องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : การป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในห้องคลอด


กระบวนการลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด งานห้องคลอด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

 นางวันวิสา    ฤทธิ์บำรุง ,นางบุษรา   ใจแสนและนางสุริยา  ยังเจริญ         

   กระบวนการลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 เป็นการศึกษาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด ในกลุ่มเป้าหมายคือทารกแรกเกิดทุกรายที่คลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1871 รายโดยมีการทบทวนแนวทางการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในในภาพรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ในทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดและมีการ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement :  CQI) โดยงานห้องคลอดได้ดำเนินดังนี้

  • มีการประชุมชี้แจงในหน่วยงานให้ทราบถึงสถานการณ์ 
  • เก็บอุบัติการณ์การเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2550
  • วิเคราะห์สาเหตุการเกิดปัญหา
  • วิเคราะห์ทางเลือกโดยนำปัญหา มาหาแนวทางแก้ไข
  • พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบบันทึกการเฝ้าระวังภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดในห้องคลอดและส่งต่อทารกแรกเกิดระหว่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

            ผลการดำเนินงาน  ภายหลังจากการนำแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกไปปฏิบัติและประเมินผลหลังดำเนินงานต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือนอัตราการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดงานห้องคลอด ตั้งแต่เดือนตุลาคม2549 ถึงเดือนกันยายน 2550 มีแนวโน้มลดลงจากเดิมในปี พ.ศ.2549 ร้อยละ 6.4 เป็นร้อยละ 2.2 ในปีพ.ศ. 2550

หมายเลขบันทึก: 311112เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท