องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : การมีส่วนร่วมในการดูแลขณะ induction of labour


การให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำการคลอด (Induction of labour)

                                                                             วิไลวรรณ     สุรารักษ์   

                                                                             บุษรา         ใจแสน     

                                                                             มนัสนันท์     ลิ้มเจริญ   

         การชักนำการคลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่  8  มีมาตรฐานวิธีการดูแล โดยติดตามการหดรัดตัวของมดลูกและฟังเสียงหัวใจทารกทุก  30  นาที  แต่ในช่วงเวลา  30  นาทีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ ก็ได้  ดังนั้น  เพื่อจะช่วยลดความรุนแรงหรือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  จึงเห็นความสำคัญของการอธิบายให้ผู้คลอดและสามี/ญาติ  ได้รับความรู้ คำแนะนำชี้แจง เหตุผลของการรักษาด้วยการชักนำการคลอด  เพื่อให้ผู้คลอดและสามี/ญาติ  ยอมรับเหตุผลของการรักษาและตระหนักในการมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์

          ผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำการคลอดและสามี/ญาติ ได้รับการชี้แจงเหตุผลของการรักษา  อาการและอาการผิดปกติ ของตนเอง เฝ้าติดตามการหดรัดตัวของมดลูก(ประเมิน Contraction ด้วยตนเอง) นับเด็กดิ้นได้อย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะ คลอด 

วิธีการศึกษา : ศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์จำนวน  23  ราย  ระหว่างเดือนธันวาคม  2546  ถึงเดือนสิงหาคม  2547  กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอดและได้รับการให้ความรู้คำแนะนำและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำการคลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์

ผลการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่  เดือนธันวาคม2546 ถึงเดือนสิงหาคม2547  ในผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำการคลอด  จำนวน  23  ราย 

  • ให้สามีและญาติมีส่วนร่วมรับฟังคำชี้แจงพบว่าผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำในการคลอด คิดเป็นร้อยละ  100 
  • ผู้รับบริการที่ได้รับการชักนำในการคลอดและสามี/ญาติ ได้รับการชี้แจงเหตุผลของการรักษาอาการและอาการที่ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100 
  • ผู้รับบริการสามารถประเมินความผิดปกติของตนเองได้อย่างถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 100 
  • ผู้รับบริการสามารถเฝ้าติดตามการหดรัดตัวของมดลูกด้วยตนเองและนับลูกดิ้นขณะรอคลอดได้อย่างถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 91.30   
  • ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะคลอด คิดเป็นร้อยละ  86.96  
  • ผู้รับบริการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 100
หมายเลขบันทึก: 311115เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท