การเตรียมตัวของครูชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ1ต.ค.2552


ครูชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์ยุคใหม่

เรียนครูวิทยาศาสตร์ที่รัก

    ห่างหายไปนานเนื่องจากมีงานทำหลังเกษียณราชการมากๆๆๆๆ................ ทำให้ตั้งตัวยังไม่ติดพอมีเวลา หลังจากไปเป็นวิทยากรให้ครูเทศบาลวัดพวกช้าง และเทศบาลวัดเกตการามเรื่อง การเตรียมตัวของครูที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อน    วิทยะฐานะ ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการใหม่ ตั้งแต่ 1       ต.ค.2552 เป็นต้นไป

    มีข้อสังเกตมาฝาก ดังนี้ค่ะ
           1) ศึกษาข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชาติ ในชั้น ป.3, 6, ม.3,6 และทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการสอบ O-Net, NT และรวบรวมข้อมูลชั้น/กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่สอน ย้อนหลัง 3 ปี (รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา)

           2) สรุปปัญหาของผู้เรียนจากการวิจัยในชั้นเรียนด้านการพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา

           3) ศึกษา/Review Literature การสร้างสื่อ/นวัตกรรม/บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย/สื่อประสม ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาผู้เรียน

           4) สร้างสื่อ/นวัตกรรม/บทเรียนคอมพิเตอร์มัลติมีเดีย/สื่อประสม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาการนำไปทดลองใช้ (Try out) การหาคุณภาพ/ประสิทธิภาพของเครื่องมือและสื่อ/นวัตกรรม........

           5) นำไปใช้กับประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง เลือกใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง

           6) วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษจัดทำรายงานการใช้นวัตกรรม........ก็น่าจะเพียงพอ

           7) วิทยะฐานะครูเชี่ยวชาญจัดทำ 1.รายงานวิจัย 1 เรื่อง (ไม่ควรทำรายงานการประเมินโครงการ......เพราะการทำโครงการผู้จัดทำต้องประเมินอยู่แล้ว...เมื่อทราบผลก็ไม่ได้กลับไปทำอีก..........ผลเกิดกับผู้เรียนค่อนข้างน้อย) และควรยึดระเบียบวิธีวิจัยของสถาบันใดสถาบันหนึ่งเป็นแนวทาง 2.รายงานการใช้นวัตกรรม ภาคผนวก ควรเพิ่ม...ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลงานของผู้รายงาน ผลงานของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการนำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้ อาจเป็นผลงาน หรือรูปภาพกิจกรรมที่สามารถสื่อความหมายได้

           8) ความน่าเชื่อถือของผลงานทางวิชาการที่สำคัญยิ่ง..........คือการเลือก
ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/รายงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนอย่างน้อย 5 คน (ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เราทำจริง ๆ อาจเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย /สถาบันทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล เป็นต้น)

       สรุป สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ..........การทำผลงานไม่ได้มุ่งที่การเลื่อนวิทยะฐานะ...ในวิชาชีพ.....เพิ่มรายได้.......แต่ต้องเป็นผลงาน "เชิงประจักษ์" ที่เกิดจากผลการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง..........และผลการประเมินระดับชาติ.......จะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการประเมินผลงานทางวิชาการของครูวิทยาศาสตร์.....

       ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน... ท่านต้องมีความมุ่งมั่น  ตั้งใจ  ทุ่มเท เพื่อลูกศิษย์  อย่างเต็มกำลังความรู้  เต็มความสามารถ เต็มเวลา.....ส่วนการพัฒนาตนเองใช้เวลาที่บ้าน วันหยุด แบ่งเวลาให้ได้ วันละ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน (ทำทุกวัน) เพียงพอแล้ว.......ไม่ได้อะไรที่ได้มาโดยง่าย...........แต่ก็ไม่ยากเกินที่จะไขว่คว้า........ศึกษานิเทศก์ทุกคนเป็นเพื่อนที่แสนดีของครูเสมอค่ะ....................                    

 

หมายเลขบันทึก: 313713เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท