ลปรร แบบเกรงใจ


ดีที่มาเกรงใจตอน ลปรร ไปแล้วพอสมควร

มาเล่าต่อเรื่องการ ลปรร กับนักจัดการงานวิจัยนานาชาติตามคำยุยงของ อจ โอ๋ 

สิ่งหนึ่งที่ผมกลัวมากเวลาจัดประชุมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการประชุมขององค์การอนามัยโลก ก็คือการพูดคุยแบบเกรงใจ ซึ่งปรากฏมาในหลายรูปแบบ เช่น เวลาพูดถึงงานของตัวเองก็เกรงใจเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานทางบ้านว่าจะต้องนอนสะดุ้งระหว่างที่เล่าเรื่อง ถ้าเล่าอะไรที่มันตื่นเต้นผ่ดโผนเกินไป

หรือไม่ก็เกรงใจเพื่อนร่วมที่ประชุม เวลาเขาเล่าอะไรมาก็จะต้องบอกว่าดีไว้ก่อน ไม่กล้าวิเคราะห์หรือวิพากษ์ (อย่างสร้างสรรค์) เพราะเกรงจะเสีย (นำ้)ใจ

ถ้าการ ลปรร เต็มไปด้วยการเกรงใจจน เกร็ง ความรู้คงไม่ไหลถ่ายเท แต่จะไหลกระปริบประปรอย คนฟังคงต้องกลั้นใจฟัง คอยลุ้นว่าเมื่อไรจะเล่าให้ชัดๆสักที

ปรากฏว่าการ ลปรร ในการประชุมครั้งล่าสุดไม่เกิดอาการเกร็งอย่างที่ผมเกรงไว้แต่แรก

เวลาเล่าประสบการณ์มีอยู่บ้างที่ไม่กล้าเล่าส่วนที่เป็นจุดอ่อน แต่บังเอิญเราขอให้เล่า success story ความเกร็งว่าจะถูกมองว่าไม่มีผลงาน ก็หมดไป เพราะเลือกเล่าแต่ส่วนที่น่าประทับใจได้

คงเป็นเพราะเหตุนี้ เวลาชวนคุย หรือซักไซ้ให้ลึก หรือละเอียดลงไป การพูดคุยจึงดูราบรื่น

ผมได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า การเล่า success story น่าจะดีในแง่ช่วยละลายพฤติกรรม (เกร็ง)ได้ดี โดยไม่ต้องใช้วิธีเล่นเกมส์

แต่แน่นอนว่าต้องมี facilitator ที่สามารถทำให้ที่ประชุมหายเกร็งด้วย ซึ่งงานนี้ได้ อจ วิจารณ์มา demo เอง นำ้เสียง อจ เวลา เล่าเรื่อง หรือ conduct การ ลปรร ก็จะไม่มีเสียงเล็กเสียงน้อย หรือพยายามทำเสียงหล่อ(ซ฿่งมักจะทำให้บรรยากาศเป็นทางการอย่างมากตามมาด้วย)

เราเลยได้รู้เรื่องดีๆ มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างมาก พอควร เราเล่าวิธีที่เราไปชวนคนมาตั้งโจทย์วิจัย ทางอินโดก็เล่าที่เขาไปชวนทางจังหวัดมาวางแผนวิจัยระดับจังหวัดด้วยกัน

เราเล่าเรื่องที่เราพยายามชวนแหล่งทุนหลายๆแห่งมาวางนโยบายสนับสนุนการวิจัยด้วยกัน แล้วไม่ค่อยสำเร็จ คือได้คุย ได้ตกลง แต่ไม่เกิดแผน หรือการลงทุนร่วมกัน

ทางอินเดีบก็เล่าเรื่องที่เขาสามารถชวนอีกแหล่งทุนนึงมาอกกประกาศเชิญชวนให้ส่งโครงการโดยมีเงื่อนไขว่าแหล่งทุนทั้งสองแห่งจะให้ทุนร่วมกัน แต่พอเอาเข้าจริงๆกลับกลายเป็นว่าได้ข้อเสนอโครงการมาพอสมควร แต่แหล่งทุนที่ออกประกาศเชิญชวนกลับตกลงกันไม่ได้ว่า จะแบ่งกันสนับสนุนโครงการเหล่านั้นยังไง

ผมไม่ได้ถามต่อว่าแล้วตกลงแหล่งทุนทั้งสองโดนประชาทัณฑ์ หรือประท้วงจากทางคนส่งโครงการหรือเปล่า หรือว่าโดนปาระเบิดไปเลย

เกรงใจนะครับ เพราะผมก็คนไทยแท้ ขี้เกรงใจเหมือนกัน ดีที่มารู้สึกเกรงใจหลังจากได้ ลปรร ไปพอควรแล้ว ไม่งั้นคงอดเรียนรู้อะไรดีๆแน่ๆเลย 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30908เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขออนุญาตติดตามblogอาจารย์เพื่อเรียนรู้ ในชุมชนผู้ใฝ่รู้แต่อาจจะแลกเปลี่ยนได้น้อยเพราะเป็นเด็กวัด(เด็ก=ประสบการณ์น้อย,วัด=มุ่งเปลี่ยนแปลงตนเอง)ค่ะ เคยเป็นลูกศิษฐ์อาจารย์ตอนเป็นนศ.พยาบาลฝึกงานที่ประทายค่ะ  ขอบคุณในวิทยายุทธที่ได้รับจากอ.เสมอมาค่ะ

สิงแรกที่น่าจะเปลี่ยนคือเปลี่ยนความคิดว่าตัวเองแลปเปลี่ยนได้น้อย เพราะประสบการณ์ทุกคนมีค่าในการแลกเปลี่ยนเสมอครับ

ผมเคยได้บทเรียนจาก ดร อุทิศ ขาวเทียน ซึ่งทำงานที่สภาพัฒน์ เล่าให้ฟังว่าตอนไปเรียนที่อังกฤษใหม่ๆ ไม่ค่อยแสดงความเห็น อจ ให้คะแนนน้อย พอไปถามอจ บอกว่าที่ได้คะแนนน้อย เพราะไม่ค่อยแสดงความเห็น ชอบบอกว่าเห็นด้วยอยู่เรื่อย 

ดร อุทิศเลยพยายามแสดงความเห็นบ่อยๆ บางทีก็รู้สึกว่าแสดงความเห็นไปอย่างนั้นแหละ แต่ อจก็ชอบใจบอกว่าดีแล้วที่กล้าแสดงความเห็น เพราะมันไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีดี หรือไม่ดี แต่ที่แน่ๆคือได้รู้ว่าเราก็มีความคิดเหมือนกัน ไม่ใช่ฟังอะไรก็ได้แค่นั้น 

ขอต้อนรับสู่โลกแห่งการ ลปรร ครับ

 

ในกระทู้เรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ผมมองว่าการแก้ worst practice เป็นเรื่องสำคัญกว่าเสริม best practice

แต่กรณีที่คุณหมอเล่ามาก็น่าสนใจในข้อที่ว่า การเล่า best practice (ในชื่อ success story) จะสร้างบรรยากาศที่ระดมความรู้ได้ดีกว่า

แสดงว่าในการทำ KM กับการจัดการองค์กร ต้องใช้กระสวนความคิดต่างกันหรือเปล่าครับ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท