เรื่องดีที่ มวล: สัมมนาแปลงแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (๒)


Strategic Planning Model ประกอบด้วย Assessment, Baseline, Components, Down to Specifics และ Evaluate ได้อักษรย่อ A, B, C, D, E พอดี

ตอนที่

ภาพอนาคตของ มวล. อธิการบดีบอกว่าไม่กล้าพูดด้วยตัวคนเดียว ณ วันนี้มีหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีบทบาทให้เราเลือกอนาคต เช่น สตง. กพร. สมศ...ต้องเอาเรื่องพวกนี้มาพิจารณาภาพในอนาคตของเราด้วย

พันธกิจการผลิตบัณฑิต
มหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าความเจริญ บัณฑิตต้องมีคุณภาพ สิ่งที่เราทำได้คือคุณภาพการเรียนการสอน อยากเห็นภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

คุณภาพคณาจารย์ อาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีกองทุนพัฒนาบุคลากรมารองรับ ให้เวลาอีก ๒-๓ ปี คาดว่าอาจารย์จะมีผลงานทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยเฉพาะปริญญาตรี ถ้าจะมีเพิ่มต้องมองความต้องการของประเทศชาติเป็นสำคัญ

พันธกิจด้านการวิจัย
การที่มีอาจารย์คุณวุฒิ ป.เอก เพิ่มขึ้น ไม่ได้การันตีว่าจะสอนดีหรือทำวิจัยได้ ตอนนี้พ้นยุค Promotion แล้ว อยากเห็นอาจารย์โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่ง รศ. ไปสร้างชื่อเสียง แข่งขันเอาทุนวิจัยจากภายนอก ทุนภายในเอาไว้ให้อาจารย์ และ ผศ. อยากเห็นผลงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ไม่อยากเห็นภาพการทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเดียว เพราะ มวล. มีอะไรเบื้องหลังอยู่มากมาย อยากให้ความสำคัญกับการวิจัยประยุกต์ด้วย วิจัยที่ใช้ประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นและก้าวเลยไปถึงงานวิจัยที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมหาวิทยาลัย....จะบริหารทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไรให้เกิดมูลค่ากับมหาวิทยาลัย

พันธกิจด้านการบริการวิชาการ
ขณะนี้ยังไม่พอใจกับพันธกิจด้านนี้ของมหาวิทยาลัย อยากให้ศูนย์บริการวิชาการทำหน้าที่ให้บริการกลาง ทำอย่างไรจึงจะให้คนใช้บริการอยากไปใช้บริการ คนทั้ง ๒ ด้านต้องเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน ทำงานร่วมกันบนโต๊ะ ไม่ใช่ใต้โต๊ะ

พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาให้พร้อมสำหรับการเป็นแหล่งรวม....ระดับชาติ อยากให้ไปถึงระดับสากล ไม่ใช่ทำงานเพียงเชิงประเพณี ถ้าทำได้เข้มแข็งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน

หน่วยงานที่รองรับงานต่างๆ ต้องเป็นหน่วยประจำ ไม่ใช่โครงการ จากภาพของพันธกิจ มีคนที่เกี่ยวข้อง ๒ กลุ่มใหญ่คือ

  • พนักงานของ มวล. ประเมินว่ามีถึง ๘๐% ที่รักมหาวิทยาลัย ทุ่มเท ทำงานหนัก มีงานหลายอย่างที่ทำแล้วเกิดผลดี ทั้งที่เป็นที่รู้หรือไม่เป็นที่รู้ คนทำงานหนัก ฝ่ายบุคคลต้องปรับและพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้เหมาะสม เรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต้องเข้มข้น ขณะเดียวกันพวกเราก็ต้องช่วยกันด้วย ไม่อยากเห็นบรรยากาศก่อน ๐๘.๓๐ น. เงียบเหงา พอ ๑๖ น. ก็เตรียมตัวกลับบ้าน
  •  ผู้บริหารวิชาการ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญ ในระยะพัฒนาเริ่มต้นจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก แต่ต่อไปต้องอาศัยคนในเพราะเข้าใจเรื่องราวความเป็นมา ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรภายในให้เป็นผู้บริหารได้จึงจำเป็น คนที่จะเป็นผู้บริหารวิชาการไม่ใช่เฉพาะอาจารย์ ใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติ ต่อไปควรรบกวนผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเฉพาะด้านวิชาการและทักษะบางอย่าง

ลักษณะเฉพาะของ มวล. ที่ต้องยังคงไว้คือหลักของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หลักของการรวมบริการประสานภารกิจ ต้องทำความเข้าใจว่าไม่ใช่บริการจุดเดียว เร็วๆ นี้จะมีหนังสือเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับออกมา

อนาคต มวล. ในภาพรวมต้องเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ขนาดกะทัดรัด มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ.....................วิสัยทัศน์ที่กรองไว้ดีแล้ว

เวลา ๑๕.๒๕ น. หลังพักรับประทานอาหารว่าง ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา อธิบายและให้โจทย์เพื่อให้พวกเราร่วมกันคิด สร้าง commitment อธิการบดีได้วาดภาพใหญ่ในทุก ๆ พันธกิจ จะถอดออกมาให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เอาไปปฏิบัติได้ ให้คิดว่าเวลาที่เสนอแผนงบประมาณ กิจกรรมที่จะทำนั้นตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ไหน.....ถ้าให้ทุกหน่วยงานต่างมีแผนกลยุทธ์ของตัวเอง จะเป็นอย่างไร

ดร.กีร์รัตน์ กล่าวถึง WU Planning Model ว่า Strategic Planning Model ประกอบด้วย Assessment, Baseline, Components, Down to Specifics และ Evaluate ได้อักษรย่อ A, B, C, D, E พอดี สิ่งที่อยากได้ในขั้นตอน D คือ Action plan ของทุกหน่วยงาน ต่อจากนั้นอธิบายเรื่องเป้าหมายและวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์แต่ละข้อจะมีตัวชี้วัดอะไรและจะตั้งเป้าหมายรายปี (Target) อย่างไร แต่ละหน่วยงานจะมา share target สักเท่าไหร่ จากวัตถุประสงค์ ต้องมีแผนงานโครงการ (Initiatives) ซึ่งเป็นแผนงาน/โครงการในเชิงพัฒนา ไม่ใช่งานประจำ และ Action plan ที่หน่วยงานเสนอ

WU Planning Model มี ๓ ระดับคือระดับมหาวิทยาลัย ระดับพันธกิจ (Strategic Development Plan) และระดับหน่วยงาน ทุกหน่วยงานจะมี Strategic Action Plan ที่สอดคล้องกับ Strategic Development Plan ไม่ใช่แผนกลยุทธ์ของตนเอง แผนพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (Strategic Development Plan) เป็นแผนภาพรวมของมหาวิทยาลัย

งานที่จะทำในการประชุมครั้งนี้คือทบทวนมาตรการที่เสนอไว้แล้ว แต่อย่าใช้เวลาให้มาก ดูวัตถุประสงค์ย่อยๆ อยากให้ใช้เวลามากหน่อยในการดูว่าจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด อาศัยข้อมูลที่ผ่านมาด้วย แล้วดูว่าจะมี Initiatives อะไรบ้าง ต่อจากนั้นส่วนแผนงานจะเอาข้อมูลมาสังเคราะห์ แล้วหน่วยงานเอาไปทำ Action plan

ความเชื่อมโยงของกลยุทธ์ งานประจำ และงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จะมีภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ออกมาเป็น ๒ สายคือประเด็นยุทธศาสตร์ และงานที่ต้องดำเนินการเป็นปกติ

ดร.กีร์รัตน์ฉายภาพ Strategic Map ในประเด็นยุทธศาสตร์ ๑ ถึง ๕ ก่อนที่จะจบด้วยการปรับกิจกรรมจากเดิมที่จะมีกิจกรรมกลุ่มย่อยต่อ แต่เนื่องจากเราเริ่มการประชุมวันนี้ช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ อีกทั้งพวกเราต้องออกเดินทางไกลกันแต่เช้า จึงยกกิจกรรมกลุ่มย่อยเป็นวันพรุ่งนี้ เรานัดหมายเวลาการรับประทานอาหารเย็นเป็น ๑๘.๓๐ น.

ดิฉันกลับห้องพัก ตอนแรกกะว่าจะทำการตรวจข้อสอบของรายวิชาหนึ่งให้แล้วเสร็จเสียที แต่เมื่อถึงห้องก็เปลี่ยนใจมาพิมพ์บันทึกเหตุการณ์วันนี้ไว้ก่อน เกือบ ๆ ๑๘ น. รู้สึกว่าแอร์ในห้องพักเย็นขึ้น หันมองออกไปนอกหน้าต่างก็พบว่าท้องฟ้าที่แจ่มใสในช่วงบ่ายกลายเป็นมีเมฆดำก้อนใหญ่และมีฝนตก

ตอนแรกฝนตกยังไม่แรงนัก ดิฉันออกไปที่ Lobby เพื่อเตรียมตัวไปรับประทานอาหารเย็นที่ห้องประชุมซึ่งอยู่คนละฝั่งกัน ฝนตกแรงขึ้นเรื่อยๆ ลมแรง และมีคล้ายฝนรั่ว ทำให้เราต้องย้ายที่นั่งคุยกันหลายรอบ แต่ไม่นานนักก็เบาลงและหยุดตก

อาหารเย็นมื้อนี้มีหลายอย่าง เช่น แกงเลียงกุ้งสด (ตัวเล็กๆ เหมือนกุ้งแห้ง) ผัดผัก แกงพริกปลายทราย ทอดมัน ยำไก่ทอด ไก่ผัดขิง ผัดเปรี้ยวหวานปลา เต้าเจี้ยวหลน ผลไม้ รสชาติอาหารและปริมาณที่จัดให้ยังไม่ค่อยถูกใจเราเท่าไหร่

ต่อจากนั้นเป็นรายการสนุกสนาน ดำเนินรายการโดยคุณนิรันดร์ มีการร้องเพลง ทายปัญหา โดยตั้งกลุ่มตามโต๊ะที่เรานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน กลุ่มของดิฉันมีชื่อว่ากลุ่มสูงวัย ประกอบด้วยอธิการบดี ผศ.ดร.มารวย เมฆานวกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ดร.กีร์รัตน์ ศ.ดร.วินัย ประลมพ์กาญจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รศ.ทวีพร ประลมพ์กาญจน์ รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

คำถามไม่ยากแต่ก็มีคนทายผิด เป็นคำถามชื่อถนนสายต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย มี surprise เป่าเค็กวันเกิดของ รศ.ดร.อมรา ช้างทรัพย์ ที่จะครบรอบวันเกิดในวันพรุ่งนี้ กลายเป็นเรื่องดีๆ ที่อบอุ่น พวกเราทุกคนได้ร่วมกันร้องเพลง Happy Birthday อาจารย์อมราเปิดใจว่าการจัดงานวันเกิดก็ดีนะ ทุกๆ ปีอาจารย์เพียงแค่ชวนคุณแม่ไปรับประทานอาหารด้วยกัน

ยังมีการร้องเพลงกันต่อ แต่เมื่อใกล้เวลา ๒๐.๓๐ น. ดิฉันขอตัวกลับห้องไปให้กำลังใจท่านเท็นโชอิน (เจ้าหญิงอัตสึ)

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 313645เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์เขียนบรรยายตั้งแต่ตอนที่1-3ได้น่าอ่านมากค่ะ ได้เนื้อหาและได้สัมผัสบรรยากาศสบายๆด้วย ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท