kae
นางสาว สุดาพันธ์ อ้วนโสดา

กิจกรรมวันเบาหวานโลก 14 พ..ย.52


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดเสี่ยง และป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย”

ในวันเบาหวานโลก วันเสาร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2552  เวลา 8.30 – 12.00 น.

ณ ศาลาภิรมย์ทัศน์ เทศบาลเบตง   โดย โรงพยาบาลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

หลักการและเหตุผล           

                ด้วยกระทรวงสาธารณสุขโยสำนักโรคไม่ติดต่อ ได้ดำเนินการโครงการ สุขภาพดีวิถีไทย: อ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีเป้าหมายความสำเร็จคือประชาชนได้รับบริการลดเสี่ยงต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการบูรณาการดำเนินงาน ทั้งในสถานบริการสาธารณสุขและชุมชน  เพื่อให้เกิดการบริการเสริมทักษะ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

 ในการนี้โรงพยาบาลเบตงได้จัดกิจกรรมให้คำปรึกษาและเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย  ก่อนดำเนินการได้สุ่มสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับรู้ความเสี่ยงต่อ  การรับรู้ความรุนแรงของโรค พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องต่อไปนี้

1.การรับรู้สาเหตุ/ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

2. การรับรู้ความรุนแรงของโรค

3. พฤติกรรมสุขภาพและการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

4. ความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

              ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้างกระแสความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ทำไมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  1. บุคคลจะมีความสุขหรือทุกข์ย่อมขึ้นกับสุขภาพเป็นสำคัญ
  2. สุขภาพมีความสำคัญในการสร้างความสำเร็จหรือล้มเหลวแก่ครอบครัว
  3. ในสังคมหนึ่งๆประกอบด้วยสมาชิกมากถ้าสมาชิกมีปัญหาสุขภาพมาก จะทำให้สังคมมีปัญหา

              การที่บุคคลให้คุณค่ากับสุขภาพตนเองมากเท่าไหร่ บุคคลนั้นต้องแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือเป็นโรคแล้วทำอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมได้ตามปกติ

       

    โรงพยาบาลเบตง จึงจัดกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดเสี่ยง และป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ”  ในวันเบาหวานโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน   ขอให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีหลักการสำคัญอยู่ 5 ประการดังนี้

  1. ความพอประมาณ คือความพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไปไม่สุดโต่ง
  2. ความมีเหตุผล มีที่มาที่ไปอธิบายได้
  3. ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี  หมายถึงการรู้จักสร้างเกราะ สร้างกลไกป้องกัน
  4. ความรอบรู้รอบคอบ คือการใช้ความรู้ มีการจัดการความรู้ที่ดี ดำเนินการอย่างรอบครอบ
  5. คุณธรรมความดี รวมถึงความซื่อสัตย์ ความสุจริต ความอดทน ใช้ปัญญาในการดำเนินงาน

หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. ปัญหาที่ต้องการการแก้ไข

1.1     อาหารประจำท้องถิ่นที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคฯ

1.2 ลดการบริโภคน้ำตาล

1.3 การออกกำลังกาย  การเชื่อมโยงกับทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน  เช่น อ.บ.ต. เทศบาล สนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกาย งบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์

1.4     การควบคุมน้ำหนักตัว  ลดพุงรอบเอว < 36นิ้ว/ผู้ชาย หรือ< 32นิ้วในผู้หญิง

1.5     การรณรงค์เลิกบุหรี่ / เหล้า

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้าง

2.1 ไม่รู้ว่าตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

2.2  รอให้ป่วยก่อนค่อยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะคิดว่าโรคเรื้อรังรักษาได้

2.3 ไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเอง/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลงทุนน้อยกว่าค่ารักษา

3. การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อ

3.1    รู้ถึงอันตรายของโรค

3.2    รู้จักป้องกันโรคระยะแรก

3.3    ทำอย่างไรให้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงเห็นความสำคัญของการจัดการลดเสี่ยงลดโรค

3.4    มีความรู้เรื่องของตนเองและสื่อสารเพียงพอต่อการตัดสินใจ

4. การสื่อสารในสถานบริการสาธาณสุข

4.1 การนั่งพูดคุยกัน

4.2 การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

4.3 การแจกเอกสารให้ความรู้

5. การสื่อสารในชุมชน

5.1 ผ่านผู้นำชุมชน อ.บ.ต. ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อ.ส.ม.

5.2 แผ่นพับ โพสเตอร์ ควรติดไว้ที่ไหน

หมายเลขบันทึก: 313521เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท