การดูแลแผลเบาหวาน


ถ้าเจ้าหน้าที่ใส่ใจในการดูแลแผลผู้ป่วย ผู้ป่วยและญาติก็จะมีกำลังใจในการดูแลแผลโดยเฉพาะแผลเรื้อรัง

เป็นน้องใหม่ในการบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียน ผ่าน ทาง gotoknow ค่ะ ตั้งใจว่าจะเขียนมาเล่าประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมานานแล้ว เพิ่งจะมีโอกาส ค่ะ  ทำงานเบาหวาน มา 1 ปี 5 เดือนทำให้ต้องเรียนรู้มากขึ้นก็อาศัยอ่านจากหนังสือ เรื่องเล่าเบาหวานเล่ม 1-2 ที่อาจารย์วัลลา รวบรวมทำให้ได้ความรู้และแนวทางปฏิบัติดีๆมากมาย ทำให้สนใจในการแลกเปลี่ยนเรื่องราวดีๆในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมาก และอยากจะได้คำแนะนำดีๆ จากทุกๆท่าน จะได้นำมาพัฒนาต่อค่ะ

สำหรับประสบการณ์ในการดูแลแผลผู้ป่วยเบาหวาน เท่าที่ได้ดูแลแผลผู้ป่วยเบาหวานมาจะมีคุณยายอยู่คนนึงซึ่งแผลแกจะเป็นแล้วเป็นอีกกว่าจะหายจะนานมาก พอหายแล้วก็เป็นอีก ตำแหน่งใหม่ จะเป็นอยู่อย่างนี้มาตลอด 1 ปีที่ได้ดูแลแก จนคุณหมอได้แนะนำให้คุญยายไปตัดเท้า  แต่คุณยายไม่ยอมยังไง๊ ..ยังไงหัวเด็ดตีนขาด ก็ไม่ยอมตัด แกไม่อยากเป็นคนพิการ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วถ้าเป็นเราก็คงไม่มีใครอยากตัดขา หรือส่วนต่างๆในร่างกายแน่นอน  เราเองก็หันกลับมามองดูการดูแลของเราใหม่ ทำไมแผลผู้ป่วยไม่หายซักที  เราเองก็ไม่ได้ใสใจกับการดูแลแผลผู้ป่วย นอกจากให้คำแนะนำ ส่งล้างแผลที่ER และให้ไปล้างแผลต่อที่ อนามัยใกล้บ้าน  ทุก 1-2 เดือนที่คุณยายมารับยาก็ได้ดูแลแผลให้คุณยายที  เราจึงต้องมาปฏิรูปการดูแผลผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้าใหม่โดย

 

 

ประชุมทีมเบาหวานที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบ่งหน้าที่การดูแลให้ชัดเจน และจัดเตรียมสถานที่มุมข้างคลินิกเบาหวานทำเป็นสถานที่ล้างแผล  และดูแลสุขภาพเท้าให้ผู้ป่วยด้วย (ล้างเท้า - ขัดเท้า-ตัดเล็บ-ดรวจเท้า)ให้ผู้ป่วย และเตรียมอุปกรณ์ ในการล้างแผล   Set ล้างแผล เตรียมให้ผู้ป่วยกลับไปล้างแผลที่บ้าน กรณีที่แผลไม่เยอะมาก และนัดผู้ป่วยมาติดตามอาการทุกสัปดาห์จะได้ไม่ต้องเปลืองค่ารถ ในการมาล้างแผล และผู้ป่วยและญาติก็มีส่วนร่วมในการดูแลแผลเองด้วย  ถ้าเจ้าหน้าที่ใส่ใจในการดูแลแผลผู้ป่วย ผู้ป่วยและญาติเองก็จะมีกำลังใจในการดูแลแผลโดยเฉพาะแผลเรื้อรัง ไม่หายซักที และการดูแลของเราก็คงปรับใหม่ คงไม่ใช่ wet dresing เหมือนเดิมที่เคยทำเพราะแผลกลายเป็นเนื้อตายบ้าง หนังหนา แข็ง และเริ่มมีกลิ่นบ้าง จากการที่ผู้ป่วยล้างแผลไม่ถูกวิธี  จึงได้ให้คุณยายแช่เท้า ด้วยนำ ธรรมดา ล้าง ฟอกสบู่ ขัดให้คุณยายเป็นอย่างดี ตัดเล็บ ให้เรียบร้อย หลังจากนั้น จึงล้างแผล ขูดเนื้อตายออก  และหนังหนารอบแผลก็ค่อยๆ ขูดออก  จนลักษณะแผลดูดีขึ้น   หลังจากนั้น จึงสอนสามีคุณยาย ล้างแผล  และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้ (สามีคุณยายเคยล้างแผลให้เป็นประจำ ) และนัดมาติดตามอาการในวันศุกร์ เพราเป็นวันที่มีผู้มารับบริการที่ดลินิกพิเศษน้อยกว่าทุกวัน

ครั้งต่อไป จะนำผลการติดตามแผลคุณยายมาเล่าต่อ และจะนำภาพมาให้ดูด้วยค่ะ โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ........

หมายเลขบันทึก: 312508เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาเยี่ยมคุณหมอคนแรกเลยมั้งครับ รับสาระไปแล้วนะครับคุณหมอ ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ

มีความสุขมาก ๆ คร๊าบ สำหรับเอื้ออาทรข้อมูลครับ

มาให้กำลังใจค่ะ

มาเขียนอีกนะคะจะมาติดตามอ่านค่ะ

ขอบคุณมากคะ พี่บ่าวบ้านนอก และ พี่นาง..มณีวรรณ ที่มาให้กำลังใจยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการบันทึกค่ะ แต่จะพยายาม และบอกกล่าวเรื่อราวดีๆ ที่ได้ทำให้กับคนไข้ค่ะ

สวัสดีครับ แวะเข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจครับ มทีความสุขทุกวันนะครับ

ยินดีค่ะ ถ้าเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด แต่ถือว่าเป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ ปรับใช้ตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่มากกว่าค่ะ ขอบคณที่ให้กำลังใจนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ คุณหมอ ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ (ถ้ามีโอกาสอยากไปร่วม ดูแลผู้ปวยสงฆ์ด้วย) หวังว่าคุณหมอคงแวะมาเยี่ยมอีกนะคะ

ดีมากครับพี่ติ๋ม

พี่ที่รัก

หวัดดี น้องทัก เนตใช้ได้แล้วสินะ แวะมาเยี่ยมบ่อยๆนะจ้ะ

เป็นกำลังใจให้นะครับ มีอะไรใหม่ก็มาแนะนำเรื่อยๆนะครับ

ยังไงพี่อย่าลืมดูแลเรื่อง Off loading ด้วยนะครับ แผลจะได้หายเร็วขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท