ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมือง


           การติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้เป็นไปอย่างไร้พรมแดน รวมถึงการเดินทางข้ามประเทศก็เป็นไปอย่างสะดวกสบาย และได้มีความพยายามที่จะมีความร่วมมือกันทำให้การเดินทางข้ามประเทศเป็นไปอย่างเสรีในแต่ละภูมิภาค แต่ทว่าการหวงกันอำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือดินแดนของแต่ละรัฐก็ยังมีอยู่ จึงมีความจำเป็นของรัฐแต่ละรัฐที่จะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเข้าเมืองของคนที่ไม่ใช่ประชากรของรัฐของตน หรือคนต่างด้าว ซึ่งเป็นการการจัดสรรเอกชนในทางระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การจัดการสิทธิของเอกชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

ในทางระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้การเดินทางของมนุษย์นั้นถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข (Conditional Rights)

            สำหรับประเทศไทยนั้นก็ได้มีวิวัฒนาการในเรื่องของการจัดการประชากรมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการกับคนต่างด้าวโดยกฎหมายคนเข้าเมือง ในสมัยก่อนวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 นั้นประเทศไทยยังใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือที่เรียกว่า มูลนิติธรรมประเพณี กล่าวคือ คนต่างด้าวสามารถเข้ามาในราชอาณาจักรสยามได้อย่างไม่มีเงื่อนไข และเข้าเมืองถูกกฎหมายเสมอ อีกทั้งให้สิทธิอาศัยถาวรแก่คนเข้าเมือง

            แต่เมื่อหลังวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ก็ได้มีการกำหนดเงื่อนไข และวิธีการต่าง ๆ ของการเข้าเมืองของคนต่างด้าวไว้เป็นกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในระดับพระราชบัญญัติ กล่าวคือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 นั้นเป็นวันที่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 มีผลใช้บังคับ จึงเป็นการปิดประตูเมือง[1]ของประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยก็ได้มีการปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองมาโดยตลอดจนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

            กฏหมายคนเข้าเมืองนั้นเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนที่มีองค์ประกอบต่างด้าว และเป็นการกำหนดสถานะอันนำไปสู่การจัดการสิทธิของคนต่างด้าว

            สิทธิของคนต่างด้าว จะเป็นอย่างไรในประเทศไทยนั้น กฎหมายระหว่างประเทศรับรองให้ตกอยู่ภายใต้กฎหมายภายในของรัฐที่บุคคลต่างด้าวนั้นกล่าวอ้างสิทธิ กฎหมายระหว่างประเทศไม่บังคับให้ศาลไทยใช้กฎหมายของรัฐอื่นในการกำหนดสิทธิของคนต่างด้าวในประเทศไทย คนต่างด้าวจะมีสิทธิในประเทศไทยอย่างไรขึ้นอยู่กับการยอมรับของกฎหมายไทย

            แต่มีข้อสังเกต คือ ทางปฏิบัติของนานารัฐมิได้เพิกเฉยต่อลักษณะระหว่างประเทศของสิทธิที่ถูกกล่าวอ้างขึ้นเลย การยอมรับลักษณะระหว่างประเทศของสิทธิในระดับใดขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิทธิและความสัมพันธ์ที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีต่อกัน

            ปัญหาแรกที่คนต่างด้าวส่วนใหญ่พบก็คือปัญหาการเข้าเมืองไทย คนต่างด้าวที่ต้องการจะเข้าเมืองย่อมต้องการรู้ว่า ข้อเท็จจริงสามารถทำให้เกิดสิทธิที่จะเข้าเมือง และย่อมต้องการรู้ต่อไปว่า สิทธินั้นมีความสมบูรณ์หรือมีเงื่อนไขอย่างไร ข้อสังเกตก็คือ คนต่างด้าวทุกคนประสบปัญหานี้ เว้นแต่จะเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

            ปัญหาที่สอง คือ ปัญหาการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนต่างด้าวไม่มีสิทธิอยู่ในประเทศไทยโดยอัตมัติ สิทธิดังกล่าวเกิดจากการร้องขอจากรัฐให้อนุญาตอยู่ได้ สิทธิดังกล่าวอาจจะถาวรหรือชั่วคราวก็ได้

            ท้ายที่สุดนี้ นอกจากปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในชีวิตประจำวันของบุคคลธรรมดาแล้ว ยังมีปัญหาอื่นที่คนต่างด้าวในประเทศไทยต้องการรู้ ก็คือ สิทธิมนุษยชนที่คนต่างด้าวพึงได้รับการคุ้มครองในประเทศไทย

 


[1] รศ. ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

หมายเลขบันทึก: 310757เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านแล้วค่ะ

รออ่านการคิดเรื่อง Basic Concept ที่จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานการทำวิทยานิพนธ์ ป.โทของโอ๊ตค่ะ

อ่านเเล้วเหมือนกันจ้า

คงต้องบอกด้วยกระมังว่าในอดีตตั้งแต่ปิดประตูเมือง จนกระทั่งปัจจุบัน ที่ใช้พรบ.คนเข้าเมือง ๒๕๒๒ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

ลองอ่าน ๆ ดูนะ

อ่านแล้วนะ อยากรู้ต่อจังเลยว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับสิทธิเข้าเมืองมีอะไรบ้าง

น้องโอ๊ตคะ เท่าที่อ่านดู เหมือนกับน้องโอ๊ตกำลังจะสื่อว่าวิทยานิพนธ์ของน้องโอ๊ตจะเป็นการค้นพบว่าการเข้าเมืองและการอยู่ พบว่ามีปัญหาและเพื่อแก้และป้องกันปัญหา (ประมาณแนวนี้หรือเปล่าคะ ?)

ก็ประมาณนั้นนะครับ

แต่ผมจะเจาะลึกลงไปอีก และ Scope ขอบเขตวิทยานิพนธ์เข้าไปอีกนะครับ

เดี๋ยวจะอธิบายอีกทีนะครับ

ผมทำเรื่องของมาตรา ๑๗ พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท