ไปดูชาวนาเขาลดต้นทุนการทำ "นาแปง" โดยไม่ไถ-ไม่หว่าน (2)


จากบันทึกนี้ ไปดูชาวนาเขาลดต้นทุนการทำ "นาแปง" โดยไม่ไถ-ไม่หว่าน สองวันก่อนได้ไปติดตามผลการทำนาแบบไม่ไถ-ไม่หว่านของเกษตรกรที่ตำบลวังบัว อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในภาพรวมของการทำนาแบบล้มตอซังแปลงนี้ พบว่า

  • ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

  • ออกรวงเร็วกว่าการปลูกแบบนาหว่านน้ำตมของชาวบ้านโดยทั่วๆ ไป

  • การดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยาก

  • ต้นข้าวที่มีไม่มากในบางแปลง(เนื่องจากไม่ได้หว่านซ่อม) พบว่าต้นข้าวก็แตกกอมาชดเชย กอใหญ่

มีภาพมาเปรียบเทียบให้ดูถึงการเจริญเติบโตของข้าว ที่ได้จากการทำนาที่ไม่เผาฟาง ไม่ไถ และไม่หว่าน ไม่ใช้ยาคุมหญ้าครับ..

ภาพที่ 1 ภาพในมุมกว้าง การเจริญเติบโตของต้นข้าวในระยะเวลาที่ห่างกันประมาณ 60 วัน


ภาพเมื่อเดือนกันยายน 2552


11 พฤศจิกายน 2552

ภาพที่ 2 ภาพใกล้ๆ ให้เห็นต้นข้าว


ภาพเมื่อเดือนกันยายน 2552


มุมเดียวกันเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2552

คงประมาณเดือนธันวาคม ข้าวแปลงนี้คาดว่าคงจะเก็บเกี่ยวได้ ผมคงจะได้ลงไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรและเก็บข้อมูลในส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ในการนำไปเผยแพร่/แลกเปลี่ยนแก่เกษตรกรที่สนใจที่จะลดต้นทุนการปลูกข้าว วิธีการทำนาแบบนี้ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

ซึ่งการปลูกข้าวในลักษณะของการล้มตอซังนี้แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังไม่มีเกษตรกรที่ลงมือปฏิบัติและมีข้อมูลเพียงพอในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มากพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรว่าสามารถทำได้ และลดต้นทุนได้จริง

น่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีของการทำนาแบบต้นทุนต่ำ ที่คนที่มีอาชีพเป็นนักส่งเสริมการเกษตรอย่างพวกผมจะได้ใช้ประโยชน์ในการขยายผลสู่เกษตรกรชาวนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต ... แต่การนำไปสู่การปฏิบัติก็คงจะขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเองที่จะตัดสินใจ....

บ้นทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก 13 พ.ย. 2552

หมายเลขบันทึก: 313237เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

รบกวนเรียนถามครับ

ผมกำลังสนใจที่จะปลูกข้าวในกระถางครับ

ควรทำอย่างไรบ้างครับ

  • สวัสดีครับคุณ ตาหยู
  • ปลูกในกระถางแบบนี้ใช่ไหมครับ

 

    

  • ภาพจากบันทึกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/yutkpp/54890
  • หนึ่งกระถางต่อข้าวเพียง 1 เมล็ดนะครับ เดี๋ยวก็แตกกอมาเต็มเลย
  • เพียงแต่หากระถาง-ปิดรูด้านล่าง แล้วหาดินเหนียว(ดินนา) หรือดินจากแหล่งอื่นมาใส่
  • นอกจากนี้ยังสามารถทำในวงบ่อก็ได้นะครับ
  • ปลูกเหมือนปลูกผักก็ได้นะครับ ข้าวก็เหมือนหญ้าที่ขึ้นได้ดีทุกที่ขอให้มีความชุ่มชื่น
  • ไม่จำเป็นต้องน้ำขังก็ได้

         

  • เพิ่มเติมที่นี่ครับ http://gotoknow.org/blog/yutkpp/274748
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

เข้ามาเรียนรู้ด้วยครับ

จองไม่ทัน

มาเรียนรู้ค่ะ

น่าสนใจเรียนรู้วิธีปลูกข้าวแบบนี้ครับ เกษตรกรไทยเป็นแบบที่อ.แสวงว่า คือทำกันมาแบบไหนก็ทำแบบนั้นแหละ ไม่ได้วิเคราะห์ว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ได้ไหมไม่กล้าทดลอง จะไปโทษชาวบ้านก็ไม่ได้เพราะถ้าผิดพลาดก็เสียเวลาหลายเดือน แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐทำการทดลองให้ชาวบ้านเห็นผล ผมว่าก็คงช่วยเกษตรกรไทยได้เยอะครับ

สวัสดีค่ะ ขออนุญาตเข้ามาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ วิธีการทำนา "นาแปง" น่าสนใจค่ะ ยังมีเกษตรกรที่สนใจเรื่องเกษตรธรรมชาติแบบที่ท่านทำนะคะ และจะขออนุญาตนำประสบการณ์ที่ท่านประสบความสำเร็จไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรต่อไปค่ะ

เป็นสิ่งที่ดี ลดต้นทุนการผลิต ถ้าเกษตรกรทุกคนทำได้ ก็จะดีมากเลยค่ะ สนใจสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วจะเข้ามาเยี่ยมชมและขอคำแนะนำในครั้งต่อไปนะคะ

  • ท่านรองฯ small man
  • เดือนหน้าคงได้ตัวเลขต้นทุนจากตัวเกษตรกรครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับคุณ berger0123
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับคุณ ศุภรักษ์ ศุภเอม
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ผ่านบล็อก
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับท่าน อัยการชาวเกาะ
  • ทำนาแบบนี้ เกษตรกรสามารถทำได้ถึงปีละ 3 ครั้ง
  • เพราะนาแบบล้มตอซังเก็บเกี่ยวได้ไวกว่าปกติมาก
  • แต่เกษตรกรส่วนมากเคยชินกับการไถ การหว่านครับ
  • เรื่องง่ายๆ แบบนี้เลยกลายเป็นเรื่องแปลกและไม่เชื่อมั่นว่าจะได้เกี่ยวจริง
  • บางพื้นที่ก็มีความเชื่อว่าข้าวที่เกิดจากหน่อ(ไม่ได้หว่าน-ดำ)ไม่ดี
  • อิอิ...
  • งานส่งเสริมฯ ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่ายเลยครับ
  • เพราะร้อยคนก็ร้อยความคิด ฯลฯ
  • บางอย่างอยากทำก็ทำไม่ได้...ขึ้นอยู่กับการเมือง(นโยบาย) 555
  • ยิ่งยุคประชานิยม...นักส่งเสริมแทบไม่ต้องใช้ความรู้เลย..(คอยทำตามที่เขาคิดไว้ให้)
  • ไม่ได้บ่นนะครับ  แต่เล่าให้ฟัง  อย่าไปเล่าต่อนะครับ...อิอิ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณ บังอร
  • ยินดีมากเลยครับหากจะนำไปบอกต่อ
  • เพราะต้นทุนต่ำมาก  น่าจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 2,000 บาทต่อไร่
  • แต่เงื่อนไขของพื้นที่ต้องมีนน้ำนะครับ
  • และก่อนปลูกควรนำดินไปตรวจด้วยเพื่อที่จะได้จัดการเรื่องธาตุอาหารได้ถูกต้อง(ใชบริการหมอดินอาสาก็ได้)
  • คอยติดตามตอนต่อๆ ไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท