beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

วิธีคิดเชิงระบบของ beeman <๖> วิธีสอนให้คิดเชิงระบบ


มีรูปแบบวิธีสอนที่หลากหลาย

    ผมรับผิดชอบดูแลรายวิชาหนึ่ง ไม่บอกทุกท่านก็คงทราบว่า คือวิชา "การเลี้ยงผึ้ง" ซึ่งวิชานี้ตอนสอนเริ่มแรกเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว ผมก็สอนเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือผนวกกับประสบการณ์การเลี้ยงผึ้ง และเน้นเรื่องการปฏิบัติการเลี้ยงผึ้ง

    ต่อมาผมทำงานในหน้าที่หลายอย่างขึ้น ก็นำประสบการณ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องผึ้งมาผนวกเข้าไปในเนื้อหาวิชา

    ต่อมาเมื่อผมได้ไปเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาค่าย "เรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน" ค่ายแรก นิสิตที่เข้าค่ายจะมีสมุดบันทึกการทำงานประจำวันอยู่ ผมก็จะให้นิสิตเล่าเรื่องที่ไปทำงานในวันนั้น นิสิตจะเขียนได้เพียงเล็กน้อย แต่สามารถเล่าได้อย่างยืดยาว (เขียนอธิบายยากกว่าพูดอธิบาย)

    เรา (ผมกับอาจารย์อีกท่านหนึ่ง) ก็ขอให้นิสิตทุกคนส่งสมุด วันเว้นวัน แล้วเราก็จะช่วยกันตรวจและเขียน comment ลงไป ซึ่งนิสิตหลายคนชอบมากและก็จะเขียนเรื่องราวดีๆ มาให้เราอ่านยาวขึ้น ทำให้เรามีข้อมูลคัดเลือกชาวบ้าน ก่อนไปเยี่ยม และมีเป้าหมายที่จะไปเรียนรู้กับชาวบ้านและยอมรับในความรู้ของชาวบ้านด้วย

    ต่อมามีเรื่องของ การจัดการความรู้ หรือ KM จากค่ายสคส. ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์และท่านอาจารย์ประพนธ์เข้ามา ผมก็เห็นว่าเป็นวิถีชีวิต ที่ผมประพฤติปฏิบัติอยู่ ผมก็ยอมรับ KM และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการสอนของผม

    ต่อมามี GotoKnow เข้ามาอีก ผมเป็นคนชอบบันทึกเรื่องราวอยู่แล้ว แต่มักเป็นเรื่องของการสอน ก็เลยเข้าทาง..

    การสอนยุคต่อมาใน ๕ ปี หลังนี้ ผมก็จะประยุกต์เรื่องการจัดการความรู้เข้าไปในการสอนของผม ตอนแรกก็พยายามหลายวิชา แต่วิชาที่คนลงทะเบียนมากจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไร เลยต้องเลิกทำกับกลุ่มใหญ่ไป เหลือแต่กลุ่มเล็กคือวิชาการเลี้ยงผึ้งเท่านั้น

    ซึ่งผมจะเริ่มจากให้นิสิตเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดก่อน เรียกว่า "สมุดแห่งการเรียนรู้" และต่อมาเมื่อมี blog ผมก็สอนให้นิสิตเขียนความรู้ลงบล็อกด้วย-ฝึกให้นิสิตจับประเด็น และนำสิ่งที่จับประเด็นได้ ลิขิตลงสมุด

    ต่อมาก็นำเรื่อง "วิธีทำลายกำแพงสกัดกั้นศักยภาพของมนุษย์" เข้ามาสอนและประยุกต์ใช้ โดยมีตัวอย่างเรื่องเล่า

    หลังจากนั้นก็ประยุกต์วิธีปฏิบัติ ซึ่งได้ไปเรียนรู้ในมูลนิธิข้าวขวัญมาปรับใช้ นั่นคือ เรื่องของกิจกรรม ๔ อย่าง

  • ฝึกจิต เหมือนการทำสมาธิก่อนเรียน
  • อุ่นเครื่อง เป็นการวอร์มอัพร่างกายเบาๆ และสร้างความสุขในการเรียน โดยมีเพลงและท่าเต้นสมัยเด็กอนุบาลและประถม (ทำเรื่อง nonsense ให้ makesense)
  • ตระเวนข่าว เป็นการนำเรื่องดีๆ จากเพื่อนมาเล่าให้เพื่อนในชั้นฟัง เป็นการฝึกให้มองและคิดเชิงบวก
  • สรุป เรื่องราวที่เรียนในวันนั้น ฝึกการจับประเด็น และการฝึกคิดเชิงระบบ

    ตลอดรวมถึง การสอนแบบไม่สอน คือ ให้ชมสื่อการสอน ในรูปแบบ VCD, สไลด์ภาพ, และบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในบล็อกครับ

    รวมๆ แล้ว ต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย และมีตัวอย่างปฏบัติประกอบ จึงจะสามารถสอนให้นิสิต "คิดเป็น" แบบ "คิดเชิงระบบ" ครับ

 

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 313604เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์ JJ

  • ยังเขียนไม่จบเลยครับ
  • วันนี้ หนูตูนนัดประชุม BAR ที่จะไป UKM16 ตอนบ่ายสามครับ
  • แล้วจะรายงานผลทาง blog ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท