Practicum in Singapore :Home hospice กับ HCA hospice


Palliative care service เกี่ยวข้องกับ Politic อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 
HCA hospice (home hospic) อยู่ติดกับ Dover park hospice (Inpatient hospice)

  วันนี้เป็นวันแรกของการร่วมออกเยี่ยมบ้านกับ HCA hospice ฉันออกจากบ้านตั้งแต่ไก่โห่
ด้วยความที่กะเวลาไม่ถูก ตัว HCA hospice อยู่ใกล้ๆ (แต่ไม่ใกล้มาก) กับ Tan Tok Seng hospital (TTSH) ซึ่งอยู่ติดกับ Novena MRT station
   director คือ Dr.Akileswaran มาทำงานแต่เช้า ตอนแรกที่เจอ รู้สึกท่านเคร่งขรึมมาก และพูดสั้นๆ กระชับ แม้แต่ email ที่ตอบก็จะสั้นๆ เช่น OK noted เป็นต้น แต่จริงๆแล้วท่านใจดี รับฟังความเห็นของทุกคน
   ทุกวันจันทร์จะมีประชุมเจ้าหน้าที่ใน hospice ทั้งหมด ห้องประชุม เป็นเก้าอี้มาล้อมกันเป็นวงแบบกันเอง สบายๆ แต่วงใหญ่มาก กะดูมีประมาณ 40 คนได้ แต่มีหมอประจำ 5 คน 1 ในนั้นคือ Dr.Richard ซึ่งเป็น class mate APHN2009 นี่เอง

   ฉันไปเยี่ยมบ้านกับ Dr.Joh คุณหมอเชื้อชาติเกาหลีใต้ ที่เป็นศิษย์เก่า APHN2008 และอยู่ในโครงการ Lien foundation foriegn clinical fellow ทำงานกับผู้ป่วยใน ของ Singapore general hospital 1 ปีและ ทำงานเยี่ยมบ้านที่ HCA hospice 1 ปี  จากการพูดคุยกัน เกาหลีใต้ก็คล้ายๆกับเมืองไทยที่ยังไม่มีระบบ hospice หรือ palliative care ที่แพร่หลาย รัฐบาลอยากให้มี palliative care เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ แต่โรงพยาบาลก็ยังไม่มีระบบการตลาดที่ดี..
   สิ่งนี้ทำให้ฉันคิดถึง สองระบบสุดขั้ว ที่สร้าง tension ในระบบการแพทย์เมืองไทย คือ ขั้วที่พยายามเอาอย่างอังกฤษ ลักษณะเป็นรัฐสวัสดิการ ถ้าเช่นนั้น รัฐควรจ่ายให้กับผู้ให้บริการ palliative care อย่างเป็นธรรม เช่นเดียวกับ สิงคโปร์ หรือ ประเทศในเครือจักรภพ. กับอีก ขั้วหนึ่งที่เป็นไปตามกลไกการตลาดแบบอเมริกา ถ้าเช่นนั้น โรงพยาบาล ก็ต้องใช้การตลาด คำนึงถึง cost effectiveness ในการวางแผนเพื่อให้บริการ..ฉันคิดว่า ก็มีข้อดีไปคนละแบบ ถ้าเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย..แม้ Palliative care ประเด็นหลักอยู่ที่มนุษยธรรม แต่ก็หลีกเลี่ยงเรื่อง politic ไม่ได้

    ย้อนกลับมา เรื่องไปเยี่ยมบ้าน..ทีมเราประกอบด้วย 3 คน หมอ joh ฉัน และ พยาบาล อีกท่านหนึ่ง..วิธีการไปเยี่ยมคือ โบกแท็กซี่ (ค่าแท็กซี่เบิกจากทาง hospice) วันนี้มีทั้งหมด 6 บ้าน ด้วยความที่ฝนตกหนัก จึงทุลักทุเลพอสมควร และทำให้้การเดินทางช้าลง เราเริ่ม 11 โมง กว่าจะเสร็จก็ 6 โมงเย็น
    กระเป๋าเยี่ยมบ้านใบใหญ่แบบล้อลาก ประกอบไปด้วย สารพัดอุปกรณ์ ที่ขาดไม่ได้คือ Dulcolax suppo กับ Cenna enema(NaCl)
    ที่จริงจะเรียกว่าบ้านก็ไม่เชิง คนที่นี่แทบจะนับคนได้ ที่มีบ้านปลูกบนพื้นดิืนเป็นของตนเอง ส่วนมากก็จะอยู่ใน unit ของตึกชุมชนที่เรียกว่า HBD ซึ่งจะมีสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามบาส ไว้ให้ชุมชนใช้ร่วมกัน สิงคโปร์เป็น 1 ใน 2 ประเทศของโลกที่ไม่มีคนชนบทเลย (อีกประเทศคือ โมนาโค)..

    กิจกรรมที่ทำตอนเยี่ยมบ้าน  ประกอบด้วย สอบถามอาการ ตรวจร่างกายว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่  สิ่งหนึ่งที่มักเจอคือท้องผูก ซึ่งต้อง PR เพื่อประเมินลักษณะอุจจาระและ sphincter tone เพื่อเลือกให้ laxative ได้ถูกต้อง ประกอบด้วย เช่นรายที่เป็น Motor neuron disease  PR เจออุจจาระแข็งค้างที่ rectum แต่ sphincter tone อ่อน ถ้าให้ Centile enema น้ำยาก็จะรั่วผ่านรูทวารออกมาหมด  อีกราย PR ไม่เจออุจจาระแต่ rectum โป่งเป็น balloon แสดงว่าอุจจาระค้างด้านบน ก็ต้องใช้ high Cenna enema อุปกรณ์ที่ทำให้ "high" หมายถึงใส่ยาถ่ายเข้าไปได้ลึก ก็คือ woman cath ขนาดเล็กสุดนั่นเอง..ไปๆ มาๆ ฉันชักเพลินกับเรื่อง constipation เสียแล้ว :>


    มีอยู่บ้านหนึ่ง อากงเป็นมะเร็งปอด ลามไปตับ ฉันเห็นภาพขาวดำวัยกลางคน ของแก แขวนอยู่ในห้องนอน ภรรยาบอกว่า อากง จัดเตรียมไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้วสำหรับงานศพของแกเอง! เช่นเดียวกับพินัยกรรมต่างๆ ก็เตรียมไว้เรียบร้อย..อันนี้อาจเป็นข้อดี ของมะเร็ง อย่างน้อย ก็มีเวลาเตรียมตัวก่อนจากไป..

คำสำคัญ (Tags): #home hospice#pallaitive
หมายเลขบันทึก: 312181เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อาจารย์ปัทมา

เรากำลังจัด Intensive Course in Basic Palliative Care อยู่ที่จุฬาฯ

ขออนุญาตเอา blog ของน้องไปใส่ไว้ บันทึกคนทำงาน ที่นี่นะครับ

ชอบการเล่าเรื่องของอาจารย์ครับ เหมือนนั่งคุยกัน ไปด้วยกัน

ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองมากคะ รู้สึกเป็นเกียรติและมีกำลังใจมากคะที่ได้รับ comment ดีๆ จากอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท