CQI story (ตอน 2 ) : พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย COPD / Asthma clinic


            

                                  

 

           วันนี้มีเรื่องราวการพัฒนาคุณภาพ story CQI ภาค 2 ค่ะ เกี่ยวกับการจัดตั้ง clinic COPD/ASTHMA  ก่อนการจัดตั้งเราได้พบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

 

              ปัญหาที่พบ 

 

 1.อัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย COPD

     สูง 1 ใน 5 ของโรงพยาบาล

 2.อัตราการ re- admit ด้วย acute  exacerbation

    ภายใน 28 วัน  1 ใน 5  อันดับ

 3.ผู้ป่วยที่ควบคุมอาการไม่ได้ต้องมาพ่นยาช่วงที่มีอาการหอบ

     ที่   ER  ประมาณ  24 ราย/เดือน 

 4.ผู้ป่วยขาดความรู้เรื่องการพ่นยาอย่างถูกวิธี

 5. ผู้ป่วยขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเรื่องโรค /การปรับ       พฤติกรรมการ สูบบุหรี่

 6. ผู้ป่วยที่ admit ด้วย COPD เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

     เช่น respiratory  failure  

 7. ยังไม่มีการติดตามนัดผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ

 

          พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย COPD  แบบ COPD Clinic

  

  ก.เรื่องที่จะพัฒนา (ตั้งเป้า) •พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย COPD/Asthma :   แบบ COPD Clinic

 

  ข.สิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุง (ปรับเปลี่ยน) กระบวนการพัฒนา

 

• ทีม PCT มีการจัดตั้งทีมสหสาขาวิชาชีพในการร่วมดูแลผู้ป่วย COPD  อย่างเป็นระบบ

•ทีม PCT จัดทำ  CPG การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วย COPD

•ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM)  ที่ศูนย์ความร่วมมือนครราชสีมา สำนักงานสารณสุขจังหวัด (HAAC)

 และจัดทำชุมชนนักปฏิบัติ (COP) เรื่องโรค  COPD

 

          สิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุง (ปรับเปลี่ยน)

 

  •การจัดทำแนวทางการใช้ยาพ่นอย่างถูกวิธี  จัดเตรียมอุปกรณ์เสริมในการช่วยให้ประสิทธิภาพในการพ่นยาดีขึ้น  เช่น  spacer

 •จัดตั้งคลินิก COPD อย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจน เดือนละ 4 ครั้ง  ทุกวันอังคาร

 •ศึกษาดูงานการดำเนินงานคลินิกที่โรงพยาบาลด่านขุนทด

 •จัดโปรแกรม Breath Exercise โดยกายภาพบำบัด

 

                    

 

       กระบวนการดูแลผู้ป่วย

 

 •จัดตั้ง Clinic COPD  ทุกวันอังคาร  เวลา 8.00 น.- 12.00 น.

 •จัดกิจกรรมที่ให้ผู้ป่วยใน Clinic COPD   มีการให้สุขศึกษาแก่

 

    ผู้ป่วยทุกรายทั้งรายเก่าและรายใหม่ดังนี้

 

1. สอนการปฏิบัติตัวเรื่องโรคโดยพยาบาล OPD

 •- เรื่องสาเหตุของโรค

•- การอดบุหรี่

 •- มลภาวะของบริเวณบ้าน / ที่ทำงาน

•- อาการผิดปกติ

 

  2. เภสัชกรสอนวิธีพ่นยา /  ประเมินทบทวนการพ่นยาของผู้ป่วยขณะรอแพทย์ตรวจ

 3. สอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยกายภาพบำบัด

  •มีการลงทะเบียนผู้ป่วย COPD ทุกราย และมีระบบนัดติดตามนัดการรักษาอย่างต่อเนื่อง

  •ติดตามประเมินผล

 

            

 

           เฝ้าดู (ตัวชี้วัด)

 

  1.มีความรู้เรื่องการพ่นยาอย่างถูกวิธี  

          : ผู้ป่วยสามารถพ่นยาอย่างถูกวิธี 80%   

          : ทุกรายต้องได้รับการสอนวิธีพ่นยาจากเภสัชกร 100%

 

 2. มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเรื่องโรค 

          : ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามเรื่องโรคได้ 80%

          : พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ป่วย COPD ลงลง 50%

 

  3. อัตราการเกิด Acute exacerbation ที่ต้องมารับบริการที่ ER   

          :  อัตราการเกิด Acute exacerbation ที่ต้องมารับบริการที่ ER ลดลง

 

 4. อัตราการ Re – admit  ด้วยโรค COPD   

          :  อัตราการ Re – admit  ด้วยโรค COPD ลดลง

 

 5. อัตราการเกิด Respiratory  failure    

           :  ร้อยละการเกิด Respiratory  failure  ในตึกผู้ป่วยใน

 

        ตอนนี้ต้องคอยรอดูกระบวน check ตอนต่อไปค่ะ

        ใคร ๆ มีอะไรดี ๆ บอกต่อบ้างค่ะ      

 

                    

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 310752เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เภสัชกร ควรทำได้มากกว่าการสอนพ่นยาครับ ย้ำ

ขอบคุณค่ะ

- เป็นข้อเสนอแนะที่ดีค่ะ

- แต่เรามักจะยัดเหยียดอะไรให้เขาไม่ได้

- เขาต้องยอมรับบทบาทของตนเอง

- ไม่มีใครหรอกที่ชอบให้เขาคิดให้เราค่ะ

555 ขำไม่ออกเลยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียน สบายดีนะค่ะ
  • เรา ๆ ในฐานะผู้ให้บริการ ใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม ถูกถ่ายทอดออกจากหัวใจ มาสู่ปลายนิ้วสัมผัส เสียงทักทายด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล สายตาที่ทอดมองให้กำลังใจ และสิ่งที่สำคัญที่สุดเราต้องช่วยเหลือมากกว่าโรคที่เขาเป็นปัญหาอยู่ ณ.ขณะนั้น ใครจะรู้บ้างว่าสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของไข้ ที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถเรียกกำลังใจให้กลับคืนมาต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้อย่างไม่หน้าเชื่อ เป็นการสร้างมิติทางจิตใจที่สำคัญ ที่จะช่วยเยียวยาโรคที่เป็นอยู่ ดีกว่าตัวยาขนานเอกด้วยซ้ำไป
  • ขอบคุณค่ะ

เภสัชกรบ้านนอกทำอะไรได้เพื่อคนไข้โรคหืด

ทบทวน CPG โดยูที่ drug therapy plan ว่า เหมาะสมไหม

1สอนพ่นยา

2 กระตุ้นให้เกิด good compliance

3 ส่งเสริมการใช้ good CPG

4 ให้สุขศึกษาเรื่อง การดูแลตนเอง

5 ติดตาม intensive ADR

6 ดูให้ชัด asthma or COPD

7 5A in smoking patient

เอาแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ นี่คือสิ่งที่เภสัชกร ทำได้ เพืิ่่อผู้ป่วยครับ

เภสัชกรคนไหน ไม่เข้าใจ ติดต่อผมได้ครับ

*-* สวัสดีค่ะ

ขอยืมใช้บ้างนะคะ เพราะเพิ่งจะลงมือประชุม

และจะเริ่มวางแผน

สวัสดีค่ะคุณบุษรา

- การเยียวยาจิตใจด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำคัญยิ่ง จริง ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ ศุภรักษ์

- ขอบคุณมากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ นู๋ฏวง

- การประชุมผลเป็นอย่างไรบ้าง

- แนะนำด้วยนะค่ะ

- ขอบคุณค่ะ

ขอนำแนวทางไปใช้บ้างนะคะ

เพิ่งทดลองทำกิจกรรมกลุ่มย่อยในผู้ป่วย COPD ประมาณ 4 เดือนผลน่าพอใจมาก

กำลังมีแนวคิดว่าจะตั้งคลินิก COPD เหมือนกัน

สวัสดีค่ะคุณระพี

- ได้ผลเป็นอย่างไรบอกต่อด้วยนะค่ะ

อยากได้...CPG ของโรค COPD,HT DM น่ะค่ะ...พอจามีให้ยืมใช้บ้างป่าวคะ

กระบวนการดูแลผู้ป่วยดีมากค่ะ ขอยืมใช้บ้างนะคะ

น่าสนใจ...pcu mang pattani ชื่นชมขอนำรูปแบบ ไปคุย เพื่อ เก็กขึ้น

สวัสดีค่ะ *เทคนิคการสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยกายภาพบำบัด อยากทราบว่าทำอย่างไรค่ะ ต้องการทำบ่างแต่ไม่ทราบวิธีการค๋ะ ทำclinic asthma อยู่ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ได้เรียนรู้ด้วยกันค่ะ

คำถามต่าง ๆ จะพยายามหามาตอบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท