แม่ครัวหัวป่า หรือ แม่ครัวหัวป่าก์


แม่ครัวหัวป่า หรือ แม่ครัวหัวป่าก์ เรื่องราวที่ทรงคุณค่า

“แม่ครัวหัวป่า” เป็นอาหารพื้นบ้านจังหวัดสิงห์บุรีมีตำนานเรื่องราวที่กล่าวขานถึงความอร่อยในการปรุงอาหารของกลุ่มคนในอดีตซึ่งเป็นที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบันของชาวตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรีโดยอ้างจากคำบอกเล่าว่า เมื่อคราวรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสิงห์ พ.ศ. 2449            ชาวหัวป่าทำอาหารถวายพระองค์ และเป็นที่โปรดปราน จึงพระราชทานชื่อคณะแม่ครัวว่า  "แม่ครัวหัวป่า”

 “แม่ครัวหัวป่าก์” เป็น “ตำราอาหาร” เล่มแรกของไทยของท่านผู้หญิงเปลี่ยน            ภาสกรวงศ์ ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่เมื่อปลายรัชสมัย ร.๕  ท่านผู้หญิงเปลี่ยนภาสกรวงศ์ ภรรยาของเจ้าพระยา  ภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้เขียนตำราอาหารเล่มแรกของไทย เมื่อปีพ.ศ. 2451-2452 โดยตั้งชื่อหนังสือว่า “แม่ครัวหัวป่าก์”   มีจำนวน 5 เล่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นหนังสือที่หายาก  

 

หน้าตาของตำราเล่มแรก  แต่ปัจจุบัน หน้าตาตำราเล่มนี้ได้จัดพิมพ์ หน้าตาปัจจุบันตำราเป็นแบบนี้นคะ โดยฉันขอถ่ายรูปตำรานี้ จาก อาจารย์อุทัยวรรณ คะ

แต่เมื่อได้สอบถามถึง เรื่องราว แม่ครัวหัวป่า กับ  แม่ครัวหัวป่าก์ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใดคะ .....

               ฉันได้เข้าไปตำบล ๆ หนึ่งที่นั่นคือ ตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และบุคคลสองท่านที่ฉันอยากให้รู้จักคือ ท่านเป็นนักวิชาการชุมชนก็ว่าได้  อดีตท่านทั้งสองเป็นข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี แต่ทุกวันนี้ท่านทั้งสองไม่เคยหยุดที่จะทำงานเพื่อสังคม และเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า ท่าคือ อาจารย์บรรหาร และอาจารย์อุทัยวรรณ  ตันหยง โดยท่านอาจารย์บรรหาร ตันหยงเป็นลูกหลาน ชุมชนหัวป่า ท่านให้การต้อนรับฉันอย่างเป็นกันเอง

 

ท่านได้เล่าถึงตำนานแม่คัวหัวป่าให้ฟังว่า ... “แม่ครัวหัวป่า” เป็นอาหารพื้นบ้านจังหวัดสิงห์บุรีมีตำนานเรื่องราวที่กล่าวขานถึงความอร่อยในการปรุงอาหารของกลุ่มคนในอดีตซึ่งเป็นที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบันของชาวตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรีโดยอ้างจากคำบอกเล่าว่า เมื่อคราวรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสิงห์ พ.ศ. 2449 ชาวหัวป่าทำอาหารถวายพระองค์ และเป็นที่โปรดปราน จึงพระราชทานชื่อคณะแม่ครัวว่า “แม่ครัวหัวป่า”

 และปัจจุบันมีทายาทของตระกูลแม่ครัวหัวป่า ยังมีชีวิตอยู่ (ตอนนี้รุ่นเหลนค่ะ )

 

 คุณลุง เสวก ทายาทแม่ครัวหัวป่า อำแดงอึ่ง

คุณยายพยุง ทายาทแม่ครัวหัวป่า อำแดงสิน

คุณยายบัวเขียว ทายาทแม่ครัวหัวป่า

ทั้ง 3 ท่าน ปัจจุบันยังปรุงอาหารฝีมือแม่ครัวหัวป่า อร่อยและรสชาดดีมากและยังเป้นครูภูมิปัญญาที่สืบทอดจากตระกูลและถ่ายทอดฝีมือให้รุ่นลูก หลานเราในปัจจุบันคะ

เมื่อไปถึงที่จริง ก็ ได้มีโอกาสได้ดูการแสดงโชว์ฝีมือการปรุงอาหารที่ทูลเสวย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวง) รัชกาลที่ 5 ณ วัดพรหมเทพาวาสคะ เรามาดู หน้าตาแกงกันคะ

อาหารที่ทูลเสวย เช่น แกงบวน ส่วนผสมหลักของเครื่องปรุงแกงบวนจะมีเครื่องในของหมู และใบมะตูมเพื่อลดกินเครื่องใน และเครื่องปรุงที่เป็นสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ ฯลฯสำหรับแกงบวนในอดีตไม่ได้ทำกันกินกันทั่วไป จะทำครั้งหนึ่งจะต้องมีการล้มหมูทั้งตัว เพราะฉะนั้นในสมัยอดีต ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ คนธรรมดาทั่วไปจะกินได้คะ

เรื่องราวของแม่ครัวหัวป่า ของคนตำบลหัวป่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ คะ เราซึ่งเป็นคนไทย ส่วนหนึ่งน่าจะมีการอนุรักษ์เรื่องราวเหล่านี้ ดังคำพูดของอาจารย์ อุทัยวรรณที่กล่าวว่า "ต้นไม้ยังมีรากเหง้า คนเราก็ มีรากเหง้า เพราะฉะนั้นรากเหง้าที่น่าภาคภูมิใจนี้ เราควรจะสืบสาน และสืบทอด เป็นมรดกของคนไทย เป็นเรื่องราวที่ทรงคุณค่า"

คำสำคัญ (Tags): #แม่ครัวหัวป่า
หมายเลขบันทึก: 308106เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2009 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆเกี่ยวกับภาษาไทยและประวัติศาสตร์ค่ะ...เป็นเกร็ดความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • สรุปแล้วใช้ได้ทั้งสองชื่อรึป่าวคะ
  • อาหารไทยป้าแดงว่า อร่้อยมากเลยทีเดียวค่ะ อยากไปลองชิมถึงเมืองสิงห์บุรีซักครั้งค่ััะ
  • ส่วนอาหารเหนือ ชอบเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • สรุปแล้วใช้ได้ทั้งสองชื่อรึป่าวคะ
  • อาหารไทยป้าแดงว่า อร่้อยมากเลยทีเดียวค่ะ อยากไปลองชิมถึงเมืองสิงห์บุรีซักครั้งค่ััะ
  • ส่วนอาหารเหนือ ชอบเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะ P

ความหมายต่างกันคะ

แม่ครัวหัวป่า: ใช้สำหรับการแทนชื่อของคนที่ทำอาหารอร่อย

หากเป้น ชาย เป้นพ่อครัวจะเรียก "พ่อครัวหัวป่า"

ถ้าหาป็นผู้หญิงเป็น แม่ครัว เจะเรียก "แม่ครัวหัวป่า"สำหรับ

แม่ครัวหัวป่าก์ เป็นชื่อตำราอาหารเล่มแรกของไทยคะ

ด้วยคำว่า ป่าก์ นั้นมาจาก ปจ (การหุงต้ม) + ณ (เป็นคำปัจจัย) พอรวมกันเข้าก็กลายเป็นรูปที่เขียนว่า ปาก (แปลว่า การหุงต้ม) ก็ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หัวป่าก์ ที่ว่านี่ก็มาจากคำบาลี-สันสกฤต จะเรื่องว่าด้วยการบ้านการเรือนของหญิงไทยทั้งหมด ตั้งแต่การจ่ายตลาด การซื้อของ การทำอาหาร ด้วยคะ

รู้สึกประทับใจกับประวัติศาสตร์อาหารไทยมากเลยค่ะ เพิ่งดูโฆษณารายการหนึ่งของ Thai PBS จะนำเสนอเกี่ยวกับแม่ครัวหัวป่าให้ชมเร็ว ๆ นี้ อ่านเจอบันทึกนี้พอดี ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนค่ะว่าไทยเรามีสิ่งที่น่ายกย่องชื่นชมหลายเรื่อง โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เป็นรองใครในโลก ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลดี ๆ

เป็นงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งใช่ไหม...

รออ่านความคืบหน้าครับ

สวัสดีคะP ถูกต้องเลยคะ รายการหนึ่งของ Thai PBS รายการนี้ คือ รายการครอบครัวเดียวกันคะ ออกอากาศ 10.30 น.

รายการที่ออกอากาศวันปิยะมหาราช ที่ผ่านมา ได้ไปอัดเรื่องราวของ แม่ครัวหัวป่า โดยมีท่านอาจารย์บรรหารและอาจารย์ อุทัยวรรณ ตันหยง ที่เป็น ครอบครัวที่ต่อสู้เพื่อเรื่องราวที่ทรงคุณค่านี้คะ

ซึ่งเป็นวันเดียวที่ฉันได้เข้าไปค้นคว้า หาความรู้ ความสนใจ ควางสงสัย... เพิ่มเติม ท่านทั้งสอง ให้ความเป็นกันเอง และถอดบทเรียนความสงสัยที่ตั้งใจ ไว้ คิดว่าต้องได้กลับไปหาท่านทั้งสองอีกคะ เพราะทำให้อดไม่ได้เลยทีเดียวที่จะเอาประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยเรา มาเผยแพร่คะ และเก็บเป็นมรดกทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทรงคุณค่าต่อไปคะ

 

สวัสดีคะ พี่จตุพร เข้ามาเป้นกำลังใจให้เสมอ

ขอบคุณ สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ที่มี

กำลังใจดีๆ แบบนี้..

ใช่แล้วคะ งานวิจัย ต้องเดินหน้าต่อไปคะ..

ยอดเยี่ยม มาก ผมกำลังจะพา กลุ่มพัฒนาอาชีพการทำอาหารไทย ของ กศน.อำเภอบางปะหัน ไปดูงาน พี่มีข้อมูล ดูงานใหม? ขอเบอร์โทร ก็ได้ โทรบอกนิดนะครับ 085-833-9377 หรือ [email protected] นะครับ

ชอบทานและรักในการทำอาหาร(ไทย)มากๆค่ะ และอยากที่จะได้ตำราแม่ครัวหัวป่าไว้ครอบครองจังเลยค่ะ ไม่ทราบว่าใครมีจะขายหรือหาที่ซื้อได้มั้งค่ะ ช่วยกระซิบกันบ้างนะค่ะ

ภูมิใจและรักอาหารไทยมากๆค่ะ

สวัสดีครับ คุณกรรณิการ์

ผมด้าอาหารไทย เลยอยากไปศึกษาอาหารไทย ที่โน่น อะครับ

อยากทราบว่าจะไปได้อย่างไร หรือต้องติดต่ออย่างไรครับ

รบกวน โทร 0853202521 หรือ [email protected]

รบกวนด้วยนะครับ พอดีเรียนทำอาหารอยู่อะครับ ^^

สวัสดีคะ

@ครูอ้อ- กำลังจะทำวิจัยเรื่องนี้ ปีงบประมาณ 2553 นี้คะ คงจะเสร็จสิ้นเดือน กันยายน 2554ยังไงจะรับไว้เพราะการเข้าไปหมู่บ้านจะมีนักวิชาการ 2 ท่านที่ในบันทึกเราอาจจะต้องขอข้อมูลจากท่าน การดูงานไม่น่าจะมีปัญหา เดี๋ยวลงพื้นที่จะติดต่อกลับนะคะ

@ด้า-ตำราแม่ครัวหัวป่า ไม่มีขายคะ ตำราที่เอามาโชว์ เป้นการเขียนของท่านผู้หญิงฯ ชื่อหนังสือ แม่ครัวหัวป่าก์ ว่าด้วยการเรือนของหญิงไทยคะ แต่สำหรับสูตรการทำอาหาร ที่สมเด็จ ร.5 ท่านทรงประพาสต้น ว่าได้เสวยอาหารอะไรบ้างต้องติดตามในงานวิจัยที่จะทำในปีนี้ พร้อมคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละชนิด และ ปริมาณ ส่วนประกอบที่ทำอาหารนั้นๆ ต้องรอเล่มวิจัย ปี 2554

@ณัฐพงศ์ ศิริมาวิเศษ - ยินดีคะ ติดต่อได้ ทางอีเมลล์ [email protected]

ต้องขอโทษมิตร gotoknow ทุกๆท่านด้วยที่มาตอบช้า นะคะ

คุณเชื่อไหมยังมีคน..ตันหยง..ที่พอจะรู้เรื่องของบ้านหัวป่า

ปิยะศักดิ์ ไกรสวัสดิ์

อยากทราบว่าท่านขุนเณร

เกี่ยวข้องอะไรกับ แม่ครัวหัวป่า

เนื่องจากพอทราบมาว่า ท่านขุนเณร จะเป็นผู้มาแจ้งข่าวการเสร็จประภาทต้นของ รัชกาลที่ 5

อันนี้พอมีข้อมูลสืบค้นได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท