โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ดูงานผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ประเทศอังกฤษ


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในประเทศอังกฤษ มีมายาวนาน และยังเป็นถิ่นกำเนิดของงาน palliative โดย Cicely Sauder มารดาแห่ง palliative care สมัยใหม่ก็ว่าได้ เธอก่อตั้ง St Christopher's Hospice ในปี ค.ศ. 1967

ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ 7-28 ตุลาคม 2552 ผมได้ไปดูงานระบบ primary care ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสไปดูงานที่ hospice-พยาบาลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะสุดท้าย เลยได้มาเล่าสู่กันฟังครับ

ผมไปดูงานที่ Springhill hospice ในเมือง Rochdale ที่อยู่ทางตอนเหนือของ Manchester

คุณ Sheila Johnson

Nursing services manager

Springhill Hospice ก่อตั้งมา 20 ปี เป็นองค์กรการกุศล ได้งบประมาณจากรัฐบาล 3.9 ล้านปอนด์/ปี (ไม่รวมที่ได้รับการบริจาค) ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 3 ล้านปอนด์/ปี มีแพทย์ palliative care 2 ท่าน และ part-time doctor 2 ท่าน มีอาสาสมัคร 200 คนร่วมกิจกรรมของ hospice บริการของ hospice มีหลายรูปแบบ

1.admission มี 16 เตียง เพื่อ ควบคุมอาการทุกข์ทรมาน หรือ last hour of life มีทั้งแพทย์ดูแลทางกาย และchaplain  ดูแลทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยที่ต้องการ

2.Respite care เป็นบริการที่ฝากผู้ป่วยไว้กับ hospice ชั่วคราวเพื่อให้ care giver ได้มีโอกาสพักผ่อนหรือไปทำภาระกิจส่วนตัวให้เสร็จสิ้น ลด care giver stress  

3.Day hospice มีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมที่เหมือนคนปกติทั่วไปให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นจับกลุ่มพูดคุย อ่านหนังสือ เขียนความในใจลงในกล่อง หรือแม้แต่ตัดผมก็มีให้บริการ ปัจจุบันมีผู้ป่วยมาร่วมประมาณ 20 คน/วัน เปิดบริการจันทร์-พฤหัส 9-15:30 น. ทุกอย่างผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น                                   

ผมกับ Dr. Pick หมอ palliative ของที่นี่

ผมมีโอกาสร่วม MDT (multidisciplinary team) conference ที่มีสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลใน hospice, MacMillan’s nurse ,manager, physiotherapist มีการนำผู้ป่วยทั้งเก่าและใหม่มาทบทวนอย่าสม่ำเสมอ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ทราบความเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทั้งในขณะอยู่ที่ รพ. และ ที่บ้าน ให้ความสนใจทั้งข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนสภาวะของ Care giver ทำให้การดูแลเป็นไปอย่างองค์รวมและต่อเนื่อง           

ผมได้เยี่ยมบ้านร่วมกับ Lisa เป็น MacMillan’s nurse เป็นพยาบาลเชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

 MacMillan มาจากชื่อของ Mr. Douglas MacMillan ที่เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิการกุศลที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

                                        

File:DougMacmillan.jpg

Douglas Macmillan

(จาก website http://en.wikipedia.org/wiki/File:DougMacmillan)

หลังจากที่คุณพ่อของ Macmillan เสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมานได้เป็นแรงบันดาลให้ก่อตั้งมูลนิธิ สนับสนุนทั้งงาน hospice ,งานเยี่ยมบ้านเพื่อระยะสุดท้ายเพื่อการกุศลตั้งแต่ปี ค.ศ.1912 (หลังจากการเสียชีวิตของพ่อของเขา 1 ปี)

บทบาทของ MacMillan’s nurse คือ เป็นผู้จัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ สามารถให้ทั้งคำปรึกษาและ ควบคุมอาการทุกข์ทรมาน รวมถึงจ่าย morphine กับผู้ป่วยได้ และประสานกับทีมทั้ง district nurse ที่ดูแลปัญหาทางกายทั่วไปและ hospice ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เป็นที่ปรึกษาให้กับบุคคลากรในพื้นที่ทำให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่เป็นไปอย่างมีคุณภาพ

ผมอยู่หน้า St.Thomas hospital ที่ Dame Cecily Saunders จบแพทย์ในปี ค.ศ.1957

จะเห็นได้ว่า

1.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในประเทศอังกฤษ มีมายาวนาน และยังเป็นถิ่นกำเนิดของงาน palliative โดย Cicely Sauder มารดาแห่ง palliative care สมัยใหม่ก็ว่าได้ เธอก่อตั้ง St Christopher's Hospice ในปี ค.ศ. 1967

 2.เป็นระบบและมีทีมดูแลครบถ้วนต่อเนื่องมี accessibility หลายแบบ

3.งบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ

ประยุกต์ใช้เมื่อไทย

ห่างไกลครับ......แต่ว่าผมเชื่อว่าเป็นไปได้

1.บริบทสังคมไทยที่มี family support แบบเครือญาติ ทำให้การ share ภาระเป็นไปได้มากกว่าของอังกฤษที่เป็นภาระของรัฐเต็ม ๆ และ caregiver เป็น couple คนเดียว

2.คนไทยใจบุญและชอบทำบุญเรื่องทุน ผมเชื่อว่า "ถ้าบริหารจัดการดี ๆ เป็นไปได้ที่จะพอ.....แต่อย่าหวังงบหลวงมากนักครับ...น้อย+ขอยาก+เงื่อนไขมาก+ไม่ต่อเนื่อง"

3.พัฒนา model ได้ครับ....เริ่มที่คนทำงานจริง...ไม่กดดันด้วยเป้าหมาย แต่ วางรากฐานองค์ความรู้ของตัวเองครับ...พัฒนาได้ระยะหนึ่ง...ร่วมกับชุมชนสนับสนุนงานอาสาและงบการกุศล สุดท้ายค่อยมาวางระบบที่สอดคล้องกับชุมชนและสังคมไทยครับ

หมายเลขบันทึก: 310145เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าสนใจ
  • ปรับข้อดีๆๆมาใช้บ้านเรานะครับ
  • เข้าใจว่ากลับมาแล้วใช่ไหมครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ขจิต

เพิ่งกลับมาเมื่อ 2 วันก่อนครับ

น้องโรจน์ได้ไปเห็นต้นฉบับเลย อย่าลืมเขียนเล่าประสบการณ์ในบล็อกนะครับ

สวัสดีครับ อาจารย์เต็ม ขอบคุณที่แวะมาครับ

ตกลงไม่ใช่ St' Christopher ของ Dame Cicely เหรอที่เป็นที่แรก วานเช็คให้หน่อยนะครับ

ขอบคุณอาจารย์สกลครับ

ผมไปดูข้อมูลจริง ๆ แล้ว จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Cicely_Saunders

เป็นอย่างที่อาจารย์แก้ไขให้ครับ

Hospice แห่งแรกของโลกคือ St' Christopher

ส่วน St' Thomas hospital เป็นสถานที่ ที่ Dame Cicely Saunders เรียนแพทย์จบใน ปี 1957

สวัีสดีคะ พี่โรจน์ ยินดีด้วยคะที่ได้ไปดู original version ของ hospice

ปล.พี่โรจน์ จะมาเรียน APHN ปีหน้าใช่ไหมคะ

ตอนนี้แต้ยังอยู่ที่สิงคโปร์ เห็นด้วยกับที่พี่โรจน์ว่า บ้านเรามีต้นทุนดีอยู่แล้ว

แต้ชื่นชม Community Palliative ที่พี่โรจน์ทำไว้ หวังว่าคงได้ไปร่วมแจมในอนาคตคะ

สวัสดีครับแต้

พี่เพิ่งได้ e-mail ตอบรับจาก flinder เมื่อวานนี้ ปีหน้าน่าจะได้เรียนครับ..แต่ยังไม่ได้สอบ IELTS เลยครับ ยินดีถ้าแต้จะมาร่วมกันครับ....พี่ว่าทำเป็นเครือข่ายกันก็ได้นะครับ เพราะคนไข้พี่ก็ไปรักษาสวนดอกเยอะเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท