ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

สวัสดีเปิดเทอม การจัดการสินเชื่อ เทอม 2/ 52


สินเชื่อสนุก ไม่ยากอย่างที่คิด

สวัสดีนักศึกษาทุกคน

     ขอให้ตั้งใจเรียน  เป็นกำลังใจให้ฝ่าอุปสรรคทุกอย่าง  ถ้ามีงานให้ส่งผ่านบันทึกนี้  ทำให้ดี  ส่งให้ตรงเวลา  แจ้งรายละเอียดผู้ส่งด้วยนะครับ

                        ผ.ศ. กฤษฎา

หมายเลขบันทึก: 310556เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

น.ส. ลัทธวรรณ สุขบุญเพ็ญ (เฟิน) รหัส 51127312034

สวัสดีตอนดึกมากๆคะอาจารย์ หนูคิดว่าอาจารย์ต้องนอนแล้วแน่ๆ

อาจารย์หนูมีเรื่องจะปรึกษาอาจารย์ อย่างนึง ก็หนูมีบ้านที่ชะอำ แต่เป็นเทาว์เฮ้า 2 คูหาติดกัน อยู่ที่ชะอำ

และอยู่ห่างจาก โรงพยาบาลชะอำ 500 เมตร ห่างจากหาดชะอำไม่มาก ตกแต่แล้ว มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อม คือว่าที่บ้านจะขาย คะอาจารย์ ราคาตอนที่ซื้อมมานี้ มัน 750000 บาท ต่อ1 คูหา คือตอนนี้ไม่มีคนอยุ่คะเลยปล่อยให้เช่า เดือนละ 2500 คนที่เช่าก็จะได้ช่วยดูแลบ้านด้วย

แต่ตอนนี้ ถ้าที่บ้านหนูจะขายตอนนี้ดีไหมคะ หรือว่ารอปีหน้าดีเห้นข่าวเศษรฐกิต บอกว่าปีนี้จะดีขึ้น หรือจะเก็บไว้ก่อนแล้วขายออกตลาดปีหน้าดี แต่รัฐบาลนี้ก็น่าเป็นห่วงไม่รู้จะดีจริงหรือป่าว อาจารย์ว่าไหมคะไม่ว่าจะเสื้อ เหลือ หนือเสื้อแดง หรือใครก็ตาม ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคำว่าเงิน มันก็ โกงกินกันทั้งนั้น น่าปวดหัว และที่ข่าวหุ้นตกอีกที่มีคนปล่อยข่าว ในทางไม่ดีเกี่ยวกับ เบื้องสูง หนูละไม่เข้าใจคิดกันได้ไง คนเราก็แปลก หุ้นก็ตก แม่หนูเป็นพยาบาลที่ศฺริราช หรือพยาบาลที่นั้นก็รับเสด็จ ทุกวัน เพราะว่าอยู่ตึกเดียวกับท่าน ทุกคนก้งงว่าข่าวแบบนี้ออกมาได้ยังไง คนที่คิดเรื่องแบบนี้ คงจะมีความคิดที่..........มากคะ

อาจาย์คะอีก 1 เดือนกว่าๆ ก็จะปีใหม่แล้ว อาจารย์อย่าลืม ของขวัญ เกรด A ให้ลูกศิษ ตาดำๆ ทั้งหลายหรือตาแดง( แฟงค์) ด้วยนะคะ

นางสาว วิไล ชลเขตต์

นางสาว วิไล ชลเขตต์ ( นุช ) 51127312001

สวัสดีเปิดเทอมเช่นกันนะค่ะอาจารย์

เกรดที่ได้มาทำให้หนูมีกำลังใจมากค่ะ

หนูจะตั้งใจเรียนให้ดีทุกๆ วิชาค่ะ หวังว่าอาจารย์จะให้คำปรึกษาดีๆกับพวกเราตลอดไปนะค่ะ

อาจารย์ทำให้พวกเรากล้าที่จะเรียนรู้ทางสายการเงินขึ้นเยอะเลย สอนให้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้

การติดตามข่าวเป็นผลดีจริงๆหนูจะติดตามข่าวบ่อยๆค่ะ

ยังไงก็ขอให้อาจารย์รักษาสุขภาพด้วย เพราะตอนนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ขอบคุณค่ะ โทร.082-3227132

เรื่องการขายบ้าน ต้องขึ้นกับจังหวะและโอกาสที่คนซื้อ matching กับคนขายพอดี อย่างไรก็ตามแถวชายหาดเมืองตากอากาศไม่น่าขายยาก เพียงแต่พอใจราคาแค่ไหนเท่านั้น ทำเลข้างเคียงจะเป็นส่วนเสริมที่สำคัญ เช่น ใกล้ชายหาด ร้านขายของที่ระลึก เป็น 2 ห้องที่อยู่ตรงหัวมุมหรือเปล่า ใกล้ท่ารถขนส่ง ? ส่วนภายในก็อยู่ที่วัสดุตกแต่ง การดูแลรักษา

ทุกคนควรติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอนะครับ จะติดเป็นนิสัย และจะเห็นผลในระยะยาวครับ

โชคดีเปิดเทอมใหม่ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

วันนี้มีบริษัท มีเดีย โรส ให้หนูลองไปทำงานเป็น pc ของธนาคารกสิกรไทย ให้วันละ400บาท พอดีวันนี้อาจารย์สอนเรื่องการพูดพอดีเลย หนูจะนำไปใช้จะได้ทดสอบผ่าน แหม! เหมือนรู้เลยว่าจะมีงานมา นับเป็นโชดดีเลยนะค่ะ อาจารย์คิดว่าหนูควรทำงานนี้ใหมค่ะ มันไม่ได้เกียวกับการเงินค่ะแต่เป็นประชาสัมพันธ์ค่ะ

ขอแสดงความคิดเห็นนะ กุสุมา เพื่อนรัก

ยังไงก็มีงานดีๆเข้ามาเราก็ควรที่จะลองทำดู ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับวิชาการเงินหรอก

การเป็นประชาสัมพันธ์ก็ทำให้เรามีประสบการณ์ในการพูดต่อไปเราก็ต้องมีโอกาสในการติดต่อสื่อสาร

การพูดดี ทำให้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง เชื่อเรายังไงก็ใช้ประสบการณ์ที่มีให้เต็มที่ สู้ๆๆนะ

อ๋อ มีงานดีๆๆแบบนี้ไม่บอกเพื่อนเลย วันหน้าวันหลังบอกเราบ้างนะ อย่าลืม

ไปแล้ว อย่าลืมมาส่งข่าวนะว่าเป็นยังไง ลองฟังอาจารย์ดูแล้วกันว่าจะมีความเห็นเหมือนกันกับเราไม่

Khun Kusuma

Oh ! Good Luck , sure , you must join with KBANK. experience come together with money and friends but you must manage your time for study , family and health too.

your professor

ให้ทุกคนต้องไปงาน set in the city ทำรายงานมาส่งด้วยลายมือที่อ่านง่ายสวยงามเกี่ยวกับการเงินโดยเฉพาะด้านการให้สินเชื่อ ตามหนี้ ถ่ายรูปมาเยอะ ๆ ที่มีตัวพวกคุณอยู่ด้วยโดยขอให้เป็นรูปเดี่ยว ส่งวันที่มีเรียนครับ

นางสาว ศิริวรรณ ยอดธรรม (ติ๊ก ) 51127312008

สวัสดีค่ะอาจารย์ ไม่รู้ว่าอาจารย์จะได้เข้ามาดูบล๊อกรึป่าว

เป็นผลจากการไปงาน Set in the city

วันนี้ตลาดหลักทรัพย์โทรมาหาหนูค่ะอาจารย์บอกว่าหนูเป็นผู้โชคดี

ต้องไปรับรางวัลที่ตลาดหลักทรัพย์ คือหนูไม่แน่ใจว่าได้รับรางวัลอะไรมูลค่า 5000 บาท

ระหว่างทอง กับเงินลงทุนในกองทุนรวมแต่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยค่ะ

คือหนูอยากปรึกษาอาจารย์ค่ะ ถ้าหนูได้รับเงินลงทุนแต่หนูลงทุนไม่เป็น

เค้าจะตัดสิทธิ์หนูรึป่าวค่ะ

สุดท้าย ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ได้ให้พวกเราไปเปิดหูเปิดตา

หาความรู้นอกห้องเรียน เป็นประโยชน์มากๆค่ะ

เบอร์ 084 7076005

การจัดการหนี้นอกระบบของรัฐบาล

รัฐบาลเดินเครื่องปลดหนี้เอาใจประชาชน นายกฯ เปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

ช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง

เริ่มลงทะเบียนตลอดเดือนธันวาคมนี้ แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันหนี้นอกระบบ

โดยที่ผ่านมามีประชาชนเข้ามาขอกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำไปชำระหนี้นอกระบบ

มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

คลังจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร

(ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคมนี้ จากนั้น คณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดกรองลูกหนี้

เพื่อส่งรายชื่อให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่ง ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วย หน่วยงานต่าง ๆ

เช่น กรมสรรพากร กระทรวงหาดไทย เพื่อตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน

"ยืนยันว่าไม่ต้องการข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งเจ้าหนี้นอกระบบ

แต่ต้องการใช้เครื่องมือของรัฐที่มีอยู่มาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน และต้องการใช้ผู้นำชุมชน

และเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่น ช่วยกันพิจารณาดูภาระหนี้ที่ลงทะเบียนให้ตรงกับความเป็นจริง

ไม่ใช่เพราะคนในพื้นที่จะรู้จักกันมากที่สุด เพื่อไม่ให้กรอกข้อมูลเกินความเป็นจริง

คาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านคน โดย ธ.ก.ส.

และธนาคารออมสินมีเงินทุนเพียงพอรองรับในการปล่อยกู้ให้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท"

(ขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ)

เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ

และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ

โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้

สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง

หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป

โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างวันที่ 1 - 31 พ.ค. 2553

(หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น)

เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท

และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

(อัตราดอกเบี้ย)

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

(หลักประกันการโอนหนี้)

วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

เงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5คน

(ระยะเวลาลงทะเบียน)

ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 ธันวาคม 2552

เวลา 08.30 - 16.30 เว้นวันหยุดราชการ

(สถานที่ลงทะเบียน)

ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

สถานที่ลงทะเบียนพิเศษเพิ่มเติมใน กทม. และปริมณฑล 13 แห่ง

1. ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน

2. ธนาคารออมสิน สำนักราชดำเนิน

3. ธนาคารออมสินภาค 2 เขตพร้อมพงษ์

4. ธนาคารออมสิน เขตศิริราช

5. สำนักงานเขตสาทร เขตบางรัก

6. สำนักงานเขตปทุมวัน เขตถนนเพชรบุรี

7. สำนักงานเขตสวนหลวง เขตพระโขนง

8. การเคหะแห่งชาติคลองจั่น เขตคลองจั่น

9. ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

10. สำนักงานเขตบางแค เขตบางแค

11. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ

12. เทศบาลเมืองรังสิต ปทุมธานี

13. วัดบรมราชากาญจนาภิเษก (เล่งเน่ยยี่ 2) บางบัวทอง นนทบุรี

(ความคิดเห็นต่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล)

ข้อเสีย

กลุ่มลูกหนี้นอกระบบส่วนใหญ่ยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลสำคัญ

ในมาตรการของรัฐบาลที่ช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ

อาจส่งผลให้มาตรการนี้ล้มเหลวได้จากสาเหตุสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1.ปัญหาการคุมเกมการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอของรัฐบาล

ซึ่งข่าวใหญ่อื่นๆ เหล่านั้นมักจะเป็นข่าวไม่ดีต่อความรู้สึกของประชาชนและเกิดขึ้นจากทั้งฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลและฝ่ายรัฐบาลเสียเอง

2.ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการของรัฐบาลในมาตรการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้นอกระบบครั้งนี้ที่ยังไม่สร้างความมั่นใจมากเพียงพอใน

กลุ่มประชาชนทั่วไป และ

3.ปัญหาความไม่โปร่งใส การทุจริต และการสวมรอยของกลุ่มที่อาจไม่มีปัญหาหนี้นอกระบบตัวจริง

เข้ามาใช้งบประมาณของรัฐบาลจากมาตรการนี้ได้

และรวมไปถึงมองว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารรัฐบาลที่สนองนโยบายรัฐเต็มที่ไป

อาจจะพังได้ไม่ดูความสามารถในการชำระหนี้คืนส่วนใหญ่คนมีหนี้นอกระบบเพราะไม่สามารถกู้ในระบบได้

แสดงว่าอาจมีปัญหาคุณสมบัติไม่ครบถึงไม่สามารถกู้หนี้ในระบบดอกเบี้ยถูกกว่าได้

ถ้าบุคคลที่มีหนี้นอกระบบไม่มีปัญหาเขาก็กู้ในระบบไปแล้วจะไปกู้นอกระบบเสียดอกแพงๆ ทำไม

ข้อดี

แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นหลักการที่ดีค่ะ

เพราะช่วยในเรื่องของสภาพคล่องของบุคคลที่มีหนี้นอกระบบให้ดีขึ้น

ที่บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่อาจจะไม่มีหลักประกันให้กับสถาบันการเงินจริงๆๆ

จึงจำเป็นที่จะต้องใช้หนี้นอกระบบ ยอมเสียดอกเบี้ยแพงๆๆเพื่อนำเงินมาปรับสภาพคล่องของตน

ตัวอย่างที่ได้ยินมาค่ะ ยายมีหลานสองคน ทำอาชีพแม่บ้านถูพื้นในทาวน์เฮาส์แห่งหนึ่ง

ได้เงินเดือนแค่ 5000 บาทต่อเดือน ลำพังหลานก็ไม่พอใช้แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆๆอีก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าบ้านอีก

ยายจึงไปกู้หนี้นอกระบบ แบบว่าซักหน้าไม่ถึงหลังน่ะค่ะ แล้วยังถูกพวกหนี้นอกระบบทำร้ายอีกค่ะ น่าสงสารมาก

ฉะนั้นถ้าเป็นในกรณีแบบนี้ ดิฉันคิดว่า โครงการแก้หนี้นอกระบบก็เป็นความคิดที่ดีค่ะ

เพราะเข้าไปช่วยคนอีกระดับให้มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้

ดิฉันมองแล้วว่า ส่วนใหญ่คนที่เป็นหนี้นอกระบบ เป็นพวกแม่ค้า แม่ขาย รวมไปถึง พนักงานเงินเดือนต่ำๆ และเกษตรกร

แต่พวกเขาก็มีส่วนให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้

ฉะนั้นโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบก็เป็นสิ่งที่ดี และมันจะดีมากถ้ามีระบบการจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพค่ะ

ลืมบอกชื่อไปคะอาจารย์

นางสาวอ้อยใจ ใหม่เต็มค่ะ

0877251586

เร็วมาก ยอดเยี่ยมมาก ๆ

น.ส.อรวลี พิพัฒน์ภิญโญยศ

คนไทยหลายๆคน กู้เงิน ทั้งในและนอกระบบคิดเป็นมูลค่ารวมแต่ละปีก็หลายร้อยหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ การปล่อยเงินกู้นอกระบบหรือ “เงินกู้เถื่อน” ถือว่าผิดกฎหมาย หากคิดอัตราดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 15 ต่อปี และหาก มีการ “ทวงหนี้ โหด” ก็จะมีความผิดจากข้อหาต่าง ๆ เช่น กรรโชกทรัพย์ ทำ ร้ายร่างกาย บุกรุกเคหสถาน ถ้าส่งคนข่มขู่ทวงหนี้ทำนองว่าถ้าไม่จ่ายหนี้ตัวผู้กู้และครอบครัวต้องโดนอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ จะผิดกฎหมายอาญามาตรา 309 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าใช้อาวุธด้วยหรือร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าใช้วิธีทวงหนี้แบบประจานลูกหนี้ เช่น โทรศัพท์-ส่งแฟกซ์ไปที่ทำงานให้อับอาย มีความผิดหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การออกเงินกู้นอกระบบนั้นหลายรายเก็บดอกเบี้ยถึง “ร้อยละ 20 ต่อเดือน” บางรายก็จัดเก็บเป็นรายวัน หรือรายสองวัน แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่งจากภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ น้ำมันแพง ข้าวสารอาหารขึ้นราคา ก็ทำให้มีการกู้เงินนอกระบบ เป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย คนทำงานประจำ หรือแม้แต่นักศึกษา “ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบนี้หลายรายไม่ใช่แค่กู้จากแหล่งเดียว หลายคนเป็นลูกหนี้เงินกู้ 3-4 เจ้า และมักจะมีปัญหาเมื่อไม่สามารถหมุนเงินมาส่งดอกเบี้ยที่สูงได้”

ตัวอย่าง ข่าวการกู้หนี้นอกระบบ

24 พ.ย. แก๊งทวงหนี้โหดชัยภูมิอ้าง ใช้ปืนตบหน้าลูกหนี้ชัยภูมิ บางคนไม่มีเงินใช้หนี้ จึงถูกข่มขู่ทำร้ายร่างกายล่าสุด แม่ค้าไก่ย่าง 2 คน เข้าขอความช่วยเหลือผ่านศูนย์ดำรงค์ธรรมจังหวัดชัยภูมิ หลังถูกแก๊งทวงหนี้โหดบุกขู่ถึงบ้านพัก และใช้ปืนตบหน้าบาดเจ็บ เพราะไม่มีเงินส่งรายวัน ที่ผ่านมาเคยเข้าแจ้งความแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ผู้เสียหายบอกว่ากู้ยืมเงิน จำนวน 5,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยวันละ 100 บาท ไม่หักเงินต้น หากไม่มีเงินจ่ายจะถูกเรียกเก็บเพิ่มเป็นเท่าตัว

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องจัดการกับปัญหานี้ โดย นายกฯ เปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมครม.รับทราบว่าในวันที่ 19 พ.ย.นี้ รัฐบาลจะเปิดตัวโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบให้กับประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาลจะรับโอนหนี้นอกระบบมาอยู่ในธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่เกี่ยวข้องตามประเภทของหนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจนทำให้การทำมาหากินไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จึงทำให้ต้องหันไปกู้หนี้นอกระบบแทนแม้ว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากก็ตาม เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค.2552 นี้ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ จากนั้น คณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดกรองลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่ง โดยจะปล่อยกู้ให้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท คาดว่าจะมีประชาชนสนใจมาลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านคน

ขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ

ศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับ จังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคาร ของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่ม เข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

- เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาทและเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552 ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกันวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คนเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5คน

สถานที่ลงทะเบียนธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

สถานที่ลงทะเบียนพิเศษเพิ่มเติมใน กทม. และปริมณฑล 13 แห่ง

1. ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน

2. ธนาคารออมสิน สำนักราชดำเนิน

3. ธนาคารออมสินภาค 2 เขตพร้อมพงษ์

4. ธนาคารออมสิน เขตศิริราช

5. สำนักงานเขตสาทร เขตบางรัก

6. สำนักงานเขตปทุมวัน เขตถนนเพชรบุรี

7. สำนักงานเขตสวนหลวง เขตพระโขนง

8. การเคหะแห่งชาติคลองจั่น เขตคลองจั่น

9. ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

10. สำนักงานเขตบางแค เขตบางแค

11. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ

12. เทศบาลเมืองรังสิต ปทุมธานี

13. วัดบรมราชากาญจนาภิเษก บางบัวทอง นนทบุรี

จากข้อมูลข้างต้น ดิฉันเองมีความคิดเห็นว่า สมควรแล้ว ที่รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาของหนี้นอกระบบ เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ ดิฉันเองเคยมีประสบการณ์จากคนใกล้ๆบ้าน ที่ปล่อยเงินกู้ให้กับแม่ค้าร้อยละ 20 ซึ่ง ความเป็นไปได้ที่แม่ค้าจะหาเงินมาใช้ภายในเดือนเดียวนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อเศรษฐกิจในยุคนี้

ลัทธวรรณ สุขบุญเพ็ญ

ลัทธวรรณ สุขบุญเพ็ญ เฟิน 51127312034

สวนดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่เห็น ด้วยกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ขณะที่เอแบคโพล ระบุ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาล

สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาน เรื่อง คิดอย่างไรกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลพบว่า ประชาชนร้อยละ 63.46 เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะเชื่อว่า จะสามารถช่วยปลดหนี้ให้ประชาชน ไม่ต้องกลัวการขูดรีด และเป็นการจัดระเบียบการเงินให้ถูก ร้อยละ 20.64 ไม่แน่ใจโครงการ เพราะอาจมีการสวมสิทธิ์เป็นหนี้นอกระบบ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ

ร้อยละ 15.90 ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะยิ่งสร้างหนี้ให้ประเทศ และไม่ค่อยมั่นใจกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพราะหลายโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ บางขั้นตอนยังไม่ชัดเจน ร้อยละ 29.16 ไม่ค่อยมั่นใจ ส่วน ร้อยละ 17.57 มั่นใจว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้แน่นอน เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่แท้จริงซึ่งปัจจุบัน

นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 62.67 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ เกิดจากเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 44.97 รองลงมา คือ เงินขาดมือ ตามด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เงินเดือน รายได้ ไม่พอใช้จ่าย ขณะที่ ร้อยละ 13.03 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะไม่มีเครดิตที่จะขอกู้กับธนาคารได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ คือ การออกกฎหมายคุ้มครองผู้ที่กู้หนี้นอกระบบ และการคุมเจ้าหนี้ ตามด้วยการขอความร่วมมือสถาบันการเงิน ปรับลดหลักเกณฑ์การกู้เงินให้ง่ายขึ้น จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ และการนำเจ้าหนี้มาลงทะเบียนให้ถูกต้อง

ประชาชนต้องการโอนหนี้ตามมาตรแก้หนี้นอกระบบ

เอแบคโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มคนเป็นหนี้นอกระบบและกลุ่มเจ้าหนี้ ต่อมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ โดยพบว่า ร้อยละ 80.3 ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบข่าวสาร เรื่องวงเงินสูงสุดที่ธนาคารจะปล่อยกู้ไปใช้หนี้นอกระบบ ส่วนร้อยละ 74.3 ทราบข่าวการปราบปรามกลุ่มคนที่ปล่อยหนี้นอกระบบ

ร้อยละ 92 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบเห็นว่า มาตรการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อการปล่อยกู้ ร้อยละ 54.5 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ ยังไม่ลดอัตราดอกเบี้ย หลังรัฐบาลออกมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ ร้อยละ 87.8 เห็นด้วยกับรัฐบาลในการประกาศสงครามกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชั่น และร้อยละ 75.6 เห็นด้วยกับ นายกรัฐมนตรีในการเป็นประธานรณรงค์การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นด้วยตัวเอง

น.ส.ศิริวรรณ ยอดธรรม (ติ๊ก) 51127312008

0847076005

โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

คงต้องยอมรับว่า หลังจากที่เศรษฐกิจไทย ได้รับผลกระทบจากพิษวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน และ เป็นหนี้นอกระบบจำนวนมาก เนื่องจาก ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน

ดังนั้น การออกมาตรการเพื่อโอบอุ้มและหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยเหล่านี้ ภายใต้ชื่อ “โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ” ของรัฐบาล จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยเหลือและถือเป็นภารกิจที่ท้าทายของรัฐบาล รวมทั้งเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ว่าจะสำเร็จเป็นรูปธรรมได้มากน้อยเพียงใด

สถานการณ์และแนวโน้มหนี้นอกระบบในสังคมไทย

ผลสำรวจพบสิ่งน่ากังวลในเรื่องหนี้นอกระบบที่อาจเพิ่มขึ้นในปี 2552 เนื่องจากช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมามีประชาชนถึงร้อยละ 64.2 ประสบภาวะรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง ราคาน้ำมัน ซึ่งในจำนวนร้อยละ 47 ต้องดึงเงินออมมาใช้ อีกร้อยละ 35.8 ต้องกู้ยืม และขอความช่วยเหลือจากญาติหรือขายทรัพย์สินอีกร้อยละ 17

สำหรับลูกหนี้นอกระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2552) เป็นข้อมูลจากการเปิดให้ลงทะเบียน กับกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2549 พบว่า ตัวเลขผู้ที่มีปัญหาหนี้ ทั้งในและนอกระบบ มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ล้านราย แยกเป็นหนี้นอกระบบ 2 แสนราย มูลหนี้ 1 หมื่น 2 พันล้านบาท ซึ่งได้รับการช่วยเหลือแล้ว 1 แสนราย มูลหนี้ 6 พันล้าน ยังเหลืออีก 1 แสนราย และ ยังไม่รวมลูกหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น จากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในรอบปีที่ผ่านมา

รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5. กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1. เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2. ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3. วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4. อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

โดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่าโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล มีผลดีต่อประชาชนมากๆค่ะ เป็น การบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินรัฐได้ง่ายขึ้น จะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากไป เพื่อให้ประชาชนมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายและมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้นมีเงินเหลือออม

แต่อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในปัจจุบัน แต่รัฐบาลลืมมองเห็นปัญหาระยะยาว คือ ที่ประชาชนประสบปัญหาการขากสภาพคล่องชักหน้าไม่ถึงหลังต้องไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ก็อาจเป็นเพราะประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลอาจไม่ตรงจุดนัก การส่งเสริมการฟื้นฟูอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่ม และเพิ่มความสามารถในการชำระและมีการวางแผนการใช้อย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยต่างหากเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีสุด และเป็นการแก้ปัญหาระยาว เพื่อความสำเร็จของโครงการรัฐบาลควรมีการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไป

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าว อาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารของรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสียเพิ่มมากขึ้นไปอีก รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย

นางสาวอภิรนันท์ สุขนา รหัส 51127312033 การเงินการธนาคาร ปี2

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

รัฐบาลเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมี นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อส่งสัญญาณเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าโครงการ ตั้งแต่ 1-30 ธันวาคม 2552 ที่ ธนาคารออมสิน 600 สาขา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. 900 สาขาทั่วประเทศ หลัง จากนั้นจัดแยกประเภทหนี้ จัดลำดับความสำคัญของการเป็นหนี้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือหนี้เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลัก

รัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ

ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในครั้งนี้ ได้ดึงแบงก์รัฐ 6 แห่ง เข้ามาช่วยเหลือทั้ง ธ.ก.ส. ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลาม ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยจะเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทุกสาขาและศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่ง จากนั้นจะทำคัดกรองลูกหนี้ระหว่างเดือนมกราคม และเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาและประนอมหนี้ เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีการตั้งคณะทำงานแก้หนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารรัฐเป็นผู้เจรจา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 53

จากนั้นจะเริ่มคัดเลือกลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เข้าสู่ระบบขอกู้จากแบงก์รัฐ ในช่วงพฤษภาคมปีหน้า หากลูกหนี้ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะให้ความช่วยเหลืออีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ ก็จะนำเข้าสู่โครงการพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็งและสร้างรายได้ให้มั่นคง โดยมีธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ

ซึ่งจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยการ รีไฟแนนซ์ ได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบหากจะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะต้องพัฒนาให้ ประชาชนระดับรากหญ้าเข้าถึงแหล่งเงินในธนาคารให้ได้มากขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า ได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งทำความเข้าใจต่อธนาคารต่างๆว่า เครดิตบูโร เป็นเพียงข้อมูลที่ช่วยประกอบการตัดสินใจในการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้า ซึ่งไม่ได้ถือเป็นความผิดหากปล่อยให้ผู้ติดเครดิตบูโร เพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องออกไปพึ่งเงินนอกระบบ

ส่วนธ.ก.ส.ได้ติดเครื่องโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมรับขึ้นทะเบียนประชาชนในภาคเกษรตรกรรมที่เป็นหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่ 1-30 ธ.ค.นี้

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การปลดหนี้ ยืดเวลาชำระหนี้ ลดหนี้และพักชำระดอกเบี้ย ในส่วนของ ธ.ก.ส. ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่ง ธ.ก.ส. ก็มีความพร้อมในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว โดยจะรับขึ้นทะเบียนประชาชนทั่วไปได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคมนี้

วัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบคือช่วยให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ลง นำเงินในส่วนที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยมาใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้มีการออมเพื่อรักษาวินัยทางการเงิน

สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นลูกหนี้นอกระบบที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดจากสาเหตุสุจริตและจำเป็นที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยผู้ขอขึ้นเบียนจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ สำเนาทะเบียนบ้านและเอกสารยืนยันการเป็นหนี้มายื่นที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปขอขึ้นทะเบียนที่สาขาภูมิลำเนาของตนเอง

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2.ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3.เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4.ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5.กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1.เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2.ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4.อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5.ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6.ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

สำหรับผู้สร้างข้อมูลเท็จเพื่อเข้าโครงการหวังกู้เงินในระบบ รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาจมีโทษถึงติดคุกได้ โดยคาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการเพื่อขอให้รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบเป็นหลักล้านราย

สำหรับความคิดเห็นของดิฉันที่มีต่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

คือเห็นด้วยกับโครงการนี้ค่ะ เพราะเชื่อว่า จะสามารถช่วยปลดหนี้ให้ประชาชน ไม่ต้องกลัวการขูดรีด และเป็นการจัดระเบียบการเงินให้ถูก และดิฉันคิดว่าประชาชนเป็นหนี้นอกระบบเพราะจำเป็นต้องใช้เงิน

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ เกิดจากเศรษฐกิจไม่ดี รองลงมา คือ เงินขาดมือ ตามด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เงินเดือน รายได้ ไม่พอใช้จ่าย และอาจเป็นเพราะว่าประชาชนบางคนไม่มีเครดิต ที่จะขอกู้กับธนาคารได้ จึงต้องไปกู้เงินนอกระบบค่ะ

และดิฉันคิดว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ คือ การออกกฎหมายคุ้มครองผู้ที่กู้หนี้นอกระบบ และการคุมเจ้าหนี้ ตามด้วยการขอความร่วมมือสถาบัน-การเงิน ปรับลดหลักเกณฑ์การกู้เงินให้ง่ายขึ้น จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ และการนำเจ้าหนี้ มาลงทะเบียนให้ถูกต้องค่ะ

เบอร์โทร 0859884691 ค่ะ

นางสาว ธุมวดี พันธา รหัส 51127312021 การเงินการธนาคาร ปี 2

จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป สภาวการณ์

เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง

ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552 ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้ การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้

อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุก ระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีก หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนักเนื่องจากการมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน

ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย การจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรวางยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไปโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนในทุกระดับ พร้อมทั้งวางนโยบายระยะยาวในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้ และมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาสำคัญที่จะตามมาจากการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ คือ การเกิดหนี้ NPL เพิ่มเติมในสถาบันการเงินของภาครัฐ และเร่งวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ควบคู่กันไปด้วย

นางสาว จามจุรี ศรีสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 51127312019การเงินการธนาคารปี2

หนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบ หมายถึง การกู้หนี้ยืมสินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน เช่น การกู้ยืมกันระหว่างเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง ซึ่งการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะไม่มีกฎกติกามารยาท ที่เป็นมาตรฐาน เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินอาจจะใช้กระดาษเปล่าเขียนข้อความการกู้ยืมเงิน โดยใช้ลายมือของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้เขียน ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีพยานรับรู้ หรือบางครั้งก็มีการขูดลบ ขีดฆ่า แต่สิ่งที่เป็นปัญหาและมีการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นข้อพิพาทในชั้นศาล ผมอยากจะยกตัวอย่างที่พบเห็นบ่อย ๆ ดังนี้

1. การคิดดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามกฎหมายแล้วจะเรียกดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในทางปฏิบัติการกู้ยืมเงินนอกระบบจะคิดดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ยังคงปล่อยให้มีการกระทำธุรกิจประเภทนี้กันอยู่ ทั้งที่การคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบได้ทันที

2. การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่ายังไม่มีการกรอกข้อความและภายหลังลูกหนี้มีปัญหากับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็จะไปกรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ผิดไปจากข้อตกลง หลังจากนั้นก็ทำสัญญากู้ไปว่าจ้างทนายฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาล

ยกตัวอย่าง เช่น กู้เงินไป 100,000 บาท ถึงเวลาลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ไปกรอกข้อความเป็น 300,000 บาท การกระทำแบบนี้ ถือว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสาร และเจ้าหนี้ไม่สามารถจะนำสัญญากู้ปลอมไปใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ได้ ลูกหนี้คนใดเจอเหตุการณ์แบบนี้ ให้ทนายสู้คดี รับรองชนะแน่!

3. ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วแต่เจ้าหนี้บอกว่ายังไม่ได้ชำระหนี้ แบบนี้ก็มีมากในทางปฏิบัติ จึงขอแนะนำลูกหนี้ว่า ถ้าจะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้จะต้องให้เจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงิน ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการชำระหนี้ ก็อย่าชำระหนี้ เพราะกฎหมายบังคับว่าลูกหนี้จะอ้างว่าชำระหนี้แล้ว จะต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรมาแสดงต่อศาลเท่านั้น จะพูดปากเปล่าด้วยวาจาไม่ได้ จำไว้นะลูกหนี้

4. อายุความในการฟ้องร้องคดีเงินกู้ มีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้กู้เงินไปจากเจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 5 ปี เท่านั้นนะครับ

5. เมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแล้วต้องทำอย่างไร

สิ่งแรกที่ต้องทำ พยายามอย่ารับหมายด้วยตนเอง ควรขอร้องให้พนักงานส่งหมายปิดหมาย เพื่อจะได้มีระยะเวลาที่ยาวขึ้นในการสู้คดี จากเดิมต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ถ้าปิดหมายจะเพิ่มเป็น 30 วัน หลังจากนั้นให้ทนายยื่นคำให้การสู้คดี

6. หลังจากศาลพิพากษาแล้วต้องทำอย่างไร

ถ้ามีทรัพย์สินก็จะถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ถ้ามีเงินเดือนก็จะถูกอายัดเงินเดือน ไม่ติดคุกติดตาราง

โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ของ รัฐบาล

คลังเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบธ.ค.นี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้หารือกับนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อรองรับการเปิดตัวโครงการใน วันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ นายกรณ์ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คลังจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคมนี้ จากนั้น คณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดกรองลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่ง ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วย หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงหาดไทย เพื่อตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน"ยืนยันว่าไม่ต้องการข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งเจ้าหนี้นอกระบบ แต่ต้องการใช้เครื่องมือของรัฐที่มีอยู่มาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน และต้องการใช้ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่น ช่วยกันพิจารณาดูภาระหนี้ที่ลงทะเบียนให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่ใช่เพราะคนในพื้นที่จะรู้จักกันมากที่สุด เพื่อไม่ให้กรอกข้อมูลเกินความเป็นจริง คาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านคน โดย ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินมีเงินทุนเพียงพอรองรับในการปล่อยกู้ให้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท" นายกรณ์ กล่าว

สวนดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่เห็น ด้วยกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ขณะที่เอแบคโพล ระบุ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาลสวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาน เรื่อง คิดอย่างไรกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลพบว่า ประชาชนร้อยละ 63.46 เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะเชื่อว่า จะสามารถช่วยปลดหนี้ให้ประชาชน ไม่ต้องกลัวการขูดรีด และเป็นการจัดระเบียบการเงินให้ถูก ร้อยละ 20.64 ไม่แน่ใจโครงการ เพราะอาจมีการสวมสิทธิ์เป็นหนี้นอกระบบ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือร้อยละ 15.90 ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะยิ่งสร้างหนี้ให้ประเทศ และไม่ค่อยมั่นใจกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพราะหลายโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ บางขั้นตอนยังไม่ชัดเจน ร้อยละ 29.16 ไม่ค่อยมั่นใจ ส่วน ร้อยละ 17.57 มั่นใจว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้แน่นอน เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่แท้จริงซึ่งปัจจุบันนอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 62.67 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ เกิดจากเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 44.97 รองลงมา คือ เงินขาดมือ ตามด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เงินเดือน รายได้ ไม่พอใช้จ่าย ขณะที่ ร้อยละ 13.03 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะไม่มีเครดิตที่จะขอกู้กับธนาคารได้อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ คือ การออกกฎหมายคุ้มครองผู้ที่กู้หนี้นอกระบบ และการคุมเจ้าหนี้ ตามด้วยการขอความร่วมมือสถาบันการเงิน ปรับลดหลักเกณฑ์การกู้เงินให้ง่ายขึ้น จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ และการนำเจ้าหนี้มาลงทะเบียนให้ถูกต้อง

ประชาชนต้องการโอนหนี้ตามมาตรการแก้หนี้นอกระบบ

เอแบคโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มคนเป็นหนี้นอกระบบและกลุ่มเจ้าหนี้ ต่อมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ โดยพบว่า ร้อยละ 80.3 ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบข่าวสาร เรื่องวงเงินสูงสุดที่ธนาคารจะปล่อยกู้ไปใช้หนี้นอกระบบ ส่วนร้อยละ 74.3 ทราบข่าวการปราบปรามกลุ่มคนที่ปล่อยหนี้นอกระบบร้อยละ 92 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบเห็นว่า มาตรการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อการปล่อยกู้ ร้อยละ 54.5 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ ยังไม่ลดอัตราดอกเบี้ย หลังรัฐบาลออกมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ ร้อยละ 87.8 เห็นด้วยกับรัฐบาลในการประกาศสงครามกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชั่น และร้อยละ 75.6 เห็นด้วยกับ นายกรัฐมนตรีในการเป็นประธานรณรงค์การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นด้วยตัวเอง

สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ คือ

อันดับ 1 เศรษฐกิจไม่ดี 44.97%

อันดับ 2 เงินขาดมือ ไม่พอใช้จ่าย 15.89%

อันดับ 3 มีภาระต้องรับผิดชอบมาก เพียงเงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้ อย่างเดียวไม่พอใช้ 15.31%

อันดับ 4 ไม่มีเครดิตพอที่จะกู้กับธนาคารเพื่อนำเงินไปลงทุนได้ 13.03%

อันดับ 5 หยิบยืมได้สะดวก ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก 10.80%

สำหรับดิฉันแล้วโครงการ ฯ หนี้นอกระบบเป็นเรื่องหวังผลทางการเมืองมากว่าที่จะช่วยประชาชนอย่างจริงจัง เจ้าหนี้นอกระบบที่เก็บดอกเบี้ยโหดๆ ถามว่าเป็นใครถึงกล้าเย้ยกฎหมายถ้าไม่รู้จักคนมีสีคอยเอื้อประโยชน์ให้กัน ถึงประชาชนจะได้รับเงินจากรัฐบาลไปแล้วแต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีมันก็จะกลับคืนสู่วัฏจักรเก่าๆ ผมอยากให้รัฐบาลนำเงินส่วนนี้ไปช่วยสร้างอาชีพใช้กับประชาชนพร้อมจริงจังในการแก้ปัญหาเรื่องเจ้าหนี้นอกระบบที่ต้นเหตุ

“มันก็เหมือนแจกปลาเพื่อให้ประชาชนอยู่ไปวันๆ”

51127312005 น.ส.ดวงดาว มูลวงศรี การเงินการธนาคารปี2

     เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ

-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

-ธนาคารออมสิน

-ธนาคารกรุงไทย

-ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.)

   โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย

โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552

 -ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท

 -อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี

-โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้

    การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้

โครงการหนี้นอนระบบ

นายกรัฐมนตรี เปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเป็นทางการ ก่อนให้ประชาชนลงทะเบียน โดยทุกธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 และไม่จำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นหนี้มายืนยัน แต่ต้องใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน หากสินเชื่อไม่เกิน 1 แสนบาท และใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน กรณีสินเชื่อมากกว่า 1 แสนบาท

กทม.(19พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นวิกฤตเฉพาะหน้ามากว่า 10 เดือน ทั้งการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย แต่ยังมีประชาชนเกือบ 1 ล้านคน ที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับวงจรหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่มีเงื่อนไขดอกเบี้ยที่สูงเกินปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุเชื่อมโยงไปถึงความสงบเรียบร้อย และปัญหาความรุนแรงจากผู้มีอิทธิพล ตลอดจนก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมในสังคม

ดังนั้นเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาให้หมดไปจากสังคมไทย โดยโครงการดังกล่าวจะเปิดให้ลูกหนี้นอกระบบลงทะเบียนตลอดเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้คัดกรองประเภทลูกหนี้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้การเจรจาเพื่อแปลงหนี้ผ่านสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้เมื่อปรับเข้าสู่ระบบแล้ว กระทรวงการคลังจะฟื้นฟูอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับรายจ่าย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มชีวิตใหม่

ด้านนายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นมา เพื่อจ่ายหนี้แทนประชาชนที่มีปัญหาหนี้สิน แต่เป็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน มีการจัดอบรมฟื้นฟูอาชีพ โดยกระทรวงการคลังจะจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งมาสนับสนุนให้เพียงพอ ขณะที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง จะมีการจัดโครงการสร้างอาชีพให้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

นายปราโมทย์ นนทะโคตร รองผู้จัดการ ธกส. กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สาขาธนาคารทั้ง 900 สาขาทั่วประเทศ ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 1-30 ธันวาคมนี้ คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้นอกระบบได้กว่า 500, 000 ครอบครัว

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1.เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2.ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4.อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5.ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6.ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

สำหรับผู้สร้างข้อมูลเท็จเพื่อเข้าโครงการหวังกู้เงินในระบบ รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาจมีโทษถึงติดคุกได้ โดยคาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการเพื่อขอให้รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบเป็นหลักล้านราย

แสดงความคิดเห็น

จากการที่ได้ดูข่าวและเห็นป้ายตามธนาคารที่ขึ้นป้ายไว้เกี่ยวกับโครงการหนี้นอนระบบ หนูคิดว่าเป็นโครงการที่ดีที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ยังงมงาย คิดว่าหนี้นอนระบบจะดีกว่าหนี้ในระบบ ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลายเรื่อง จากที่เคยเห้นคนข้างบ้านกู้กัน บ้างครั้งไม่ให้เงินตรงตามวันที่กำหนดก็ด่ากันเสียงดังมาก และจากที่เคยฟังข่าวก็อาจจะมีการขมขู่ เพราะเจ้าหนี้ที่ทำธุรกิจอย่างนี้ส่วนมากแล้วร้ายๆๆทั้งนั้น หากรัฐบาลช่วยเหลือได้จริงๆ ก็เป็นผลดีแก่ประชาชน ประเทศของเราจะได้มีระบบที่ดี เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้นด้วย

ขอบคุณค่ะ

นางสาว วิไล ชลเขตต์ 51127312001 โทร 082-3227132

นางสาวเพียงฤดี นงรัตน์

รบ.ปลดหนี้นอกระบบ ผ่านธนาคารรัฐ แนะยึดหลัก ศก.พอเพียง

รัฐบาลเดินเครื่องปลดหนี้เอาใจประชาชน นายกฯ เปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง เริ่มลงทะเบียนตลอดเดือนธันวาคมนี้ แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันหนี้นอกระบบ

วันนี้ (19 พ.ย.) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ และปาฐกถา เรื่อง “นโยบายรัฐบาลกับการเสริมสร้างเศรษฐกิจภาคประชาชน” โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งผู้บริหารระดับทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 700 คนเข้าร่วม

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวรายงานว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันกำหนดวางแนวทางและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมทั้งได้แบ่งแยกบทบาทตามความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารพาณิชย์ของรัฐ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน จะเป็นสถาบันหลักในการรับการลงทะเบียนทั่วประเทศ สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง ให้กู้เป็นพิเศษสำหรับแก้ปัญหาหนี้นอกระบบครั้งนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ส่วนใหญ่ของผู้มีรายได้น้อยทุกสถาบันการเงินจะแบ่งรับผู้ลงทะเบียนไปตามบทบาทของแต่ละธนาคาร

นายสถิตย์ กล่าวต่อว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเกษตรกร ธนาคารออมสิน รับกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้นอกภาคเกษตรโดยรวม ในกรณีที่เป็นลูกหนี้นอกระบบที่ทำการค้าขายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรับไปดำเนินการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับดำเนินการในกรณีที่เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ธนาคารอิสลามรับกรณีบัตรเครดิตที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดที่ธนาคารมีสาขาอยู่ ธนาคารกรุงไทยรับกรณีที่ลูกหนี้เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

การเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งการเงินในระบบเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้หนี้นอกระบบนั้นเข้ามาอยู่ในระบบของสถาบันการเงิน แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องมีการเจรจาหนี้ในระดับพื้นที่กับเจ้าหนี้นอกระบบที่ไม่ได้เข้ามาสู่โครงการแปลงหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบในครั้งนี้ ซึ่งในกรณีนี้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกันมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการประสานงานในการเจรจากับเจ้าหนี้นอกระบบที่เหลืออยู่ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังรอคอยแก้ไขปัญหาประมาณกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะทำให้คนเหล่านั้นมีโอกาสเข้ามาสู่การแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบ การสัมมนาวันนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1.เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 2.ประกาศการเริ่มต้นการดำเนินการให้กับประชาชนและเชิญชวนให้ผู้มีปัญหาหนี้นอกระบบเข้ามาลงทะเบียน และ 3.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ได้ทราบแนวทางที่จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามคลี่คลายปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นวิกฤตเฉพาะหน้า โดยออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในเกือบทุกกลุ่ม รวมทั้งการใช้เงินในการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อที่จะทำให้ความพร้อมของประเทศและโอกาสของประชาชนดีขึ้น ทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกกรรม ในชนบทและในเมือง อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าประชาชนจำนวนมากประมาณการเกือบ 1 ล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาของวงจรหนี้สินและความยากจน โดยเฉพาะประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยและการชำระเงินคืน ที่เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ให้กับประชาชนจำนวนมาก

ดังนั้น ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไข ที่สำคัญคือ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่เป็นปัญหาของแต่ละบุคคลหรือแต่ละครอบครัว ซึ่งเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบ แต่เชื่อมโยงไปถึงปัญหาในเรื่องของความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย การบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาผู้มีอิทธิพล ปัญหาความรุนแรง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาหนี้นอกระบบจึงเป็นปัญหาที่มีมิติไม่ใช่เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่รวมไปถึงเรื่องของความมั่นคงและความยุติธรรมในบ้านเมืองด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า กระบวนการการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบครั้งใหญ่ของประเทศ จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบสามารถมาลงทะเบียนได้ตลอดเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการที่จะเข้าสู่การแก้ไข การปรับโครงสร้าง การเจรจา เพื่อนำไปสู่การแปลงหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ที่อยู่ในระบบ โดยลูกหนี้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ผ่านธนาคารของรัฐทั้ง 6 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย

ทั้งนี้ นอกจากกระบวนการที่กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติขั้นตอนไว้แล้ว หน่วยงานอื่นๆ จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างแท้จริง ตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสรรพากร โดยจะต้องมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้กระบวนการของการแปลงหนี้นอกระบบเข้ามาสู่ในระบบให้ได้ เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบไปเกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น หน่วยงานเหล่านี้ได้เข้ามาแล้ว และพร้อมที่จะเป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกที่จะทำให้ในที่สุดการแปลงหนี้เข้ามาสู่ระบบจะสามารถดำเนินการได้ และเมื่อเข้ามาสู่ในระบบแล้วกระทรวงการคลังจะดำเนินการต่อไปคือการดูแลที่จะให้ลูกหนี้สามารถที่จะได้รับการฟื้นฟู ฝึกฝนในเรื่องของอาชีพ มีงานมีรายได้ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการชำระหนี้ต่อไป

นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า ที่สำคัญคือ การรณรงค์ให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันไม่ให้ใครก็ตามต้องหลุดเข้ามาอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบต่อไปในอนาคต และขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้งานตรงนี้เดินหน้าต่อไปได้และประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธันวาคมนี้ เวลา 08.30-16.30 น.เว้นวันหยุดราชการที่สาขา ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1115 หรือ 02-555-0555

ความคิดเห็น

การที่รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเต็มที่ก็ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหามีชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการปล่อยสินเชื่อให้ดีขึ้น ลดปัญหาความรุนแรงต่างๆที่มีผลมาจากหนี้นอกระบบด้วย

ข้อดีของโครงการนี้

- โครงการนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนได้มากขึ้น

- เน้นให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสียของโครงการนี้

- งบประมาณของโครงการอาจจะมีการทุจริตได้

- คนที่มีหนี้นอกระบบที่ไม่มีคุณสมบัติตามโครงการก็ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ รัฐบาลจึงควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

นงสาวเพียงฤดี นงรัตน์ รหัส 51127312036 โทร. 087-545-9807

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังรัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ

ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5. กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1. เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2. ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3. วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4. อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

น.ส.วราลักษณ์ พาดี รหัส 51127312012

โทร.089-174-4048

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีเจ้าหนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการฝึกอบรมทีมงานบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับจังหวัด เพื่อชี้แจงแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาคได้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทอำนาจหน้าที่การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ และกระทรวงมหาดไทยได้สรุปนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ได้รับทราบและถือปฏิบัติ ดังนี้

1. นโยบาย

1.1 ในพื้นที่รับผิดชอบจะต้องไม่ให้มีเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้ที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยเด็ดขาด

1.2 สอดส่องดูแลไม่ให้มีการทำสัญญาเงินกู้ที่ระบุมูลหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง

1.3 ใช้หลักเมตตาธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้

2. มาตรการ

2.1 ใช้หลักประนีประนอม ดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้เป็นลำดับแรกให้หยุดพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้เลิกการเอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสกว่า โดยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และมีมูลค่าหนี้ตรงตามที่มีการกู้เงินกันอย่างแท้จริง

2.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้นอกระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ และยังคงมีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล หรือทำการฉ้อฉล ฉ้อโกง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และการดำเนินคดี

3. แนวทางการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและมาตรการดังกล่าวไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ จังหวัดจะต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายดังต่อไปนี้

3.1 กรณีเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล ให้จังหวัดขอความร่วมมือโดยเชิญเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลมาเจรจาให้ยุติพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การใช้กำลังข่มขู่ การทำสัญญาเงินกู้เป็นเท็จ การเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้และกดดันให้เลิกพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้หรือกรณีคาบเกี่ยวกับหลายจังหวัด ให้รายงานศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คณะทำงานจากส่วนกลางเข้าไปสนับสนุนการทำงานของจังหวัดอีกทางหนึ่ง

3.2 กรณีลูกหนี้ ให้จังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับลูกหนี้ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทางราชการจะสามารถดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อที่ลูกหนี้จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการให้เบาะแสพฤติกรรมของเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของตน แล้วนำไปใช้ฟื้นฟูศักยภาพในครัวเรือนของตน โดยกระบวนการ ลด ละ เลิกอบายมุขและน้อมนำเอาปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน

3.3 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้จังหวัดกำชับข้าราชการในพื้นที่ไม่ให้มีพฤติการณ์สนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด หากปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด

น.ส.วราลักษณ์ พาดี รหัส 51127312012

โทร.089-174-4048

จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน

ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป สภาวการณ์

เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง

พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี

หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ

แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ

เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552 ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้ การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่

ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้

อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุก

ระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีก

หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนักเนื่องจากการมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย

การจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรวางยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไปโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนในทุกระดับ พร้อมทั้งวางนโยบายระยะยาวในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้ และมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาสำคัญที่จะตามมาจากการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ คือ การเกิดหนี้ NPL เพิ่มเติมในสถาบันการเงินของภาครัฐ และเร่งวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ควบคู่กันไปด้วย m--จบ--

น.ส.วราลักษณ์ พาดี รหัส 51127312012

โทร.089-174-4048

น.ส อัจจิมา เรณูรัตน์ 51127312007 การเงิน-การธนาคาร ปี2

จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน

ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป สภาวการณ์

เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง

พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี

หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ

แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ

เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552 ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้ การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่

ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้

อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุก

ระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีก

หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนักเนื่องจากการมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย

การจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรวางยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไปโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนในทุกระดับ พร้อมทั้งวางนโยบายระยะยาวในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้ และมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาสำคัญที่จะตามมาจากการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ คือ การเกิดหนี้ NPL เพิ่มเติมในสถาบันการเงินของภาครัฐ และเร่งวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ควบคู่กันไปด้วย

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

รัฐบาลเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมี นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อส่งสัญญาณเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าโครงการ ตั้งแต่ 1-30 ธันวาคม 2552 ที่ ธนาคารออมสิน 600 สาขา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. 900 สาขาทั่วประเทศ หลัง จากนั้นจัดแยกประเภทหนี้ จัดลำดับความสำคัญของการเป็นหนี้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือหนี้เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลัก

รัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ

ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในครั้งนี้ ได้ดึงแบงก์รัฐ 6 แห่ง เข้ามาช่วยเหลือทั้ง ธ.ก.ส. ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลาม ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยจะเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทุกสาขาและศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่ง จากนั้นจะทำคัดกรองลูกหนี้ระหว่างเดือนมกราคม และเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาและประนอมหนี้ เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีการตั้งคณะทำงานแก้หนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารรัฐเป็นผู้เจรจา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 53

จากนั้นจะเริ่มคัดเลือกลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เข้าสู่ระบบขอกู้จากแบงก์รัฐ ในช่วงพฤษภาคมปีหน้า หากลูกหนี้ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะให้ความช่วยเหลืออีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ ก็จะนำเข้าสู่โครงการพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็งและสร้างรายได้ให้มั่นคง โดยมีธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ

ซึ่งจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยการ รีไฟแนนซ์ ได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบหากจะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะต้องพัฒนาให้ ประชาชนระดับรากหญ้าเข้าถึงแหล่งเงินในธนาคารให้ได้มากขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า ได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งทำความเข้าใจต่อธนาคารต่างๆว่า เครดิตบูโร เป็นเพียงข้อมูลที่ช่วยประกอบการตัดสินใจในการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้า ซึ่งไม่ได้ถือเป็นความผิดหากปล่อยให้ผู้ติดเครดิตบูโร เพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องออกไปพึ่งเงินนอกระบบ

ส่วนธ.ก.ส.ได้ติดเครื่องโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมรับขึ้นทะเบียนประชาชนในภาคเกษรตรกรรมที่เป็นหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่ 1-30 ธ.ค.นี้

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การปลดหนี้ ยืดเวลาชำระหนี้ ลดหนี้และพักชำระดอกเบี้ย ในส่วนของ ธ.ก.ส. ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่ง ธ.ก.ส. ก็มีความพร้อมในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว โดยจะรับขึ้นทะเบียนประชาชนทั่วไปได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคมนี้

วัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบคือช่วยให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ลง นำเงินในส่วนที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยมาใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้มีการออมเพื่อรักษาวินัยทางการเงิน

สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นลูกหนี้นอกระบบที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดจากสาเหตุสุจริตและจำเป็นที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยผู้ขอขึ้นเบียนจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ สำเนาทะเบียนบ้านและเอกสารยืนยันการเป็นหนี้มายื่นที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปขอขึ้นทะเบียนที่สาขาภูมิลำเนาของตนเอง

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2.ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3.เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4.ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5.กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1.เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2.ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4.อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5.ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6.ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

สำหรับผู้สร้างข้อมูลเท็จเพื่อเข้าโครงการหวังกู้เงินในระบบ รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาจมีโทษถึงติดคุกได้ โดยคาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการเพื่อขอให้รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบเป็นหลักล้านราย

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีเจ้าหนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการฝึกอบรมทีมงานบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับจังหวัด เพื่อชี้แจงแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาคได้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทอำนาจหน้าที่การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ และกระทรวงมหาดไทยได้สรุปนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ได้รับทราบและถือปฏิบัติ ดังนี้

1. นโยบาย

1.1 ในพื้นที่รับผิดชอบจะต้องไม่ให้มีเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้ที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยเด็ดขาด

1.2 สอดส่องดูแลไม่ให้มีการทำสัญญาเงินกู้ที่ระบุมูลหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง

1.3 ใช้หลักเมตตาธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้

2. มาตรการ

2.1 ใช้หลักประนีประนอม ดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้เป็นลำดับแรกให้หยุดพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้เลิกการเอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสกว่า โดยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และมีมูลค่าหนี้ตรงตามที่มีการกู้เงินกันอย่างแท้จริง

2.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้นอกระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ และยังคงมีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล หรือทำการฉ้อฉล ฉ้อโกง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และการดำเนินคดี

3. แนวทางการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและมาตรการดังกล่าวไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ จังหวัดจะต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายดังต่อไปนี้

3.1 กรณีเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล ให้จังหวัดขอความร่วมมือโดยเชิญเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลมาเจรจาให้ยุติพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การใช้กำลังข่มขู่ การทำสัญญาเงินกู้เป็นเท็จ การเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้และกดดันให้เลิกพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้หรือกรณีคาบเกี่ยวกับหลายจังหวัด ให้รายงานศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คณะทำงานจากส่วนกลางเข้าไปสนับสนุนการทำงานของจังหวัดอีกทางหนึ่ง

3.2 กรณีลูกหนี้ ให้จังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับลูกหนี้ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทางราชการจะสามารถดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อที่ลูกหนี้จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการให้เบาะแสพฤติกรรมของเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของตน แล้วนำไปใช้ฟื้นฟูศักยภาพในครัวเรือนของตน โดยกระบวนการ ลด ละ เลิกอบายมุขและน้อมนำเอาปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน

3.3 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้จังหวัดกำชับข้าราชการในพื้นที่ไม่ให้มีพฤติการณ์สนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด หากปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด

ความคิดเห็น

การที่รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือทางด้านหนี้นอกระบบนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ดีในการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบเพราะคนส่วนมากแล้วก็จะเป็นหนี้นอกระบบกันเป็นส่วนมาก เพราะหนี้นอกระบบสามารถได้เงินง่ายและรวดเร็วไม่ต้องมีหลักประกันก้สามารถกู้ได้แต่ก็จะมีดอกเบี้ยที่แพงมากทำให้คนที่กู้มาส่วนใหญ่นั้นจะหลุดจากวงโคจรการเป็นหนี้นอกระบบนั้นได้ยากเพราะดอกเบี้ยนั้นแพงไม่ทันได้ส่งต้นดอกเบี้ยก็ทบต้นจนเกิดเป็นเงินจำนวนมาก และพอไม่มีเงินจ่ายก็จะต้องถูกทำร้ายร่างกายอย่างที่เป็นข่าวให้เห็นในปัจจุบันอยู่บ่อยๆ ดั้งนั้นเมื่อรัฐบาลได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในด้านนี้ก๊ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีค่ะได้เข้าไปช่วยคนที่ทุกข์ยากให้กลับมามีชีวิตที่ดีขึ้น และยังเป็นการช่วยในด้านกราขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ และเมื่อประชาชนของประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีก็จะส่งผลดีในระยะยาวแก่ประเทศไทยของเราด้วย

น.ส อัจจิมา เรณูรัตน์ รหัส 51127312007 เอก การเงิน-การธนาคาร

น.ส. สุพรรณิการ์ กันภัย รหัส 51127312031

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

รัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2.ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3.เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4.ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5.กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1.เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2.ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4.อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

1. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

2. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

ข้อมูลจากรายงานข่าว ที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังประชุมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชน ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะเปิดให้ประชาชนทุกคนที่มีหนี้นอกระบบมาลงทะเบียน เพื่อแปลงนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินของรัฐตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคมนี้ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างเป็นระบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2553

ประชาชนที่เป็นหนี้ทุกคนมีสิทธิมาลงทะเบียน เพื่อขอให้รัฐบาลเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีหนี้สินที่เกิดจากอะไรก็ตาม แต่ขอสงวนวงเงินหนี้สินที่จะเข้าไปช่วยเหลือไว้เพียง 2 แสนบาทต่อรายเท่านั้น

19 พฤศจิกายน 2552 มีการแถลงข่าวโครงการนี้ไปแล้ว ก็คงจะเป็นข่าวที่น่ายินดีและเป็นวันที่ใครต่อใครหลายคนที่เป็นหนี้นอกระบบอาจกำลังตั้งหน้ารอคอย การพยายามแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชนครั้งนี้ แม้จะเป็นเจตนาอันดีของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินที่อยู่นอกระบบ ที่มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในทางกลับกันคำถามที่น่าคิดตามมา ในกระบวนการการแก้ไขหนี้นอกระบบของประชาชน ที่ตามข่าวว่าภาครัฐอาจจะใช้วิธีการประสานงานเชิญเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบมาพบมาพูดคุย และมีตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าร่วมด้วยนั้น ดูผิวเผินแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีและน่าเชื่อชมที่รัฐจะเข้ามาไกล่เกลี่ยให้เจ้าหนี้ช่วยลดดอกเบี้ยให้น้อยลง แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งจะเป็นเรื่องที่ดูแปลกหรือไม่ เพราะเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบเหล่านี้ ที่รัฐบาลหวังให้เขามาคุยด้วย (ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เขาเหล่านี้จะยอมมาหรือไม่ ก็ไม่รู้) ส่วนหนึ่งก็คือผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายแล้วมิใช่หรือ

การเจรจากับเจ้าหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ ครั้งนี้จะมิกลายเป็นเรื่องของการเจรจากับผู้ที่ได้กระทำผิด ตามกฎหมายไปแล้วหรือ แล้วหลักนิติรัฐที่นักการเมืองชอบพูดถึง หายไปไหน นิติรัฐ อันหมายความถึง การปกครองที่รัฐต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของกฎหมายเป็นสำคัญ (โสภณ เจริญ : หน้า 359) นั่นเอง

ถ้าตามข่าวถึงขั้นจะเจรจาความกับบรรดาเจ้าหนี้นอกระบบ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากเหลือเพียงร้อยละ 15 ต่อปี แถมมีข่าวว่าข้าราชการบางท่านขู่ว่า มิฉะนั้นจะถือว่าหนี้จากการกู้ยืมเงิน เป็นโมฆะทันที จนน่าสงสัยว่า การโมฆะ หรือไม่โมฆะ อยู่ที่การตัดสินใจของใครบางคนกระนั้นหรือ อันที่จริงแล้ว หนี้นอกระบบ คือ หนี้สินของภาคประชาชน ที่กู้ยืมเงินกันเอง โดยไม่ผ่านระบบสถาบันการเงิน ซึ่งในระบบสถาบันการเงิน จะมีกฎหมายหรือประกาศควบคุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างชัดเจน

คำถามก็คือว่า การกู้ยืมเงินในภาคประชาชน ไม่มีกฎหมายควบคุมห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือ ทั้งๆ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ชัดเจน ในมาตรา 654 ว่า ห้ามมิให้คิดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี...ในเรื่องการกู้ยืมเงิน จริงๆ การกู้ยืมเงินกันเองของประชาชน หรือหนี้นอกระบบ ก็มีกฎหมายดูแลและควบคุมเรื่องการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอยู่อีกฉบับ ก็คือ มีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้กำหนดโทษทางอาญาไว้ด้วยตามความในกฎหมายที่ว่า

มาตรา 4 บุคคลใด

(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงิน โดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ

(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมาย บังอาจกำหนดข้อความอันไม่จริงในเรื่องจำนวนเงินกู้หรืออื่นๆ ไว้ในหนังสือสัญญา หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ หรือ

(ค) นอกจากดอกเบี้ย ยังบังอาจกำหนดจะเอา หรือรับเอาซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือโดยวิธีเพิกถอนหนี้ หรืออื่นๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืม

ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เจตนารมณ์ ในการที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าชื่นชม แม้เรื่องนี้อาจจะดูว่าเป็นเรื่องประชานิยมอยู่บ้างก็ตาม

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาล ต้องการยึดหลักนิติรัฐ หรือการยึดมั่นในหลักการปกครองโดยกฎหมาย กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชน ภายใต้หลักกฎหมายที่มีอยู่ ยังพอที่จะมีทางดำเนินการได้หรือไม่

ปัญหาของประชาชน ที่มีรายได้น้อย หรือรายได้ไม่พอใช้ จนนำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทยเราส่วนหนึ่ง ก็มาจากโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน บางคนอาจเพียงแค่ต้องการมีกินมีใช้ เลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวไปวันๆ บางคนอาจต้องการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน เพื่อขยับฐานะของตน เป็นต้น

ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน โดยการแปลงหนี้นอกระบบ ให้เป็นหนี้ในระบบ โดยให้สถาบันการเงินช่วยปล่อยกู้ให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเหล่านี้ อาจเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น

ประชาชน หรือชาวบ้านเหล่านี้ หลายท่าน ก็ทราบดีอยู่แล้ว พวกที่ปล่อยกู้ ร้อยละ 20 คิดดอกเบี้ยแพงเกินไป แต่หลายคนก็จำเป็นต้องกู้ยืม ด้วยเหตุผลความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ความเดือดร้อนเรื่องเงินอีก รัฐบาลก็จะวิธีการให้สถาบันการเงินเหล่านี้ ปล่อยกู้ให้ประชาชนต่อได้อีกหรือ

คำถามที่ขอฝากทิ้งท้ายไว้ก็คือ เราจะยังคงปล่อยให้มีเจ้าหนี้ ที่ปล่อยกู้ เรียกดอกเบี้ยแพงเอาเปรียบลูกหนี้อยู่ร่ำไป ยังคงมีชีวิตสุขสบายอยู่สังคมไทยได้อีกหรือ บางคนกู้เงินเพียง 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 10,000 จ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้มาสองปีแล้ว ยังไม่สามารถจ่ายเงินต้นได้เลย จ่ายดอกเบี้ยจนครบเงินต้นไป 2 เท่าแล้ว เจ้าหนี้บางคนก็ยังไม่รู้สึกรู้ร้อนรู้หนาวอะไร และไม่คิดว่าเป็นการเอาเปรียบลูกหนี้แต่ประการใดด้วย

ท้ายสุดนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยการแปลงหนี้เหล่านั้นให้อยู่ในระบบ อาจเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาปลายเหตุเท่านั้น แต่การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ยั่งยืนกว่า คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนจน หรือคนมีรายได้น้อย โดยรัฐยังคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งกฎหมาย เพื่อให้หลักนิติรัฐ หรือการปกครองด้วยกฎหมาย มีความศักดิ์สิทธิ์และคงอยู่ในสังคมไทยต่อไป อีกนานเท่านาน

สวนดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่เห็น ด้วยกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ขณะที่เอแบคโพล ระบุ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาล

สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาน เรื่อง คิดอย่างไรกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลพบว่า ประชาชนร้อยละ 63.46 เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะเชื่อว่า จะสามารถช่วยปลดหนี้ให้ประชาชน ไม่ต้องกลัวการขูดรีด และเป็นการจัดระเบียบการเงินให้ถูก ร้อยละ 20.64 ไม่แน่ใจโครงการ เพราะอาจมีการสวมสิทธิ์เป็นหนี้นอกระบบ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ

ร้อยละ 15.90 ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะยิ่งสร้างหนี้ให้ประเทศ และไม่ค่อยมั่นใจกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพราะหลายโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ บางขั้นตอนยังไม่ชัดเจน ร้อยละ 29.16 ไม่ค่อยมั่นใจ ส่วน ร้อยละ 17.57 มั่นใจว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้แน่นอน เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่แท้จริงซึ่งปัจจุบัน

นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 62.67 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ เกิดจากเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 44.97 รองลงมา คือ เงินขาดมือ ตามด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เงินเดือน รายได้ ไม่พอใช้จ่าย ขณะที่ ร้อยละ 13.03 เป็นหนี้นอกระบบ เพราะไม่มีเครดิตที่จะขอกู้กับธนาคารได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ คือ การออกกฎหมายคุ้มครองผู้ที่กู้หนี้นอกระบบ และการคุมเจ้าหนี้ ตามด้วยการขอความร่วมมือสถาบันการเงิน ปรับลดหลักเกณฑ์การกู้เงินให้ง่ายขึ้น จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ และการนำเจ้าหนี้มาลงทะเบียนให้ถูกต้อง

ประชาชนต้องการโอนหนี้ตามมาตรแก้หนี้นอกระบบ

เอแบคโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มคนเป็นหนี้นอกระบบและกลุ่มเจ้าหนี้ ต่อมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ โดยพบว่า ร้อยละ 80.3 ต้องการโอนหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบข่าวสาร เรื่องวงเงินสูงสุดที่ธนาคารจะปล่อยกู้ไปใช้หนี้นอกระบบ ส่วนร้อยละ 74.3 ทราบข่าวการปราบปรามกลุ่มคนที่ปล่อยหนี้นอกระบบ ร้อยละ 92 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบเห็นว่า มาตรการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อการปล่อยกู้ ร้อยละ 54.5 ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ ยังไม่ลดอัตราดอกเบี้ย หลังรัฐบาลออกมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ ร้อยละ 87.8 เห็นด้วยกับรัฐบาลในการประกาศสงครามกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชั่น และร้อยละ 75.6 เห็นด้วยกับ นายกรัฐมนตรีในการเป็นประธานรณรงค์การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นด้วยตัวเอง คงต้องยอมรับว่า หลังจากที่เศรษฐกิจไทย ได้รับผลกระทบจากพิษวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน และ เป็นหนี้นอกระบบจำนวนมาก เนื่องจาก ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน

ดังนั้น การออกมาตรการเพื่อโอบอุ้มและหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยเหล่านี้ ภายใต้ชื่อ “โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ” ของรัฐบาล จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยเหลือและถือเป็นภารกิจที่ท้าทายของรัฐบาล รวมทั้งเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ว่าจะสำเร็จเป็นรูปธรรมได้มากน้อยเพียงใด

สถานการณ์และแนวโน้มหนี้นอกระบบในสังคมไทย

สำนักข่าวแห่งชาติ ขอนำข้อมูลเมื่อปีที่ผ่านมาก่อนจะโยงสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,194 ราย ระหว่างวันที่ 27-31 ต.ค. 2551 เกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจ ที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลแก้ไข พบว่า อันดับแรกคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และอาชญากรรม เมื่อแยกเป็นภาค พบว่าคน กทม.และปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กังวลเรื่องปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาการเมือง แต่ภาคกลาง เหนือ และใต้ กังวลปัญหาการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 ระบุว่าซื้อของในปริมาณลดลง แต่หาเงินซื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งร้อยละ 70 ให้เหตุผลจากราคาสินค้าแพงขึ้น รายได้ลดลง เศรษฐกิจชะลอตัว

และในผลสำรวจพบสิ่งน่ากังวลในเรื่องหนี้นอกระบบที่อาจเพิ่มขึ้นในปี 2552 เนื่องจากช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมามีประชาชนถึงร้อยละ 64.2 ประสบภาวะรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง ราคาน้ำมัน ซึ่งในจำนวนร้อยละ 47 ต้องดึงเงินออมมาใช้ อีกร้อยละ 35.8 ต้องกู้ยืม และขอความช่วยเหลือจากญาติหรือขายทรัพย์สินอีกร้อยละ 17

สำหรับลูกหนี้นอกระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2552) เป็นข้อมูลจากการเปิดให้ลงทะเบียน กับกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2549 พบว่า ตัวเลขผู้ที่มีปัญหาหนี้ ทั้งในและนอกระบบ มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ล้านราย แยกเป็นหนี้นอกระบบ 2 แสนราย มูลหนี้ 1 หมื่น 2 พันล้านบาท ซึ่งได้รับการช่วยเหลือแล้ว 1 แสนราย มูลหนี้ 6 พันล้าน ยังเหลืออีก 1 แสนราย และ ยังไม่รวมลูกหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น จากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในรอบปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ในสถานการณ์ปกติ หนี้นอกระบบจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของหนี้ทั้งระบบประมาณ 8 ล้านล้านบาท หากอัตราเพิ่มรวดเร็วถึงร้อยละ 30 ถือว่าน่าวิตก เพราะอาจเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมและภัยสังคมได้

ผลสำรวจประชาชนสนใจโครงการแก้หนี้นอกระบบ

มาถึงปี 2552 โดยคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจเรื่องสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือนทั่วประเทศ จำนวน1,202 คน ระหว่างวันที่ 6-13 พ.ย. 52 พบว่า ส่วนใหญ่ 57.26% สนใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล เพราะมองว่าจะช่วยลดภาระดอกเบี้ย ทำให้มีเงินเหลือเก็บ มีเงินจับจ่ายใช้สอย และมีเงินลงทุนทำธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่วนอีก 42.74% ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงความเห็น 37.5% มองว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้น้อย และ 35% เห็นว่าแก้ปัญหาได้แค่ในระดับปานกลาง ส่วนที่ตอบว่าจะแก้ไขปัญหาได้มากมีอยู่แค่ 9.6% และมากที่สุดมีเพียง 0.2% เท่านั้น

สำหรับภาระหนี้ของครัวเรือนในปัจจุบันอยู่ที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 147,542 บาท เพิ่มขึ้น 2.8% จากต้นปี 52 คิดเป็นเพิ่มขึ้น 3,000 บาท/ครัวเรือน แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 42.6% และหนี้นอกระบบ 57.4% มีอัตราผ่อนชำระเดือนละ 9,654 บาท โดยสาเหตุที่หนี้เพิ่มขึ้น เพราะมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ประกอบกับ ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหันไปหาแหล่งเงินกู้นำมาใช้ให้จ่ายในชีวิตประจำวัน ลงทุน ซื้อยานพาหนะ และซื้อบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่กังวลว่าการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลอาจไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลไม่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หรือบางรายไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีหนี้สูงกว่าวงเงินที่รัฐกำหนด ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าร่วมโครงการ

นายธนวรรธน์ ยังมองด้วยว่า โครงการแก้หนี้ระบบของรัฐบาล ถึงแม้จะไม่มีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และค่อนข้างเป็นนโยบายประชานิยม แต่โครงการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ เพราะการที่รัฐบาลให้วงเงิน 200,000 บาทต่อรายนั้น ถือว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากหากอ้างอิงผลการสำรวจพบว่า ประชาชนมีหนี้สินประมาณ 150,000 บาทต่อราย อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังช่วยลดภาระอัตราดอกเบี้ยให้กับประชาชนรวมได้ 1 เท่า ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีเม็ดเงินเหลือจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น และหากประชาชนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวถึง 1,000,000 คน ตามที่รัฐบาลนี้ตั้งเป้าไว้ ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม

"เห็นด้วยกับมาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบของรัฐ แม้รูปแบบจะคล้ายประชานิยม และไม่ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่เข้าถึงประชาชนได้จริง ทำให้ลดรายจ่ายจากดอกเบี้ย และมีการออม การใช้จ่ายมากขึ้น เชื่อว่านโยบายนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จ เพราะรัฐใช้สถาบันการเงินรัฐช่วยขับเคลื่อน ซึ่งมีระบบการจัดการและบริหารความเสี่ยงดี ทำให้โอกาสเกิดหนี้ NPL มีน้อยไม่ถึง 10%" ขณะที่ความเห็นของนายอนุรักษ์ นิยมเวช สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการ การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มองว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ กล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด

“ผมว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีก หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยดังนั้นมาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนัก การมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยต่างหากที่เป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด และเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ”

นายอนุรักษ์ แนะภาครัฐด้วยว่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ การมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน

นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย

อย่างไรก็ตาม การจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรวางยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไปโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนในทุกระดับ พร้อมทั้งวางนโยบายระยะยาวในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้ และมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาสำคัญที่จะตามมาจากการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ คือ การเกิดหนี้ NPL เพิ่มเติมในสถาบันการเงินของภาครัฐ และเร่งวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ควบคู่กันไปด้วย

ความคิดเห็น

การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลครั้งนี้ เป็นนโยบายที่ดีของภาครัฐบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก ทำให้ประชาชนมีหนี้สินน้อยลง แต่อย่างไรก้อตามถึงแม้ว่าภาครัฐจะช่วยประชาชนเกี่ยวกับปัญหานี้แล้ว ก็ยังคงต้องขึ้นอยู่กับตัว ประชาชนเองที่จะไปสร้างหนี้สินเพิ่มอีกหรือเปล่า ถ้ายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมๆๆ ไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองก้อคงต้องเป็นหนี้อีกเหมือนเดิม

เป็นสิ่งที่ดีที่รัฐบาลเร่งเห็นปัญหาของประชาชน และยังเข้าถึงประชาชนแก้ปัญหาได้ถูกจุด ซึ่งอาจจะทำให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยเราดีขึ้นก็ได้

นางสาว สุพรรณิการ์ กันภัย

รหัส 51127312031

เอก การเงินการธนาคาร

084-671-3923

นายเรืองวิย์ อุปชขัย

นายเรืองวิทย์ อุปชัย

51127312032

0854467564

นายกฯกดปุ่มแก้หนี้นอกระบบ

นายกฯกดปุ่มแก้หนี้นอกระบบช่วยประชาชนพ้นภาระหนี้สินลดปัญหาผู้มีอิทธิพล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง"นโยบายรัฐบาลกับการเสริมสร้างเศรษฐกิจภาคประชาชน ในโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ"ว่า รัฐบาลมีความตั้งใจแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้ประชาชน เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ การขับเคลื่อนโครงการไทยเข้มแข็ง คงไม่สามารถเดินหน้าได้เต็มที่

"รัฐบาลมีความมุ่งมั่นชัดเจนที่จะขจัดปัญหานี้ออกจากสังคมให้ได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ 1 ล้านคน ถือเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ดังนั้น นโยบายที่รัฐบาลดำเนินการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีหนี้สินมาลงทะเบียนภายใน ธ.ค.52 หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้าง การเจรจา แปลงหนี้นอกระบบกลับสู่ระบบ

กระทรวงการคลังจะเป็นหน่วยงานหลักแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง เข้าช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

หลังมีการช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบแล้ว รัฐบาลจะมีการเตรียมการฝึกอาชีพให้ผู้เข้าโครงการ เพื่อเป็นการหารรายได้เพิ่มนำมาชำระหนี้ต่อไป และการที่รัฐบาดลำเนินการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจะมีส่วนเชื่อมโยงลดปัญหาผู้มีอิทธิพล การใช้ความรุนแรง และหลังว่าโครงการนี้จะช่วยประชาชนพ้นภาระหนี้นอกระบบได้

นางศรีประภา พริ้งพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย(KTB) กล่าวว่า หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการแก้หนี้นอกระบบ จะต้องเป็นหนี้ที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 2 แสนบาท/ราย เป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พ.ย.52 ประชาชนต้องไปขึ้นทะเบียนที่ธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. ระหว่างวันที่ 1-30 ธ.ค.52 หลังจากกรมบัญชีกลาง จะทำการประมวลผล พร้อมส่งข้อมูลไปยังทีมเจรจาหนี้ในแต่ละจังหวัด เพื่อทำการเจรจาประนอมหนี้ในเดือน ก.พ.-เม.ย.53 จากนั้นจะส่งลูกหนี้ไปยังธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ ให้ธนาคารที่มีจำนวนหนี้มากที่สุดรับไปดำเนินการ ส่วนลูกหนี้ที่มีเฉพาะหนี้นอกระบบ ให้ธนาคารกรุงไทยดูแลลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ธ.ก.ส. ดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร เอสเอ็มอีแบงก์ ดูแลลูกหนี้ที่มีอาชีพค้าขายและเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตและอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ส่วนหนี้ที่เหลือ ธนาคารออมสินรับไปดำเนินการ

นางศรีประภา กล่าวว่า ในส่วนของธนาคาร กำหนดรูปแบบการกู้เงินแบบมีระยะเวล โดยวงเงินกู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาทจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 8 ปี ผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนๆละเท่าๆกัน หากลูกหนี้สมัครใจชำระหนี้ก่อนกำหนด ธนาคารจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สามารถใช้บุคคลค้ำประกันหรือจำนองหลักทรัพย์

กรณีกู้เกิน 1 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกันได้มากกว่า 1 คน โดยรายได้ของผู้ค้ำประกันรวมกันต้องไม่ต่ำกว่า 10% ของวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน คิดอัตรา MRR บวก 4% ต่อปี หรือปัจจุบันอยุ่ที่ 10.375% ต่อปี กรณีจำนองหลักทรัพย์ คิดอัตรา MRR บวก 2% ต่อปี หรือปัจจุบันอยู่ที่ 8.375% ต่อปี ทั้งนี้ดอกเบี้ย 3 ปีแรกต้องไม่เกิน 12% ต่อปี

รัฐบาลเดินเครื่องปลดหนี้เอาใจประชาชน นายกฯ เปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง เริ่มลงทะเบียนตลอดเดือนธันวาคมนี้ แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันหนี้นอกระบบ

วันนี้ (19 พ.ย.) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ และปาฐกถา เรื่อง “นโยบายรัฐบาลกับการเสริมสร้างเศรษฐกิจภาคประชาชน” โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งผู้บริหารระดับทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 700 คนเข้าร่วม

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวรายงานว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันกำหนดวางแนวทางและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมทั้งได้แบ่งแยกบทบาทตามความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารพาณิชย์ของรัฐ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน จะเป็นสถาบันหลักในการรับการลงทะเบียนทั่วประเทศ สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง ให้กู้เป็นพิเศษสำหรับแก้ปัญหาหนี้นอกระบบครั้งนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ส่วนใหญ่ของผู้มีรายได้น้อยทุกสถาบันการเงินจะแบ่งรับผู้ลงทะเบียนไปตามบทบาทของแต่ละธนาคาร

นายสถิตย์ กล่าวต่อว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเกษตรกร ธนาคารออมสิน รับกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้นอกภาคเกษตรโดยรวม ในกรณีที่เป็นลูกหนี้นอกระบบที่ทำการค้าขายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรับไปดำเนินการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับดำเนินการในกรณีที่เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ธนาคารอิสลามรับกรณีบัตรเครดิตที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดที่ธนาคารมีสาขาอยู่ ธนาคารกรุงไทยรับกรณีที่ลูกหนี้เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

การเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งการเงินในระบบเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้หนี้นอกระบบนั้นเข้ามาอยู่ในระบบของสถาบันการเงิน แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องมีการเจรจาหนี้ในระดับพื้นที่กับเจ้าหนี้นอกระบบที่ไม่ได้เข้ามาสู่โครงการแปลงหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบในครั้งนี้ ซึ่งในกรณีนี้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกันมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการประสานงานในการเจรจากับเจ้าหนี้นอกระบบที่เหลืออยู่ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังรอคอยแก้ไขปัญหาประมาณกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะทำให้คนเหล่านั้นมีโอกาสเข้ามาสู่การแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบ การสัมมนาวันนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1.เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 2.ประกาศการเริ่มต้นการดำเนินการให้กับประชาชนและเชิญชวนให้ผู้มีปัญหาหนี้นอกระบบเข้ามาลงทะเบียน และ 3.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ได้ทราบแนวทางที่จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามคลี่คลายปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นวิกฤตเฉพาะหน้า โดยออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในเกือบทุกกลุ่ม รวมทั้งการใช้เงินในการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อที่จะทำให้ความพร้อมของประเทศและโอกาสของประชาชนดีขึ้น ทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกกรรม ในชนบทและในเมือง อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าประชาชนจำนวนมากประมาณการเกือบ 1 ล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาของวงจรหนี้สินและความยากจน โดยเฉพาะประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยและการชำระเงินคืน ที่เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ให้กับประชาชนจำนวนมาก

ดังนั้น ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไข ที่สำคัญคือ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่เป็นปัญหาของแต่ละบุคคลหรือแต่ละครอบครัว ซึ่งเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบ แต่เชื่อมโยงไปถึงปัญหาในเรื่องของความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย การบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาผู้มีอิทธิพล ปัญหาความรุนแรง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาหนี้นอกระบบจึงเป็นปัญหาที่มีมิติไม่ใช่เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่รวมไปถึงเรื่องของความมั่นคงและความยุติธรรมในบ้านเมืองด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า กระบวนการการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบครั้งใหญ่ของประเทศ จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบสามารถมาลงทะเบียนได้ตลอดเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการที่จะเข้าสู่การแก้ไข การปรับโครงสร้าง การเจรจา เพื่อนำไปสู่การแปลงหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ที่อยู่ในระบบ โดยลูกหนี้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ผ่านธนาคารของรัฐทั้ง 6 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย

ทั้งนี้ นอกจากกระบวนการที่กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติขั้นตอนไว้แล้ว หน่วยงานอื่นๆ จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างแท้จริง ตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสรรพากร โดยจะต้องมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้กระบวนการของการแปลงหนี้นอกระบบเข้ามาสู่ในระบบให้ได้ เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบไปเกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น หน่วยงานเหล่านี้ได้เข้ามาแล้ว และพร้อมที่จะเป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกที่จะทำให้ในที่สุดการแปลงหนี้เข้ามาสู่ระบบจะสามารถดำเนินการได้ และเมื่อเข้ามาสู่ในระบบแล้วกระทรวงการคลังจะดำเนินการต่อไปคือการดูแลที่จะให้ลูกหนี้สามารถที่จะได้รับการฟื้นฟู ฝึกฝนในเรื่องของอาชีพ มีงานมีรายได้ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการชำระหนี้ต่อไป

นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า ที่สำคัญคือ การรณรงค์ให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันไม่ให้ใครก็ตามต้องหลุดเข้ามาอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบต่อไปในอนาคต และขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้งานตรงนี้เดินหน้าต่อไปได้และประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธันวาคมนี้ เวลา 08.30-16.30 น.เว้นวันหยุดราชการที่สาขา ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ

ความคิดเห็น

ก็เป็นผลดีเพราะรัฐบาลสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนซึ่งปัญหานี้ก็มีมายาวนานแล้ว

ทำให้ประชาชนไม่ต้องมาคอยระหวาดระแวงกับนี้นอกระบบและมีดอกเบี้ยที่แพงและ

ประชาชนยังสามารถทำมาหากินได้อย่างสบายใจไม่ต้องมาคอยกลัวที่เจ้าหนี้จะมาคอยทวงหนี้

และไม่ต้องคอยหลบซ้อนกับเจ้าหนี้ที่โหดๆ ไม่ค้องคอยนอนผวาหรือหลับๆตื่นๆเพื่อคอยหลบหนี้นอกระบบ

ขอบคุณค่ะ

รวีวรรณ กรรณโม

รหัส 51127312024

นางสาวปภัสสร กวางเส็ง

หนี้นอกระบบ(Informal debt) แตกต่างกับหนี้ในระบบอย่างไร

หนี้สินที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ทั้งหลายอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆคือหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบ หนี้ในระบบเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ทำกับสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายรับรองและควบคุมอยู่ ส่วนหนี้นอกระบบเป็นหนี้ที่เกิดจากลูกหนี้ไม่สามารถกู้กับสถาบันการเงินหรือธนาคารได้จึงต้องเลี่ยงไปใช้บริการหนี้นอกระบบ ความแตกต่างระหว่างหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบมีดังนี้คือ

หนี้ในระบบจะมีกฎหมายควบคุมอยู่ ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกัน ฯลฯ จะต้องปฏิบัติและได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างยุติธรรม กฎเกณฑ์ กติกา เงื่อนไขและข้อบังคับต่างๆ ของหนี้ในระบบจะมีความยุติธรรมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อมีปัญหาหนี้สินเช่นปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาก็มีขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินการตามกฎหมายที่ชัดเจนแบบตรงไปตรงมา หนี้ในระบบหากฟ้องร้องแล้วก็จะมีการบังคับจำนองหรือขายทอดตลาดสินทรัพย์หรือหลักประกันไปตามขั้นตอน ทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้ก็ได้รับโอกาสที่จะต่อสู้กันในศาลได้อย่างเท่าเทียมกันไม่มีความเหลื่อมล้ำและอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน

หนี้นอกระบบ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนมากเป็นคนที่ไม่มีความรู้และไม่สามารถกู้หนี้ในระบบได้ จึงต้องหันไปใช้บริการของหนี้นอกระบบที่เจ้าหนี้นอกระบบจะเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ กติกา เงื่อนไขต่างๆตามความพอใจ การเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหนี้นอกระบบ เริ่มตั้งแต่การปล่อยกู้มักจะปล่อยกู้โดยไม่มีสัญญาหรือหลักฐานใดๆแล้วมักตามเก็บเงินค่าผ่อนชำระรายวัน ดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้ก็แพง(อย่างโหด)กว่าอัตราดอกเบี้ยของหนี้ในระบบมาก

หนี้นอกระบบในรายที่มีการทำสัญญาเงินกู้ เจ้าหนี้มักจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดโดยอาศัยช่องว่างหรือจุดอ่อนของลูกหนี้ที่ไม่รู้หนังสือ ไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ลูกหนี้นอกระบบส่วนมากจึงต้องพบกับปัญหาต่างๆดังนี้เช่น การถูกคิดดอกเบี้ยจากเจ้าหนี้นอกระบบแพงกว่าปกติ การเขียน(จำนวนเงิน)สัญญาเงินกู้เกินจริง การทำสัญญาจดจำนองหรือขายฝากด้วยยอดเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง

ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ลูกหนี้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบแก่เจ้าหนี้นอกระบบอย่างมากคือ ลูกหนี้ที่ต้องการกู้เงินจากเจ้าหนี้นอกระบบต้องไว้ใจ เชื่อใจเจ้าหนี้ โดยการเซ็นชื่อในสัญญาเงินกู้โดยที่ไม่ได้ดูรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ว่าถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ บางรายด้วยความเดือดร้อนมีความจำเป็นต้องใช้เงินถึงกับต้องยอมเซ็นชื่อในสัญญาเงินกู้ที่ว่างเปล่า หากลูกหนี้ทักท้วงหรือมีปัญหาก็จะเจอกับคำพูดที่ว่า “แค่นี้ไม่ไว้ใจกัน ไม่เอาก็ไม่เป็นไร” เจอไม้นี้เข้าลูกหนี้ก็เสร็จเจ้าหนี้นอกระบบทุกราย

ลูกหนี้ที่เลือกทางเดินการเป็นหนี้นอกระบบมักจะจบลงด้วยเลือดและน้ำตา สูญเสียทรัพย์สินที่อุตส่าห์เก็บออมมา เจ้าหนี้นอกระบบมักมีวิธีการทวงหนี้โดยทีมงานทวงหนี้ที่น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่สารพัด ทำร้ายร่างกาย ลูกหนี้สาวๆหน้าตาดีๆก็ต้องเอาตัวไปขัดดอกกับเจ้าหนี้นอกระบบ ลูกหนี้นอกระบบบางคนที่ทนอับอายไม่ไหวจนต้องฆ่าตัวตายก็มี ดังนั้นหากจะเป็นหนี้แล้วขอให้เป็นหนี้ในระบบ แต่จะให้ดีที่สุดคือ ไม่ต้องมีหนี้จะดีกว่าไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือหนี้นอกระบบ โดยยึดคำกล่าวที่ว่า “ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” จริงๆ.

เงินด่วน เงินกู้นอกระบบ ดอกเบี้ยแพงเป็นสองเท่า

เงินด่วน เงินกู้นอกระบบ เป็นการหากินทางอ้อมกับบัตรผ่อนสินค้าเงินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่พบเห็นได้ทั่วไป ใครที่คิดจะลองใช้บริการของเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบที่อาศัยการกู้หาเงินโดยผ่านบัตรผ่อนสินค้าแล้วละก็ ขอให้ตั้งสติและอ่านตรงนี้ให้จบก่อน เมื่ออ่านจบแล้วคุณคงเปลี่ยนใจไม่คิดที่จะใช้บริการเงินด่วนนอกระบบอีกเลยเพราะจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ที่เคยใช้บริการเงินด่วนบอกระบบมาแล้ว บอกได้เลยว่าจะถูกคิดดอกเบี้ยแพงเป็นสองเท่า

เงินด่วนหรือเงินกู้นอกระบบจะหาลูกค้าโดยการติดประกาศตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่มักจะเรียกกันว่า เงินด่วนเสาไฟฟ้า หรืออาจจะลงประกาศทางอินเตอร์เน็ตโดยมีข้อความเชิญชวนในลักษณะประมาณนี้คือ “ให้วงเงินสูง อนุมัติทันที” “วงเงินเต็มก็กู้ได้” “เงินด่วนอนุมัติภายใน 30 นาที” “เงินด่วนทันใจ รับเงินทันที” ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการเงินด่วนหรือเงินกู้นอกระบบคิดจากลูกค้าคือ 1 เปอร์เซ็นต์ เรื่องค่าบริการและค่าธรรมเนียมไม่ค่อยจะพูดถึงเพราะจะคิดแพงกว่าปกติประมาณ 2 เท่า

หลังจากที่ลูกค้า(ผู้หน้ามืด)โทรติดต่อไปเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับการขอใช้บริการเงินด่วน เงินกู้นอกระบบ ก็จะได้รับคำแนะนำอย่างรวดเร็วฉับไวถึงเงื่อนไขต่าง ๆที่ลูกค้าส่วนมากคิดตามไม่ค่อยทันและจะถูกโน้มน้าวให้มาพบพูดคุยกันแบบต่อหน้าเพื่อความสะดวกในการโน้มน้าวได้ง่ายกว่าการพูดคุยทางโทรศัพท์

ผู้ให้บริการเงินด่วน เงินกู้นอกระบบจะหาทางให้ลูกค้าใช้บัตรผ่อนสินค้าไปรูดทำเรื่องซื้อสินค้าเงินผ่อนจากร้านค้าต่าง ๆ ส่วนมากมักจะเป็นสินค้าที่อยู่ในความต้องการของตลาด ที่ง่ายต่อการนำไปขายต่อโดยที่ราคาไม่ตกมาก เช่น โน๊ตบุ๊ค(มักจะระบุรุ่นที่ยอดนิยม) โทรศัพท์มือถือราคาหลักหมื่นขึ้น(ถ้าต่ำกว่านี้ผู้ให้บริการจะได้กำไรน้อย ไม่คุ้ม) กล้องถ่ายรูปดิจิตอลหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดเพื่อความสะดวกในการนำไปขายต่อได้เร็วเงินทุนจะได้ไม่จมอยู่นาน(หมุนเงินได้เร็ว)

ถ้าลูกค้ารายใดไม่มีบัตรสมาชิกของพวกนอนแบงค์ที่ให้บริการผ่อนสินค้า ผู้ให้บริการเงินด่วนก็จะจัดแจงเป็นธุระคอยแนะนำ(แถมยุยง)พาไปสมัครจนได้บัตรผ่อนสินค้าเพื่อนำมาซื้อสินค้าเงินผ่อนจนได้ หากลูกค้ามีบัตรเครดิตแต่วงเงินเต็มแล้ว ผู้ให้บริการเงินด่วนเงินกู้นอกระบบก็จะแนะนำให้ใช้บัตรเครดิตไปสมัครบัตรเงินผ่อนจนได้บัตรมา

เมื่อลูกค้าทำเรื่องซื้อสินค้าเงินผ่อนแล้ว ผู้ให้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบก็จะรับซิ้อสินค้าไว้และจ่ายเงินสดให้ลูกค้าแทนโดยจะหักค่าดำเนินการหรือค่าธรรมเนียม(แล้วแต่จะเรียก)ในอัตรา 1 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้แหละคือดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการเงินด่วนจะคิดจากลูกค้า 1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ก็คือ 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถ้าผ่อนสินค้าราคา 100,000 บาท เป็นเวลา 3 ปี ผู้ให้บริการเงินด่วนนอกระบบก็จะหักค่าดำเนินการไว้ 36 เปอร์เซ็นต์ ของ 100,000 บาท นั่นคือ 36,000 บาท ลูกค้าเงินด่วนก็จะได้เงินสดมา 64 ,000 บาทแต่ต้องเป็นหนี้บัตรผ่อนสินค้า 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากบัตรผ่อนสินค้านั้น(สองเด้งเลยใช่ไหม)

ทางด้านผู้ให้บริการเงินด่วนจะไม่มีความเสี่ยงเลย ได้สินค้าที่ขายได้ง่ายในท้องตลอด(เงินไม่จมแน่) ราคา 100,000 บาท มาในราคาทุน 64,000 บาท กำไรเห็น ๆ 36,000 บาท ส่วนความเสี่ยงก็ตกไปอยู่กับลูกค้าเงินด่วนและผู้ออกบัตรเงินผ่อนที่ต้องช่วยกันแบ่ง ๆ ความเสี่ยงกันไป ส่วนผู้ให้บริการเงินด่วนได้กำไรและลอยตัวไปแล้ว บัตรกดเงินสดหรือเงินกู้บัตรเครดิตที่ว่าแย่แล้ว ยังแย่ไม่เท่าบริการเงินด่วนเงินกู้นอกระบบตัวนี้เลย หากรู้จักบริการเงินด่วนเสาไฟฟ้าดีแล้ว แต่ยังคิดที่จะใช้บริการเงินด่วนตัวนี้อีก ก็ตามใจ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว.

เงินด่วน-เงินกู้นอกระบบกับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ใช้เงินกู้นอกระบบ-เงินด่วนมาแก้ไขปัญหาหนี้สิน ถูกหรือผิด?

บริการเงินด่วนเป็นเงินกู้นอกระบบชนิดหนึ่ง ที่ให้บริการโดยผู้ให้กู้ที่มิใช่สถาบัน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ขอกู้จากสถาบันการเงิน แต่ด้วยความจำเป็นของผู้กู้ ที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ จึงตกอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบในอัตราที่สูงกว่าเงินกู้ทั่วไป ในส่วนของผู้ให้กู้ก็คิดว่าเขาไม่ได้บังคับให้กู้ แต่เป็นที่ผู้กู้เองที่มาขอกู้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบโดยยอมจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราเงินกู้ปกติ

ความรวดเร็วทันใจ-รู้ผล-อนุมัติ ภายใน 30 นาที นี่คือข้อดีของเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ ผู้ที่กู้ส่วนมากมักจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน การอนุมัติอย่างรวดเร็วจึงเป็นที่ถูกใจของผู้ที่ใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ

ความคิดที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยใช้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบมาแก้ปัญหาหนี้สินนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องอัตราเบี้ยที่สูงกว่าเงินกู้ทั่วไป ความสามารถในการจ่ายชำระคืน ระยะเวลากู้ที่เหมาะสม และรายได้ประจำของผู้กู้จะสม่ำเสมอและเพียงพอที่จะจ่ายชำระคืนเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบได้จนครบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยหรือไม่ อย่าลืมว่าการผิดนัดชำระหนี้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ จะมีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมที่แพงมาก หากไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าผิดนัดชำระหนี้โดยเด็ดขาด

การใช้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบมาแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเอาเงินที่กู้มาไปปิดบัญชีหนี้สินอื่น ๆ แล้วหันมาจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหม่เพียงรายเดียว จะได้ไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลังกลัวว่าจะหลงลืมจ่ายชำระหนี้สินรายใดรายหนึ่งเพราะมีหนี้สินหลายรายการ อย่าลืมว่าการกู้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบในจำนวนเงินที่สูงเพื่อนำมาปิดบัญชีหนี้สินอื่น ๆ และด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินกู้ทั่วไปจะทำให้ยอดหนี้โดยรวมเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก่อนจะตัดสินใจใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ ขอให้ลองหาแหล่งเงินกู้อื่น ๆ ที่จะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ อาจจะเป็นสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยปรึกษาและขอคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากสถาบันการเงินเหล่านั้น อาจจะมีคำแนะนำและวิธีที่เหมาะสมกับตัวผู้กู้และอาจมีแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่าและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินที่กู้จากเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ

จะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะกู้จากสถาบันการเงินหรือกู้จากเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ ควรคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเรากู้มาแล้วไม่สามารถจ่ายชำระหนี้สินคืนได้ แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินกลับกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้มากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ที่กู้มาจากเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ จะสร้างปัญหาให้กับตัวผู้กู้อย่างแสนสาหัส.

ข่าว : โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

รัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ

ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5. กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1. เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2. ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3. วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4. อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

ความคิดเห็นของข้าพเจ้า

เรื่องของเงินกู้นอกระบบ ถ้ารัฐบาลจะเข้ามาช่วยประชาชนก็เป็นเรื่องดีของประชาชน และการที่รัฐบาลมีข้อกำจัดในการที่จะช่วยเรื่องหนี้นอกระบบก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะประชาชนที่กู้เงินนอกระบบบางคนก็เดือดร้อนจริงๆจึงกู้เงินนอกระบบ แต่ก็มีประชาชนบางคนที่กู้เงินนอกระบบเพื่อความฟุ่มเฟือยความอยากได้ที่เหนือกำลังตน และรัฐบาลควรปรับสภาพของสินเชื่อแต่ละฝ่ายให้ดีขึ้นเพื่อคอบคุมประชาชนทุกระดับ

นางสาวปภัสสร กวางเส็ง

เริ่มพิมพ์ชื่อ และรหัสนักศึกษาค่ะ

นางสาวปภัสสร กวางเส็ง รหัส 51127312009 การเงินการธนาคาร

ขอบคุณค่ะ

นางสาวสุดารัตน์ บุญมาก

จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน

ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป สภาวการณ์

เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง

พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี

หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ

แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ

เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552 ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้ การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่

ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้

อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุก

ระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีก

หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนักเนื่องจากการมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วย

เปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ อย่างเป็นทางการ วันนี้ พร้อมดีเดย์เปิดให้ ปชช.ลงทะเบียน ตั้งแต่ 1-30 ธ.ค.นี้ โดยลงชื่อที่ ธ.ออมสิน-ธ.ก.ส.ทุกสาขา

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้ประชาชนอย่างเป็นทางการ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในวันนี้ (19 พฤศจิกายน 2552)

ทั้งนี้ รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 ได้ที่ธนาคารออมสิน 600 สาขา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้ง 900 สาขาทั่วประเทศ หลังจากนั้นจัดแยกประเภทหนี้ จัดลำดับความสำคัญของการเป็นหนี้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือหนี้เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลัก ขณะที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะเปิดให้ความช่วยเหลือผู้เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ

โดยธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.พร้อมรับโอนหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ กำหนดให้กู้รายละ 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน ร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 8 ปี โดยต้องเป็นหนี้นอกระบบก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยใช้บุคคลค้ำประกันในการขอกู้ โดยกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 1 ราย และตั้งแต่ 100,000 – 200,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 2 ราย

นอกจากนี้ยังกำหนดเงื่อนไขที่ผู้เข้าโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจะต้องเข้าโครงการฝึกอบรมเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โครงการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อไม่ให้ประชาชนกลับเข้าสู่วงจรการเป็นหนี้นอกระบบอีก โดย ธ.ก.ส.และธนาคารออมสิน จะจัดสรรเงินรายได้มาจัดโครงการฝึกอบรมประชาชนภาคบังคับเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน ปรับทัศนคติ และเข้าใจพิษภัยของการดำรงชีวิตจากหนี้นอกระบบ

"หากกู้ในระบบแล้ว 2 เดือน กลับไปกู้นอกระบบอีก ก็น่าเสียดาย การฝึกอบรมจึงเป็นกลไกต่างๆ เพื่อให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมายระยะยาว เพราะเราไม่อยากทำเหมือนรัฐบาลอดีตที่เน้นฉาบฉวยสร้างความฮือฮาระยะสั้น แต่ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม"

สำหรับกลุ่มมิจฉาชีพเตรียมจัดทำหนี้ปลอมหรือเจ้าหนี้ปลอมเพื่อเข้าโครงการหวังกู้เงินในระบบนั้น รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน ดังนั้น หากพบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาจมีโทษถึงติดคุกได้ เนื่องจากโครงการดังกล่าวนี้ รัฐบาลจะมีคณะกรรมการระดับชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการ มีการประสานการทำงานจากหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสรรพากร เพื่อพิจารณากระบวนการดำเนินโครงการตั้งแต่การขึ้นทะเบียน การจัดหาแหล่งเงิน การกำหนดดอกเบี้ยที่เป็นธรรม กระบวนการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้นอกระบบ ที่มีผู้บริหารระดับท้องถิ่นร่วมรับผิดชอบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า รัฐบาลจะดำเนินโครงการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2553 (30 กันยายน 2553) หลังจากนั้นจะมีการประเมินการทำงานของโครงการ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการเพื่อขอให้รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบเป็นหลักล้านราย

กระทรวงยุติธรรมตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย บูรณาการหลายฝ่าย พร้อมช่วยเหลือลูกหนี้ขจัดปัญหาผู้มีอิทธิพลขูดรีดและเจ้าหน้าที่รัฐรับจ้างทวงหนี้ เปิดลงทะเบียน 1-30 ธ.ค.

วันนี้ (23 พ.ย.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและโฆษกกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้แก่ประชาชน ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ 1 ล้านคน ถือเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน สำหรับการดำเนินการจะมีกระทรวงการคลังจะเป็นหน่วยงานหลักแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง เข้าช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร, ธนาคารออมสิน ดูแลลูกหนี้ที่เป็นประชาทั่วไป,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ดูแลลูกหนี้ที่มีอาชีพค้าขายและเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพ,ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตและอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล,ธนาคารกรุงไทย ดูแลลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

นายธาริตกล่าวต่อว่า โครงการนี้กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ประสานความร่วมมือด้านกฎหมาย ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเรียกดอกเบี้ยหรือการเอารัดเอาเปรียบในเรื่องดังกล่าว อาทิ การผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งพบว่าบัตรเครดิตมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีความเข้าใจผิดไปเองว่าบัตรเครดิตเป็นธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ จึงนำอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตไปผูกกับกฎหมายพิเศษของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

นายธาริตกล่าวว่า “ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบภาคประชาชน กระทรวงยุติธรรม” จะเป็นการบูรณาการ การทำงานของของทีมยุติธรรม ทั้งดีเอสไอ สำนักงาน ปปง. สำนักงาน ป.ป.ท. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานกิจการยุติธรรม กรมบังคับคดี สำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่มีการร้องเรียนเข้ามา หากพบว่าลูกหนี้ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือเจ้าหนี้มีพฤติกรรมเป็นผู้มีอิทธิพลซึ่งอยู่ในอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะสามารถดำเนินคดีได้ทันที หลังจากนั้นจะส่งต่อข้อมูลให้แก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ดำเนินการยึดทรัพย์เจ้าหนี้นอกระบบ หรือหากมีการบังคับคดีก็จะส่งให้กรมบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการ

โฆษกกระทรวงยุติธรรมกล่าวต่อว่า ส่วนลูกหนี้ที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยหรือถูกเจ้าหนี้ดำเนินคดีโดยมิชอบ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะเข้าไปช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านกฎหมายหรือทนายความ และหากการสืบสวนพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปล่อยเงินกู้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือมีการข่มขู่ทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ก็จะเข้าไปดำเนินคดีในส่วนนี้ ส่วนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องก็จะมอบหมายสำนักกิจการยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบภาคประชาชน กระทรวงยุติธรรม” จะเปิดรับลงทะเบียน ลูกหนี้นอกระบบระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น G อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ

นางสาวน้ำทิพย์ นักร้อง

สวัสดีค่ะอาจารย์

การมีหนี้นอกระบบมีทั้งดีและไม่ดี คือ

ได้เร็ว ไม่ต้องมีหลักค้ำประกันมาก

แต่เสี่ยงต่อการชำระหนี้

นายพิชัย สุวรรณโชติ ผอ.ธ.ก.ส.สตูล กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบโดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อส่งสัญญาณเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว การ แก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กรุงเทพฯ 19 พ.ย. - รัฐบาลเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมี นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อส่งสัญญาณเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าโครงการ ตั้งแต่ 1-30 ธันวาคม 2552 ที่ ธนาคารออมสิน 600 สาขา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. 900 สาขาทั่วประเทศ หลัง จากนั้นจัดแยกประเภทหนี้ จัดลำดับความสำคัญของการเป็นหนี้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือหนี้เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลัก

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในครั้งนี้ ได้ดึงแบงก์รัฐ 6 แห่ง เข้ามาช่วยเหลือทั้ง ธ.ก.ส. ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลาม ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยจะเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทุกสาขาและศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่ง จากนั้นจะทำคัดกรองลูกหนี้ระหว่างเดือนมกราคม และเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาและประนอมหนี้ เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีการตั้งคณะทำงานแก้หนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารรัฐเป็นผู้เจรจา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 53

จากนั้นจะเริ่มคัดเลือกลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เข้าสู่ระบบขอกู้จากแบงก์รัฐ ในช่วงพฤษภาคมปีหน้า หากลูกหนี้ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะให้ความช่วยเหลืออีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ ก็จะนำเข้าสู่โครงการพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็งและสร้างรายได้ให้มั่นคง โดยมีธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณารับโอนลูกหนี้เบื้องต้น จะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 2 แสนบาท ต้องเป็นหนี้ก่อน 19 พฤศจิกายน 2552 อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ12 ใน 3 ปีแรก ธนาคารออมสินอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้ ระยะเวลาผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้ทำสัญญาสมัครใจกู้น้อยกว่า 8 ปี โดยผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนด โดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม

ส่วนหลักประกันการโอนหนี้ วงเงินกู้ไม่เกิน 1 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกัน1คน วงเงินกู้ 1-2 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน โดยผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้ ส่วนหลักประกันของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกร ค้ำประกันวงเงินกู้ไม่เกิน 1 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน เกิน 1 แสน -2 แสนบาท ใช้หนังสือรับรองลูกหนี้ร่วมอย่างน้อย 5 คน

จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน

ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป สภาวการณ์

การใช้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบมาแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเอาเงินที่กู้มาไปปิดบัญชีหนี้สินอื่น ๆ แล้วหันมาจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหม่เพียงรายเดียว จะได้ไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลังกลัวว่าจะหลงลืมจ่ายชำระหนี้สินรายใดรายหนึ่งเพราะมีหนี้สินหลายรายการ อย่าลืมว่าการกู้เงินด่วนและเงินกู้นอกระบบในจำนวนเงินที่สูงเพื่อนำมาปิดบัญชีหนี้สินอื่น ๆ และด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินกู้ทั่วไปจะทำให้ยอดหนี้โดยรวมเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก่อนจะตัดสินใจใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ ขอให้ลองหาแหล่งเงินกู้อื่น ๆ ที่จะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการใช้บริการเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ อาจจะเป็นสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยปรึกษาและขอคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากสถาบันการเงินเหล่านั้น อาจจะมีคำแนะนำและวิธีที่เหมาะสมกับตัวผู้กู้และอาจมีแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่าและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินที่กู้จากเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ

ดังนั้นเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาให้หมดไปจากสังคมไทย โดยโครงการดังกล่าวจะเปิดให้ลูกหนี้นอกระบบลงทะเบียนตลอดเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้คัดกรองประเภทลูกหนี้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้การเจรจาเพื่อแปลงหนี้ผ่านสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้เมื่อปรับเข้าสู่ระบบแล้ว กระทรวงการคลังจะฟื้นฟูอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับรายจ่าย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มชีวิตใหม่

อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุก

การที่ได้มีกรแก้ปัญหาหี้นอกระบบให้กับประชาชนดิฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียดอกเบี้นโหดและโดนข่มขู่จากเจ้าหนี้ด้วยวิธีที่โหดอีกต่อไป

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

รัฐบาล โดยการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด โครงการนี้ยังรวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ

ในการนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการประสานธนาคารในเครือข่ายของรัฐในการเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบพร้อมข้อเสนอเงินกู้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมดำเนินการในคณะเจรจาประนอมหนี้ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้น ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) และได้มอบหมายภารกิจให้ธนาคารในเครือข่ายของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ไปร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบนั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ โดยความร่วมมือของกรมบัญชีกลาง ระหว่างเดือนมกราคม

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคารของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่มเข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

5. กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง หากยังไม่สำเร็จ จะมีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป โดยความร่วมมือระหว่าง ศอก.นส. ธนาคารเฉพาะกิจของรับ คลังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2553

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

1. เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552

2. ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3. วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

4. อัตราดอกเบี้ย

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

5. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

6. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

หลักประกันการโอนหนี้

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้

หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5 คน

เปิดรับลงทะเบียนโอนหนี้ วันที่ 1-30 ธ.ค. นี้ เวลา 8.30-16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ ที่สาขา ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1115 หรือ 02-555-0555

คลังเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบธ.ค.นี้

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้หารือกับนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อรองรับการเปิดตัวโครงการในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้

นายกรณ์ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คลังจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคมนี้ จากนั้น คณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดกรองลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่ง ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วย หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงหาดไทย เพื่อตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน

"ยืนยันว่าไม่ต้องการข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งเจ้าหนี้นอกระบบ แต่ต้องการใช้เครื่องมือของรัฐที่มีอยู่มาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน และต้องการใช้ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่น ช่วยกันพิจารณาดูภาระหนี้ที่ลงทะเบียนให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่ใช่เพราะคนในพื้นที่จะรู้จักกันมากที่สุด เพื่อไม่ให้กรอกข้อมูลเกินความเป็นจริง คาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านคน โดย ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินมีเงินทุนเพียงพอรองรับในการปล่อยกู้ให้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท" นายกรณ์ กล่าว

ธนาคารออมสินพร้อมขึ้นทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ เล็งคัดแยกกลุ่มประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย หลังมีลูกหนี้แห่ขอกู้รายละ 1 แสนบาท แต่ต้องเจรจากับเจ้าหนี้เอง

นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่เบื้องต้นธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอยู่แล้วทั้งการขาดสภาพคล่องและการเป็นหนี้นอกระบบ โดยที่ผ่านมามีประชาชนเข้ามาขอกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำไปชำระหนี้นอกระบบมากขึ้น เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวน 12 ราย ให้กู้รายละ 1 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเท่าธนาคารประชาชน ซึ่งอยู่ในระดับ 0.5% ต่อเดือน ถือว่าต่ำมากหากเทียบกับการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20-30% ต่อเดือน

ส่งผลให้สินเชื่อโดยรวมของธนาคารในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ พุ่งขึ้นไปกว่า 2.5 แสนล้านบาทแล้ว โดยมีรายย่อยกู้เพิ่มจาก 1.6 ล้านรายเป็น 1.8 ล้านราย

ทั้งนี้ หากจะให้ออมสินเข้ามาแก้ไขหนี้นอกระบบก็พร้อมจะดำเนินการรับลงทะเบียนได้ทันที เพราะออมสินมีสาขาทั่วประเทศกว่า 600 สาขา แต่การช่วยเหลือคงต้องมีการคัดแยกว่าเป็นกลุ่มไหน มีหนี้สินจากสาเหตุใด และใครเป็นเจ้าหนี้ หากเป็นกลุ่มเกษตรกรก็เป็นหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้ดูแล แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย ที่มีหนี้สินจากการประกอบอาชีพ และเพื่อการดำรงชีพธนาคารก็จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

“หากช่วยเหลือคงไม่สามารถช่วยได้ทุกรายต้องดูว่าเป็นกลุ่มไหน และมีหนี้สินจากการประกอบอาชีพจริง เพื่อคัดเลือกกลุ่มที่มีหนี้สินจากการพนันหรือทำอาชีพไม่สุจริต และการเจรจากับเจ้าหนี้คงเป็นหน้าที่ของลูกหนี้เอง เพราะหากเจ้าหน้าที่แบงก์เข้าไปเจรจาคงไม่เหมาะสมนัก เพราะธนาคารไม่ทราบว่าเป็นเจ้าหนี้เป็นใครซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล” นายเลอศักดิ์ กล่าว

ส่วนผลการดำเนินการงานในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แม้จะปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.52 แสนล้านบาท เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธนาคารก็พร้อมจะขยายสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารประชาชนและสินเชื่อห้องแถว โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาหนี้เสีย เพราะปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 3% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผลกำไร 8 เดือนสูงถึง 9.8 พันล้านบาท

นาย สิทธิชัย วงค์เต้จ๊ะ 51127312022

วันนี้นำข่าวเกี่ยวกับหนี้นอกระบบมาแลกเปลี่ยนแนวคิดให้กับเพื่อนๆได้ลองดูกันคับ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม รวมทั้งปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552

ด้านนางศรีประภา พริ้งพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย และเป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 และต้องไปขึ้นทะเบียนที่ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 หลังจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จะทำการประมวลผล พร้อมส่งข้อมูลไปยังทีมเจรจาหนี้ในแต่ละจังหวัด เพื่อทำการเจรจาประนอมหนี้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2553 แล้วจึงส่งลูกหนี้ไปยังธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

“ลูกหนี้ที่มีหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ ให้ธนาคารที่มีจำนวนหนี้มากที่สุดรับไปดำเนินการ ส่วนลูกหนี้ที่มีเฉพาะหนี้นอกระบบ ให้ธนาคารกรุงไทยดูแลลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีอาชีพค้าขายและเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตและอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ส่วนที่เหลือให้ธนาคารออมสินรับไปดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้าที่ธนาคารกรุงไทยต้องดูแลไม่น้อยกว่า 1 แสนราย”

นางศรีประภา พริ้งพงษ์ เปิดเผยต่อไปว่า ธนาคารกรุงไทยจะให้กู้แบบมีระยะเวลา วงเงินกู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท โดยจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้เป็นสำคัญ ระยะเวลาให้กู้สูงสุดไม่เกิน 8 ปี ผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนๆละเท่าๆกัน หากลูกหนี้สมัครใจชำระหนี้ก่อนกำหนด ธนาคารจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สามารถใช้บุคคลค้ำประกันหรือจำนองหลักทรัพย์ โดยกรณีกู้เกิน 1 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกันได้มากกว่า 1 คน โดยรายได้ของผู้ค้ำประกันรวมกันต้องไม่ต่ำกว่า 10% ของวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน คิดอัตรา MRR บวก 4 % ต่อปี ปัจจุบันเท่ากับ 10.375% ต่อปี กรณีจำนองหลักทรัพย์ คิดอัตรา MRR บวก 2% ต่อปี ปัจจุบันเท่ากับ 8.375% ต่อปี ทั้งนี้ใน 3 ปีแรกต้องไม่เกิน 12% ต่อปี

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีนโยบายในการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

และคิดว่าคงจะค่อยๆแก้ปัญหาต่างๆมาเป็นระลอกนะคับ

นางสาวเปนิมา พระสุรัตน์ เอกการเงินการธนาคาร ปี 2

โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

การออกเงินกู้นอกระบบนั้นหลายรายเก็บดอกเบี้ยถึง “ร้อยละ 20 ต่อเดือน” บางรายก็จัดเก็บเป็นรายวัน หรือรายสองวัน แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่งจากภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ น้ำมันแพง ข้าวสารอาหารขึ้นราคา ก็ทำให้มีการกู้เงินนอกระบบ เป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย คนทำงานประจำ หรือแม้แต่นักศึกษา “ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบนี้หลายรายไม่ใช่แค่กู้จากแหล่งเดียว หลายคนเป็นลูกหนี้เงินกู้ 3-4 เจ้า และมักจะมีปัญหาเมื่อไม่สามารถหมุนเงินมาส่งดอกเบี้ยที่สูงได้”

ตัวอย่าง ข่าวการกู้หนี้นอกระบบ24 พ.ย. แก๊งทวงหนี้โหดชัยภูมิอ้าง ใช้ปืนตบหน้าลูกหนี้ชัยภูมิ บางคนไม่มีเงินใช้หนี้ จึงถูกข่มขู่ทำร้ายร่างกายล่าสุด แม่ค้าไก่ย่าง 2 คน เข้าขอความช่วยเหลือผ่านศูนย์ดำรงค์ธรรมจังหวัดชัยภูมิ หลังถูกแก๊งทวงหนี้โหดบุกขู่ถึงบ้านพัก และใช้ปืนตบหน้าบาดเจ็บ เพราะไม่มีเงินส่งรายวัน ที่ผ่านมาเคยเข้าแจ้งความแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ผู้เสียหายบอกว่ากู้ยืมเงิน จำนวน 5,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยวันละ 100 บาท ไม่หักเงินต้น หากไม่มีเงินจ่ายจะถูกเรียกเก็บเพิ่มเป็นเท่าตัว

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องจัดการกับปัญหานี้ โดย นายกฯ เปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ผ่านธนาคารรัฐ 6 แห่ง

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมครม.รับทราบว่าในวันที่ 19 พ.ย.นี้ รัฐบาลจะเปิดตัวโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบให้กับประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาลจะรับโอนหนี้นอกระบบมาอยู่ในธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่เกี่ยวข้องตาม ประเภทของหนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จนทำให้การทำมาหากินไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติและไม่สามารถเข้าถึงแหล่ง เงินทุนได้ จึงทำให้ต้องหันไปกู้หนี้นอกระบบแทนแม้ว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากก็ตาม เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค.2552 นี้ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ จากนั้น คณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดกรองลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่ง โดยจะปล่อยกู้ให้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท คาดว่าจะมีประชาชนสนใจมาลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านคน

ขั้นตอนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ

1. เปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านสาขาของ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสินทั่วประเทศ

ศูนย์ลงทะเบียนอีก 12 แห่งในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. – 30 ธ.ค. 52

2. ประมวลผล คัดกรองประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ

3. เจรจาและประนอมหนี้เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับ จังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมธนาคาร ของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2553

4. ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ สามารถเริ่ม เข้าสู่ระบบในเดือน พ.ค. 2553

กรณีลูกหนี้มีคุณสมบัติไม่ผ่านหลักเกณฑ์ จะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้อีกครั้ง

หลักเกณฑ์การพิจารณาโอนหนี้สำหรับลูกหนี้เบื้องต้น

- เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาทและเป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พฤศจิกายน 2552 ผ่านการเจราจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ใน 3 ปีแรก

- สำหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้

ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี

ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน

- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน

- ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของวงเงินกู้หลักประกันกรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกันวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คนเงินกู้ตั้งแต่ 100,001 – 200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อย่างน้อย 5คน

สถานที่ลงทะเบียนธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

สถานที่ลงทะเบียนพิเศษเพิ่มเติมใน กทม. และปริมณฑล 13 แห่ง

1. ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน

2. ธนาคารออมสิน สำนักราชดำเนิน

3. ธนาคารออมสินภาค 2 เขตพร้อมพงษ์

4. ธนาคารออมสิน เขตศิริราช

5. สำนักงานเขตสาทร เขตบางรัก

6. สำนักงานเขตปทุมวัน เขตถนนเพชรบุรี

7. สำนักงานเขตสวนหลวง เขตพระโขนง

8. การเคหะแห่งชาติคลองจั่น เขตคลองจั่น

9. ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

10. สำนักงานเขตบางแค เขตบางแค

11. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ

12. เทศบาลเมืองรังสิต ปทุมธานี

13. วัดบรมราชากาญจนาภิเษก บางบัวทอง นนทบุรี

ธนาคารออมสินพร้อม ขึ้นทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ เล็งคัดแยกกลุ่มประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย หลังมีลูกหนี้แห่ขอกู้รายละ 1 แสนบาท แต่ต้องเจรจากับเจ้าหนี้เอง นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่เบื้องต้นธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอยู่แล้วทั้งการ ขาดสภาพคล่องและการเป็นหนี้นอกระบบ โดยที่ผ่านมามีประชาชนเข้ามาขอกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำไปชำระหนี้นอกระบบมาก ขึ้น เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวน 12 ราย ให้กู้รายละ 1 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเท่าธนาคารประชาชน ซึ่งอยู่ในระดับ 0.5% ต่อเดือน ถือว่าต่ำมากหากเทียบกับการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20-30% ต่อเดือน

ส่งผลให้สินเชื่อโดยรวมของธนาคารในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ พุ่งขึ้นไปกว่า 2.5 แสนล้านบาทแล้ว โดยมีรายย่อยกู้เพิ่มจาก 1.6 ล้านรายเป็น 1.8 ล้านรายทั้งนี้ หากจะให้ออมสินเข้ามาแก้ไขหนี้นอกระบบก็ พร้อมจะดำเนินการรับลงทะเบียนได้ทันที เพราะออมสินมีสาขาทั่วประเทศกว่า 600 สาขา แต่การช่วยเหลือคงต้องมีการคัดแยกว่าเป็นกลุ่มไหน มีหนี้สินจากสาเหตุใด และใครเป็นเจ้าหนี้ หากเป็นกลุ่มเกษตรกรก็เป็นหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้ดูแล แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โชห่วย ที่มีหนี้สินจากการประกอบอาชีพ และเพื่อการดำรงชีพธนาคารก็จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

“หากช่วยเหลือคงไม่สามารถช่วยได้ทุกรายต้องดูว่าเป็นกลุ่มไหน และมีหนี้สินจากการประกอบอาชีพจริง เพื่อคัดเลือกกลุ่มที่มีหนี้สินจากการพนันหรือทำอาชีพไม่สุจริต และการเจรจากับเจ้าหนี้คงเป็นหน้าที่ของลูกหนี้เอง เพราะหากเจ้าหน้าที่แบงก์เข้าไปเจรจาคงไม่เหมาะสมนัก เพราะธนาคารไม่ทราบว่าเป็นเจ้าหนี้เป็นใครซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล” นายเลอศักดิ์ กล่าว

ส่วนผลการดำเนินการงานในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แม้จะปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.52 แสนล้านบาท เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธนาคารก็พร้อมจะขยายสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารประชาชนและสินเชื่อห้องแถว โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาหนี้เสีย เพราะปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 3% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผลกำไร 8 เดือนสูงถึง 9.8 พันล้านบาท“ลูกหนี้ที่มีหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ ให้ธนาคารที่มีจำนวนหนี้มากที่สุดรับไปดำเนินการ ส่วนลูกหนี้ที่มีเฉพาะหนี้นอกระบบ ให้ธนาคารกรุงไทยดูแลลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีอาชีพ ค้าขายและเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตและอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ส่วนที่เหลือให้ธนาคารออมสินรับไปดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้าที่ธนาคารกรุงไทยต้องดูแลไม่น้อยกว่า 1 แสนราย”

นางสาวเปนิมา พระสุรัตน์

รหัส51127312029

โทร 0833672409

นาย พงศ์พันธุ์ มณีเขียว

ประเด็นเศรษฐกิจซึ่งเป็นความเดือดร้อนประการหนึ่งของประชาชน คือ เรื่องหนี้นอกระบบเพราะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจำนวนหนึ่งประมาณ 1 ล้านคน มีหนี้สินนอกระบบที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก บางรายต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงมากกว่าร้อยละ 60 ต่อปี และถูกเรียกเก็บเงินเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้ว ยังมีการทวงหนี้ที่ค่อนข้างรุนแรง มีการขู่เข็ญและด่าทอยังที่ทำงาน มีการทำร้ายร่างกายจนลูกหนี้บางรายที่ทนแรงกดดันไม่ได้ฆ่าตัวตายไปก็มี ซึ่งบุคคลที่มีหนี้นอกระบบนี้ส่วนใหญ่จะมีรายได้น้อย หรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่จะไปกู้เงินกับสถาบันการเงิน จึงต้องกู้หนี้จากเจ้าหนี้ที่อยู่นอกระบบในลักษณะจำยอมที่ต้องรับเงื่อนไขของเจ้าหนี้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีมาตรการในการแก้ไขหนี้สินนอกระบบของประชาชนที่ได้ประกาศมาตรการไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะมีการ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนได้ในช่วงวันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 โดยจะให้มีการโอนหนี้นอกระบบดังกล่าวเข้ามาเป็นหนี้ในระบบกับธนาคารของรัฐในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท และนอกจากนี้แล้ว ยังจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน (วันประกาศมาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ) ทั้งนี้ ได้มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ผนึกกำลังกันเข้าช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถทำการแปลงหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ตามคุณสมบัติส่วนบุคคลของลูกหนี้แต่ละราย อาทิเช่น หากเป็นประชาชนทั่วไปอาจจะมีการโอนหนี้เข้าธนาคารออมสิน หากเป็นหนี้ของเกษตรกรก็จะโอนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น ส่วนรายละเอียดของการดำเนินการ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่จะจัดเก็บของแต่ละธนาคารนั้น รวมถึงระยะเวลาของการผ่อนชำระก็จะมีการประกาศรายละเอียดต่อไป อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยที่จัดเก็บของธนาคารของรัฐเหล่านี้ ย่อมจะถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยนอกระบบ ที่ต้องจ่ายอยู่ในปัจจุบันแน่นอน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พร้อมรับโอนหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ กำหนดให้กู้รายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 8 ปี โดยต้องเป็นหนี้นอกระบบก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยใช้บุคคลค้ำประกันในการขอกู้ อาทิเช่น หากกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 1 ราย และตั้งแต่ 100,000-200,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 2 ราย ภายหลังการจดทะเบียนหนี้แล้ว ก็จะเป็นการเจรจาประนอมหนี้ ที่มีกระทรวงมหาดไทย ประสานงานกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ร่วมเป็นกรรมการเจรจาและจัดให้มีการเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้เงินกู้อย่างเหมาะสม เพื่อขอผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากให้ลดลง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้ลงทะเบียนประมาณ 1 ล้านราย โดยจะเจรจาให้ลูกหนี้เข้าสู่ระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้มากที่สุด เว้นแต่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ผ่านการเจรจาแล้ว มีการลดต้นลดดอกเบี้ยจนเกิดความเป็นธรรมก็จะให้ผ่อนชำระกับเจ้าหนี้ต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในประมาณไตรมาสแรกของปี 2553

สิ่งสำคัญประการหนึ่งของมาตรการแก้ไขหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล และเป็นหัวใจความสำเร็จของโครงการ คือ ผู้ที่เข้าโครงการแปลงหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบนี้จะต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและฝึกอาชีพ ซึ่งจะทำให้มีวินัยในการใช้จ่าย และมีความรู้ในการบริหารกิจการตลอดจนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของโครงการที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คนเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นหนี้อีกรอบหนึ่ง และก็จะเป็นภาระของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือไม่สิ้นสุด แม้ว่ามาตรการแก้ไขหนี้สินนอกระบบดังกล่าวของรัฐบาลจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่อย่างน้อยก็เป็นมาตรการในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีหนี้สินอยู่แล้ว เพราะมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ความสำเร็จของมาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ คือ การทำให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการเงินของตนเอง ที่มีความพอเพียงและไม่สร้างหนี้สินที่ไม่จำเป็นซึ่งจะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายและการลงทุน

ยุติธรรมเล็งตั้งศูนย์รับแจ้งหนี้นอกระบบ ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงนโยบายการแก้ไขหนี้นอกระบบว่า การขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบจะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับลูกหนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการหารือให้เจ้าหนี้นอกระบบซึ่งกระทำผิดกฎหมาย ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ให้สูงเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นจะมีความผิดตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่าเป็นเจ้าหนี้ที่ทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ลูกหนี้ให้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ หรือจัดทำธุรกรรมอำพรางเช่น ให้ลูกหนี้รูดบัตรเครดิตหรือทำสัญญากู้เงิน 100,000 บาท แต่หักดอกไว้ล่วงหน้า และจ่ายเงินสดให้เพียง 80,000 บาท ซึ่งกรณีเหล่านี้เจ้าหนี้จะมีความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์และทำร้ายร่างกายอีกด้วย ซึ่งหากตรวจสอบพบกระทรวงยุติธรรมจะมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เข้าไปดำเนินคดีและยึดทรัพย์เจ้าหนี้นอกระบบ

ส่วนความคิดเห็นผมคิดว่าการที่รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจังนั้นจะส่งผลดีต่อประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ประชาชนไม่ต้องแบกรับกับดอกเบี้ยที่สูงของเงินกู้นอกระบบและจะทำให้ประชาชนมีเงินไว้ใช้จ่ายหรือลงทุนในธุรกิจต่างๆและนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่แก้ปัญหาความยากจนของประชาชนอีกด้วย

นาย พงศ์พันธุ์ มณีเขียว

รหัส 51127312027

โทร. 086-8206403

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท