ประเพณีขึ้นเขาคีรีวงคต


สร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยฐานของศานาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

มหกรรมรณรงค์การฟื้นฟูทรัพยากรป่า นา น้ำ ประเพณีขึ้นเขาคีรีวงคต (หลวงปู่ริม รัตนมุนี) ป่าชุมชนคีรีวงคต ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ วันที่ 2 พ.ย.2552

กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยฐานของศานาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมภายในงานหลากหลายมาก ทั้งกิจกรรมทางศาสนา สืบสานวัฒนธรรมประเพณีการขึ้นเขาคีรีวงคต ปล่อยปลา บวชป่า กิจกรรมของเยาวชน รวมทั้งการเสวนาในหัวข้อ “องค์ความรู้แบะวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสุขได้อย่างไร”

 

เรื่องที่พูดคุยกันมาก คือ การเรียงหินเป็นคีรีวงคตมีที่มาและความหมายอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการจัดระบบเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติ ด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 310344เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สุขใจมาก ที่ปีนี้การจัดกิจกรรมลื่นไหลได้คุณภาพ เชื่อมโยงประเด็น คน องค์กร วัฒนธรรมอย่างสูงสุด

ประเด็นสำคัญแห่งความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมอย่างทุ่มเท มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมของทุกฝ่าย

บรรยากาศใกล้เคียงในอดีตสมัยหลวงปู่ริม รตนมุนี เช่นการแห่ที่มีการถือผ้าผืนยาวเข้าสู่พื้นที่ การเดินจงกรมภายในทางวงคต

ความลื่นไหลของพิธีกรรมยามเช้า เริ่มด้วยการเดินจงกรมรอบนอก แล้วจงกรมเข้าสู่กลางพิธีกรรม เมื่อภูมิปัญญาชาวบ้านชุมนุมเทวดาแล้ว คณะสงฆ์ทำสามีจิกรรมต่อหลวงปู่ ตามด้วยชาวบ้าน ผู้นำกล่าวอาราธนาพระธรรม คณะสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล ให้พร เป็นอันเสร็จพิธีกรรมทางวัฒนธรรม

ส่วนกิจกรรมที่บูรณาการให้เกิดความสุขและสาระ เช่น การวาดภาพ การปล่อยปลา การบวชต้นไม้ การแสดงของเด็กและเยาวชน การเสวนา

สถานที่แห่งนี้ เรียกว่า "พนมลูก" แปลว่า เขาพระ เป็นการจำลอง "คีรีวงคต" ตามเรื่องพระเวสสันดรชาดก ในท้องถิ่นทุ่งมนมีการจำลองเส้นทางวงคตประกอบพิธีกรรม "การทำบุญชักบังสุกุลเป็น" หลวงปู่ริม รตนมุนี ได้นำพาพระสงฆ์และชาวบ้านเริ่มก่อกองหินในป่ากำไสจาน ข้างเส้นทางสัญจรระหว่างบ้านทุ่งมนและบ้านป่าชัน สองฝากฝั่งเขตแดนจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ให้เป็นคีรีวงคต เมื่อปี ๒๕๐๐ แล้วจัดให้มีกิจกรรมปฎิบัติธรรม เดินจงกรม ทำจิตภาวนา ทุก ๆ ปี ให้ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของปี ในบางปีก็มีการพักค้างแล้วทำพิธีตักบาตรตอนเช้าด้วย เมื่อปี ๒๕๒๘ หลวงปู่มรณภาพ กิจกรรมบุญนี้ก็หยุดลง แต่เมื่อชุมชนมีขบวนจัดตั้งเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี ๒๕๔๔ ความเข้มข้นที่จะร่วมกันฟื้นฟูชุมชนด้วยศาสนา และวัฒนธรรมชุมชนก็เกิดขึ้นตามลำดับ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ปี ๒๕๔๘ จึงเป็นครั้งที่ ๑ แห่งการจัดกิจกรรมประเพณีขึ้นเขาคีรีวงคต

ในพื้นที่ต.ทุ่งมนมีพร้อมทั้งทุนทางสังคม และทุนทางธรรมชาติ ความร่วมมือในการทำกิจกรรมก็ดีมาก ที่สำคัญคือมีพระคุณเจ้าเป็นผู้นำในการทำงาน ถ้าพัฒนาจากกิจกรรมที่ทำอยู่ให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เพื่อให้เห็นเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน และเป็นตัวเชื่อมประสานความร่วมมือกับภาคีต่างๆก็น่าจะยกระดับการทำงานได้อีกมากครับ

สวัสดีครับคุณเหลา ลำลูกกา ใช้ฐานศาสนา มาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการจัดการทุนของชุมชนที่ชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท