ส่งการบ้าน ตอน ห้องเรียนของCKO


KM จะยั่งยืนอยู่ในองค์กรจนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างไร


หลังจากที่ปิดต้นฉบับราย ๓ เดือนของblog สร้างสังคมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคิวของต้นฉบับรายเดือนกันบ้าง


เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ปฏิบัติ"คุณเอื้อ" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๘-๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล "บ้านผู้หว่าน".สามพราน จ.นครปฐม เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ดิฉันไ้ด้รับความกรุณาจาก สคส. ให้เข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยได้รับมอบหมายให้ไปทำหน้าที่คุณลิขิต ร่วมกับคุณฉันทลักษณ์ คุณกรวีร์ และคุณพรพิมล สุภาพสตรี ๒ ท่านหลังเป็นเพื่อนใหม่ที่เพิ่งมาพบกันคราวนี้ แต่ก็คุ้นเคยกันอย่างรวดเร็วเพราะเราคุยกันด้วยภาษาKM


CKO หรือคุณเอื้อที่มาร่วมวง ลปรร. ในครั้งนี้มากันจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆจากประสบการณ์ที่แตกต่าง ที่ดำเนินไปบนเงื่อนไขของการทำงานที่หลากหลาย คุณเอื้อทุกท่านพูดกันอย่างเปิดอกถึงโจทย์ที่ตนได้รับ อันเป็นที่มาของการทำKM ว่ามีความเป็นมาอย่างไร คุณเอื้อจากภาครัฐกล่าวอย่างชัดเจนว่า ที่ต้องทำเพราะ KM เป็นตัวชี้วัดที่ทางกพร.กำหนด ซึ่งในปี ๔๙ นี้เป็นปีเริ่มต้นทำในจุดใดจุดหนึ่งขององค์กร และเป็นการนำKM เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน ในยุค"คนลด งบหาย งานกระจาย" ในขณะที่ภาคเอกชนก็ชัดในทางของตนว่า ใช้ KM เป็นเครื่องมือตอบโจทย์ของกำไรและผลได้ ทั้งที่อยู่ในรูปของเม็ดเงินและอื่นๆ แต่ด้วยความที่นักจัดการความรู้ทุกท่านคือ ผู้ที่เห็นความงดงามของความแตกต่างหลากหลาย ฉะนั้น ยิ่งได้มองต่างมุม ยิ่งได้ ลปรร. ก็ยิ่งหนุนเนื่องให้เกิดการแตกแขนงทางความคิด ชนิด"ยิ่งแตก ยิ่งโต" โดยไม่มีการตั้งป้อม แม้ว่าในตอนต้นของการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในวันแรก จะมี CKOท่านหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า " CoPs ผู้บริหารทำยากที่สุด เพราะมักกลัวการเสียหน้า ไม่เหมือน CoPsของผู้ปฏิบัติ ที่เน้นความรู้ในงานเป็นหลัก"


ห้องเรียนนี้ได้ขับเคลื่อนความคิดกันไปจนกระทั่งเกิดความเห็นพ้องต้องกันว่า KM จะยั่งยืนอยู่ในองค์กรจนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรได้ก็ต่อเมื่อ

  • เรื่องที่ทำอยู่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

  • ผู้ปฏิบัติเห็นคุณค่า / เห็นประโยชน์ในสิ่งที่กำลังทำอยู่

  • มีการใช้ KMเป็นเครื่องมือในการสร้างคน สร้างงาน และพัฒนาองค์กรไปพร้อมกัน


การ ลปรร.ครั้งนี้ยังเดินทางไปถึงมิติของจิตวิญญาณด้วยว่า KM ช่วยดึงคุณค่าของผู้คนที่ซ่อนอยู่ภายในออกมา จนเกิดเป็นความสุขทางใจที่แบ่งบานออกมาให้ได้รับรู้ และรู้สึกร่วมกันได้


ในช่วงของการทำ AAR อาจารย์วิจารณ์ได้กล่าวถึงเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ปฏิบัติ ของ"คุณเอื้อ" ครั้งนี้ว่า เป็นการทดลองจัด forum ที่ทุกคนได้รับรู้ว่าคุณภาพของเวลาคือสิ่งที่ต้องการ เพราะการดึง tacit k. ต้องทำอย่างประณีตพิถีพิถัน และต้องให้ความสำคัญ ที่สำคัญคือต้องเก็บเกี่ยวจากความรู้ปฏิบัติของจริง แล้วให้ความรู้ทั้งหมดเกาะเกี่ยวยกระดับกันไป


ข้อสรุปที่น่ารักที่อาจารย์ประพนธ์กล่าวไว้ก็คือ คุณเอื้อไม่ใช่ CKO ที่มาโดยตำแหน่ง คุณอำนวย ไม่ใช่ FACILITATOR แต่เป็นทศพักตร์ และทั้ง " เอื้อ – อำนวย – กิจ นี่แหละคือชีวิตการทำงาน " ( ต้องเป็นทรีอินวันในบุคคลคนเดียวกัน !)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31060เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท