ผู้เลี้ยงดูเด็กก็ทำKMได้ดี…..เกินคาด


การสื่อสารอะไรที่เป็นวิชาการขอบอกเลยครับว่ามึนตึ๊บ
ผู้เลี้ยงดูเด็กก็ทำKMได้ดี…..เกินคาด
เมื่อวันที่ 15-19 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปปฏิบัติราชราชที่จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้ไปทดลองทำ KM แบบนอกกรอบดู ในการจัดอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงดูเด็กเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กสู่การเป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ซึ่งเป็นโครงที่พี่แน่งน้อยดูแลอยู่ ผมได้รับเชิญให้ไปเป็นพิธีกรและดูแลเรื่องอุปกรณ์โสตฯต่างๆ ก็เลยเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะทำกิจกรรม KM เพราะน่าเสียดายมากๆ ถ้าผมไม่ทำอะไรสักอย่างเผื่ออนาคตของชาติ (เว่อร์ซะ) ว่าที่จริงผมเคยช่วยพี่แน่งน้อยในการอบรมรุ่นที่ผ่านมาและใช้การทำกิจกรรม KM แบบเดิมๆคือจับคนมารวมกันแจกกระดาษให้เล่าเรื่อง ปรากฏว่า มั่วครับได้ความรู้บ้างงงบ้าง กาลครั้งนั้นสร้างความช้ำใจแก่ผมเป็นอันมาก ต้องกลับมาทบทวนว่าเราพลาดตรงไหน นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายวัน ก็ได้คำตอบว่า..เราลืมเรื่องสำคัญที่สุดไป  นั้นก็คือลืมนึกถึงคนที่เรากำลังสื่อสารด้วยว่าโดยธรรมชาติแล้วเขาเป็นเช่นไร มีความรู้ความสามารถและชำนาญด้านใด  หรือจะพูดว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ใช้สมองด้านใดมากกว่ากัน ก็พี่ๆที่เข้ามาอบรมเป็นคนที่มีความฝันจินตนาการและศิลปะซึ่งสมองซีกขวาจะพัฒนามากกว่านักวิชาการจากกรมอนามัย (หมายถึงผู้จัดการอบรมครับ) การสื่อสารอะไรที่เป็นวิชาการขอบอกเลยครับว่ามึนตึ๊บ(เหมือนผม) คิดได้ดังนี้ ผมก็ได้เริ่มแผนการชั่วร้ายที่แสนดีโดยถือโอกาสที่มีไมล์เป็นอาวุธ ดำเนินการทำ KM แบบแหกคอก ด้วยการเล่าเรื่องแบบที่เรียกว่าสร้างจินตนาการเชิงบวกโดยเน้นให้พวกพี่ๆ นึกถึงโอกาสที่ต้องเสียไปหากไม่แสวงหาความรู้ที่เรียกว่าความรู้ซ้อนเร้นหมายถึงความรู้ที่ซ้อนเร้นอยู่ในเพื่อนร่วมอาชีพซึ่งได้มีโอกาสมาอบรมอยู่ด้วยกันถึง 5 วัน ว่า ”เป็นโชคดีขนาดไหนที่เราได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอาชีพเดียวกันตั้งร้อยกว่าคน ปัญหาต่างๆที่เราเคยมีในที่ทำงานเรามีโอกาสมาแชร์เพื่อนเพื่อหาคำตอบแล้วถ้าปล่อยให้โอกาสผ่านไปก็น่าเสียดายสุดๆ”พูดสตอร์เบอรรี่เน้นบรรเทิงไปอีกนาทีกว่า ปรากฏว่าได้ยินเสียงจุกจิกๆ ก่อนที่นกกระจอกจะแตกรัง ตีเหล็กตอนร้อน เลยเริ่มกิจกรรมแรกคือการหาเพื่อนโดยผมมีแบบฟอร์มให้ซึ่งในแบบฟอร์มไม่มีที่ให้เติมที่อยู่และเบอร์โทร ให้ทุกคนหาเพื่อนในเวลาที่กำหนด ผลคือ….เกินคาดครับทุกคนกระตือรือล้นมากและได้จำนวนเพื่อนมากกว่าที่คาดไว้มากเลยแถมมีที่อยู่เบอร์โทรพร้อม จบเกมส์ก็ย้ำเรื่องโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกนิดนึง…เย็นวันนั้นมี 8 คนเข้ามาถามผมว่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นอย่างไร อ๊ะ เข้าทางแล้ว คงไม่ต้องบอกนะครับว่าผมทำอย่างไรต่อไป  ภาพที่ผมเห็นตลอดเวลา 5 วัน คือเห็นพวกพี่ๆเขามีสมุดน้อยหรือบางคนก็มีกระดาษโน้ต เที่ยวเดินขอเทคนิคต่างๆของเพื่อนๆ เช่นเพลงเด็ก และอื่นๆ ในวันสุดท้ายได้รับคำขอบคุณจากตัวแทนผู้เข้าอบรมจากเรื่อง KM นอกกรอบซึ่งทำให้ผมได้ข้อคิดว่ามันมีอีกหลายวิธีที่เราจะพัฒนางานด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เขามีเพื่อนมากขึ้นโดยเฉพาะเป็นเพื่อนที่ทำอาชีพเดียวกับเขาซึ่งเขาสามารถโทรปรึกษาหรือไปมาหาสู่กันได้ (เราจะเรียกว่าเครือข่ายน้อยๆได้ไหมนะ)  ผมกลับบ้านพร้อมกับความเหนื่อยล้าเพราะต้องทำงานค่อนข้างหนักแต่สิ่งที่ได้คือความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานนี้จริงๆ จบก่อนครับเดี๋ยวจะซึ้งไปกว่านี้
คำสำคัญ (Tags): #kmanamai
หมายเลขบันทึก: 31004เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแสดงความยินดีครับ    นี่คือการค้นพบที่ทรงพลังจริงๆ   ทางหน่วยงานน่าจะเอาไปคุยกันต่อ   ลองต่อ และบอกต่อครับ

วิจารณ์ พานิช

อยากรู้จังว่า แล้วในสมุดน้อยๆ หรือกระดาษโน๊ต ของพี่ๆ นั้น เขาเขียนอะไรไว้บ้าง
งานนี้ต้องมาเล่าต่อในเวทีตลาดนัดKM ที่กรมอนามัยจะจัดในวันที่ 19 -20 ก.ค.49 นะคะ อีกสักพัก...เรากำลังจะร่อนในสมัครไป งานนี้รับจำนวนจำกัดและต้องเอาประสบการณ์มาshare กันกับเพื่อนเราชาวกรมอนามัยต่อนะจ๊ะ

การจัดการความรู้

ชุมชนนักปฏิบัติ

เทคนิคการจัดการความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท