๒๗.ขออภัยใน บ.รักษ์กล้วยไม้ป่า..ทำอย่างไรดี..


บันทึกที่ ๒๗ นี้ เดิมเป็นบันทึก ที่มีชื่อเรื่องว่า    รักษ์กล้วยไม้ป่า...ทำอย่างไรดี

          ได้ถูกบันทึกไว้ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ มีการปรับปรุงเพิ่มข้อความและภาพ เมื่อวันที่ ๖ พย..๒๕๕๒(ไม่ได้แก้ไขโดยปรับลด แต่เพิ่มเติมข้อความที่ตกหล่นและเพิ่มภาพ)

          เนื่องจาก การคอมเม้นท์ ได้พาดพิง..กระทบกับกัลยาณมิตรบางท่านโดยไม่เจตนา ต่อเกียรติยศของท่าน...  เป็นผลให้เกิดความขุ่นเคือง ขัดข้องหมองใจ  ซึ่งไม่น่าจะเกิดผลดี ต่อความสมัครสมานสามัคคีของกัลยาณมิตร ชาวโกทูโน  โดยเฉพาะในช่วงที่ชาติบ้านเมือง กำลังโหยหาและเรียกร้องความสมัครสมานสามัคคี ของผู้คนในชาติทุกหมู่เหล่า... ถึงแม้ว่า...จะมีเพียงน้อยนิดก็ตาม...

           กระผมจึงขออนุญาตลบออกทิ้งไปทั้งหมด...และต้องขออภัย /ขอโทษมายังกัลยาณมิตรที่ขุ่นเคืองกับการคอมเม้นท์..ในบันทึกนี้ และรวมถึงท่านที่ได้กรุณามาคอมเม้นท์ให้กำลังใจ ให้ข้อคิดเห็นไว้ในบันทึกที่ถูกลบทิ้งนี้ จำนวน ๔๑ ท่าน ผู้ที่มาอ่านบันทึกนี้รวมอีก  ๓๕๑ ครั้ง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

  ขอให้ทุกท่าน ...มีจิตแจ่มใส  กายแข็งแกร่ง..น๊ะขอรับ

               

                                                                                สามสัก

                                                                                      ๙ พย.๒๕๕๒

เนื่องจาก มีกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง แจ้งขอให้คงบันทึกเดิมไว้ ถ้าหากยังมีต้นร่างเดิมอยู่ ผมจึงขออนุญาต นำมาบันทึกลงไว้ ตามที่แนะนำครับ

ข้อความบันทึกเดิมครับ

             ลอยกระทงปี ๒๕๕๒ ผมหลงทางอยู่บนดอยสูง เขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านดอยมูเซอร์ ไถ่ถามผู้นำกล้วยไม้ป่ามาวางขายข้างทางที่ตลาดดอยมูเซอร์ว่า เดี๋ยวนี้ในป่าสูงแถบดอยมูเซอร์ มีกล้วยไม้อะไรหาง่ายที่สุด และอะไรที่หายากที่สุด

   

ได้รับคำตอบว่า หายากพอๆกัน พร้อมกับไล่ลำดับให้เห็นถึงชนิดของกล้วยไม้ป่า ..จากชนิดที่หาง่าย จนถึงหาได้ยากสุดหรือมี ก็อยู่ไกลมากหรืออยู่กับต้นไม้สูงมาก การเก็บลำบากยากยิ่ง

                แสดงให้เห็นว่า กล้วยไม้ป่า กำลังร่อยหรอและบ่งบอกให้เห็นถึงบางชนิดอาจกำลังใกล้จะสูญพันธุ์จากป่า....แล้วจะทำอย่างไรกันดี

       

                การห้าม ..ทางกฎหมาย คงไม่ได้ผลอย่างแน่นอน..แล้วจะมีหนทางอื่นอีกหรือไม่..คงต้องขอแรง ชาวGotoknow โดยเฉพาะท่าน รศ.ดร.ชยพร แอคะรัจน์  ได้กรุณาชี้แนะ เพื่อการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้..แต่สำหรับผมแล้ว ผมมีความเห็นว่า การจะคงปริมาณ กล้วยไม้ให้อยู่คู่กับป่า นอกเหนือไปจาก การไม่ทำลายป่าแล้ว ผมฝันกลางวัน..ไว้ว่า.....

        ๑.ในเชิงวิชาการ น่าจะมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของชนิดรา ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของกล้วยไม้ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติอย่างจริงจังเสียที  ทั้งนี้ เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากและมีปริมาณอาหารสะสมอยู่น้อยมาก  การงอกในสภาพธรรมชาติ เมล็ดกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะไม่พัฒนาต่อ หากไม่มีเชื้อรา เช่นพวก Mycorrhiza   ที่จะผลิตน้ำตาลและธาตุอาหารที่สำคัญต่อกล้วยไม้เล็กๆ ให้เจริญเติบโตจนกระทั่งมันสามารถโตพอจะหาอาหารได้เอง เมื่อกล้วยไม้งอกแล้วจะพัฒนาต่อเซลเป็นจำนวนมาก ที่เรียกกันว่า Protocorm เมื่อ protocorm ใหญ่และแข็งแรงพอ มันจึงจะพัฒนาส่วนของใบและราก ในกล้วยไม้ดิน ความสัมพันธ์ระหว่างการงอกกับรายิ่งมีความสำคัญต่อการงอกเป็นอย่างมาก ส่วนกล้วยไม้ประเภทกึ่งอากาศ ส่วนใหญ่ protocorm จะมีสีเขียว มันสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองบ้าง ดังนั้นการศึกษาถึงชนิดและความสัมพันธ์ของเชื้อรา ต่อการงอกของกล้วยไม้ จึงน่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ที่จะไขความลับ นำไปสู่การแพร่กระจายของกล้วยไม้ป่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น ช่องว่างระหว่างการเกิดใหม่และการนำกล้วยไม้ออกจากป่า จะแคบลง กว่าที่ควรจะเป็น

        ๒.การส่งเสริมและสนับสนุนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าหายาก ปัจจุบันมีองค์กรท้องถิ่นบางแห่ง เริ่มให้ความสำคัญที่จะหันมาอนุรักษ์และหันมาเพาะขยายเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่ากันบ้างแล้ว..แต่ยังไม่รู้จักแพร่หลายและอาจจะไม่ยั่งยืนนาน เพราะอยู่ภายใต้การเมืองท้องถิ่น ดังนั้น ภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา น่าจะหาแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน หรือสถาบันศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ที่มีเกือบทุกจังหวัด ได้มีทางเลือกที่จะผลิตในเชิงการค้า ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาความรู้ ความสามารถ/ประสบการณ์ผู้เรียนแล้ว ยังจะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจ ที่จะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าได้อีกเป็นจำนวนมาก..หากมีขบวนการและวิธีการจัดการที่ดี..จะลดปริมาณการนำกล้วยไม้ที่จะนำออกจากป่าได้เป็นมากทีเดียว และยังช่วยให้กล้วยไม้บางชนิด ไม่สูญพันธุ์ได้ด้วย...

        ๓.การให้ความรู้ในการเลี้ยง การดูแลรักษา ที่ผ่านมาผมได้พบเห็นอยู่เสมอว่า ซื้อกล้วยไม้ป่าเอาไปเลี้ยง ไม่ค่อยดูแลเอาใจใสเท่าที่ควร..แลดู มากกว่าดูแล..กล้วยไม้ที่นำออกมาจากป่า จึงเกิดการสูญเสียไปมิใช่น้อย

         การให้ความรู้ การให้เทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้..เป็นที่น่าดีใจ..และขอชื่นชมด้วยใจจริงว่า ท่าน รศ.ดร.ชยพร แอคะรัจน์ ท่านก็ได้พยายามทำอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่เป็นที่ทราบมากนัก ..แต่อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ส่งผลให้การสูญเสียของกล้วยไม้ปาลดลงได้บ้าง    สถาบันการศึกษาเกี่ยวการเกษตร ที่มีเกือบทุกจังหวัด..น่าจะเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเรื่องเหล่านี้..เหมือนกับ รศ.ดร.ชยพร ท่านกำลังทำอยู่

        เอาละครับ..ผมเปิด.มา ๓ หัวข้อ กัลยาณมิตรท่านใด มีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไร...ขอความกรุณาช่วยกันต่อยอดให้ด้วยครับว่า.. จะทำอย่างไรกันดี  ถึงจะให้กล้วยไม้ป่า อยู่คู่ป่าไม่สูญพันธุ์...หรือจะมาเม้นให้กำลังก็ได้น๊ะ.....ขอเชิญครับ

                                                        สามสัก

                                                           ๕  พย.๒๕๕๒

                                          

คำสำคัญ (Tags): #กล้วยไม้ป่า
หมายเลขบันทึก: 312180เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท