คิดนอกกรอบ


ถ้าจะคิดนอกกรอบ เราจะมีวิธีคิดอย่างไร เป็นที่สิ่งที่น่าสนใจและติดตามครับ

คิดไม่เหมือนคนอื่น

คิดแบบมั่วๆ ไม่มีหลักการหรือเหตุผลรองรับ

คิดแล้วดูเป็นไปไม่ได้เลยหรือแบบหลุดโลก

คิดแบบไม่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

คิดแบบจับประเด็นอะไรไม่ได้เลยหรือคิดเรื่อยเปื่อย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30824เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 05:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/brain04.html

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra_develop.html#preface

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/brain03.html

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra_develop.html

 

การสร้างทักษะการคิด

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
อ.กอบลาภ อิมราพร

"ความคิดสร้างสรรค์" ทำให้มองเห็น โอกาส และทางเลือก มากกว่า จึงช่วยให้คนคิดได้กว้างขวางกว่า หลากหลายกว่า สร้างความคิดใหม่ๆ ได้มากกว่า และหาทางเลือกในการแก้ปัญหา และอุปสรรคได้มากกว่า ทำให้ไม่ติดสะดุด และทำงานได้ประสบผลสำเร็จมากกว่า เพียงได้เรียนรู้ "รากฐานความคิดสร้างสรรค์" ทุกคนก็สามารถ เพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ ของตนได้อย่างเป็นระบบ

 

Strategic Thinking คนต้องมี แต่อาจนำไปสู่ tunnel vision ได้ คือ ความคิดทางเดียว นักบริหารต้องมี Thinking Strategy ยุทธศาสตร์การคิดอย่างไร? การคิดมีหลายแบบ ทางขวางมือ Change and Challenges หมายถึง การเปลี่ยนแปลง The Challenges of Discontinuities ถ้าโลกเราอยู่นิ่งๆ ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอด คือ ความต่อเนื่อง (Continuities) แต่ขณะนี้โลกเราจะพบกับความไม่ต่อเนื่องมากมาย หลายอย่าง เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น เพราะความท้าทายของการไม่ต่อเนื่อง

Condition in the Present สภาพการณ์ของปัจจุบัน

Mind Set ทุกคนมี คือ เราคิดมานานแล้ว เราไม่ได้คิดเอง คนอื่นคิดมานานแล้ว สภาพการณ์ในปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เรามี Mind Set เราถูกสอนให้เชื่ออย่างไร จะนำไปสู่การคิด (Thinking) กับการปฏิบัติ (Action)

Scenaries คือ สิ่งที่เราคาดการณ์ไป เราลองคิดว่า ใน 3-5 ปีข้างหน้า เราจะเป็นอย่างไร คือ ในอนาคนเราคิดว่า เราจะทำอย่างไร ดังนั้น Strategic Thinking หรือ Thinking Strategy ต้องไปด้วยกัน หรืออย่างน้อย เราต้องมียุทธศาสตร์การคิด หมายถึง คุณภาพการคิด เราจะคิดจะทำอย่างไรในอนาคต

Matters คือ เรื่องต่างๆ ทั้งหลายที่เราจะทำนาย (Forecasting ได้ถ้ามีข้อมูล)

Mental Maps (รูปที่ 2) คือ สร้สงเหมือนกับแผนที่ในใจเรา การคิด ควรคิดหลายๆ ทาง คิดทางเลือก แล้วเราจะสามารถระบุ Possibilities ได้ ทิศทางจะไปทางไหน คน Holistic เป็นได้ 2 ทาง ถ้าไม่มี Thinking abilities จะเป็นมหามั่ว คือ มาพบแล้วพูดทุกเรื่อง ไม่มีทิศทาง และไม่รู้ว่าจะหาการปฏิบัติที่มีประสิทธิผล ได้อย่างไร

รูปแบบวิธีการคิด ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เอกนิยม คิดแบบเอกนิยม คิดให้พระเจ้าช่วย ทำหมดทั้งประเทศ เอกนิยมเกิดจากการแตกแขนงต่างๆ ถ้าใครมี Thinking Strategy แบบนี้แล้ว ถ้าสามารถเปลี่ยนไป ความซับซ้อนหลากหลายมีมากขึ้น เพดานคิดแบบเอกนิยม คิดอยู่ได้แค่นี้ ในสมัยก่อนเห็นว่าดี เอกนิยมเกิดขึ้นจากเห็นอะไร มันสับสนวุ่นวายไปหมด ชีวิตนี้แย่ ยุโรปมีชาติเล็กๆ มากมายแตกกันไม่ดี ควรวมเป็นหนึ่งเดียว จึงต้องมีสหพันธรัฐ เป็น Thinking Strategy ถ้าใครมีแบบนี้แล้ว สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ความสับสน ความหลากหลายมีมากขึ้น จะทำให้เกิดปัญหา

ทวินิยม ชัดเจน เช่น ขาว-ดำ ดี-เลว เผด็จการ-ประชาธิปไตย เป็นขั่วค่อนข้างชัดเจน

พหุนิยม คำนึงถึงความแตกต่างหลากหลาย ถ้าทำอะไรอย่าไปคิดอย่างเดียว ความคิดหลากหลายก็น่าจะทำ หลากหลาย ดังนั้น พหุนิยมจะดูรายละเอียดมากขึ้น

การพัฒนาทักษะการคิด

กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่จัดไว้ว่า คนมีปัญญามากที่สุดในกระทรวงทั้งหลาย เป็นกลุ่มที่มี Wisdom ก่อนที่จะพูดเรื่องฝึก ทักษะการคิด เราต้องเข้าใจว่า ปัญญาไม่ใช่เพียงแต่การเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ แต่ต้อง design alternative themselves จะเห็นว่ามี 4 บล็อก ซึ่งเรียงได้หลายแบบ อยู่ที่ว่า เราจะออกแบบมันอย่างไร จากรูปมี 3 แบบ จะมีมากกว่านี้ก็ได้ ให้ทุกคนลองทำดู อิฐ 4 ก้อนเรียงกันได้กี่แบบ และจะ Design ออกมาเป็นอย่างไรบ้าง

Wisdom and Awareness / Possibilities คนที่จะมีวิธีการคิดที่ดีได้ คนจะมีปัญญา คือ ต้องมีสติ รู้ ระลึกถึงการเลือก ที่เป็นไปได้หลายๆ แบบ จะเรียงบล็อกอย่างไร อิฐอาจจะเป็นคนก็ได้ เช่น มีคนอยู่ 4 คน ทำซ้ำๆ ซากๆ น่าเบื่อ เราจะแสวงหาทางเลือกหลายๆ ทาง ที่สำคัญคือ ต้องออกแบบ (design) ด้วย คิดถึงความเป็นไปได้ถ้าเราจะเลือก

Structures โครงสร้าง ใหญ่ๆ มี 2 อย่าง คือ ยาวๆ เป็นรางรถไฟ (ภาพในแนวนอน) โครงสร้างของรางรถไฟต้องวิ่งตามราง แต่โครงสร้างในลักษณะแบบเดียวกัน (อยู่ในแนวตั้ง) คือ บันได ถ้าของอยู่สูงๆ เราหยิบของไม่ได้ ต้องใช้บันไดช่วย บางโครงสร้างจะจำกัดอิสะภาพของเรา โครงสร้างในที่นี้ หมายถึง โครงสร้างการคิดของเราด้วย เช่น แก้วน้ำ เราต้องรู้ว่า เราจะดื่มอะไร โครงสร้างไม่ได้หมายถึง สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเดียว เช่น แก้วน้ำ โครงสร้างบางอย่างสร้างจากจิตใจของเรา ไม่กักขังความคิดของเรา เช่น เห็นคนผิวดำเดินมา เราวิ่งหนี เพราะว่าเรา Perceives จะเห็นได้ว่า 99% ของการทำอะไรผิดพลาด จากการ Perceives ผิด สิ่งเหล่านี้เกิดจาก

  1. ประสบการณ์ที่เราไม่เคยพบมาก่อน
  2. เราไม่เคยฝึกคิดอะไรมาเลย เช่น ถ้าเปิดเสรีแล้วจะเป็นอย่างไร

Perception สำคัญที่สุด ขั้นตอนแรกของการคิด คือ การสำเหนียก การสำเหนียก คือ การรับรู้ จดจำเอาใจใส่ สรุปเรามีวิธีคิดแบบน้ำไหล (Water logic) มีบริบท อารมณ์ กรอบ ประสบการณ์แต่เก่าก่อน ที่เราเคยมี ทัศนะในปัจจุบัน พอเรามา Process (WHAT IS) หรือแบบ Fixed ติดตรึงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว คำที่มีความหมายอยู่ 2 คำ คือ "อะไร" กับ "เป็นไปได้ไหม" "What Might be?" กับ "What is?" เรามักถามว่า อะไร คือ อะไร หรือเป็นไปได้ไหม เป็นไปได้อย่างไรหรือไม่ What Might be? วิธีคิดเหมือนการขึ้นบันได วิธีคิดทางดิ่ง คือ ขุดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น จึงมี 2 อย่าง ลงบันได หรือขึ้นบันได (ซึ่งต่างจากวิธีคิดแยยน้ำไหล)

Lateral Thinking ด้านขวาง หมายถึง ไม่ไปทางซ้ายหรือทางขวา ขวางทางเลย เช่น ขับรถผิดเลน คิดขวางๆ คนขวางโลก Vertical Thinking คิดทางดิ่ง มนุษย์เราต้องไม่คิดทางดิ่งอย่างเดียว ต้องมีทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้ง Lateral Thinking และ Vertical Thinking

Hypothesis สมมติฐาน เรามักสอนกันตอนทำวิจัย ต้องมีสมมติฐาน ถ้าเราจะฝึกคิด ต้องเอาสมมติฐานออกก่อน เพราะสมมติฐานเหมือนกับเราเอาฝาไปปิดโอ่งน้ำไว้ คิดปิดทางเป็นไปได้ของทางอื่นๆ เราต้องเปิดออกกระจายออกไป อย่าให้เป็นกระจุก มนุษย์มีแนวโน้มที่จะหาเหตุอย่างเดียว หรือไปที่คนๆ เดียว ควรจะคิดว่า น่าจะเป็นได้หลายๆ อย่าง

Focus คือ มีสติ หรือสมาธิ (Simple Focus) ถ้าเราคิดอยู่เรื่องเดียว คิดๆ ไปจนหยุดไม่ได้ ต้องหยุด (Pause) บ้าง หยุดคิด หยุดนึก ตัดออกไปบ้าง การที่หยุดบ้าง พักบ้าง เรียกว่า Creative Pause ทำให้มี Simple Focus และนำสู่การเกิด Specific Focus ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความคิดใหม่ (New idea)

Creativity ไม่มีประโยชน์ที่เราจะสอนทักษะการคิด ถ้าการคิดไม่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ มี 2 อย่าง คือ ใหม่ๆ แล้วมีคุณค่า กับใหม่ๆ แล้วแย่กว่าเก่า ในที่นี้หมายถึง ใหม่ๆ แล้วต้องดีขึ้นไม่ใช่เลวลง ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นทักษะการคิดที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์ คือ ก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อน เช่น ฟรอยด์คิดเรื่องอื่นๆ อยู่นาน ต่อมาฟรอยด์ก็คิดถึง Multiple Complex Psycho-Analysis

Creativity ต้องเห็นได้ง่าย และชัดเจน เราจะมี Creativity ได้อย่างไร อยากแรกคือ ไปเล่นกับเด็กเล็กๆ มากๆ อย่าไปพบผู้ใหญ่มาก เพราะว่าผู้ใหญ่ไม่มี Creativity ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรไปจากเดิมบ้าง ไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การแต่งกายแบบใหม่ ใส่เสื้อผ้าตัวใหม่ ต้องมีเวลาที่เราจะพัก เรียกที่พักใจ ถ้าไปพักไม่ได้ ก็จินตนาการ ว่าเราได้ไปที่นั่น-ที่โน่น หรือเปิดเพลงฟันก็ได้ หรืออ่านหนังสือ จะช่วยได้มาก คบคนหน้าใหม่ๆ บ้าง หรือคนต่างวัฒนธรรม ถ้าคบต่างวัฒนธรรมจะช่วยให้เรามี Creativity มาก เพราะว่าความแตกต่างหลากหลาย นำไปสู่การคิดที่สร้างสรรค์

Human Perception มนุษย์เราเห็นได้ด้วยตา ธรรมชาติสร้างให้เรามี 2 ตา คือ ให้มองข้างหน้า สิ่งที่ล่วงมาแล้วไม่ต้องนึกถึง มองแต่อนาคต และมีหู 2 หูไว้ฟัง แต่สร้างปากมาปากเดียว ให้พูดน้อยๆ หน่อย ให้ฟังกับมองมากกว่าพูด ตา คือ การสำเหนียก หรือรับรู้ เรามักจะมองเห็นก่อน ส่วนมากจะเห็น 2 อย่าง เห็นด้วยตาเปล่า คือ ตาข้างนอกกับเห็นด้วยตาข้างใน ที่สำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ปกติสมองของเราจะมี Provocation ชอบท้าทายคน หรือพวกวงแตก ขัดจังหวะ การสังหรณ์ใจก็เป็น Provocation อย่างหนึ่ง

 



สนใจติดต่อ โครงการตำรา สำนักวิชาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง นนทบุรี 11000 โทร. 590-4144 โทรสาร 591-8147


สรุป

 

 


Mindmapping

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

การคิดแต่ละครั้ง ต้องใช้องค์ประกอบทั้งข้อมูล สมอง และจิตใจ Mindmapping เป็นการจัดเรียงข้อมูลในการคิด ออกมาเขียนให้เป็นภาพรวม ในรูปแบบของผังมโนทัศน์ และสามารถใช้ขยายการคิดให้กว้าง และครอบคลุมมากขึ้นได้ ทำให้ความซับซ้อนดูง่ายขึ้น และเมื่อเสริมด้วยการออกกำลังบริหารสมอง ด้วยวิธี Brain Gym ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็จะทำให้เราคิดได้อย่างสบายใจ และเบาสมอง

 

Mindmapping

ได้มาจากนักทดลองชื่อ โทนี่ บรูซัน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาเด็ก ที่ต้องการช่วยเหลือเด็กที่ช้าทางการเรียนรู้ สมองบกพร่อง โทนี่สอนเด็กที่แย่แล้วให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เขาพบว่า การสอนเด็กต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง ไปจากที่โรงเรียนทั่วไปสอน เช่นเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา

การฝึกปฏิบัติ

ให้ทดลองฝึกปฏิบัติ โดยเขียน คำหลัก คำอะไรก็ได้ที่เป็นคำหลักของเรื่องที่จะเขียน ใช้ปากการ หรือดินสอสีที่ใช้เขียนหนังสือ ให้ใช้หลายๆ สี และใช้สัญลักษณ์แทนคำบางคำ โทนี่ บรูซัน ค้นพบว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ที่ผ่านมา ผิดกับการทำงานของสมอง ในระยะหลังค้นพบว่า สมองทำงานด้านขวา สมองทำงานเหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ เหมือนดอกทานตะวัน หรือกิ่งปะการัง เขาค้นพบว่า การใช้กระดาษหลายๆ สี ดีกว่าสีเดียว บางครั้งน่าจะมี 3 มิติ สิ่งเหล่านี้ ทำให้เขาพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Mind Maps ใครจะเรียกแผนที่ทางความคิดก็ได้ และได้ทำการทดลอง Mind Maps ทางความคิด ที่จะสรุปเอาความสำคัญต่างๆ มา แล้วขยายความคิดไปเรื่อยๆ โดยมีเทคนิคบางอย่าง อาทิเช่น

ให้ใช้กระดาษทางขวาง เพื่อเขียนได้มาก และมีอิสระในการเคลื่อนไหว ถ้าเราคิดถึงอะไร ควรสรุปความคิดเป็น "คำหลัก" ก่อน เขียนเป็นตัวพิมพ์ จากคำหลัก ให้ลากเส้นไปให้เส้นที่ลากไป อยู่เฉพาะในเรื่องของคำหลักแล้วหยุด เช่น คำหลักว่า "ความสุข" ก็ให้นึกถึงครอบครัว มีภรรยา ลูก สถานที่ตากอากาศ เพลงที่ชอบ เขียนออกไปเป็นเส้นๆ หรือโยงเชื่อกันก็ได้

เทคนิคของ Mindmapping

  1. เน้น หมายถึง ภาพหลัก นอกจากเขียนแล้ว เราอาจใส่ภาพที่เราวาดเองก็ได้ การที่เราวาดภาพเอง ทำให้ความคิดของเรามีการแตกกระจายมากขึ้น เช่น เวลาที่จดโน๊ตย่อไว้ ถ้าเขียนเต็มไปหมด สายตาของเราจะเกิดความเบื่อ เพราะว่ามีแต่ตัวอักษร เช่น ใช้ภาพ "คนยิ้ม" หรือ "คนหน้าบึ้ง" แทน ถ้านึกถึงสถานที่ ก็ใช้ภาพได้ หรืออาจใช้สัญลักษณ์แทน เช่น "แพทย์" สัญลักษณ์ "งูไขว้กัน" ก็ได้ เวลาเขียน อย่าลืมผสมภาพหลักลงไป พยายามใช้สีให้มากกว่า 1 สี ควรใช้ 2-3 สี ต่อไปใส่มิติในภาพและคำ ภาพควรเห็นชัดเจน สดใส มีมิติด้วย และคำก็มีมิติด้วย ควรระบายสี ขนาดอักษร และเส้นต่างกัน และเว้นระยะให้เหมาะสม
    • ภาพหลัก
    • ใช้ภาพตลอด
    • ใช้สี 2-3 สี ต่อภาพหลักแต่ละภาพ
    • ใส่มิติในภาพและคำ
    • ใช้ขนาดอักษร เส้น และภาพต่างๆ กัน
    • ใช้การเว้นระยะที่เหมาะสม
  2. ชัด
    • ใช้คำหลักคำเดียวต่อเส้นหนึ่งเส้น
    • ใช้ตัวพิมพ์โดยตลอด
    • พิมพ์ตัวพิมพ์บนเส้น
    • เส้นยาวเท่ากับความยาวของคำหลัก
    • ใช้เส้นแยกเชื่อมโยงกับภาพหลัก
    • เชื่อมเส้นต่างๆ
    • ทำให้เส้นกลางทึบ
    • ทำให้กรอบครอบเส้นแยก (แขนง)
    • ให้ภาพชัดที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • ใช้กระดาษขวาง
    • อักษรให้ตรง
  3. เชื่อม
    • ใช้เมื่อต้องการแสดงความเชื่อมโยง
    • ใช้สี
    • ใช้โค๊ต
  4. ฉัน คือ การพัฒนาตนเอง Mind Maps ไม่มีอะไรผิด - อะไรถูก และไม่มีแบบอันเดียว จะเห็นได้ว่า คนทำ Mind Maps ต่างคนต่างทำตามที่ตัวเองชอบ พัฒนาสไตล์ของตัวเองได้

แผนภาพแสดงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของคน
สุขภาวะของเมือง สังคม และชุมชน

 



สนใจติดต่อ โครงการตำรา สำนักวิชาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง นนทบุรี 11000 โทร. 590-4144 โทรสาร 591-8147


หลักการเยอะที่เดียว ว่างๆจะกลับมาอ่านต่อนะครับ

thinktagtang.blogspot.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท