ใครคือปฐมภูมิ


ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร และมีพื้นที่ใหนทำอย่างไรบ้าง

                  สัปดาห์นี้ผมได้เรียนรู้ เรื่องราวของระบาดวิทยาผ่านการเรียนหลักสูตร พัฒนาสุขภาพชุมชน ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการนำของ ผศ.ดร.นพ.ปัตตพงศ์ อาจารย์ของผม แต่ประเด็นที่ทำให้ผมรู้สึกตื่นตัวในการเรียนรู้กลับเป็นการแลกเปลี่ยนเรื่อง แนวทางการดำเนินงานปฐมภูมิภายใต้กรอบที่ สปสช.วางเป็นแนวทางไว้ ลองศึกษาเอกสารนี้ดูครับ ว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไร และมีพื้นที่ใหนทำอย่างไรบ้าง

กรอบการจัดสรรงบ UC ปี ๕๓

แนวทางการจัดบริการปฐมภูมิOntop

หมายเลขบันทึก: 313606เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์

สวัสดีครับ

ก่อนอื่นต้องแนะนำกันก่อน ผม นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ ปัจจุบันอยู่ในส่วนของ คลินิกชุมชนอบอุ่น เขต กทม.

ผมได้อ่านแนวทางปฐมภูมิของสปสช. ที่กำลังพยายามดันอย่างมาก จนผมอยากที่จะแสดงความเห็นดังนี้

คือ ไม่อยากจะตำหนิครับ แต่ แต่ แต่ ผมอยากเสนอว่า เราควรเดินสายกลาง มิใช่บอกว่า จะปิด opd ปี 56

ก็จะเกิดคำถาม ว่า แน่ใจหรือว่า ปฐมภูมิแบบนี้จะทำให้ ปัญหาสาธารณสุขได้รับการแก้ไข และ ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น

หรือเพียงให้มีการทำงานของ บุคลากรหลากสาขา ซึ่ง ไม่ว่าระดับไหน ก็มีอยู่แล้ว และเขาก็ต้องประสานงานกันอยู่แล้ว

ผมว่า ปฐมภูมิ ในแง่ของสปสช. เน้น บุคลากรมากเกินไปหรือเปล่าครับ เราควรมองความจริงครับ และเอาข้อมูลต่างๆมาดูกัน

มาทำความเข้าใจ ว่าสิ่งที่เราต้องการแท้ที่จริง ก็คือ การมีสุขภาพดี ซึ่งนั้นหมายความว่า คนทุกๆคนต้องมีเจตคติที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ อย่าไปหลงทางว่า เภสัชกร หรือ แพทย์ จะเสกคาถาให้เกิดสุขภาพดีได้

ปัดโธ่ ก็ปฐมภูมินี้มีในตำรา และ กระทรวงสาธารณสุขก็ทำมานานแล้วมิใช่หรือ เบาหวานจึงได้ยังคงเป็นปัญหาโรคเรื่อรังอยู่

ดังนั้น ผมอยากให้มองเรื่อง การสร้างมโนทัศน์ให้กับ ประชาชนมากกว่าการจัดสรรบุคลากรครับ เพราะเราไม่มีทางทำให้

มีทันตแพทย์ ได้ตามฟันที่ผุของนักเรียนที่ไม่ดูแลฟันตัวเองครับ

สรุป ควรเน้นเรื่องเจตคติแล้วใช้งบไปในทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการให้ความรู้มากๆหรือสร้างเจตคติมากๆ โดยใช้การตลาดนำ

มากกว่าการกดดันหน่วยบริการให้ มีบุคลากร เพราะสำหรับภาครัฐ ไม่มีวันเพราะไม่มีอัตราจ้างก็ทำไม่ได้ ส่วนภาคเอกชน

เภสัชกับทันตแพทย์ จ้างเมื่อไร ก็ไม่พองบที่ได้แล้ว เพราะไม่ได้ใช้อัตราภาครัฐครับ

แต่หากเราเริ่มจาก การนำปัญหาสาธารณสุขในแต่ละที่มาและหาหนทางโดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ผมว่าจะดีกว่าครับ

แล้วอย่าไปคิดว่า ปฐม ทุติ ตติ ต้องแยกกันครับ มันอาจจะผสมผสานอยู่ด้วยกันมิแยกออก ทุติ ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ปฐมภูมิก็มิใช่คำตอบ เดินสายกลาง ก้าวอย่างมั่นใจ สุขภาพดีๆ ก็จะไม่ไกลเกินฝัน

1. นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ [IP: 58.8.45.119] เมื่อ อ. 15 ธ.ค. 2552 @ 00:20 #1735580 [ ลบ ]

     ผมเข้าใจว่าปฐมเป็นแนวคิดครับ การนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเยอะๆครับ ผมยังมีความเห็นอีกว่าแต่ละพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันแล้วแต่บริบท

     เขตเมืองเป็นยังงัยบ้างครับ ผลสำเร็จ รวมถึงปัญหาอุปสรรค

เขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ความสำเร็จที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นการเข้าถึงบริการ หลังจากมีระบบ สปสช ก็คือ การ

รอคอยเพื่อผ่าตัดใหญ่ เช่น หัวใจ ข้อเข่าเทียม ต้อกระจก ลดเวลาลง การเข้าถึงบริการดีขึ้น ระบบ EMS ดีขึ้นเฉพาะในส่วนการ

นำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล แต่อุปสรรค เท่าที่ผมทราบในระบบของคลินิกชุมชนอบอุ่น ปัญหาใหญ่เกิดจาก การขาดระบบข้อมูลข่าวสารที่แม่นยำ ถูกต้อง ทันเวลา ทำให้การตั้งเป้าหมายของ ผู้บริหาร อาจไม่ถูกต้อง และส่งผลทำให้เกิดวิธีการในการจัดสรรงบประมาณที่ อิงผลงานเป็นหลัก มาจับจน เริ่มที่จะไม่คุ้มความเสี่ยงในระบบประกัน !!!

ตัวอย่างเช่น การที่ สปสช กทม. เปลี่ยนวิธีจัดสรร งบสร้างเสริมสุขภาพ จากการมี capitate มาเป็น itemized เพียงวิธีเดียว

นั้นเป็นวิธีการใช้จัดการกับปัญหาเรื่องผลงานสร้างเสริมสุขภาพต่ำ อย่างที่ได้บอกไปแล้ว ข้อมูลอยู่ตรงไหน และที่สำคัญ

การทำงานสร้างเสริมสุขภาพในคลินิกหรือในหน่วยบริการ ก็ขึ้นกับ ฐานประชากรด้วย เช่นหากมีเด็กน้อย ก็ไม่สามารถที่จะหาคนมารับวัคซีนได้ อะไรทำนองนี้ ฉะนั้นหากดันทุรังจัดสรรงบไปตามผลงาน และ ไม่ capitate ก็จะทำให้ ค่าใช้จ่าย fix cost

ไม่พอกับรายได้ อาจกระทบต่อการดำเนินกิจการก็เป็นได้ ในขณะที่ ภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์บริการ หรือ โรงพยาบาล ได้รับจัดสรรค่าใช้จ่ายบุคลากร และ fix cost อื่นๆ แยกต่างหาก ถึงแม้จะหักกับค่าหัว ก็ไม่ได้หัก 100 เปอร์เซนต์ ทำให้เกิดความรู้สึก

ว่าหลักเกณฑ์นี้ไม่เป็นธรรม

และปัญหาอีกเรื่องที่สำคัญคือ การพัฒนาระบบปฐมภูมิ ในส่วนของภาคเอกชนใน กทม. ยังมองภาพ ปฐมภูมิ กับหน่วยบริการประจำไม่ชัดเจน และ ขอบข่ายความรับผิดชอบของการเยี่ยมบ้าน ก็ไม่ชัดเจน เช่น ขณะนี้ทาง สปสช กทม รวมทั้งผู้บริหารระบบ กำลังเข้าใจผิดว่า คลินิกชุมชนอบอุ่นทุกแห่งไปเยี่ยมบ้านได้ ทุกๆแห่ง แต่ความจริง เราจะไปเฉพาะพื้นที่ที่เราทำสัญญาบริการไว้เท่านั้น แต่ศูนย์บริการก็ไม่ยอมกระจายประชากรออกมา อันเนื่องมาจาก money power ซึ่งก็ต้องพูดคุยกันต่อไป

ฉะนั้น บางศูนย์ ก็มีประชากรรับผิดชอบมากมาย ไม่มีวันที่จะทำได้ทั่วครับ

สุดท้ายผมคิดว่า ข้อมูลข้อเท็จจริง หากยิ่งถูกต้องทันเวลา ก็จะยิ่งทำให้ ทั้งผู้บริหารระบบ และ ผู้ให้บริการ รวมทั้งผู้รับบริการ เดินไปในทางเดียวกัน หรือ ไม่คิดแตกต่างกันครับ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ

ขอบคุณอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ มากครับที่ทำให้ได้เห็นภาพหลายๆมุม ผมมีความเชื่อในใจลึกๆว่าแพทย์เรามีความต้องการให้คนไข้หายจากทุกข์ อันเกิดจากการเจ็บป่วย รวมถึงไม่ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย แต่ผมยังไม่กระจ่างว่า การแพทย์กับธุรกิจลักษณะเหมาจ่าย จะยังคงทำให้มาตรฐานวิชาชีพของเรายืดหยัดสู้กับปัจจัยที่มากระทบได้จริงหรือไม่.....ผมเข้าใจว่าอาจารย์อยู่ภาคเอกชนใช่มั๊ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท