โครงการค้นหาเซียน


เซียนให้ IV

พูดถึงเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอแจมด้วยคน

โครงการค้นหาเซียนเป็นอีก 1 โครงการของคกก. PCT (รพ.สูงเนินปี 2552) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในรพ.ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน (กระตุ้นให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง)

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. กำหนดความหมายของเซียน (ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญเฉพาะด้าน มีความรู้,ทักษะ, เทคนิค, มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ไม่พบปัญหาข้อร้องเรียน ความเสี่ยงต่างๆ)

2. ให้แต่ละหน่วยงานเสนอชื่อผู้ที่เป็นเซียนของหน่วยงานตนเอง

3. รวบรวมและกำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยน (ที่แต่ละงานเสนอ) ในแต่ละเดือน

4. กำหนดรูปแบบการเล่า : พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Coffee meeting), เล่าจากประสบการณ์ (Story telling), การปฏิบัติจริง

5. นำประเด็นที่ได้มารวบรวมเป็นมาตรการ (เก็บเป็นคลังความรู้)

วันนี้ขอเล่าประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เรื่องการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ"

ประสบการณ์ผู้ให้บริการ : ถ้าแทงไม่ได้ใน 2 ครั้งแรก ใจเริ่มเสีย, เห็นเส้นชัดมากแต่แทงไม่ได้ซะนี่, ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ด้วยจะเกร็ง กลัวแทงไม่ได้ในครั้งแรก เสียวๆ, ไม่อยากแทงครั้งที่ 3 ต้องการหาผู้ช่วย, ไม่อยากให้ญาติมาเฝ้าดู ฯลฯ

ประสบการณ์ผู้รับบริการ : เจ็บนะถูกแทงเข็ม 3-5 ครั้ง, เปลี่ยนคนเถอะถ้าแทงไม่ได้ อย่าดำน้ำเลย(ขอครั้งเดียวได้ป่าว), ผิดด้วยหรือที่อ้วน+เส้นหายาก, รอยแทงเข็มเขียวช้ำ ระบมไปหมดแล้ว

ประเด็นที่ได้

- เลือกแทงแขนข้างที่ไม่ถนัด (เหลือข้างถนัดไว้ทำกิจกรรม) ในเด็กเลือกแขนที่ไม่ดูดนิ้วมือ

- เช็ด 70%Alcohol รอให้แห้งก่อน (ไม่งั้นจะทั้งเจ็บและแสบ แถมไม่ Sterilt อีก)

- กรณีเส้นหายากใช้วิธีคลำเส้น(เดาตาม anatomy หลอดเลือดดำ)ใช้นิ้วชี้สัมผัสกับผิวหนังผู้ป่วย กดปล่อยซ้ำๆเส้นเลือดจะนุ่ม อุ่น(ถ้าเป็นเส้นเอ็น หรือหนังเนื้อเยื่อที่บวมจะแข็ง ไม่ฟูนุ่ม)

- ถ้าอากาศเย็น หรือเด็กผ่านการเช็ดตัวมา เส้นไม่ขึ้นใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบให้เส้นเลือดขยายตัว

- ถ้าเส้นเลือดสั้น ให้แทงส่วนไกลจากบริเวณที่ต้องการก่อนไปถึงเส้น

- กรณีที่เส้นเลือดเข็งหรือดิ้น ให้ยกเส้นขึ้นแล้วค่อยแทงเข็ม

- หงายปลายเข็มขึ้น วางเข็มทำมุม 15 – 30 ˚ ดึงผิวหนังให้ตึง แทงปลายปากฉลามผ่านทะลุผิวหนังถึงเส้นเลือด รอให้เส้นเลือดไหลย้อนกลับเข้า Medicut

- ตั้งสติก่อนแทงเข็ม (บ่อยครั้งที่เห็นเส้นชัดมาก แต่แทงไม่ได้)

ผลจากการนำไปใช้

* ได้นำประเด็นการแทง IV กรณีเส้นเลือดสั้นมาใช้ โดยแทงส่วนไกลจากบริเวณที่ต้องการก่อนไปถึงเส้น ทำให้เข็มอยู่ในตัวผู้ป่วยทั้งหมด และปิดพลาสเตอร์ ทำให้ Medicut อยู่ได้นานขึ้น (สมัยก่อนจะใช้วิธีแทงเข็มเพียงครึ่งเดียว เหลือเข็มอีกครึ่งไว้ด้านนอกตัวผู้ป่วย และปิดพลาสเตอร์ โอกาสที่ Medicut หัก, เลื่อนหลุดจะสูงมากเพราะปลายเข็มเข้าเส้นเพียงเล็กน้อย) ต้อลขอบคุณเทคนิคนี้

* ได้นำประเด็นการตั้งสติ, เดา anatomy หลอดเลือดดำมาใช้เวลามองไม่เห็นเส้น จะมองมือตนเองและมือผู้ป่วยเพื่อเปรียบเทียบแนวเส้นเลือด กดปล่อยซ้ำๆและก็เดาถูกจริงๆ "วันนี้โชคดีแทงครั้งเดียว" เป็นคำพูดของผู้ป่วยรายหนึ่งที่ไม่เคยถูกแทงน้ำเกลือได้ภายใน 1 ครั้ง (กับคำพูดที่แสนธรรมดา แต่ทำให้ฉันรู้สึกว่าผู้ป่วยดีใจมาก ฉันเองก็เช่นกัน)

มีอีกหลายข้อคิดเห็น วันหลังจะนำมาเล่าอีกนะคะ  

 

หมายเลขบันทึก: 311807เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เป็นโครงการณ์ที่เยี่ยมมาก ๆ ครับ
  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลย

ขอบคุณค่ะ

ขณะแลกเปลี่ยนยิ่งสนุก เพราะเป็นการเล่าจากเรื่องที่ทำจริง สำเร็จจริง เกิดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไม่เครียด มีการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ให้กำลังใจ ชื่นชมซึ่งกันและกัน เกิดความภาคภูมิใจและความสามัคคีในองค์กร

แต่ตอนสรุป ออกจะยากสักหน่อย

Dsc03925

ดีจัง KM ค้นหาเซียนแทงเส้น เพื่อประโยชน์ของคนไข้ แทงครั้งเดียวได้เลย

ค่ะ..เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยบางประเด็น ช่วยได้มากทีเดียว

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่นำไปใช้ในการทำงาน ซึ่งสุดท้ายผู้ป่วยได้รับประโยชน์

สวัสดีครับคุณ ระพี "ตั้งสติก่อนสตาร์ท เพื่อความไม่ประมาท"

ตั้งสติ ก่อนแทงเข็ม ไม่ต้องเลาะเล็มไปซ้ายทีขวาที ให้คนไข้เจ็บปวด

ขอบคุณสิ่งเล็กน้อยแต่เป็นความงามของคนทำงานครับ

ขอบคุณ "วอญ่า-ท่านผู้เฒ่า" ที่แวะเข้ามาเป็นกำลังใจให้คนทำงานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท