจริญ  ท่านยังบอกนะคะว่า  อาชีพของพวกเราได้ทำงานและได้ทำบุญไปด้วย  จงมีความสุขกับงานที่ทำ

ขอให้ท่านวอญ่ามีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะคะ

ชื่นชมความมุ่งมั่นของบุคลากรสาธารณสุขมากครับ

มีโอกาสจะขอเข้าไปร่วมเรียนรู้ที่โรงพยาบาลนะครับผม

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจทีมงาน SHA ทุก ๆ ท่าน
  • ขอบคุณสำหรับกิจกรรมดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

       P ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

       P บุษรา

 ขอบคุณทุกท่านที่มาให้กำลังใจค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

ขอเป็นกำลังให้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องต้นเฟิร์น ขอบใจมากจ้า ที่มาเยียมกัน

ขอให้มีความสุขกับการเรียนนะคะ

แวะมาเยี่ยมครับ

อ่านบันทึกนี้ แล้วเข้าใจ "ชา" ขึ้นเยอะเลยครับ

ขอบคุณค่ะหนานเกียรติ ที่บันทึกนี้ทำให้ หนานเกียรติเข้าใจ "ชา" มากขึ้น

ถ้าหนานเกียรติได้มีโอกาสตามไป SHA บ่อยรับรอง เข้าใจอย่างลึกซึ้งเลยค่ะ

สวัสดีคะ

มาให้กำลังใจคะ

SHA สู้ๆๆๆ

คิดถึงนะคะ

สวัสดีค่ะพี่....

คิดถึง คิดถึง

ขอบคุณสาระดีๆที่นำมาเล่าสู่กันนะคะ

เพียบเลย...

เขียนอีกนะคะ

สวัสดีค่ แม่ต้อย P

ขอบคุณค่ะกำลังใจจากแม่ต้อยทำให้มีพลังมากเลยค่ะ

แม่ต้อยยังเหลือ SHA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้  เดินทางปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรงนะคะ

หวัดดีจ้าน้องอัจ P

ความจริงอยากเล่าอีกนะคะ  แต่ลืมไปว่าเหลืออีก 2 ภาค  เดี๋ยวจืดก่อน อิอิ

ไว้ให้น้องอัจมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ  สุดท้ายที่ภาคใต้  ห้องที่ยังไม่ได้เข้าอยากฟังค่ะ

คิดถึงนะคะ

กาแฟดีกว่า อร่อยกว่าชา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท