รายการสายใย กศน. 26 ตุลาคม - 7 ธันวาคม 2552


26 ต.ค.52 เรื่อง "กิจกรรมครอบครัวรักการอ่าน", 2 พ.ย.52 เทปเรื่อง "บูรณาการเพื่อการเรียนรู้รายบุคคล", 9 พ.ย.52 เรื่อง "หนังสือดี กับวินนี่เดอะปุ๊", 16 พ.ย.52 เรื่อง "หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ", 23 พ.ย.52 เรื่อง "กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน", 30 พ.ย.52 เรื่อง "3D", 7 ธ.ค.52 เทปเรื่อง "หนังสือดี กับวินนี่เดอะปุ๊"


รายการสายใย กศน. วันที่  7  ธันวาคม  2552


         เทปรายการเรื่อง “หนังสือดีกับ วินนี่เดอะปุ๊”
         ( ซ้ำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 )

 


รายการสายใย กศน. วันที่  30  พฤศจิกายน  2552


         เรื่อง “3D”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - พันจ่าโทปกาสิต  ตราชื่นต้อง  รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.เขตหนองแขม กรุงเทพฯ
         - นายจิรวัฒน์  ช่อชั้น  ครูอาสาสมัคร กศน.เขตหนองแขม
         - กาญจนา  ศิลปะวิลาศ  ครู ศรช. กศน.เขตหนองแขม
         - นงนุช  จันทร์เอี่ยม  ครู ศรช. กศน.เขตหนองแขม

         กศน.เขตหนองแขม มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย และมีกลุ่มวัยรุ่นมาก มีปัญหาการสูบบุหรี่มาก  ได้ดำเนินการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม-ยาเสพติด-ประชาธิปไตย อยู่ก่อนแล้ว เช่น นิมนต์พระภิกษุมาอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมที่ ศรช.ในวัด   ทำให้ค่อย ๆ มีคุณธรรมจริยธรรมดีขึ้น

         สำหรับการดำเนินการตามนโยบาย 3D ของรัฐบาล ( ประชาธิปไตย, คุณธรรมจริยธรรม-ความเป็นไทย, ยาเสพติด ) ได้ดำเนินการจริงจังตั้งแต่เดือนกันยายน 2552  โดยมีการประชุมให้ความรู้เรื่อง 3D แก่ครู ศรช. ทุกคน ( เขตหนองแขม มี 18 ศรช. มีนักศึกษาสองพันกว่าคน ) ให้มีทิศทางเดียวกัน
         และจากการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งองค์กรนักศึกษาระดับ ศรช. แห่งละ 5-7 คน  เป็นแกนนำนักศึกษามาเลือกตั้งองค์กรนักศึกษาระดับเขตหนองแขม   และมีการประชุมองค์กรนักศึกษาระดับเขตหนองแขมเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง
         และให้องค์กรนักศึกษาระดับ ศรช. ทุกแห่ง รวมประมาณ 150 คน มาเข้าค่าย 3D

         ในการพบกลุ่มนักศึกษา จะบูรณาการ 3D โดยเริ่มต้นการพบกลุ่มด้วยการสวดมนต์   ในเรื่องความเป็นไทยจะเน้นย้ำเรื่องการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ( จากเดิมนักศึกษาใส่กระโปรงสั้น  ก็ยาวขึ้นเรื่อย ๆ และปัจจุบันนักศึกษาจะยกมือไหว้ผู้ที่เข้าไปเยี่ยมนิเทศ )   ในเรื่องประชาธิปไตย นอกจากให้เลือกตั้งองค์กรนักศึกษาแล้ว ก็ปลูกฝังประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันเช่น สามัคคีธรรม ฆราวาสธรรม
         นักศึกษาทุกคนจะรู้ว่า D1 D2 D3 คืออะไร   มีการติดตาม-รายงานผล เช่นรายงานเรื่องยาเสพติดทุกเดือน

         ในการจัดเข้าค่าย 3D นั้น จัดโดย
         - เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ( เช่น กกต.กทม., เจ้าพนักงานตำรวจ )
         - ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานต่าง ๆ เช่นให้ตั้งพรรคการเมืองจำลอง ฯลฯ
         - หลังเข้าค่าย ให้นักศึกษารวมกลุ่มเขียนโครงการขยายผลเรื่อง 3D ( เลือก 1 ด้าน ) ให้ไปขยายผลในชุมชน  1  :  10   ใช้ทุนทางสังคม ( ขอจากนักการเมืองหรือชุมชน )  โดยครู ศรช.เป็นวิทยากรเรื่องการเขียนโครงการ  เช่น โครงการหิ่งห้อยตัวน้อยสร้างสรรคสังคมไทย ใช้งบประมาณจากทุนทางสังคม 3,500 บาท  ( เขตหนองแขมมี 2 แขวง  เกือบ 70 ชุมชน )

         หลังจากไปดำเนินการขยายผลตามโครงการแล้ว ให้รายงานผลเป็นเอกสารรูปเล่ม มีภาพประกอบ พร้อมรายชื่อผู้ได้รับการขยายผล

         จุดหมายใหญ่ของนโยบาย 3D คือ ให้นักศึกษามีลักษณะ 3D
         จากการประเมินผล พบว่า นักศึกษามีการพัฒนาด้าน 3D ดีขึ้น
         ปี 2553 จะให้นักศึกษาทั้งสองพันกว่าคน เป็นแกนนำขยายผลสู่ชุมชน


ายการสายใย กศน.  วันที่  23  พฤศจิกายน  2552

 

         เรื่อง “กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน”
         ดำเนินรายการโดย สุขธีภรณ์  โรมา 
         วิทยากรประกอบด้วย
         - นายเฉลิม  โยสีดา  ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์
         - นายอดิศร  ภูกงลี (อาจารย์โอเล่ )  หัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการ กศน.อ.หนองกุงศรี
         - สมัย  พิพัฒกุล ( ครูแต๋น )  อาสาสมัคร กศน. ( อ.กศน. หรือ ครูชุมชน ) เป็นดีเจวิทยุชุมชนด้วย
         - ชุธีมาภรณ์  ภูนาเชียง  อาสาสมัคร กศน. ( อ.กศน. หรือ ครูชุมชน )

         ( อ.หนองกุงศรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 69 กม. ที่มาของชื่ออำเภอ มาจากบริเวณหนองน้ำที่มีต้นกุง เป็นส่วนหนึ่งของป่าดงมูล  ปัจจุบันป่ากุงหมดไป เปลี่ยนเป็นอ้อยและมันสำปะหลัง )

         สมัยก่อน กศน. ทำงานกับชุมชน มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ( ภายหลังยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนชุมชน ) ชาวบ้านชอบเรียนรู้โดยการฟังมากกว่าการอ่าน ชอบอ่านเฉพาะหัวข้อข่าวในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน  ศนจ.กาฬสินธุ์ โดย ผอ.ประยงค์  โคกแดง ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายในสมัยนั้น จึงนำกระบอกไม้ไผ่มาทำเป็น “บั้งความรู้” ม้วนหนังสือใส่ไว้ในกระบอก ไปแขวนในที่อ่านหนังสือฯ ทำให้ประชาชนสนใจเปิดอ่าน
         ปัจจุบันปรับเป็น กระเป๋าความรู้ ( เป็นกระเป๋าลากที่ทันสมัย หนังสือหายไม่เป็นไร) มีที่มาจากกิจกรรมอำเภอเคลื่อนที่-คาราวานแก้จน ซึ่งบริการไม่ถึงบ้าน ด้วย
         กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน จะไปบริการถึงบ้าน ดำเนินการโดยครูชุมชน ( อ.กศน. : อาสาสมัคร กศน. ) 1 คน กับครู ศรช. 1 คน เป็นบั๊ดดี้กัน  ทำจริงจังตั้งแต่ 15 มิ.ย. 52 ( หลังจาก ครม. กำหนดให้วนที่ 2 เมษายน เป็นวันรักการอ่าน และ พ.ศ.2552-2566 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน  ต้องทำให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือของคนที่มีอำนาจมากกว่า ทำให้ชุมชนพัฒนามากขึ้น )  ใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอเป็นศูนย์กลาง   อ.หนองกุงศรีมี 9 ตำบล ใช้กระเป๋าตำบลละ 1ใบ  ถึงวันที่ 30 ก.ย.52 ( 4 เดือน ) มีผู้ใช้บริการ ( นักศึกษา-ประชาชนทั่วไป) รวม 11,897 คน ( ดูจากบันทึกหลังการอ่าน )
         กลุ่มเป้าหมายที่ชอบอ่านหนังสือคือ เด็ก กับผู้สูงอายุ   หนังสือที่ชอบอ่านคือประเภท เกษตร-อาหาร-การ์ตูน

         ก่อนเข้าหมู่บ้าน จะทำหนังสือไปขออนุญาตผู้นำชุมชน และไปประชาสัมพันธ์เองทางหอกระจ่ายข่าว  จากนั้นนำกระเป๋าเข้าหมู่บ้าน ๆ ละ 7 วัน ในแต่ละหมู่บ้านจะหมุนเวียนไปตามคุ้มต่าง ๆ ( จัดทำป้ายจุดบริการ   ใช้จุดศูนย์รวมชุมชน เช่นร้านก๋วยเตี๋ยว )   แต่ละวัน อาสาสมัคร กศน. จะอยู่ด้วยประมาณ 3 ชั่วโมง  มีการให้ยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านโดยให้ยืมภายในช่วง 7วัน ที่กระเป๋าอยู่ในหมู่บ้านนั้น แต่ยังมีผู้ยืมน้อย
        จะมีการพัฒนารูปแบบการบริการอย่างไม่หยุดนิ่ง
         ( งานที่นักศึกษาสายสามัญทำส่ง ต้องเขียน ห้ามพิมพ์ )
         ( ให้ผู้ชมโทรศัพท์เข้าไปตอบคำถามในรายการ ว่า วันที่เท่าไรเป็นวันรักการอ่าน เพื่อรับหนังสือ “ความลับของสมอง” ซึ่งเป็นหนังสือขายดี 1 คน 1 เล่ม )

         กลุ่มเป้าหมายที่ต้องพยายามเข้าถึงให้ได้ คือกลุ่มวัยรุ่น โดยจะเลือกรูปแบบบริการ เลือกหนังสือ ที่เขาสนใจ และเลือกสถานที่แยกจากกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ   สำหรับกลุ่มเก่าจะเพิ่มหนังสือเพิ่มกระเป๋าเพิ่มวันแต่ละหมู่บ้าน

 


รายการสายใย กศน.  วันที่  16  พฤศจิกายน  2552

 

         เรื่อง “หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ”
         ดำเนินรายการโดย สุขธีภรณ์  โรมา 
         วิทยากรประกอบด้วย
         - ดร.ศุภชัย  หล่อโลหะการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( สมช. : NZA : NATIONAL INNOVATION AGENCY )
         - นายบุญส่ง  คูวรากุล  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล

         นวัตกรรม ( INNOVATION ) คือ สิ่งใหม่ ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างแพร่หลาย  ไม่เพียงแต่หมายถึงเครื่องมือเครื่องใช้ด้านอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังคลอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรและภาคบริการด้วย หรือแม้กระทั่งการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ของหน่วยงานบริษัทห้างร้าน หากเป็นสิ่งใหม่ที่คิดขึ้นโดยไม่ซ้ำใคร สามารรถนำไปใช้ได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแพร่หลาย ก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม

         หากในชีวิตการทำงานของคน ๆ หนึ่ง องค์กรหนึ่ง หรือประเทศหนึ่ง มีการทำงานอยู่บนรากฐานของการพัฒนานวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง  คนเหล่านี้องค์กรเหล่านั้นและประเทศนั้น ๆ จะประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแน่นอน

         ตัวอย่างนวัตกรรมใกล้ตัว เช่น
         - สบู่ที่คิดพัฒนาใหม่ ใช้องค์ประกอบเป็นอินทรีย์หรือออร์แกนนิคได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล  มูลค่าเพิ่มจากก้อนละไม่กี่ 10 บาท เป็น 300-400 บาท
         - เส้นก๋วยเตี๋ยว ปกติใช้น้ำมันเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน คิดค้นกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้น้ำมัน เส้นขาวสะอาด แพคเป็นผัดไทยปรุงสำเร็จ
         - การผลิตหุ่นยนต์โดยความร่วมมือของ เยาวชนนักประดิษฐ์ กับ บริษัทบริหารจัดการ ( สุกี้ MK จะซื้อหุ่นยนต์ไปช่วยเสิร์ฟอาหารในปีหน้า )
         - เด็กจบใหม่ผลิตเฟอร์นเจอร์จากน้ำยางพารา ออกแบบสวยงาม ขายประเทศจีน รายได้เดือนละประมาณ 3 ล้านบาท

         ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่างอยู่รอบตัวเรา พร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นสินค้านวัตกรรม สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

         สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( สนช. ) เป็นหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนผู้ประกอบการในการทำธุรกิจนวัตกรรม ในหลากหลายสาขา โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 สาขาอุตสาหกรรม คือ
         - Bio Business ( กลุ่มธุรกิจชีวภาพ )
         - ECO Industry ( กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ )
         - Design & Solutions ( กลุ่มการออกแบบเชิงนวัตกรรม )
         ที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนด้านความรู้ และเงินลงทุน ไปกว่า 400 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 7,000 ล้านบาท

 

         เพื่อเปิดโอกาสมากขึ้นให้แก่ผู้ประกอบการทั่วไป ที่ไม่มีเวลาเข้ารับการศึกษาด้านการจัดการนวัตกรรมในหลักสูตรต่าง ๆ หรือไม่มีโอกาสได้สร้างความเข้าใจในเรื่องการจัดการนวัตกรรมเท่าที่ควร  ให้มีโอกาสรับความรู้ในด้านนี้อย่างเหมาะสมถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในการทำงาน หรือคิดค้นสร้างนวัตกรรมของตัวเองได้  จึงได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทางไกล กศน.  จัดทำเป็น “หลักสูตรวุฒิบัตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ”  เป็นหลักสูตร 280 ชม. ใน 4 เดือน ( 3 ชม./วัน ) เรียนโดยวิธีเรียนทางไกล ( เรียนอยู่ที่บ้าน ไปพบกลุ่มครั้งเดียว ) ใช้สื่อมัลติมีเดีย ( สิ่งพิมพ์, วิดีทัศน์ )  ผู้เรียนจะได้เป็นสมาชิกบัตรทอง innoOKmember card ของ สนช. เพื่อรับจดหมายข่าวรายเดือนตลอดอายุสมาชิก พร้อมสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาศึกษาดูงาน
         เนื้อหา เช่น
         - แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม
         - การปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของนวัตกรรม
         - การลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม
         - การวางกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจและองค์กรนวัตกรรม
         และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น ยื่นเสนอขอรับการสนับเงินทุนจาก สนช. สูงถึง 5 ล้านบาท   เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับวุฒิบัตรที่มีลายเซ็นรับรองจากสองหน่วยงาน เพื่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

         ค่าลงทะเบียนเรียน 2,500 บาท กำลังรับสมัครถึงวันที่ 4 ธ.ค.52 ผู้สมัครต้องอ่านออกเขียนได้


รายการสายใย กศน. วันที่  9  พฤศจิกายน  2552

 

         เรื่อง “หนังสือดี กับวินนี่เดอะปุ๊”
         สุขธีภรณ์  โรมา  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์ ( ลุงหมีปุ๊ )
         ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย  อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ลงนามในธนบัตร ) เรียนเก่งมาก เก่งทั้งดนตรี ศิลปะ กีฬา จบทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ   เป็นนักเขียนใช้นามปากกาว่า วินนี่เดอะปุ๊ ( เพราะชื่อเล่นว่าปุ๊ และเขียนหนังสือสไตล์สบาย ๆ )  เป็นกรรมการคัดเลือกหนังสือดี 
         เขียนหนังสือปีละเล่ม ปัจจุบันมี 13 เล่ม  เล่มแรกคือ “ความรักที่มาทางไปรษณีย์” ( ได้รางวัล ) และมีตามมาอีก 2 เล่ม เป็นเซ็ตเดียวกัน คือ หัวใจที่มาทางไปรษณีย์ และ ดอกไม้ที่มาทางไปรษณีย์  เป็นเรื่องเล่าจากแสตมป์ที่สะสม   เล่มล่าสุดคือ “สัตว์น่ารัก” ( สำนักพิมพ์มติชน )

         มีความคิดว่า “ทุกอย่างเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้  ทำให้เกิดประโยชน์ เกิดความเพลิดเพลินได้   การอ่านเป็นจุดเริ่มต้นในการเสาะแสวงหาสิ่งดีดี ( ความรู้ ) และได้ความเพลิดเพลินด้วย  ลักษณะหนังสือดีคือ อ่านสนุก-เขียนดี-มีคุณค่า
         เราสามารถกระตุ้นให้คนรักการอ่านตั้งแต่เด็ก ( วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ) โดยนำหนังสือภาพมาให้เด็กดูภาพ พ่อแม่เปิดหนังสืออ่านให้ลูกที่ยังอ่านไม่ออก ฟัง  และกระตุ้นความคิดว่าได้อะไรจากเรื่องนี้   ทำให้เมื่อเด็กโตจนอ่านได้จะรักการอ่าน รู้จักคิด นำสิ่งที่อ่านไปเล่า ไปเขียน เผยแพร่ คือ อ่าน --> คิด --> พูด --> เขียน  ตามลำดับ
         การอ่านคือ การซึมซับสิ่งดี ๆ เข้ามาหาตัว
         การเขียนคือ การถ่ายทอดสิ่งดี ๆ ออกไปสู่คนอื่น
         หนังสือด้านบันเทิง ไม่ใช่ด้านวิชาการ ก็มีประโยชน์ทำให้เพลิดเพลินและสอดแทรกแง่คิด

         สำหรับคนที่โตแล้ว ฝึกการรักการอ่านโดย เลือกอ่านหนังสือที่สอดคล้องกับความสนใจ เช่นเริ่มที่ เรื่องสั้น หรือบทกวี  เมื่อชอบอ่านแล้วจะอ่านเรื่องยาว ๆ ได้จนจบ   อาจเลือกอ่านหนังสือที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ หรือหนังสือดีที่มีผู้แนะนำไว้  และขยายผลโดยตามอ่านเล่มอื่นของนักประพันธ์คนเดิม

 

         ดร.ชัยวัฒน์ ( วินนี่เดอะปุ๊ ) ได้จัดโครงการหนังสือดีสำหรับเยาวชน ( แต่อ่านได้ตลอดชีวิต ) โดยคัดเลือกหนังสือดีไว้ 124 เล่ม  จัดซื้อเป็นตู้  ส่งไปให้โรงเรียนต่าง ๆ รวมทั้งชวนนักเขียนตัวจริงไปเยี่ยมโรงเรียน  เป็นวิธีหนึ่งในการกระตุ้นความสนใจในการอ่าน    ตู้หนังสือ 124 เล่ม แบ่งเป็น 7 หมวด คือ
         1. วรรณกรรมเยาวชน ไทยและต่างประเทศ
         2. สารคดี - ปรัชญา ศาสนา ศิลปะ
         3. นักเขียนคัดสรร
            - มรว.คึกฤทธิ์  ปราโมช
            - ชมัยภร  แสงกระจ่าง
            - วินทร์  เลียววาริณ
         4. นักเขียนอมตะของไทย    เช่น ศรีบูรพา ( ข้างหลังภาพ ), ดอกไม้สด ( ผู้ดี )  ฯลฯ
         5. วรรณกรรมซีไรต์ และซีรอง
         6. แนวที่น่าสนใจ
            - แนวประวัติศาสตร์ เช่น สี่แผ่นดิน, รัตนโกสินทร์
            - แนวสืบสวน
            - แนววิทยาศาสตร์
         7. วรรณกรรมคลาสสิค

         นอกจากจะมอบตู้หนังสือนี้ให้โรงเรียนต่าง ๆ แล้ว ยังมอบให้ที่อื่น ๆ เช่น ห้องสมุดมารวย, ศูนย์เรียนรู้วังจันทรเกษม ศธ., ธนาคารแห่งประเทศไทย ...
         ( หาข้อมูลรายชื่อหนังสือ 124 เล่ม จากอินเตอร์เน็ตได้ )
         หนังสือเหล่านี้อ่านได้หลายครั้ง ตั้งแต่เด็กจนโต และใช้เล่าให้ลูกหลานฟัง รวมทั้งให้ลูกหลานรุ่นใหม่อ่าน

         อยากจะให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สนใจการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือที่สนใจ และขยายผลไปหลาย ๆ แนว แล้วใช้ความคิด พูดคุยแลกเปลี่ยน เขียนเผยแพร่ อยู่ตลอดชีวิต  รวมทั้งแนะนำให้เด็กสนใจการอ่าน


รายการสายใย กศน. วันที่  2  พฤศจิกายน  2552

( เทป ซ้ำวันที่ 19 ต.ค.52 เรื่อง "บูรณาการเพื่อการเรียนรู้รายบุคคล" )


รายการสายใย กศน.  วันที่  26  ตุลาคม  2552


         เรื่อง “กิจกรรมครอบครัวรักการอ่าน”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากรประกอบด้วย
         - นายเรืองฤทธิ์  ชมพูผุดผ่อง ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดชุมพร
         - นายอุชุ  เชื้อบ่อคา ผู้อำนวยการ กศน..อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
         - อัจฉรา  แก้วศรีงาม บรรณารักษ์ชำนาญการ หสม.อ.หลังสวน

         สนง.กศน.จ.ชุมพร มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานห้องสมุด 3D ส่งเสริมการรักการอ่าน ใน 3 ด้านคือ
         1. การใช้ห้องสมุดเป็นฐาน ( ทั้งจังหวัดมีห้องสมุดฯ 8 แห่ง ปีที่ผ่านมา หสม.จ.ชุมพร และ หสม.เฉลิมราชกุมารี อ.สวี ได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศ )
         2. การตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย ( เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เด็ก ส่งเสริมตั้งแต่เด็กจึงจะรักการอ่าน )
         3. กิจกรรม ( แต่ละอำเภอคิดกิจกรรม )

         ห้องสมุดประชาชน อ.หลังสวน เป็นเอกเทศ พื้นที่กว้าง อยู่ท่ามกลางส่วนราชการ-สนามกีฬา มีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ( ประชาชนทั่วไป, นักศึกษา กศน. พบกลุ่มที่ห้องสมุดฯ, เด็ก-เยาวชน ) มีบรรณารักษ์คนเดียว เป็น จนท.พัสดุด้วย  มีครู ศรช. 13 คน หมุนเวียนมาช่วยบรรณารักษ์วันละ 1 คน และมีนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ มาฝึกงาน   มีสมาชิกห้าพันกว่าคน มีหนังสือมากถึงหมื่นกว่าเล่ม ( ปี 53 จึงจะนำหนังสือไปทำโครงการกล่องหนังสือสู่ชุมชน )

         ปี 2551 จัดโครงการส่งเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัว (ปี 2552 พัฒนาเป็นโครงการครอบครัวรักการอ่าน ) ผู้สมัครสมาชิกห้องสมุดที่เป็นคนนอกจังหวัดแต่มาทำงานใน อ.หลังสวน ให้คนใน อ.หลังสวนรับรอง   ถ้าต้องการยืมหนังสือเกิน 4 เล่ม ให้สมัครทำบัตรสมาชิกทั้งครอบครัวยืมแทนคนในครอบครัวได้  ครอบครัวสมาชิกช่วยงานช่วยกิจกรรมทำหน้าที่แทนในช่วงบรรณารักษ์ไม่อยู่ ได้
         มีการประกวดครอบครัวนักอ่าน ( มีสมาชิกที่เป็นครอบครัว ใช้บริการและช่วยงานห้องสมุดฯประจำ 20 ครอบครัว )
         ปี 53 จะเปิดบริการนอกเวลา, จะทำกล่องความรู้สู่ชุมชน ให้ครู ศรช. ( กศน.ตำบล ) ดูแลครอบครัวในพื้นที่ 13 ตำบล  ปี 53 เน้นเขตเทศบาลหลังสวน และ ต.พ้อแดง (เพราะ ต.พ้อแดง ใช้บริการห้องสมุดฯน้อย)
         กศน.ตำบล เน้นความพร้อมด้านอาคารและเครือข่าย ( กรรมการ ) เพื่อความเข้มแข็ง มีทีวี-จานดาวเทียม ทุกแห่ง   กศน.ตำบลทุกแห่งดำเนินงานส่งเสริมการอ่าน ทั้งอำเภอมีกล่องหนังสือ 39 กล่อง ๆ ละ 60-70 เล่ม  ให้นักเรียนในระบบ/อาสาสมัครในพื้นที่ ดูแลกล่องหนังสือ

        ในห้องสมุดฯ เน้นหนังสือนิยาย-การ์ตูน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น หน้านี้มีรางวัลได้ของขวัญจากใจบรรณารักษ์, เรียนรู้ด้วยหนึ่งสมองกับสองมือ, เกมกลุ่มสัมพันธ์-เดินกะลา, วาดภาพระบายสี, ให้ผู้ปกครองนำเด็กไปฝากไว้ที่ห้องสมุดฯ และที่ ศรช. ( กศน.ตำบล) และมีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบคุณภาพการอ่าน ( เช่น ประกวดแข่งขันทักษะ ) นอกเหนือจากการประเมินตามตัวชี้วัด


หมายเลขบันทึก: 312123เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ ขออนุญาต copy นะคะ..ขอบคุณค่ะ

ตามสบายครับ แต่มันแค่ย่อ ๆ นะ ไม่ละเอียด

ขอบคุณมากคะ..สำหรับการสรุปรายการสายใย กศน.

วันที่ 9 พ.ย. 52 ไม่ได้รับชม เนื่องจาก

เครื่องรับสัญญาณไม่ได้...

มีประโยชน์จริงๆ คะได้อ่าน/ดูย้อนหลังด้วย

ดูย้อนหลังอย่างละเอียด ทางเว็บไซต์ ETV ก็ได้นะครับคุณตาลแตกหน่อ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.เอกชัย

ครูณัฐ (สถาบันฯสิรินธร) ขออนุญาต COPY ให้น้องบรรณารักษ์อ่านนะคะ

สถาบันฯ เชื่อม blog ท่าน ผอ.อยู่ในเว็บไซต์ http://www.siced.go.th/index.php ค่ะ

และครูณัฐอ่าน blog ท่าน ผอ.ทุกเรื่องค่ะ ขอบคุณค่ะ

ก็ดีใจครับ ที่บล็อกผมได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเมนูแหล่งเรียนรู้ ( การจัดการความรู้ กศน. KM ) ของเว็บไซต์สถาบันสิรินธร

แต่... ผมไม่ได้เป็น ผอ. นะครับ  เป็นข้าราชการครูเหมือนคุณครูณัฐ

ขอบคุณมากมาย สำหรับความเสียสละอุตส่าห์สรุปเรื่องมาให้คนที่ไม่ได้ดูรายการ(ผมก็ไม่ได้ดู)ได้รับรู้..............

ยินดีครับท่าน
( วันไหนผมได้ดู ไม่ได้ไปราชการ ก็จะสรุปครับ )

ขอบคุณมากนะคะที่สรุปไว้ให้ เวลาไม่ได้ดูก็มาอ่าน ได้ความรู้มากๆค่ะ

ถ้าผมไม่ได้ไปราชการก็ยินดีสรุปครับคุณแหม่ม ( แหม่มไหนหนอ  เฉพาะที่ กศน.พระนครศรีอยุธยา ก็มีไม่ต่ำกว่า 3 แหม่ม )

สวัดดีครับ อ. ทุกท่าน ผม อาท นะครับ หรือ ดนุล ลิมปชัย ผม เรียน ศรช

วัดอุดมรังสีครับอยกบอกว่า ก ศ น ดีมากครับเปิดโอกาสไห้คนที่ไม่ได้เรียน

ขอบคุนมากครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูงที่ได้เม้น

ในกระทู้นี้ครับ

ถ้ามีอะไรจะเสนอแนะหรือแสดงความคิดเห็น ก็มาเม้นอีกนะครับคุณอาท (ดนุพล)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท